ผู้ที่กระทำบาปใหญ่ตามนิติศาสตร์อิสลาม
  จำนวนคนเข้าชม  4949


ผู้ที่กระทำบาปใหญ่ตามนิติศาสตร์อิสลาม

 

ถอดความโดย อิสมาอีล กอเซ็ม

 

     กรณีศึกษาด้านนิติศาสตร์เชิงเปรียบเทียบถึงฮุกุมต่างๆ ของผู้ที่กระทำบาปใหญ่ตามนิติศาสตร์อิสลาม

     โดยข้อเขียนของด็อกเตอร์ อับดุลอาซีส ยูซุฟ อาบูอัลมูอาตีย์ อาจารย์ภาควิชานิติศาสตร์อิสลามเชิงเปรียบเทียบ

 

          ในยุคปัจจุบันได้มีปรากฎการณ์หนึ่งที่เกิดขึ้นในกลุ่มคนหนุ่ม หรือในมุสลิมบางกลุ่มที่ขาดความรู้เกี่ยวกับข้อเท็จจริงของอิสลาม โดยที่พวกเขาแสดงออกความหวงแหนต่ออิสลาม แต่เป็นการแสดงออกที่ไม่ถูกต้อง พวกเขาได้ทำการตัดสินบุคคลว่ากระทำการอุตริในศาสนา และตัดสินบุคคลว่าเป็นคนชั่ว จนกระทั่งในการดำเนินชีวิตของพวกเขาหมกมุ่นอยู่กับการค้นข้อตำหนิข้อบกพร่องของบุคคลอื่น และพวกเขานำข้อตำหนิข้อบกพร่องของบุคคลอื่นมาตีแผ่ จนกระทั่งพวกเขากลายเป็นบุคคลที่ถูกรู้จัก นี่คือเครื่องหมายของฟิตนะฮฺความวุ่นวาย การทดสอบจากอัลลอฮฺ เราขอดุอาจากอัลลอฮฺให้พระองค์ให้บรรดามุสลิมรอดพ้นจากฟิตนะฮฺอันนี้

 

         และขอให้อัลลอฮฺได้ประทานความเข้าใจแก่บรรดาคนหนุ่มของอิสลาม ให้พวกเขาได้พบแนวทางที่ถูกต้อง และขออัลลอฮฺซุบหานาฮูวาตาอาลาได้ให้พวกเขาได้ดำเนินตามแนวทางของชาวสลัฟ และให้พวกเขาได้ออกห่างจากบรรดาผู้ที่เรียกร้องไปสู่ความชั่ว

 

         ความเกี่ยวข้องการกล่าวถึงความหมาย อัลฟิซกฺ อะไรคือความหมายอัลฟิซกฺ ? และเมื่อไหร่จะนับว่ามุสลิมเป็นผู้ฝ่าฝืน(ฟาซิกทำบาปใหญ่) เราขอกล่าวถึงว่า แท้จริง การฝ่าฝืน ก็คือการออกจากการเชื่อฟังต่ออัลลอฮฺ และการออกจากการเชื่อฟังอันนี้ไม่ได้ทำให้คนที่ปฏิบัติต้องออกจากศาสนาอิสลาม แต่ว่าเขาเป็นคนชั่วที่ทำการฝ่าฝืน และเป็นมุสลิมที่ฝ่าฝืนที่ทำความชั่ว ที่เป็นบาปใหญ่ เช่น การทำผิดประเวณี การดื่มเหล้า การลักขโมย การกินดอกเบี้ย และบาปในทำนองดังกล่าวที่เป็นบาปใหญ่ ที่ไม่เป็นที่อนุญาตให้กระทำ

 

