กระหม่อมที่มดเท็จ
โดยเชค มุฮัมหมัด อมีน อั้ชชันกีตี้ย์
แปลเรียบเรียง อาบีดีณ โยธาสมุทร
ซูเราะฮฺ อั้ลอะลัก บิ้สมิ้ลลาฮิ้รร่ฮฺมานิ้รร่อฮีม คำพูดของพระองค์ ตะอาลา ที่ว่า
نَاصِيَةٍ كَاذِبَةٍ خَاطِئَةٍ (16) “กระหม่อมที่มดเท็จและที่ทำบาป”
ในอายะฮฺอันทรงเกียรตินี้ พระองค์ได้ทรงอ้างอิงการโกหกไว้กับกระหม่อมของคนที่เป็นผู้ปฏิเสธคนดังกล่าว ซึ่งมันก็คือ ผมตรงส่วนหน้าของศีรษะของเขาคนนั้นนั่นเอง
ทั้งๆที่ในอายะฮฺอีกหลายอายะฮฺพระองค์กลับทรงอ้างอิงพฤติกรรมนี้ไว้กับสิ่งอื่นๆที่ไม่ใช่กระหม่อมแทน เช่นในคำพูดของพระองค์ที่ว่า
إِنَّمَا يَفْتَرِي الْكَذِبَ الَّذِينَ لَا يُؤْمِنُونَ بِآيَاتِ اللَّهِ ۖ وَأُولَٰئِكَ هُمُ الْكَاذِبُونَ (105) النحل
“จริงๆแล้ว มีแต่พวกที่ไม่ศรัทธาต่อบรรดาสัญญาณของอัลลอฮฺเท่านั้นที่กุเรื่องเท็จขึ้นมา และพวกเขาเหล่านี้นี่แหละคือ พวกที่โกหก”
ซึ่งคำตอบของประเด็นนี้ ชัดเจนมาก นั่นก็คือ ที่จริงแล้วที่พระองค์ทรงกล่าวถึงกระหม่อม ณ ตรงนี้ พระองค์ทรงต้องการจะหมายถึง ตัวเจ้าของๆมันเอง ทั้งนี้ก็เป็นไปตามรูปแบบการใช้ปกติที่ชาวอาหรับเขาใช้กัน โดยจะทำการกล่าวถึงส่วนบางส่วนเพื่อให้หมายถึงทุกๆส่วนของสิ่งนั้นๆนั่นเอง
ซึ่งวิธีการนี้มีการนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายในคำพูดของชาวอาหรับและในตัวบทของอั้ลกุ้รอ่าน ซึ่งส่วนหนึ่งจากตัวอย่างของวิธีการนี้ที่ปรากฏในอั้ลกุ้รอ่านก็ได้แก่อายะฮฺอันทรงเกียรติอายะฮฺนี้ และยังได้แก่คำพูดของพระองค์ที่ว่า
تَبَّتْ يَدَا أَبِي لَهَبٍ
“สองมือของอบูละฮับได้พินาศลงแล้ว” (ซึ่งก็หมายถึง อบูละฮับนั่นเอง)
และได้แก่คำพูดของพระองค์ที่ว่า
آل عمران : 182 ذَٰلِكَ بِمَا قَدَّمَتْ أَيْدِيكُمْ
“นั่น ก็ด้วยกับสิ่งที่พวกมือของพวกท่านเองได้ทำกันไว้ก่อนแล้วนั่นแหละ”
ซึ่งหมายถึง ที่พวกท่านเองได้ทำกันไว้ก่อนแล้ว นั่นเอง และจากวิธีการนี้นี่เองที่ชาวอาหรับเรียกคนที่เป็นผู้คุมว่า “ตา”
ส่วนคำพูดของพระองค์ที่ว่า خَاطِئَةٍ(16) ((ที่ทำบาป)) นั้น ก็ไม่ได้ขัดกันแต่อย่างใดกับคำพูดของพระองค์ ตะอาลา ที่ว่า
وَلَيْسَ عَلَيْكُمْ جُنَاحٌ فِيمَا أَخْطَأْتُم بِهِ الأحزاب: 5
“และไม่ถือเป็นบาปสำหรับพวกเจ้าแต่อย่างใดในสิ่งที่พวกเจ้าพลาดทำมันลงไป”
เพราะคำว่า อั้ลคอติ้อฺ คือ คนที่ทำ ค่อตีอะฮฺ หรือ คิ้ตอฺ ตัวคอใส่สระกั้ซเราะฮฺ ซึ่งทั้งสองคำหมายถึง เรื่องที่เป็นบาป
ดังที่คำพูดของพระองค์ที่ว่า
مِّمَّا خَطِيئَاتِهِمْ أُغْرِقُوا فَأُدْخِلُوا نَارًا نوح: 25
“เนื่องจากบาปต่างๆของพวกเขานี้เอง พวกเขาจึงถูกทำให้จมน้ำ แล้วก็ถูกนำเข้าไปในนรก”
และคำพูดของพระองค์ที่ว่า
إِنَّ قَتْلَهُمْ كَانَ خِطْئًا كَبِيرًا (31) الإسراء
“แน่นอนว่าการฆ่าพวกเขาเหล่านั้นมันเป็นบาปอันใหญ่หลวง”
ได้แจกแจงประเด็นนี้ไว้อย่างชัดเจนแล้ว จึงสรุปได้ว่า คำว่า อั้ลคอติ้อฺนั้น หมายถึง คนที่ทำบาปโดยเจตนา
ส่วน อั้ลมุ้คติ้อฺนั้น หมายถึง คนที่มีการกระทำหลุดออกมาจากเขาโดยไม่ได้เจตนา ซึ่งเขาก็คือ คนที่ไม่ถูกเอาผิดและถูกถือความใดๆในเรื่องนั้นๆ โดยให้นับว่าเหตุการณ์ในสภาพเช่นนี้ของเขา ถือเป็นข้ออ้างที่ได้รับการพิจารณาตามศาสนบัญญัตินั่นเอง