สุนนะฮฺ คืออะไร ?
  จำนวนคนเข้าชม  9845


สุนนะฮฺ คืออะไร ?

 

อับดุลวาเฮด สุคนธา

 

     ความหมายของคำว่า สุนนะฮฺ ด้านภาษา แนวทาง หนทาง ทางเดิน

     ความหมายของคำว่า สุนนะฮฺ ด้านวิชาการ สิ่งที่ท่านนบี ศอลลัลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ได้สั่งใช้หรือส่งเสริม ทั้งในการกระทำและการพูด แบบฉบับ และแนวทางของท่านในการยึดมั่น การพูด และการกระทำ ชีวิตของท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ทั้งปวง ไม่ว่าจะเป็นการปฏิบัติศาสนกิจ จริยธรรม ศีลธรรม คุณธรรม แม้กระทั่งกิริยามารยาทของท่าน

     

     ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า

 

فَعَلَيْكُمْ بِسُنَّتِي وَسُنَّةِ الْخُلَفَاءِ الرَّاشِدِينَ الْمَهْدِيينَ، عَضُّوا عَلَيْهَا بِالنَّوَاجِذِ

 

     “พวกท่านทั้งหลายจงยึดมั่นในแนวทางของฉัน (سُنَّتِي) และแนวทางของผู้นำที่อยู่ในแนวทางอันเที่ยงธรรมของฉันที่จะมาหลังฉัน จงเคร่งครัดในการยึดมั่นบนแนวทางนั้น จงกัดมันด้วยฟันกราม(คืออย่าละทิ้งเป็นอันขาด) และจงหลีกให้พ้นจากอุตริกรรมในกิจการของศาสนา เพราะทุกอุตริกรรมในกิจการศาสนานั้นเป็นการหลงผิด

(ฮะดีษศ่อฮี้ฮฺที่บันทึกโดยอิมามอะหมัด, อัตติรมีซีย์, อบู ดาวูด และอิบนุ มาญะฮฺ)

 

     สุนนะฮฺ คือ การตามแบบอย่างของท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิวะสัลลัม นั่นเอง การปฏิบัติศาสนกิจ จริยธรรม ศีลธรรม คุณธรรม แม้กระทั่งกิริยามารยาทของท่าน ทั้งที่จำเป็นหรือส่งเสริมให้ปฏิบัติก็ตาม

 

     สุนนะฮฺ คือ สิ่งตรงกันข้ามกับ บิดอะฮฺ สิ่งอุตริกรรม ตัด ต่อ เติม ขึ้นมาใหม่ในศาสนา เช่น จัดงานวันเกิด ท่านนบี (เมาลิด) ทำบุญให้คนตาย (เจ็ดวัน) เฝ้าหลุมฝังศพ อ่านกรุอ่านที่กุโบร์ เป็นต้น

 

     นักวิชานิติศาสตร์อิสลามให้ความหมายของคำว่า สุนนะฮฺ สิ่งที่ชอบให้ปฏิบัติ หรือส่งเสริมให้กระทำ หมายถึงว่า คำสั่งใช้ในหลักการของศาสนาให้กระทำก็ได้ไม่ทำก็ได้ ถ้าปฏิบัติจะได้ผลบุญ แต่หากละทิ้งก็จะไม่เกิดโทษ

 

ตัวอย่างชนชาวซะลัฟ ซอและฮฺ กับการส่งเสริมให้ปฏิบัติตาม สุนนะฮฺ ของท่านนบี

 

     มีรายงานจากท่านหญิงอุมมุ หะบีบะฮฺเราะฎิยัลลอฮุอันฮา ภรรยาของท่านนท่าบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ว่าฉันได้ยินท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า

 

مَنْ صَلَّى اثْنَتَيْ عَشْرَةَ رَكْعَةً فِي يَوْمٍ وَلَيْلَةٍ بُنِيَ لَهُ بِهِنَّ بَيْتٌ فِي الْجَنَّةِ

 

