ผู้ทรงสิทธิ์แห่งการนิรโทษกรรม
  จำนวนคนเข้าชม  2916


ผู้ทรงสิทธิ์แห่งการนิรโทษกรรม

 

.ฮาซัน เจริญจิตต์

 

อัลลอฮฺ อัซซะวะญัล ตรัสว่า

 

قُلْ يَا عِبَادِيَ الَّذِينَ أَسْرَفُوا عَلَىٰ أَنفُسِهِمْ لَا تَقْنَطُوا مِن رَّحْمَةِ اللَّـهِ ۚ إِنَّ اللَّـهَ يَغْفِرُ الذُّنُوبَ جَمِيعًا ۚ إِنَّهُ هُوَ الْغَفُورُ الرَّحِيمُ ﴿٥٣

 

จงกล่าวเถิดมุฮัมมัด ปวงบ่าวของข้าเอ๋ย!

บรรดาผู้ละเมิดต่อตัวของพวกเขาเอง พวกท่านอย่าได้หมดหวังต่อพระเมตตาของอัลลอฮ์ 

แท้จริง อัลลอฮ์นั้นทรงอภัยความผิดทั้งหลายทั้งมวล แท้จริงพระองค์นั้นเป็นผู้ทรงอภัย ผู้ทรงเมตตาเสมอ

(อัซุมัร/23)

 

          วันนี้อยากหยิบยกฮะดีษบทหนึ่งมาอธิบายขยายความ พอให้เห็นภาพและจุดยืนในอะกีดะฮฺที่ถูกต้องของมุสลิมกันสักหน่อย ผมนั่งเขียนบทความและขยายต่อไปได้ถึง 5 หน้ากระดาษA4 อาจจะต้องใช้เวลา 2 ครั้งในการคุฏบะฮฺกว่าจะจบใจความและสาระสำคัญที่ไม่ควรละเลยสักประเด็น

 

عَنْ عَبْدِ اللَّهِ بْنِ عَمْرِو بْنِ الْعَاصِ عَنْ أَبِي بَكْرٍ الصِّدِّيقِ رضي الله عنهم أَنَّهُ قَالَ لِرَسُولِ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم : عَلِّمْنِي دُعَاءً أَدْعُو بِهِ فِي صَلاتِي . قَالَ : قُلْ : اللَّهُمَّ إنِّي ظَلَمْتُ نَفْسِي ظُلْماً كَثِيرَاً ، وَلا يَغْفِرُ الذُّنُوبَ إلاَّ أَنْتَ ، فَاغْفِرْ لِي مَغْفِرَةً مِنْ عِنْدِكَ وَارْحَمْنِي , إنَّكَ أَنْتَ الْغَفُورُ الرَّحِيمُ .

 

     จากอับดุลลอฮฺ อิบนุล อัมรุบนุล อาศ จากท่านอบีบักรฺ อัศศิดดี๊ก รอฏิยัลลอฮุ อันฮุม ท่านอบูบักรฺกล่าวกับท่านรอซูล-ศ็อลลัลลอฮุ อลัยฮิวะซัลลัม-ว่า จงสอนดุอาอฺให้ฉันสักบท ที่ฉันจะใช้วิงวอนในละหมาดของฉัน ท่านรอซูล-ศ็อลลัลลอฮุ อลัยฮิวะซัลลัม-กล่าวว่า 

     ท่านจงกล่าวอัลลอฮุมมะ อินนี ศ่อลัมตุนัฟซีย์ ศุลมันกะษีร็อน วะลายัฆฟิรุซ ซุนูบะ อิลลา อันตะ ฟัฆฟิรลีย์ มัฆฟิรอตัน มินอินดิก วัรฮัมนีย์ อินนะกะ อันตันฆอฟูรุร รอฮีม

     ซึ่งมีความหมายว่าโอ้อัลลอฮฺ แท้จริงฉันเป็นผู้อธรรมต่อตนเอง ด้วยการอธรรมอย่างมากมาย ไม่มีผู้ใดจะอภัยในความผิดได้ นอกจากพระองค์ท่านเท่านั้น ขอพระองได้ทรงอภัยโทษแก่ฉัน ด้วยการอภัยโทษ ที่พระองค์ และทรงเมตตาฉันด้วย แท้จริงพระองค์คือผู้ทรงอภัยผู้ทรงปราณีเสมอ”

 

