ซะกาต ฟิฏรฺ
  จำนวนคนเข้าชม  16618


ซะกาต ฟิฏรฺ

 

อับดุลวาเฮด สุคนธา แปลเรียบเรียง

 

          เป็นส่วนหนึ่งของอิบาดะฮฺที่อัลลอฮฺได้กำหนดไว้เหนือบรรดามุสลิมทั้งหลายจากเดือนเราะมะฎอนศิริมงคลนี้นั้นคือ ซะกาต ฟิฏรฺ (ซะกาตฟิตเราะฮฺ) อัลลอฮฺได้บัญญัติเหนือผู้ถือศีลอดเพื่อให้จิตใจเขาบริสุทธิ์จากคำพูดที่ไม่ดี ไร้สาระและหยาบคายต่างๆ จุนเจือแก่ผู้ยากไร้ และคนขัดสน ซะกาตฟิฏรฺเป็นการช่วยการถือศีลอดของเขามีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น เป็นการแสดงถึงการขอบคุณต่อความโปรดปรานต่างๆ ของอัลลอฮฺที่มีต่อมนุษย์ที่ได้ทำการถือศีลอดและการละหมาดในยามค่ำคืนในเดือนเราะมะฎอนของเขาได้บรรลุอย่างเสร็จสมบูรณ์ และให้มีความสามารถทำคุณความดีต่างๆ ในเดือนนี้ได้

 

บทบัญญัติ ซะกาต ฟิฏรฺวาญิบเหนือมุสลิมทุกคน

 

     รายงานจากท่านอิบนุ อับบาส เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ว่า ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม

 

فَرَضَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ زَكَاةَ الْفِطْرِ طُهْرَةً لِلصَّائِمِ مِنْ اللَّغْوِ وَالرَّفَثِ وَطُعْمَةً لِلْمَسَاكِينِ.

 

     “ได้กำหนดซะกาตฟิฏรฺเป็นการขัดเกลาผู้ถือศีลอดให้สะอาดจาก(บาปที่มาจาก)คำพูดที่ไม่ดีไร้สาระและหยาบคาย(ในช่วงถือศีลอด) และเป็นการให้อาหารแก่คนยากจน

 (สุนัน อบูดาวูด)

 

จุดประสงค์ของการจ่ายซะกาต ฟิฏรฺ

 

   - เพื่อเป็นการชะล้างแก่ผู้ถือศิลอดจากความบกพร่องที่เขาเผอเรอ และหยาบคาย(ขณะถือศิลอด

   - จุนเจืออาหารสำหรับบรรดาคนยากจน

 

     ท่านเชค ซอแหละฮฺ อัลอุษัยมีน กล่าวว่า จุดประสงค์ของการจ่ายซะกาต ฟิฏรฺแสดงการขอบคุณต่ออัลลอฮฺ อันเนื่องจากความโปรดปรานให้ถือศิลอดครบถ้วนสมบูรณ์ในเดือนเราะมะฎอน

     ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม

 

زَكَاةَ الْفِطْرِ طُهْرَةً لِلصَّائِمِ مِنْ اللَّغْوِ وَالرَّفَثِ وَطُعْمَةً لِلْمَسَاكِينِ.

 

     “ซะกาตฟิฏรฺเป็นการขัดเกลาผู้ถือศีลอดให้สะอาดจาก(บาปที่มาจาก)คำพูดที่ไม่ดีไร้สาระและหยาบคาย(ในช่วงถือศีลอด) และเป็นการให้อาหารแก่คนยากจน

 (สุนัน อบูดาวูด)

 

ใครบ้างที่ต้องจ่ายซะกาตฟิฏรฺ?

