การยืนหยัดปฏิบัติดี
อ.ฮาซัน เจริญจิตต์
1. ขอสั่งเสียตัวผมเองและพี่น้องทั้งหลายให้มีความยำเกรงต่ออัลลอฮฺ
2. ขอตักเตือนพี่น้องทั้งหลายให้ตั้งใจฟังคุฎบะฮฺ และอย่าคุยกันขณะที่คอฏีบ กำลังคุฎบะฮฺ
عن أبي هرية رضي الله عنه أنه قال : قَالَ رسول الله صلى الله عليه وسلم . إِذَا قُلْتَ لِصَاحِبِكَ يَوْمَ الْجُمْعَةِ أنصِتْ , والإمامُ يَخْطُبُ فقد لَغَوْتَ . رواه البخارى ومسلم
ท่านรอซูลุลลอฮฺ-ศ็อลลัลลอฮุ อลัยฮิ วะซัลลัม-กล่าว่า เมื่อท่านกล่าวแก่เพื่อนของท่านว่า "จงเงียบ ในขณะที่อิหม่ามกำลังคุฏบะฮฺ ละหมาดของท่านเป็นโมฆะแล้ว"
3. มุสลิมที่ดี ผู้ศรัทธาที่แท้จริง ต้องเป็นผู้ที่ดำรงมั่นในการฏออะฮฺต่ออัลลอฮฺ-ซุบฮานะฮู วะตะอาลา-อย่างต่อเนื่อง
إِنَّ الَّذِينَ قَالُوا رَبُّنَا اللَّـهُ ثُمَّ اسْتَقَامُوا فَلَا خَوْفٌ عَلَيْهِمْ وَلَا هُمْ يَحْزَنُونَ ﴿١٣﴾
“แท้จริงบรรดาผู้ที่กล่าวว่า อัลลอฮฺคือ พระเจ้าของพวกเรา แล้วพวกเขาก็ยืนหยัด (ปฏิบัติ) ตามคำกล่าวนั้น จะไม่มีความหวาดกลัวใด ๆ แก่พวกเขา และพวกเขาก็จะไม่เศร้าสลดใจ”
(อัลอะห์กอฟ/13)
عن سفيان بن عبد الله - رضي الله عنه - قال: قلتُ: يا رسول الله! قُل لي في الإسلام قولاً لا أسألُ عنه أحدًا غيرَك. قال: «قُل: آمنتُ بالله، ثم استقِم»؛ رواه مسلم.
จากซุฟยาน อิบนิ อับดุลลอฮฺ-รอฎิยัลลอฮฺ อันฮุ-กล่าวว่า ฉันกล่าวว่า โอ้ท่านรอซูลุลลอฮฺ จงบอกฉันสักคำพูดหนึ่งในอิสลาม ฉันจะไม่ถามหามัน จากผู้ใดนอกจากท่าน ท่านรอซูล-ศ็อลลัลลอฮุ อลัยฮิวะซัลลัม-กล่าวว่า
"ท่านจงกล่าวว่า ฉันศัรทธาต่ออัลลอฮฺ หลังจากนั้นจงยืนหยัด"
(บันทึกโดยมุสลิม)
4. การยืนหยัดมั่น (อัลอิสติกอมะฮฺ) ก็คืออะไร?