ในฮะดีษนี้มีประเด็นควรพิจารณา ดังนี้

 

     1. ความกระตือรือร้นของบรรดาศอฮาบะฮฺ ที่กระหายจะทำความดีทุกชนิด มารยาทของพวกเขาในการร้องขอความรู้ความเข้าใจจากท่านรอซูล-ศ็อลลัลลอฮุ อลัยฮิวะซัลลัม- พวกเขาเคยขอให้ท่านรอซูลแนะนำวิธีการต่างๆ ที่จะทำให้ได้เข้าสวรรค์และปลอดภัยจากนรก อันเป็นลักษณะที่มุสลิมผู้ศรัทธาทั้งหลายสมควรปฏิบัติตามอย่างยิ่ง

 

اشتمال هذا الدعاء على الاعتراف بالذنب في قوله : " اللَّهُمَّ إنِّي ظَلَمْتُ نَفْسِي ظُلْماً كَثِيرَاً " وفي رواية " كبيراً "

 

      2. ประเด็นสำคัญดุอาอฺบทนี้รวมเอาการสารภาพผิด การจำนนในการเป็นผู้ที่มีความผิดบาป 

โอ้อัลลอฮฺ แท้จริงฉันเป็นผู้อธรรมต่อตัวเอง ด้วยการอธรรมอย่างมากมาย” 

ในบางรายงานกล่าวว่าด้วยการอธรรมอย่างใหญ่หลวง” 

 

          ทั้งที่เป็นที่แน่ชัดถึงความประเสริฐ ความเป็นคนดีของท่านอบูบักรฺ แต่ท่านรอซูล-ศ็อลลัลลอฮุ อลัยฮิ วะซัลลัม-ก็สอนดุอาอฺบทนี้ให้กับท่านเพื่อเป็นความรู้ให้แก่ประชาชาติ

 

فالاعتراف بالذنب من سمات الأنبياء والصالحين .

 

     3. การสำนึกและยอมรับผิด สารภาพผิดต่อพระองค์นั้น เป็นการแสดงความต่ำต้อยและนอบน้อมต่ออัลลอฮฺ  เป็นลักษณะเด่นของบรรดาอัมบิยาอฺและบรรดาคนดีทั้งหลาย ท่านนบีอาดัม อลัยฮิสสลามกล่าวว่า

 

قَالَا رَبَّنَا ظَلَمْنَا أَنفُسَنَا وَإِن لَّمْ تَغْفِرْ لَنَا وَتَرْحَمْنَا لَنَكُونَنَّ مِنَ الْخَاسِرِينَ ﴿٢٣

 

     “เขาทั้งสองได้กล่าวว่า โอ้พระเจ้าของพวกเข้าพระองค์ พวกข้าพระองค์ได้อธรรมแก่ตัวของพวกข้าพระองค์เอง

      และถ้าพระองค์ไม่ทรงอภัยโทษแก่พวกข้าพระองค์และเอ็นดูเมตตาแก่ข้าพระองค์แล้ว แน่นอนพวกข้าพระองค์ก็ต้องกลายเป็นพวกที่ขาดทุน 

(อัลอะร๊อฟ/23)

ผลของการสารภพผิดในครั้งนั้นก็คือ

 

ثُمَّ اجْتَبَاهُ رَبُّهُ فَتَابَ عَلَيْهِ وَهَدَىٰ ﴿١٢٢)

 

ภายหลัง พระเจ้าของเขาทรงคัดเลือกเขาแล้วทรงอภัยโทษให้แก่เขา และทรงแนะทางที่ถูกต้องให้เขา 

(ฏอฮา/122)

 

ودعوات الأنبياء تتضمن الاعتراف بالذنب مع عصمتهم من الكبائر

قال عليه الصلاة والسلام : دَعْوَةُ ذِي النّونِ - إذْ دَعَا وَهُوَ في بَطْنِ الحُوتِ - : لا إلَهَ إلاّ أنْتَ سُبْحَانَكَ إنّي كُنْتُ مِنَ الظّالِمِينَ ، فَإِنّهُ لَمْ يَدْعُ بـها رَجُلٌ مُسْلِمٌ في شَيْءٍ قَطّ إلاّ اسْتَجَابَ الله لَهُ . رواه الإمام أحمد وغيره ، وهو حديث صحيح

 