         แต่ว่าการที่เขาทำบาปใหญ่นั้นๆ เนื่องจากคล้อยตามอารมณ์ใฝ่ต่ำ หากเป็นเช่นนั้นถือว่า เขาเป็นคนที่ฝ่าฝืนอัลลอฮฺเนื่องจากทำบาปใหญ่ อะลุซซุนนะหฺจะตัดสินคนประเภทนี้ เหมือนที่ฉันได้กล่าวมาก่อนหน้านี้ แท้จริงเขาคือผู้ศรัทธาที่มีความศรัทธาที่บกพร่อง หรือว่าตัดสินเขาว่าเป็นผู้ศรัทธาด้วยกับอีหม่านที่เขามีอยู่ แต่เขาเป็นคนฝ่าฝืนต่ออัลลอฮฺด้วยบาปใหญ่ที่เขาได้กระทำ ดังนั้นเขาเป็นผู้หนึ่งจากบรรดาผู้ศรัทธา และเป็นผู้หนึ่งจากบรรดาผู้ที่ให้เอกภาพต่ออัลลอฮฺ

          และเมื่อเขาไม่มีคุณลักษณะจากคุณลักษณะต่างๆของการตั้งภาคีต่ออัลลอฮฺ ที่ทำให้เขาออกจากศาสนา ก็ถือว่าเขายังไว้ซึ่งการศรัทธาและอิสลาม เขาเป็นมุสลิมเป็นผู้ศรัทธา แต่ว่าเขามีความบกพร่องในการศรัทธา นี่คือสิ่งเรียกว่า การไม่เชื่อฟังอัลลอฮฺ หรือเรียกเขาว่า มุสลิม และมุมิน(ผู้ศรัทธา) แต่เขามีความบกพร่องในความศรัทธา และแบบนี้เรียกว่า การฝ่าฝืนอัลลอฮฺ หรือผู้ฝ่าฝืนอัลลอฮฺ เมื่อเขาได้ทำสิ่งที่เป็นบาปใหญ่ ก็จำเป็นต้องดำเนินการลงโทษเขา แต่ก็ยังถือว่าเขาเป็นผู้ศรัทธา และปฏิบัติต่อเขาในฐานะผู้ศรัทธา เพราะหากคนที่ทำการฝ่าฝืนต่ออัลลอฮฺไม่ใช่ผู้ศรัทธา ก็คงไม่มีการลงโทษเขา แต่ว่าจำเป็นต้องประหารชีวิต เนื่องจากคนที่ออกจากศาสนาโทษของเขาคือ การประหารชีวิต

 

     จากคำพูดของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮูอะลัยอิวะสัลลัม ที่ว่าใครเปลี่ยนศาสนา พวกท่านจงประหารชีวิตเขา

 

          ดังนั้นผู้ที่ทำความชั่ว ให้ลงโทษเขาตามบทบัญญัติ (อิสลาม) การลงโทษเขา คือหลักฐานว่าเขายังเป็นคนหนึ่งจากบรรดาผู้ศรัทธา และปฏิบัตต่อเขาด้วยกับการรักต่อเขาตามการศรัทธาที่เขามี และโกรธเกลียดเขาตามสิ่งที่เขาได้ฝ่าฝืนต่ออัลลอฮฺ เนื่องจากเขายังไม่ได้ออกจากการศรัทธา นี่คือแนวทางของอะลุซซุนนะหฺวัลญามาฮะ

 

          ใครที่เขาไม่ได้กระทำข้อหนึ่งข้อใดที่ทำให้เสียอิสลาม จะไม่มีการตัดสินเขาว่าเป็นผู้ปฏิเสธที่ออกจากศาสนา แม้ว่าเขาได้ไปกระทำบาปหนึ่งบาปใดที่เป็นบาปใหญ่ เพียงแค่ตัดสินเขาว่าเป็นผู้ฝ่าฝืน (ฟาซิก) และหากเขาได้ไปกระทำสิ่งที่เป็นสิ่งผิดพลาดหรือสิ่งที่เป็นความชั่ว หรือสิ่งที่มันค้าน(กับบทบัญญัติ) ก็จะตัดสินเขาว่าเป็นผู้ที่ผิดพลาด หรือผู้ที่ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติและการกระทำในทำนองดังกล่าว

 

