แก่นแท้ของความหลงผิด
ชัยค์ศอและห์ อัลเฟาซาน
แปลโดย... ดาวุด ธิยัน
อธิบายถึงแก่นแท้ของความหลงผิดและการสิ้นสภาพออกจากอิสลาม
ความหลงผิด คือ การเอนออกจากหนทางที่เที่ยงตรง กล่าวคือ สิ่งที่ตรงข้ามกับทางนำ อัลลอฮ์ตะอาลา ตรัสไว้ว่า :
{مَنِ اهْتَدَى فَإِنَّمَا يَهْتَدِي لِنَفْسِهِ وَمَنْ ضَلَّ فَإِنَّمَا يَضِلُّ عَلَيْهَا} [الإسراء: 15] .
“ผู้ใดได้พบแนวทางที่ถูกต้อง แท้จริงเขาจะอยู่ในทางนั้นเพื่อตัวเขาเอง
และผู้ใดหลง แท้จริงเขาจะหลงต่อตัวเขาเอง”
คำว่าหลงผิด(ฎ่อลาละห์)ถูกกล่าวถึงในหลายความหมายด้วยกันคือ :-
1. บางทีมาในความหมายว่า ปฏิเสธ (กุฟร์) อัลลอฮ์ตรัสว่า :
{وَمَنْ يَكْفُرْ بِاللَّهِ وَمَلَائِكَتِهِ وَكُتُبِهِ وَرُسُلِهِ وَالْيَوْمِ الْآخِرِ فَقَدْ ضَلَّ ضَلَالًا بَعِيدًا} [النساء: 136] .
“และผู้ใดปฏิเสธศรัทธาต่ออัลลอฮฺ และมลาอิกะฮ์ของพระองค์และบรรดาคัมภีร์ของพระองค์และบรรดาร่อซูลของพระองค์ และวันปรโลกแล้วไซร้ แน่นอนเขาก็ได้หลงทางไปแล้วอย่างไกล”
2. บางทีมาในความหมายของการตั้งภาคี(ชิรก์) อัลลอฮ์ตรัสว่า :
{وَمَنْ يُشْرِكْ بِاللَّهِ فَقَدْ ضَلَّ ضَلَالًا بَعِيدًا} [النساء: 116] .
“และผู้ใดที่ตั้งภาคีกับอัลลอฮ์แน่นอนเขาได้หลงทางไปแล้วอย่างไกลโพ้น”
3. บางทีมาในความหมายของการฝ่าฝืนที่ยังไม่ถึงขั้นปฏิเสธ ดังที่มักกล่าวกันว่า บรรดากลุ่มที่หลงผิด(อัลฟิร็อกอัฎฎ็อลละห์) หมายถึง ฝ่าฝืน
4. บางทีมาในความหมายของความผิดพลาด(ไม่ตั้งใจ) จากคำพูดหนึ่งของมูซา อะลัยฮิสสลาม ที่อัลลอฮ์ตรัสไว้ในอัลกุรอานว่า ;
{فَعَلْتُهَا إِذًا وَأَنَا مِنَ الضَّالِّينَ} [الشعراء: 20] .
”เขา (มูซา) กล่าวว่า ฉันได้กระทำมันโดยที่ฉันไม่รู้”
5. บางทีมาในความหมายว่า หลงลืม อัลลอฮ์ตรัสว่า ;
{أَنْ تَضِلَّ إِحْدَاهُمَا فَتُذَكِّرَ إِحْدَاهُمَا الْأُخْرَى} [البقرة: 282] .
