การปิดหน้าเป็นเพียงวัฒนธรรมของซาอุดิอาระเบียใช่ไหม ?
เชค ศอและฮฺ อั้ลอุศอยมี่ย์ ฮะฟิซอฮุ้ลลอฮฺ
อาบีดีณ โยธาสมุทร แปลและเรียบเรียง
ส่วนหนึ่งจากเรื่องที่เป็นสาเหตุของเรื่องราวเหล่านั้น ก็คือ การพยายามที่จะมองว่า มาตรการของศาสนาในการรักษาสภาพสังคมนั้นมันเป็นมาตรการที่ตื้นเขิน และการเข้ามาเปลี่ยนให้มาตรการเหล่านี้เป็นแค่เพียงขนบ เป็นเพียงประเพณี และเป็นเพียงจารีตที่มันตกยุคและผิดที่ผิดทางไปแล้วเท่านั้น
ด้วยเหตุนี้ ความเหนียวแน่นของสังคมต่อการให้เกียรติต่อเรื่องที่เป็นสัญลักษณ์ของอัลลอฮฺ , ต่อการรักษาบัญญัติของศาสนา,ต่อการปกป้องเรื่องที่เป็นฐานรากและต่อการพิทักษ์เรื่องที่เป็นคุณธรรมอันสูงส่งต่างๆเอาไว้นั้น จึงเท่ากับเป็นการแสดงออกถึงความโสมมที่สังคมๆนี้ได้ทิ้งเอาไว้และนำมันมาสวมไว้ที่คอและรัดไว้ที่มือของคนในสังคม ผ่านช่วงเวลายุคแล้วยุคเล่าและผ่านประเพณีพื้นถิ่นของคนในพื้นที่จนสุดท้ายก็คลอดออกมาเป็นความผูกพันธุ์อันเหนียวแน่นที่ว่าในสายตาของคนกลุ่มนี้แทน
จากตรงนี้ การที่ผู้หญิงทำการคลุมหน้า สำหรับคนบางกลุ่มในทุกวันนี้จึงกลายเป็นเรื่องนอกรีต ผิดไปจากวิถีที่มนุษย์ควรจะเป็น และเป็นเครื่องแต่งกายที่ไม่มีความเกี่ยวข้องอะไรกันเลยกับศาสนาอิสลาม ซึ่งยุคสมัยได้ล่วงเลยผ่านไปแล้วเป็นตัวกำหนดเครื่องแบบนี้ขึ้นมาเอง อีกทั้งยังได้มีการเบี่ยงเบนความหมายของตัวบททางศาสนาในเรื่องนี้ไว้แล้วจนอิ่มตัว เพื่อการกดขี่และข่มเหงคนที่เป็นผู้หญิง ซึ่งกระบวนการพวกนี้มีให้เห็นแค่จากพวกคนซาอุฯ เท่านั้น!!