     4. ดุอาอฺของบรรดานบี จะรวมเอาการสารภาพผิด อันเป็นการแสดงความต่ำต้อยและการถ่อมตนต่ออัลลอฮฺ-ซุบฮานะฮูวะตะอาลา- แม้ว่าท่านเหล่านั้นจะเป็นผู้ที่ปราศจากความผิดก็ตาม ท่านนบี-ศ็อลลัลลอฮุ อลัยฮิวะซัลลัม-กล่าวว่า 

     “ดุอาอฺของนบียูนุส(หรือซุลนูน) ที่วิงวอนขอจากอัลลอฮฺในขณะที่ท่านอยู่ในท้องปลา ก็คือ

     ลาอิลาฮะอิลลา อันตะ ซุบฮานะกะ อินนีย์ กุนตุ มินัศศอลิมีน

     -ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระองค์ มหาบริสุทธิ์แด่พระองค์ท่าน แท้จริงฉันเป็นหนึ่งในบรรดาผู้อธรรมทั้งหลาย-

     ไม่มีผู้ใดที่วิงวอนขอสิ่งใดจากอัลลอฮฺ ด้วยดุอาบทนี้ นอกจากอัลลอฮฺจะทรงตอบรับดุอาอฺของเขา” 

(บันทึกโดยอิหม่ามอะหมัดและคนอื่นๆ-ฮะดีษศ่อเฮี้ยห์)

 

وإنما كان سيدُ الاستغفار سيداً لتضمُّنه الإقرار بالذنب والاعتراف بالخطيئة مع العلم يقينا بأنه لا يغفر الذّنوب إلا الله .

 

     5. มีดุอาอฺบทหนึ่งที่นอกจากจะได้รับการขนานนามว่า ซัยยิดุล อิสตฆฟาร (บทสุดยอดของการขอภัยโทษ) แล้ว ยังเป็นบทสุดยอดแห่งการสารภาพรับผิด จำนนในความชั่วที่ได้ทำไป โดยรู้อย่างมั่นใจและเชื่อมั่นว่าไม่มีผู้ใดที่จะอภัยโทษในความผิดเหล่านั้นได้ นอกจากอัลลอฮฺเท่านั้น

 

قال عليه الصلاة والسلام : سيد الاستغفار أن تقول :  اللَّهُمَّ أَنْتَ رَبِّي لَا إِلَهَ إِلَّا أَنْتَ , خَلَقْتَنِي وَأَنَا عَبْدُكَ , وَأَنَا عَلَى عَهْدِكَ وَوَعْدِكَ مَا اسْتَطَعْتُ , أَعُوذُ بِكَ مِنْ شَرِّ مَا صَنَعْتُ , أَبُوءُ بِنِعْمَتِكَ وَأَبُوءُ بِذَنْبِي , فَاغْفِرْ لِي فَإِنَّهُ لَا يَغْفِرُ الذُّنُوبَ إِلَّا أَنْتَ . قال : من قالها من النهار مُوقناً بها فمات من يومه قبل أن يُمسِي فهو من أهل الجنة ، ومن قالها من الليل وهو موقن بها فمات قبل أن يصبح فهو من أهل الجنة . رواه البخاري .

 

     ท่านรอซูลุลลอฮฺ-ศ็อลลัลลอฮุ อลัยฮิวะซัลลัม-กล่าวว่า บทสุดยอดของการขออภัยโทษคือ การที่ท่านกล่าวว่า (ความหมาย

     “โอ้อัลลอฮฺ แท้จริงพระองค์คือผู้อภิบาลของฉัน ไม่มีพระเจ้าอื่นใดเว้นแต่พระองค์ พระองค์คือ ผู้สร้างฉันมา และฉันเป็นบ่าวของพระองค์ และฉันจะยืนหยัดมั่นคงในแนวทางและคำสัญญาของพระองค์สุดความสามารถของฉัน

     ฉันขอจากพระองค์ให้ห่างไกลจากสิ่งชั่วร้ายที่ฉันเคยกระทำ

     และฉันขอนอบน้อมและยอมรับ(บุญคุณ)ในความโปรดปราณของพระองค์ที่มีต่อฉัน

     และฉันขอรับ(ผิด)ในความผิดของฉัน ขอพระองค์ทรงลบล้างบาปของฉัน

     "แท้จริงไม่มีผู้ใดที่มีอำนาจลบล้างบาปเว้นแต่พระองค์เท่านั้น" 