والاستِقامةُ هي: الاستِقامةُ على توحيد الله بتحقيقِه لربِّ العالمين، وفعلِ الفرائِض والواجِبات، وترك المُحرَّمات ابتِغاءَ ما عند الله - عز وجل
การยืนหยัดมั่น (อัลอิสติกอมะฮฺ) ก็คือ การยืนหยัดมั่นคงบนการให้เอกภาพต่ออัลลอฮฺ ว่าพระองค์คือองค์อภิบาลแห่งสากลโลก ปฏิบัติในสิ่งที่เป็นวายิบและฟัรฎูต่างๆ ยุติ ละทิ้งสิ่งต้องห้ามทั้งหมด เพื่อแสวงหาสิ่งที่อยู่ ณ ที่อัลลอฮฺ (ความพอพระทัย ความใกล้ชิดต่อพระองค์ รางวัล ผลตอบแทนต่างๆที่พระองค์ทรงสัญญาไว้)
5. นั่นคือการทำความดี หลังจากทำความดี และทำความดี เช่นนี้เรื่อยไป จนชีวิตจะหาไม่
فَإِذَا فَرَغْتَ فَانصَبْ ﴿٧﴾ وَإِلَىٰ رَبِّكَ فَارْغَب ﴿٨﴾
“ดังนั้นเมื่อเจ้าเสร็จสิ้น (จากงานหนึ่งแล้ว) ก็จงลำบากต่อไป และยังพระเจ้าของเจ้าเท่านั้นก็จงมุ่งปรารถนาเถิด”
( อัชชัรหฺ/7,8)
6. อัลลอฮฺ จะเพิ่มพูนความดีงามให้ทบเท่าทวีคูณ และให้หนทางแห่งการทำความดีนั้นสะดวกง่ายดายขึ้น จากความดีเล็กๆไปสู่ความดีที่ใหญ่ขึ้น และยากขึ้นก็จะกลายเป็นเรื่องง่ายสำหรับเขา
وَالَّذِينَ اهْتَدَوْا زَادَهُمْ هُدًى وَآتَاهُمْ تَقْوَاهُمْ ﴿١٧﴾
“ส่วนผู้ที่ปฏิบัติตามแนวทางที่ถูกต้อง พระองค์ทรงเพิ่มแนวทางที่ถูกต้องให้แก่พวกเขา และจะทรงประทานให้แก่พวกเขาซึ่งการยำเกรงของพวกเขา”
(มุฮัมหมัด/17)
وَيَزِيدُ اللَّـهُ الَّذِينَ اهْتَدَوْا هُدًى ۗ وَالْبَاقِيَاتُ الصَّالِحَاتُ خَيْرٌ عِندَ رَبِّكَ ثَوَابًا وَخَيْرٌ مَّرَدًّا ﴿٧٦﴾
“และอัลลอฮ์จะทรงเพิ่มแนวทางที่ถูกต้องให้แก่ผู้ที่อยู่ในแนวทางนั้น และการงานที่ดีที่ยั่งยืนนั้นดียิ่ง ณ ที่พระเจ้าของเจ้า ในการตอบแทนรางวัล และดียิ่งในการกลับ (ไปสู่พระองค์)”
(มัรยัม/76)
7. มนุษย์จำเป็นต้องให้ความพยายามในการเปลี่ยนแปลง และยืนหยัดในสิ่งที่ถูกต้องและยืนหยัดปฏิบัติในสิ่งที่ป็นความดี แม้จะยากเย็นในตอนเริ่มต้นก็ตาม ความดีเป็นสิ่งที่ทำได้ง่าย โดยเปิดเผย แต่ติดยาก ความชั่วเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก ต้องปกปิด แต่ติดง่าย
8. อัลลอฮฺจะไม่เปลี่ยนสภาพบุคคลใด นอกจากเขาจะเปลี่ยนแปลงตัวเขาเอง
إِنَّ اللَّـهَ لَا يُغَيِّرُ مَا بِقَوْمٍ حَتَّىٰ يُغَيِّرُوا مَا بِأَنفُسِهِمْ
“แท้จริงอัลลอฮฺจะมิทรงเปลี่ยนแปลงสภาพของชนกลุ่มใด จนกว่าพวกเขาจะเปลี่ยนแปลงสภาพของพวกเขาเอง”
( อัรเราะดุ/11)
9. ผู้ใดไม่ดำรงมั่นอยู่ในความดี และจมอยู่กับความชั่วและการฝ่าฝืน อัลลอฮฺก็จะให้เขาหลงอยู่ในเส้นทางชั่วนั้น
فَلَمَّا زَاغُوا أَزَاغَ اللَّـهُ قُلُوبَهُمْ ۚ وَاللَّـهُ لَا يَهْدِي الْقَوْمَ الْفَاسِقِينَ ﴿٥﴾
“ดังนั้นเมื่อพวกเขาหันเหไป (จากแนวทาง ที่เที่ยงตรง) อัลลอฮฺก็ทรงทำให้หัวใจของพวกเขาหันเหออกไป และอัลลอฮฺนั้นจะไม่ชี้แนะ ทางที่ถูกต้องแก่หมู่ชนผู้ฝ่าฝืน”
( อัศศ็อฟ/5)
10. สำหรับผู้ที่ยังมีความผิดพลาด การทำความดีให้มากเพื่อลบล้างความผิดเป็นสิ่งจำเป็น
وَأَقِمِ الصَّلَاةَ طَرَفَيِ النَّهَارِ وَزُلَفًا مِّنَ اللَّيْلِ ۚ إِنَّ الْحَسَنَاتِ يُذْهِبْنَ السَّيِّئَاتِ ۚ ذَٰلِكَ ذِكْرَىٰ لِلذَّاكِرِينَ ﴿١١٤﴾
“และเจ้าจงดำรงไว้ซึ่งการละหมาด ตามปลายช่วงทั้งสองของกลางวัน และยามต้นจากกลางคืน แท้จริงความดีทั้งหลายย่อมลบล้างความชั่วทั้งหลายนั่นคือข้อเตือนสำหรับบรรดาผู้ที่รำลึก”
( ฮูด/114)
وعن مُعاذ - رضي الله عنه - قال: قال رسول الله - صلى الله عليه وسلم -: «اتَّقِ الله حيثُما كنتَ، وأتبِع السيِّئةَ الحسنةَ تمحُها، وخالِقِ الناسَ بخُلُقٍ حسن»؛ رواه الترمذي، وقال: "حديثٌ حسنٌ صحيحٌ".