 

   - มุสลิมทุกคนชายหรือหญิง

   - เป็นไทหรือเป็นทาส

   - คนชรา สูงวัย

   - ไม่วาญิบสำหรับทารกอยู่ในครรภ์แต่ส่งเสริมให้จ่าย

 

     รายงานจากท่านอิบนุ อุมัรฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา ว่า ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม

 

فَرَضَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ زَكَاةَ الْفِطْرِ صَاعًا مِنْ تَمْرٍ، أَوْ صَاعًا مِنْ شَعِيرٍ، عَلَى الْعَبْدِ، وَالْحُرِّ، وَالذَّكَرِ، وَالْأُنْثَى، وَالصَّغِيرِ، وَالْكَبِيرِ، مِنْ الْمُسْلِمِينَ، وَأَمَرَ بِهَا أَنْ تُؤَدَّى قَبْلَ خُرُوجِ النَّاسِ إِلَى الصَّلَاةِ

 

     “ได้กำหนดซะกาตฟิฏรฺเป็นอินทผลัมจำนวนหนึ่งศออฺ (ประมาณ 2.5 กิโลกรัม) หรือ ข้าวบาร์เล่ย์จำนวนหนึ่งศออฺ เหนือทาส ไท ชาย หญิง เด็ก ผู้ใหญ่ จากบรรดาคนมุสลิมทั้งหมด และท่านได้สั่งใช้ให้จ่าย(มอบให้)ก่อนที่ผู้คนจะออกไปละหมาด(วันอีด)” 

(-บุคอรีย์ มุสลิม)

 

ผู้มีสิทธิรับซะกาต ฟิฏรฺ?

 

   - คนยากจน คืน คนที่ไม่มีทรัพย์ ไม่มีค่าเลี้ยงชีพ หรือมีแต่ไม่เพียงพอในการเลี้ยงชีพ

   - คนขัดสน คือ ได้แก่ คนที่มีค่าเลี้ยงชีพในแต่ละวันครึ่งหนึ่ง หรือมากกว่า แต่ไม่เพียงพอ

 

     ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม

 

وَطُعْمَةً لِلْمَسَاكِينِ.

 

และเป็นการให้อาหารแก่คนยากจน

(สุนัน อบูดาวูด)

 

ชนิดอาหารต้องจ่ายซะกาต ฟิฏรฺ

 

   - เป็นอาหารหลักของคนในเมืองนั้นๆ เช่นข้าวสารและอื่นๆ

 

     รายงานจากท่านอบู สะอีด อัล-คุดรีย์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ว่า พวกเราได้เคยจ่ายซะกาตวันอีดในสมัยท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม

 

كُنَّا نُخْرِجُ فِي عَهْدِ رَسُولِ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ يَوْمَ الْفِطْرِ صَاعًا مِنْ طَعَامٍ، أَوْ صَاعًا مِنْ تَمْرٍ، أَوْ صَاعًا مِنْ شَعِيرٍ، أَوْ صَاعًا مِنْ زَبِيبٍ.

 

จำนวนหนึ่งศออฺจากอาหาร หรือ หนึ่งศออฺจากอินทผลัม หรือ หนึ่งศออฺจากข้าวบาร์เล่ย์ หรือองุ่นแห้ง

( บุคอรีย์ มุสลิม)

   - ต้องจ่ายซะกาตจากอาหารชนิดที่ดีที่สุดแก่คนยากจนจากอาหารต่างๆเช่น เรากินชนิดอาหารที่ดีมีคุณภาพ แต่กลับจ่ายซะกาต ฟิฏรฺในชนิดอาหารที่มีเกรดต่ำ

 

 

เวลาในการจ่ายซะกาตฟิฏรฺ

 

   - เวลาที่ประเสริฐที่สุดจ่ายก่อนละหมาดอีดหลังดวงอาทิตย์ขึ้น (ฟะญัร)

   - เวลาที่อนุญาต จ่ายก่อนวันอีดหนึ่งหรือสองวันวันที่ 28 29 30

   - เวลาต้องห้าม หลังจากละหมาดอีดถือว่า เป็นทาน(ศอดาเกาะฮฺ)

 

     รายงานจากท่านอิบนุ อุมัรฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา ว่า ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม

 

وَأَمَرَ بِهَا أَنْ تُؤَدَّى قَبْلَ خُرُوجِ النَّاسِ إِلَى الصَّلَاةِ.