     ผู้ใดกล่าวการขออภัยโทษนี้เวลากลางวันด้วยความศรัทธามั่นคงและเสียชีวิตก่อนเวลาค่ำ อัลลอฮฺจะทรงให้เขาได้เข้าสวรรค์

     และผู้ใดที่กล่าวคำขออภัยโทษนี้ในเวลากลางคืนด้วยความศรัทธามั่นคงและเสียชีวิตก่อนเวลาเช้า อัลลอฮฺจะทรงให้เขาเข้าสวรรค์เช่นกัน” 

(บันทึกโดยอัลบุคอรีย์)

 

اعتراف العبد بِذنبِه واعترافه بأنه لا يَغفر الذنوب إلا الله من أسباب المغفرة ، وفي الصحيحين من حديث أبي هريرة رضي الله عنه أن النبيَّ صلى الله عليه وسلم قال : أَذْنَبَ عَبْدٌ ذَنْبًا ، فَقَالَ : اللَّهُمَّ اغْفِرْ لِي ذَنْبِي ، فَقَالَ تَبَارَكَ وَتَعَالَى :

 أَذْنَبَ عَبْدِي ذَنْبًا ، فَعَلِمَ أَنَّ لَهُ رَبًّا يَغْفِرُ الذَّنْبَ ،

وَيَأْخُذُ بِالذَّنْبِ ..... ثُمَّ عَادَ ، فَأَذْنَبَ ،

فَقَالَ : أَيْ رَبِّ اغْفِرْ لِي ذَنْبِي ، فَقَالَ تَبَارَكَ وَتَعَالَى : عَبْدِي أَذْنَبَ ذَنْبًا ،

فَعَلِمَ أَنَّ لَهُ رَبًّا يَغْفِرُ الذَّنْبَ وَيَأْخُذُ بِالذَّنْبِ ،... ثُمَّ عَادَ ، فَأَذْنَبَ ،

فَقَالَ : أَيْ رَبِّ اغْفِرْ لِي ذَنْبِي ، فَقَالَ تَبَارَكَ وَتَعَالَى :

أَذْنَبَ عَبْدِي ذَنْبًا ، فَعَلِمَ أَنَّ لَهُ رَبًّا يَغْفِرُ الذَّنْبَ ، وَيَأْخُذُ بِالذَّنْبِ ، اعمل ما شئت فقد غفرت لك .

 

     6. การรับผิดและการยอมรับว่าไม่มีผู้ใดอภัยในความผิดต่างๆได้ นอกจากอัลลอฮฺเท่านั้น เป็นสาเหตุหนึ่งที่จะได้รับการอภัยโทษจากอัลลอฮฺ รายงานจากท่านอบีย์ฮุรัยเราะห์ รอฎิยัลลอฮุ อันฮุ ท่านนบี-ศ็อลลัลลอฮุ อลัยฮิวะซัลลัม-กล่าวว่า 

     “เมื่อบ่าวได้ทำความผิดหนึ่งความผิด แล้วเขากล่าวว่า โอ้อัลลอฮฺ โปรดอภัยโทษความผิดแก่ฉัน 

     อัลลอฮฺ ตะบารอกะวะตะอาลา ตรัสว่า บ่าวของฉันทำบาปบาปหนึ่งและเขารู้ว่าเขามีพระเจ้าที่จะอภัยโทษหรือเอาโทษ 

     หลังจากนั้น เขาก็กลับไปทำผิดแล้วกล่าวว่า ว่า โอ้ผู้อภิบาลของฉันโปรดอภัยโทษความผิดแก่ฉัน 

     อัลลอฮฺ ตะบารอกะวะตะอาลา ตรัสว่า บ่าวของฉันทำบาปบาปหนึ่งและเขารู้ว่าเขามีพระเจ้าที่จะอภัยโทษหรือเอาโทษ 

     หลังจากนั้น เขาก็กลับไปทำผิดแล้วกล่าวว่า ว่า โอ้ผู้อภิบาลของฉันโปรดอภัยโทษความผิดแก่ฉัน 

     อัลลอฮฺ ตะบารอกะวะตะอาลา ตรัสว่า บ่าวของฉันทำบาปบาปหนึ่งและเขารู้ว่าเขามีพระเจ้าที่จะอภัยโทษหรือเอาโทษ จงทำในสิ่งที่เจ้าต้องการ ข้าก็จะอภัยแก่เจ้า