     “บุคคลคนไหนที่ได้ละหมาดสุนัต(การละหมาดสุนัตก่อนหรือหลังละหมาดฟัรฎุ) วันกับคืนหนึ่งละ 12 ร็อกอะฮฺ (1-สี่ร็อกอะฮฺก่อนละหมาดซุฮฺริ 2-สองร็อกอะฮฺหลังจากละหมาดซุฮฺริ 3-สองร็อกอะฮฺหลังจากละหมาดมัฆฺริบ4-สองร็อกอะฮฺหลังจากละหมาดอิชาอ์ 5-สองร็อกอะฮฺก่อนละหมาดฟัจญ์รฺ (ศุบหฺ))  บ้านหลังหนึ่งจะถูกสร้างให้เขาหนึ่งในสวรรค์

(บันทึกโดยมุสลิม)

 

     ท่านหญิงอุมมุ หะบีบะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮา กล่าวว่า ฉันไม่เคยละทิ้งเลยตั้งแต่ได้ยินมาจากท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม

     ท่าน อันบะซะ กล่าวว่า ฉันไม่เคยละทิ้งเลยตั้งแต่ได้ยินมาจากท่านหญิง อุมมุ หะบีบะฮฺเราะฎิยัลลอฮุอันฮา

     ท่านอัมรฺ บิน เอาสฺ กล่าวว่า ฉันไม่เคยละทิ้งเลยตั้งแต่ได้ยินมาจากท่าน อันบะซะ

     ท่านนุมาน บิน ซาลิม กล่าวว่า ฉันไม่เคยละทิ้งเลยตั้งแต่ได้ยินมาจากท่านอัมรฺ บิน เอาสฺ

 

การกล่าวตักบีร ตัสบีห และตัหมีดสุนนะก่อนจะนอน

 

     มีรายงานจากอะลี เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ว่า :

 

أَنَّ فَاطِمَةَ رضي الله عنها جاءت تسأل النبي خَادِمًا فَلَمْ تُوَافِقْهُ، قالت ... فَأَتَانَا وَقَدْ أخذنا مَضَاجِعَنَا ... فَقَالَ :«أَلاَ أَدُلُّكُمَا عَلَى خَيْرٍ مِمَّا سَأَلْتُمَاني؟، إِذَا أَخَذْتُمَا مَضَاجِعَكُمَا فَكَبِّرَا اللَّهَ أَرْبَعًا وَثَلاَثِينَ، وَاحْمَدَا ثَلاَثًا وَثَلاَثِينَ، وَسَبِّحَا ثَلاَثًا وَثَلاَثِينَ، فَإِنَّ ذَلِكَ خَيْرٌ لَكُمَا مِمَّا سَأَلْتُمَاهُ

 

     ท่านหญิงฟาฏิมะฮฺได้มาขอคนใช้จากท่านนบี แต่เธอกลับไม่ได้รับการตอบสนองจากท่าน เธอเล่าว่า ...”แล้วท่านก็มาหาเรา โดยที่เราได้เข้านอนแล้ว ... 

     ท่านจึงบอกว่า จะเอาไหมล่ะ ฉันจะแนะนำสิ่งที่ดีกว่าสิ่งที่เธอทั้งสองได้ขอจากฉัน ? เมื่อพวกเธอจะนอน จงกล่าวตักบีรเทิดทูนอัลลอฮฺ (อัลลอฮฺอักบัร) สามสิบสี่ครั้ง กล่าวสรรเสริญ (อัลหัมดุลิลลาฮฺ) สามสิบสามครั้ง และกล่าวตัสบีห (ซุบหานัลลอฮฺ) สามสิบสามครั้ง เพราะการกระทำดังกล่าวนั้นดีเลิศสำหรับเธอทั้งสองกว่าสิ่งที่ได้ขอมา

(บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ และมุสลิม)

 

     ท่านอาลี บิน อะบี ฏอลิบ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า ฉันไม่เคยละทิ้งเลยตั้งแต่ได้ยินมาจาก ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม บางคนกล่าวว่า แม้กระทั้งในค่ำคืนของสงครามซิฟฟิน (เกิดขึ้นหลังจากสงครามอัลญะมัลได้เสร็จสิ้นลง ระหว่างท่านอะลีกลับท่านมุอาวียะฮ์ ในปีที่ 37 ฮิจเราะห์ เดือน ซอฟัร ) เพราะเป็นที่ทราบกันดีในค่ำคืนของสงครามซิฟฟินไม่มีใครจะมาพะวงกับการปฏิบัติในสิ่งที่เป็นสุนนะฮฺ เพราะอยู่ในสภาวะหวาดกลัว เตรียมพร้อมอยู่ตลอดเวลา