ไม่ทราบว่าพวกคนกลุ่มนี้ไม่ได้เคยได้ยินผู้ชายคนหนึ่งที่ชื่อว่า อบูฮามิด อั้ลฆ้อซซาลีย์กันมาบ้างเลยหรือครับ? เขาเป็นคนที่เสียชีวิตในปีฮ.ศ.ที่ 550 เขาเป็นคนอิรักครับ เขาได้เคยพูดไว้ว่า “นับมาตั้งแต่ไหนแต่ไรแล้วที่คนที่เป็นผู้ชายจะทำการเปิดหน้าของตัวเองกัน ส่วนคนที่เป็นผู้หญิงจะสวมใส่นิกอบปิดบังใบหน้ากันไว้ ตอนที่ต้องออกมาข้างนอก”
และอีกท่านหนึ่งที่เป็นชาวอันดะลุเซีย เมืองที่แสงอรุณแห่งอารยธรรมได้แผ่กว้างออกมาจากเมืองนี้และไปส่องทางสว่างไปให้แก่พวกยุโรป ซึ่งก็ได้แก่ ท่านอบูฮัยยาน อั้ลอันดะลุซี่ย์ ท่านเสียชีวิตในปีฮ.ศ.ที่ 745 ท่านเล่าให้ฟังว่า “คนที่เป็นผู้หญิงที่เมืองอันดะลุเซียนั้น ไม่มีส่วนใดของนางเผยออกมาให้พบเห็นได้เลยนอกจาก ตาของนางแค่เพียงข้างเดียวเท่านั้น”
ส่วนบุคคลท่านที่สาม ท่านเป็นคนเยเมน ได้แก่ท่านมุฮัมหมัด อิบนุ อลี อั้ลเมาซะอี่ย์ ท่านเสียชีวิตในปีฮ.ศ.ที่ 825 ท่านได้กล่าวไวว่า “สิ่งนี้เป็นสิ่งที่คนจากยุคไหนต่อยุคไหนได้ปฏิบัติกันไว้และยังคงปฏิบัติกันอยู่จนถึงทุกวันนี้ ในทุกๆประเทศและทุกๆท้องถิ่น โดยพวกเขาจะอะลุ่มอล่วยแก่หญิงชราให้นางเปิดหน้าของนางได้ แต่จะไม่ยอมถอยให้ผู้หญิงที่ยังสาวอยู่เปิดหน้าของนางออกมาให้สามารถพบเห็นได้ และพวกเขามองว่ากว่าเปิดหน้านั้นเป็นการเปิดเอาเราะฮฺและเป็นการทำเรื่องที่เป็นความผิด”
และถัดจากพวกท่านเหล่านี้ ก็คือบุคคลที่สี่ ท่านเป็นคนอียิปต์ ได้แก่ ท่านอิบนุฮะยัร อั้ลอัซก่อลานีย์ ท่านเสียชีวิตปีฮ.ศ. 852 ท่านได้กล่าวไว้ว่า “ยังคงเป็นธรรมเนียมที่ผู้หญิงทั้งในยุคก่อนและยุคปัจจุบันยึดถือปฏิบัติกันมา นั่นคือการที่พวกนางจะปกปิดใบหน้าของพวกนางตอนที่ต้องเจอกับคนที่ไม่ใช่มะฮฺรอมของพวกนาง”
ซึ่งตรงนี้ผมไม่ได้จะพูดถึงฮุก่มของเรื่องการปิดหน้าของผู้หญิง ตลอดจนประเด็นต่างๆที่มีการให้กันไว้ในเรื่องนี้ ไม่ว่าจะเป็นประเด็นที่มีมติเอกฉันท์กันในนั้นหรือประเด็นที่มีการเห็นต่างกันเกิดขึ้นในนั้นก็ตาม และไม่ได้จะพูดถึงคำชี้ขาดที่ออกมาจากองค์กรสูงสุดทางวิชาการศาสนา เช่น ฯพณฯท่านมุฟตี และ องค์กรนักวิชาการอาวุโส ที่บอกไว้ว่า การปิดหน้าเป็นเรื่องวาญิบ และการเปิดหน้าเป็นเรื่องฮะรอมแต่อย่างใดครับ
แต่จริงๆแล้วเป้าหมายตรงนี้ก็คือ ต้องการจะชี้แจงให้ทราบถึง ความอุกฉกรรจ์ของการกล่าวหาว่า การปกปักรักษาสภาพสังคม ตอลดจนการที่สังคมยึดมั่นอยู่ในศาสนาที่สอดคล้องกับสามัญสำนึกอันบริสุทธิ์นั้น มันเป็นท่าทีที่ดูตื้นเขิน และต้องการจะชี้แจงให้ทราบถึง ความอุกฉกรรจ์ของการเข้ามาแต่งแต้มให้จุดยืนนี้อยู่ในภาพของเรื่องที่มันนอกรีต เรื่องที่มันออกนอกลู่นอกทาง และเป็นเรื่องที่เป็นตัวกีดกันและหักห้ามไม่ให้ได้มีโอกาสสูดกลิ่นอายของชีวิตที่งดงามต่างหากครับ
https://www.youtube.com/watch?v=80qIjOGZvQo