          ดังนั้นความเที่ยงธรรม ในการตัดสินเรื่องราวเหล่าให้เอามาตรฐานจากบทบัญญัติ เราจะไม่ตัดสินแก่ทุกคนที่ทำสิ่งที่มันค้านกับบทบัญญัติ หรือกระทำสิ่งที่เป็นบาป เช่น ใครได้กินดอกเบี้ย เราจะตัดสินเขาว่า เขาคือผู้ที่ฝ่าฝืน ที่ได้กระทำบาปใหญ่ ยกเว้นในกรณีที่เขาได้ยอมรับว่าการกินดอกเบี้ยเป็นสิ่งที่อนุญาตสามารถกระทำได้ หากเป็นเช่นนั้น เราสามารถกล่าวได้ว่า เขาคือผู้ปฏิเสธศรัทธา เนื่องจากเขาได้ไปอนุมัติสิ่งที่เป็นสิ่งที่ต้องห้าม ทั้งที่เป็นมติของบรรดาปวงปราชญ์ในการห้ามสิ่งนั้น หากเขากินดอกเบี้ยโดยจำเป็นและเขายอมรับว่าดอกเบี้ยเป็นที่ต้องห้าม หากเป็นเช่นนั้นถือว่า เขาคือคนที่ทำชั่วไม่เชื่อฟังอัลลอฮฺ(ฟาซิก) และไม่ถือว่าเขาได้ออกจากศาสนา แต่ให้ปฏิบัติต่อเขาในสภาพที่เขาเป็นคนทำชั่วที่ไม่เชื่อฟังอัลลอฮฺ และถือว่าเขาเป็นผู้หนึ่งจากบรรดาผู้ศรัทธา

 

          แท้จริง การตัดสินบุคคลว่าเป็นผู้ปฏิเสธศรัทธา เกิดจากบรรดาคนเขลา โดยที่พวกเขาคิดว่า แท้จริงบรรดาผู้รู้ ไม่มีความเข้าใจในศาสนาของอัลลอฮฺ ตาอาลา แต่ว่าพวกเขา(คนที่ชอบตัดสินบุคคลอื่น) ได้ไปอ่านตำราต่างๆ และติดตามข้อผิดพลาด และเอาชื่อของการทำความชั่วการฝ่าฝืนต่ออัลลอฮฺ และนำชื่อเหล่านั้นไปใช้เรียกโดยขาดความรู้ โดยนำชื่อเหล่านั้นไปใช้ไม่ถูกกลุ่มคน เนื่องจากพวกเขาไม่ได้นำเรื่องต่างๆ ไปจัดวางให้ถูกที่ และการที่พวกเขาไม่มีความเข้าใจในศาสนาของอัลลอฮฺ สภาพของพวกเขาเสมือนคนที่ขาดความรู้ เขาได้นำอาวุธมาใช้ แต่ว่าเขาไม่รู้วิธีการใช้อาวุธ ในกรณีนี้ เขาอาจจะพลาดพลั้งฆ่าตัวเองและคนในครอบครัวได้ เนื่องจากเขาไม่สามารถใช้อาวุธได้ถูกวิธี

 

          จากจุดตรงนี้ จำเป็นสำหรับบรรดาผู้ที่ชอบนำการเรียกด้วยคำว่า บิดอะฮ์ (การอุตริ) ตัฟซีก (การตัดสินคนอื่นเป็นชั่วไม่เชื่อฟังอัลลอฮฺ) หรือ ตักฟีร(การตัดสินบุคคลว่าเป็นผู้ปฏิเสธศรัทธา) โดยที่พวกเขาตัดสินโดยปราศจากความเข้าใจ พวกเขาจะต้องศึกษาให้เข้าใจก่อนที่พวกเขาจะพูด เพราะการพูดเกี่ยวกับเรื่องนี้โดยไม่มีความรู้ ถือว่าเป็นสิ่งที่เลวร้ายยิ่ง เป็นการพูดเกี่ยวกับอัลลอฮฺโดยปราศจากความรู้ และนี่ถือว่ามันเลวร้ายยิ่งกว่าการตั้งภาคี เนื่องจากคำดำรัสของอัลลอฮฺ ตาอาลา ตรัสว่า

 

قُلْ إِنَّمَا حَرَّمَ رَبِّيَ الْفَوَاحِشَ مَا ظَهَرَ مِنْهَا وَمَا بَطَنَ وَالْإِثْمَ وَالْبَغْيَ بِغَيْرِ الْحَقِّ وَأَن تُشْرِكُوا بِاللَّهِ مَا لَمْ يُنَزِّلْ بِهِ سُلْطَانًا وَأَن تَقُولُوا عَلَى اللَّهِ مَا لَا تَعْلَمُونَ ( 33 )