“เพื่อว่าหญิงใดในสองคนนั้นหลงลืมไป คนหนึ่งในสองคนนั้นก็จะได้เตือนอีกคนหนึ่ง”
6. บางทีมาในความหมายว่า สูญหาย หรือ หายไป เช่นคำกล่าวที่ว่า ฏ็อลละตุลอิบิล(อูฐนั้นหายไป)
(1/93)4 - الردة وأقسامها وأحكامها:
ริดดะห์ การสิ้นสภาพจากความเป็นมุสลิม ประเภทต่างๆ และกฏเกณฑ์
ริดดะห์ ด้านภาษา คือ การกลับ อัลลอฮ์ตรัสว่า ;
{وَلَا تَرْتَدُّوا عَلَى أَدْبَارِكُمْ} [المائدة: 21]. “และจงอย่าหันหลังของพวกท่านกลับ”
คือ พวกเจ้าอย่าได้กลับไป
ส่วนคำนิยามของคำว่า ริดดะห์ ด้านบทบัญญัติ คือ ; การปฏิเสธศรัทธาหลังจากเข้ารับอิสลามแล้ว อัลลอฮ์ตรัสว่า ;
{وَمَنْ يَرْتَدِدْ مِنْكُمْ عَنْ دِينِهِ فَيَمُتْ وَهُوَ كَافِرٌ فَأُولَئِكَ حَبِطَتْ أَعْمَالُهُمْ فِي الدُّنْيَا وَالْآخِرَةِ وَأُولَئِكَ أَصْحَابُ النَّارِ هُمْ فِيهَا خَالِدُونَ} [البقرة: 217] .
“และผู้ใดในหมู่พวกเจ้ากลับออกไปจากศาสนาของเขา แล้วเขาตายลง ขณะที่เขาเป็นผู้ปฏิเสธศรัทธาแล้วไซร้
ชนเหล่านี้แหล ะบรรดาการงานของพวกเขาไร้ผล ทั้งในโลกนี้และปรโลก
และชนเหล่านี้แหละคือชาวนรก ซึ่งพวกเขาจะอยู่ในนรกนั้นตลอดกาล”
ประเภทต่างๆของริดดะห์
การริดดะห์นั้นจะเกิดขึ้นเนื่องจากได้ทำข้อหนึ่งข้อใดจากสิ่งที่ทำให้เสียอิสลาม และสิ่งที่ทำให้เสียอิสลามนั้นมีมากมาย ขมวดได้ 4 ประเภทใหญ่ต่อไปนี้ :-
1. การริดดะห์(สิ้นสภาพจากความเป็นมุสลิม)ด้วยคำพูด
เช่นการด่าอัลลออ์ ตะอาลา หรือ ด่าร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม หรือ ด่ามะลาอิกะห์ของพระองค์ หรือ ด่าคนใดจากร่อซูลของพระองค์ หรืออ้างว่ารู้สิ่งเล้นลับ หรืออ้างว่าตนเองเป็นนบี หรือ เชื่อคนที่เขาอ้าง(ว่าตนเองเป็นนบี) หรือ ไหว้วอนอื่นจากอัลลอฮ์ หรือ ขอความช่วยเหลืออื่นจากอัลลอฮ์ในสิ่งที่เขาไม่มีความสามารถในสิ่งนั้นนอกจากอัลลอฮ์เท่านั้น หรือ ขอความคุ้มครองต่อสิ่งอื่นที่เขาไม่มีความสามารถ
2. การสิ้นสภาพจากความเป็นมุสลิมด้านการกระทำ
เช่น ก้มกราบ(สุจูด)ให้แก่รูปปั้นและต้นไม้ ก้อนหิน กุโบร หรือ เชือดให้กับสิ่งดังกล่าว หรือโยนอัลกุรอานไปในที่สกปรก การทำไสยศาสตร์ เรียนรู้และสอนมัน และการตัดสินด้วยกับกฎหมายอื่น โดยมีความเชื่อว่า อนุมัติให้ทำได้
3. การสิ้นสภาพจากความเป็นมุสลิมทางด้านความเชื่อ
เช่นเชื่อว่ามีหุ้นส่วนเทียบเท่าอัลลอฮ์ หรือ เชื่อว่าซินา ดื่มเหล้า ดอกเบี้ยนั้นหะลาล หรือ เชื่อว่า ขนมปังนั้นหะรอม(เปลี่ยนบทบัญญัติของอัลลอฮ์-ผู้แปล) หรือเชื่อว่าละหมาดนั้นไม่เป็นวาญิบ หรืออื่นจากนั้นซึ่งเป็นสิ่งที่มีมติเอกฉันท์แล้วว่า ตัวมันหะลาล หรือ หะรอม หรือ จำเป็นต้องทำ เป็นมติเอกฉันท์ที่เด็ดขาด และจากตัวอย่างนี้ เขาจะต้องรู้ดี (ถ้าไม่รู้จริงๆก็ให้สอนยังไม่ถูกตัดสินทันที-ผู้แปล)(1/94)
4. การสิ้นสภาพจากความเป็นมุสลิมในด้านความสงสัยในสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่ได้กล่าวไว้ก่อนหน้านี้แล้ว
เช่นคนหนึ่งสงสัยว่าชิริกนั้นเป็นสิ่งหะรอม หรือ ซินา ดื่มเหล้าเป็นสิ่งต้องห้าม หรือ สงสัยในความหะลาลของขนมปัง(ทำไมอัลลอฮ์ให้มันหะลาล) หรือสงสัยการเป็นศาสทูตของนบีมุฮัมหมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม หรือสงสัยการเป็นนบีของนบีท่านอื่นๆ หรือสงสัยความสัจจริงของนบี หรือสงสัยในศาสนาอิสลาม หรือสงสัยว่าอิสลามเอามาใช้ได้จริงในยุคนี้หรือเปล่า?
