มนุษย์นั้นเป็นพยานต่อตนเองในสิ่งที่พวกเขาได้กระทำ
อาบีดีณ โยธาสมุทร...แปลเรียบเรียง
ดั้ฟอุอีฮามิลิฏติร้อบฯ โดยเชค มุฮัมหมัด อมีน อั้ชชันกีตี้ย์ ซูเราะฮฺ อั้ลอาดิย้าต
บิ้สมิ้ลลาฮิ้รร่อฮฺมานิ้รร่อฮีม คำพูดของพระองค์ ตะอาลา ที่ว่า
إِنَّ الْإِنسَانَ لِرَبِّهِ لَكَنُودٌ (6) وَإِنَّهُ عَلَىٰ ذَٰلِكَ لَشَهِيدٌ (7)
“แน่นอนว่า มนุษย์เป็นพวกที่ฝ่าฝืนดื้อดึงต่อพระเจ้าของเขาจริงๆ
และแน่นอนว่าเขาเองก็เป็นพยานยืนยันในเรื่องๆนี้เองด้วย”
อายะฮฺนี้บ่งบอกให้ทราบไว้ว่า มนุษย์เป็นผู้ที่เป็นพยานยืนยันในการฝ่าฝืนดื้อดึงของตนเอง ซึ่งก็หมายถึง การเป็นที่สุดของเขาในเรื่องการปฏิเสธนั่นเอง
ที่จริงแล้วมีอายะฮฺอื่นๆอีกมากมายที่ให้ข้อมูลบ่งบอกไว้ขัดแย้งกับข้อมูลข้างต้น เช่น คำพูดของพระองค์ที่ว่า
وَهُمْ يَحْسَبُونَ أَنَّهُمْ يُحْسِنُونَ صُنْعًا )(104 الكهف)
“ในขณะที่พวกเขาเองคิดกันว่า พวกเขานั้นได้กำลังทำให้พฤติกรรมที่มีเป็นสิ่งที่ดีเลิศกันอยู่”
และคำพูดของพระองค์ที่ว่า
وَيَحْسَبُونَ أَنَّهُم مُّهْتَدُونَ (37 الزخرف)
“และพวกเขาคิดกันว่า พวกเขานี้แหละคือพวกที่อยู่บนทางที่ถูกต้อง”
และคำพูดของพระองค์ที่ว่า
وَبَدَا لَهُم مِّنَ اللَّهِ مَا لَمْ يَكُونُوا يَحْتَسِبُونَ (47 الزمر)
“และสิ่งที่พวกเขาไม่เคยคาดคิดกันก็ปรากฏชัดขึ้นแก่พวกเขาจากอัลลอฮฺ”
ซึ่งคำตอบของกรณีนี้มีอยู่ด้วยกัน 3 ช่องทาง
1. การที่มนุษย์เป็นพยานว่า ตนฝ่าฝืนดื้อดึงนั้น คือ การที่สภาพของเขาได้เข้ามาเป็นพยานยืนยันด้วยการมีการฝ่าฝืนและดื้อดึงปรากฏชัดออกมานั่นเอง ซึ่งบางทีการกระทำที่เกิดขึ้นก็สามารถทำหน้าที่แทนคำพูดได้อย่างครบถ้วนพออยู่แล้ว
2. การเป็นพยานของเขาต่อตนเองในเรื่องที่ว่านี้ มีขึ้นในวันกิยามะฮฺ ดังที่คำพูดของพระองค์ที่ว่า
وَشَهِدُوا عَلَىٰ أَنفُسِهِمْ أَنَّهُمْ كَانُوا كَافِرِينَ (130 الأنعام)
“และพวกเขาก็ต่างเป็นพยานยืนยันต่อตัวของพวกเขาเองว่า พวกเขาเป็นพวกที่ปฏิเสธกันมา”
และคำพูดของพระองค์ที่ว่า
فَاعْتَرَفُوا بِذَنبِهِمْ فَسُحْقًا لِّأَصْحَابِ السَّعِيرِ (11 الملك)
“แล้วพวกเขาจึงพากันยอมรับต่อบาปของพวกเขากัน ดังนั้น ช่างห่างไกลอย่างยิ่งสำหรับพวกชาวนรก”
และคำพูดของพระองค์ที่ว่า
قَالُوا بَلَىٰ وَلَٰكِنْ حَقَّتْ كَلِمَةُ الْعَذَابِ عَلَى الْكَافِرِينَ (71 الزمر)
“พวกเขาพูดกันว่า ใช่ครับ แต่ว่าคำแห่งการลงโทษได้เกิดขึ้นจริงต่อพวกที่ปฏิเสธเสียแล้ว”
(ได้บ่งบอกเอาไว้)
3. สรรพนามในคำพูดของพระองค์ที่ว่า
وَإِنَّهُ عَلَىٰ ذَٰلِكَ لَشَهِيدٌ (7)
“และแน่นอนว่า “เขา” เองก็เป็นพยานยืนยันในเรื่องๆนี้เองด้วย”
กลับไปหาพระเจ้าของมนุษย์ซึ่งถูกมีการกล่าวถึงไว้ในคำพูดของพระองค์ที่ว่า
إِنَّ الْإِنسَانَ لِرَبِّهِ لَكَنُودٌ (6)
“แน่นอนว่า มนุษย์เป็นพวกที่ฝ่าฝืนดื้อดึงต่อพระเจ้าของเขาจริงๆ”
ซึ่งเมื่อเป็นเช่นนี้ก็เท่ากับว่า ไม่มีประเด็นปัญหาใดๆในอายะฮฺนี้อีก แต่อย่างไรก็ดี การให้สรรพนามในอายะฮฺกลับไปหาคำว่า มนุษย์ นั้น สอดคล้องกับรูปแบบการสื่อความหมายของข้อความตามนัยปกติมากกว่า โดยอาศัยหลักฐานจากคำพูดของพระองค์ที่ว่า
وَإِنَّهُ لِحُبِّ الْخَيْرِ لَشَدِيدٌ (8)
“และแน่นอนว่าเขาก็เป็นผู้ที่รักทรัพย์สินอย่างมากเอาเสียด้วย”
และความรู้ที่เที่ยงแท้นั้นอยู่ที่อัลลอฮฺตะอาลา