จากมุอาซ –รอฎิยัลลอฮุ อันฮุ-กล่าวว่า ท่านรอซูล-ศ็อลลัลลอฮุ อลัยฮิวะซัลลัม-กล่าวว่า
“จงยำเกรงอัลลอฮฺ ในทุกที่ที่ท่านอยู่ จงติดตามความชั่วด้วยความดี ความดีนั้นจะลบล้างความชั่ว และจงมีมารยาทดีกับผู้คน “
(บันทึกโดย อัตติรมีซีย์)
11. สภาพที่ชั่วช้ามี่สุดของมนุษย์ ก็คือการทำความชั่วติดตามการทำความดี ซึ่งจะทำให้การทำความดีของเขาเป็นโมฆะ ไร้ผล ณ ที่อัลลอฮฺ
เช่นตัวอย่างของผู้ที่บริจาค แล้วรำเลิกและสร้างความเดือดร้อน ความดีที่เขาจะได้รับจากการบริจาค มลายสิ้นจากการรำเลิกและการสร้างความเดือนร้อน อันตรายแก่ผู้อื่น
يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا لَا تُبْطِلُوا صَدَقَاتِكُم بِالْمَنِّ وَالْأَذَىٰ كَالَّذِي يُنفِقُ مَالَهُ رِئَاءَ النَّاسِ وَلَا يُؤْمِنُ بِاللَّـهِ وَالْيَوْمِ الْآخِرِ ۖ فَمَثَلُهُ كَمَثَلِ صَفْوَانٍ عَلَيْهِ تُرَابٌ فَأَصَابَهُ وَابِلٌ فَتَرَكَهُ صَلْدًا ۖ لَّا يَقْدِرُونَ عَلَىٰ شَيْءٍ مِّمَّا كَسَبُوا ۗ وَاللَّـهُ لَا يَهْدِي الْقَوْمَ الْكَافِرِينَ ﴿٢٦٤﴾
“บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย ! จงอย่าให้บรรดาทานของพวกเจ้าไร้ผล ด้วยการลำเลิก และการก่อความเดือดร้อน เช่นผู้ที่บริจาคทรัพย์ของเขา เพื่ออวดอ้างผู้คน และทั้งเขาก็ไม่ศรัทธาต่ออัลลอฮ์ และวันปรโลก
ดังนั้นอุปมาเขาผู้นั้น ดังอุปมัยหินเกลี้ยงที่มีฝุ่นจับอยู่บนมัน แล้วมีฝนหนัก ประสบแก่มัน แล้วได้ทิ้งมันไว้ในสภาพเกลี้ยง พวกเขาไม่สามารถที่จะได้สิ่งหนึ่งสิ่งใดจากสิ่งที่ขวนขวายไว้ และอัลลอฮ์นั้จะไม่ทรงแนะนำแก่กลุ่มชนที่ปฏิเสธศรัทธา”
( อัลบะเกาะเราะห์/264)
คุฏบะฮฺ มัสยิดนูรุลฮุดา ป่าตอง
higmah.net