5. การสิ้นสภาพจากความเป็นมุสลิมในแง่ของการละทิ้ง
เช่น คนหนึ่งละทิ้งละหมาดโดยตั้งใจ ดังที่นบีได้กล่าวไว้ว่า ;
«بين العبد وبين الكفر والشرك ترك الصلاة»
“ระหว่างบ่าว และระหว่างการปฏิเสธศรัทธา และการตั้งภาคีนั้นคือ การละทิ้งละหมาด”
และหลักฐานอีกมากมายเกี่ยวกับการตัดสินคนทิ้งละหมาดว่าเป็นกาเฟร
กฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับคนที่ตกมุรตัดหลังจากยืนยันแล้วว่าเขาสิ้นสภาพจริง(ตามกฏหมายอิสลามและในบ้านเมืองที่ใช้กฎหมายอิสลามตัดสิน)
1. ให้โอกาสเขากลับเนื้อกลับตัว หากเขากลับตัวสู่อิสลามภายในสามวันหรือก่อนหน้านั้นก็ปล่อยตัวเขาไป
2. เมื่อเขาปฏิเสธเสียงแข็งที่จะกลับตัวก็จำเป็นต้องประหาร ดังคำกล่าวของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ที่ว่า
«من بدَّلَ دينه فاقتلوه»
“ใครเปลี่ยนศาสนาของเขา ดังนั้นจงประหารชีวิตเขาเสีย”
3. ไม่อนุญาตให้เขาจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินของเขาในช่วงระยะที่ให้โอกาสเขากลับตัว หากเขากลับสู่อิสลามทรัพย์นั้นก็กลับคืนสู่เขา หากเขาไม่กลับตัวทรัพย์นั้นก็ตกเป็นของคลังซะกาต โดยพิจารณาว่ามันคืออัลฟัยอ์(ทรัพย์ที่ได้มาจากเชลยโดยไม่มีการต่อสู้กัน)หลังจากเขาถูกประหาร หรือ เขาเสียชีวิตไปเองในสภาพที่ตกศาสนา
บางทัศนะกล่าวว่า นับตั้งแต่ที่เขาตกศาสนาทรัพย์สมบัติของเขาจะถูกแจกแจงเพื่อผลประโยชน์ของบรรดามุสลิม
4. ยุติการให้หรือรับมรดกระหว่างเขากับทายาทของเขา ไม่ให้มรดกและไม่อนุญาติให้รับมรดก
5. เมื่อเขาตาย หรือ ถูกประหาร อันเนื่องจากการตกศาสนา เขาจะไม่ถูกอาบน้ำ ไม่ถูกละหมาดญะนาซะห์ให้ ไม่ถูกฝังรวมกับกุโบรของบรรดามุสลิม แต่ทว่าเขาจะถูกฝังในกุโบรของบรรดากาแฟร หรือฝังดินที่ไหนก็ได้ที่ไม่ใช่สุสานของบรรดามุสลิม
http://madrasato-mohammed.com/mawsoaat.../pg_034_0011.htm