 

     ท่านอิบนุ อุมัร เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า ในขณะละหมาดญานะซะฮ์(คือการละหมาดให้กับศพที่เสียชีวิตในสภาพมุสลิม) เสร็จท่านก็ออกไปซึ่งไม่เดินติดตามศพไปยังหลุมด้วย เพราะคิดว่าเท่านั้นก็สมบูรณ์แบบแล้วในเรื่องซุนนะฮฺ เพราะว่าท่านนั้นไม่ทราบว่ามีสุนนะให้เดินติดตามศพไปด้วย ครั้งเมื่อท่านทราบถึงสุนนะของการให้เดินติดตามศพไปยังหลุมฝังศพด้วยรายงานตัวบทจากท่านอบี ฮุรอยเราะห์เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ท่านรู้สึกเสียใจพลาดสุนนะฮฺอันนี้

     พวกท่านจงพิจารณาความเสียใจของท่านอิบนุอุมัรที่ไม่ได้ปฏิบัติสุนนะ พลาดผลบุญมากมาย !

 

     มีรายงานจากท่านเซาบาน ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ แจ้งว่า ท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า

 

مَنْ خَرَجَ مَعَ جَنَازَةٍ مِنْ بَيْتِهَا وَصَلَّى عَلَيْهَا ثُمَّ تَبِعَهَا حَتَّى تُدْفَنَ كَانَ لَهُ قِيرَاطَانِ مِنْ أَجْرٍ كُلُّ قِيرَاطٍ مِثْلُ أُحُدٍ وَمَنْ صَلَّى عَلَيْهَا ثُمَّ رَجَعَ كَانَ لَهُ مِنَ الأَجْرِ مِثْلُ أُحُدٍ

 

     “ผู้ใดละหมาดให้แก่ผู้ตาย (ญะนาซะฮฺ) เขาจะได้รับผลบุญมีน้ำหนักเท่า หนึ่งกิร็อฏ และถ้าเขาไปร่วมฝังศพก็จะได้รับผลบุญเท่ากับ สองกิร็อฏ (ผลบุญ หนึ่งกิร็อฏ มากมายยิ่งใหญ่เท่ากับภูเขาอุฮุด)

 (บันทึกโดยมุสลิมและอิบนุมาญะห์)

 

     ท่านอิบนุ อุมัร ส่งท่านค็อบบ๊าบไปหาท่านหญิงท่านหญิงอาอิชะฮ์ร่อฎิยัลลอฮุอันฮันฮา จากคำพูดหะดีษรายงานจากท่านอบูฮุรอยรอยะร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ ท่านค็อบบ๊าบกลับมาและบอกสิ่งที่รับรู้ ท่านอิบนุอุมัร หยิบก้อนหินในมัสยิด ทำก้อนหินนั้นสลับไปสลับมาในกำมือ จนกระทั้งท่านได้กลับมาจากท่านหญิงอาอิชะฮ์ ท่านอบูฮุรอยเราะห์ พูดจริง

     ท่านอิบนุ อุมัร เอามือฟาดลงที่พื้นพร้อมกับก้อนหินที่อยู่ในกำมือ และ ท่านกล่าวว่า "กี่กิร็อฏที่เราได้พลาดไปมันมากมายเหลือเกิน" คือ กี่ภูเขาอุฮุดแล้วพลาดไป(ผลบุญ หนึ่งกิร็อฏ มากมายยิ่งใหญ่เท่ากับภูเขาอุฮุด

 

     ท่าน อิมามอันนะวะวีย์ กล่าวว่า แน่นอนบรรดาศ่ออาบะนั้นต่างมุงมั่นที่จะปฏิบัติตามสุนนะฮฺของท่านนบีเมื่อได้รับทราบในเรื่องนั้นๆอย่างเคร่งครัด และจะรู้สึกเสียใจต่อการพลาดในสุนนะที่ไม่รับทราบมาก่อน แม้ว่าไม่ได้รับทราบภาคผลของการตอบแทนที่ยิ่งใหญ่