(บันทึกในศ่อเฮี๊ยห์ทั้งสอง)

     คำว่า “จงทำในสิ่งที่เจ้าต้องการแล้วข้าจะอภัยแก่เจ้า” ไม่ได้หมายถึงอัลลอฮฺจะส่งเสริมให้มนุษย์ทำความชั่ว หรือทำตามอารมณ์ของพวกเขา แต่หมายถึง อัลลอฮฺทรงรู้ถึงธรรมชาติของมนุษย์ที่มีจิตใจโลเล กลับไปกลับมา แต่ตราบใดที่เขาให้เอกภาพต่อพระองค์ เชื่อมั่นว่าพระองค์คือพระเจ้าผู้ทรงอำนาจและทรงสิทธิ์ในการที่จะเอาผิดลงโทษเขา และผู้ทรงอำนาจที่จะอภัยโทษแก่เขาแต่เพียงพระองค์เดียว ทุกครั้งที่เขาขออภัยพระองค์ก็จะทรงอภัยให้

 

عَنْ أَبِي سَعِيدٍ قَالَ : سَمِعْتُ رَسُولَ اللَّهِ يَقُولُ : " إِنَّ إِبْلِيسَ قَالَ لِرَبِّهِ : بِعِزَّتِكَ وَجَلالِكَ لا أَبْرَحُ أَغْوِي ابْنَ آدَمَ مَا دَامَتِ الأَرْوَاحُ فِيهِمْ . قَالَ لَهُ رَبُّهُ : فَبِعِزَّتِي وَجَلالِي لا أَبْرَحُ أَغْفِرُ لَهُمْ مَا اسْتَغْفَرُونِي ".

 

     จากอบีย์ซะอี๊ด กล่าวว่า ฉันได้ยินท่านรอซูลลัลลอฮฺ-ศ็อลลัลลอฮุ อลัยฮิวะซัลลัม-กล่าวว่า 

     “อิบลีสได้กล่าวแก่องค์อภิบาลว่า ขอสาบานด้วเกียรติของพระองค์และความสูงส่งของพระองค์ ฉันไม่หยุดที่จะหลอกลวงลูกหลานอาดัมตราบใดที่วิญาณเขายังอยู่ 

     องค์อภิบาลตรัสแก่มันว่า ขอสาบานด้วยเกียรติของข้าและด้วยความสูงส่งของข้า ข้าก็จะไม่หยุดอภัยโทษให้พวกเขา ตราบใดที่พวกเขายังขออภัยโทษต่อข้า

(บันทึกโดยฮากิมและท่านอื่นๆ)

 

สรุปบทเรียนสำคัญจากสิ่งที่เสนอในคุฏบะฮฺนี้ก็คือ

 


1. การกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้และปฏิบัติความดีในอิสลามและตัวอย่างที่ดีของบรรดาศอฮาบะฮฺในเรื่องดังกล่าวนี้ 


 2. การให้เอกภาพต่ออัลลอฮฺ (อัตเตาฮีด) เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด


 3. การมีอกีดะฮฺที่ถูกต้อง เกี่ยวกับอัลลอฮฺ สิทธิและอำนาจอันไร้ขอบเขตของพระองค์


 4. การสำนึกผิด สารภาพผิด ยอมจำนน เป็นสัญลักษณ์ของการถ่อมตนและนอบน้อมต่ออัลลอฮฺ


 5. การรับผิด เป็นสิ่งหนึ่งที่ปรากฏในสำนวนดุอาอฺของบรรดานบีและคนดีทั้งหลาย


 6. ด้วยการสารภาพผิดและขออภัย การแสดงความต่ำต้อยของตัวเอง สรรเสริญต่ออัลลอฮฺ ให้ความบริสุทธิ์ต่อพระองค์ เชื่อมั่นศรัทธาอย่างแน่วแน่ว่า พระองค์คือพระผู้เป็นเจ้าเพียงพระองอ์เดียวเท่านั้น ที่สามารถอภัยโทษในความผิดทั้งหลายได้


 7. ไม่มีผู้ใด หรือคนกลุ่มคนใด ที่จะอภัยโทษในความผิดบาปให้แก่ผู้ใดได้ ไม่ว่าเขาจะใช้วิธีการ หรือกระบวนการใดๆก็ตาม

 

 

คุฏบะฮฺ มัสยิดนูรุลฮุดา ป่าตอง

 

higmah.net