 

     “จงกล่าวเถิด (มุฮัมมัด) ว่า แท้จริงสิ่งที่พระเจ้าของฉันทรงห้ามนั้น คือบรรดาสิ่งที่ชั่วช้าน่ารังเกียจ ทั้งเป็นสิ่งที่เปิดเผยจากมันและสิ่งที่ไม่เปิดเผย และสิ่งที่เป็นบาป และการข่มเหงรังแกโดยไม่เป็นธรรม

     และการที่พวกเจ้าให้เป็นภาคีแก่อัลลอฮ์ ซึ่งสิ่งที่พระองค์มิได้ประทานหลักฐานใด ลงมาแก่สิ่งนั้น และการที่พวกเจ้ากล่าวให้ภัยแก่อัลลอฮ์ในสิ่งที่พวกเจ้าไม่รู้

 

وَلَا تَقُولُوا لِمَا تَصِفُ أَلْسِنَتُكُمُ الْكَذِبَ هَٰذَا حَلَالٌ وَهَٰذَا حَرَامٌ لِّتَفْتَرُوا عَلَى اللَّهِ الْكَذِبَ ۚ إِنَّ الَّذِينَ يَفْتَرُونَ عَلَى اللَّهِ الْكَذِبَ لَا يُفْلِحُونَ ( 116 )

 

และพวกเจ้าอย่ากล่าวตามที่ลิ้นของพวกเจ้ากล่าวเท็จขึ้นว่านี่เป็นที่อนุมัติและนี่เป็นที่ต้องห้าม

เพื่อที่พวกเจ้าจะกล่าวเท็จต่ออัลลอฮ์แท้จริงบรรดาผู้กล่าวเท็จต่ออัลลอฮ์นั้น พวกเขาจะไม่ได้รับความสำเร็จ

(อัลนะหฺ 116)

 

إِنَّمَا يَفْتَرِي الْكَذِبَ الَّذِينَ لَا يُؤْمِنُونَ بِآيَاتِ اللَّهِ ۖ وَأُولَٰئِكَ هُمُ الْكَاذِبُونَ ( 105 )

 

แท้จริงบรรดาผู้ไม่ศรัทธาต่อโองการทั้งหลายของอัลลอฮ์นั้น กุความเท็จขึ้น และชนเล่านั้นคือผู้กล่าวเท็จ

 

وَمَنْ أَظْلَمُ مِمَّنِ افْتَرَىٰ عَلَى اللَّهِ الْكَذِبَ وَهُوَ يُدْعَىٰ إِلَى الْإِسْلَامِ ۚ وَاللَّهُ لَا يَهْدِي الْقَوْمَ الظَّالِمِينَ ( 7 )

 

และผู้ใดเล่าจะอธรรมยิ่งกว่าผู้กล่าวเท็จต่ออัลลอฮฺ ด้วยปากของพวกเขา ขณะที่เขาถูกเชิญชวนสู่อิสลาม

และอัลลอฮฺนั้นจะไม่ชี้แนะทางที่ถูกต้องแก่หมู่ชนผู้อธรรม

 

          นี่คือเรื่องราวต่างๆ จำเป็นสำหรับบรรดาคนหนุ่มของมุสลิม และบรรดานักศึกษา พวกเขาจะต้องศึกษาความรู้ที่มีประโยชน์ จากแหล่งอ้างอิงต่างๆ จากบรรดาผู้รู้ที่เป็นที่ยอมรับในความรู้ของเขา หลังจากนั้นพวกเขาจะต้องเรียนรู้ ว่าพวกเขาจะพูดอย่างไร และการนำเรื่องราวไปใช้ให้ถูกที่ถูกทาง เนื่องจากชาวอะลุซซุนนะหฺตั้งแต่อดีตและปัจจุบัน พวกเขาได้รักษาลิ้นของพวกเขา พวกเขาจะไม่พูดนอกจากจะต้องมีความรู้