 

ได้สั่งใช้ให้จ่าย(มอบให้)ก่อนที่ผู้คนจะออกไปละหมาด(วันอีด)” 

(บุคอรีย์ มุสลิม)

ท่านอิบนุอุมัรฺได้จ่ายแก่ผู้ที่จะรับได้ และพวกเขาต่างก็จ่ายก่อนวันอีดหนึ่งหรือสองวัน

(-บุคอรีย์)

     รายงานจากท่านอิบนุ อับบาส เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา ว่า ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า

 

«فَمَنْ أَدَّاهَا قَبْلَ الصَّلاةِ فَهِيَ زَكَاةٌ مَقْبُولَةٌ، وَمَنْ أَدَّاهَا بَعْدَ الصَّلاةِ فَهِيَ صَدَقَةٌ مِنْ الصَّدَقَاتِ»

 

     “และผู้ใดที่ทำการจ่ายก่อนการละหมาด ก็ถือว่าเป็นการจ่ายซะกาตที่ถูกตอบรับ และผู้ใดที่จ่ายหลังละหมาดมันจะเป็นทานบริจาคหนึ่งในบรรดาทานบริจาคต่างๆ

 (สุนันอบีดาวูด )

 

     เวลาในการจ่ายซะกาตฟิฏรฺ จากนักวิชาการ มีดังนี้

 

ทัศนะที่หนึ่ง : ท่านอิหม่ามฮานาฟี สามารถออกซะกาตฟิฏรฺได้ก่อนหนึ่งปีหรือสองปี

หลักฐาน : ก็เหมือนกับซะกาตทรัพย์สินอนุญาตออกก่อนได้เลย

 

ทัศนะที่สอง : ท่านอิหม่ามฮานาฟี และ อิหม่ามชาฟีอี อนุญาตให้ออกซะกาตฟิฏรฺ ตั้งแต่เริ่มเข้ารอมฎอน

หลักฐาน : เพราะมันมาจากสาเหตุทานที่เกิดจากการถือศิลอดและการเสร็จสิ้นหากว่ามีหนึ่งในสองประการนี้ อนุโลมออกซะกาตฟิฏรฺเหมือนกับการอนุญาตออกซะกาตทรัพย์สินก่อนที่จะครบรอบปีในเมื่อมันครบพิกัดแล้ว

 

ทัศนะที่สาม : อิหม่ามมาลิก , และอิหม่ามอะหมัด อนุญาตให้ออกซะกาตฟิฏรฺ ก่อนหนึ่งวันหรือสองวัน (ก่อนวันอีด)

หลักฐาน : รายงานจากอิบนุ อุมัร เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ว่า ได้กล่าวว่า

وَكَانُوا يُعطُونَ قَبلَ الفِطرِ بِيَومٍ أَو يَومَينِ

และพวกเขานั้นออกซะกาตฟิฏรฺก่อนวันอีด หนึ่งวันหรือสองวัน

( บุคอรีย์)

     หรือก่อนอีด สามวัน มีปรากฏในตำราอัล-มุเดาวะนะฮฺอิมามมาลิกกล่าวว่า ท่าน อิบนุอุมัร แจกจ่ายซะกาตฟิฏรฺที่ถูกรวบรวมก่อนวันอีด สองหรือสามวัน ท่านเชค บินบาซ เห็นตรงกับทัศนะนี้

 

 


อัตราของซะกาตฟิฏเราะฮฺ

 

          1 ศออ์(ทะนาน)จากชนิดอาหารหลักที่ใช้บริโภคในประเทศ จำนวน 1 ศออ์ของท่านนบี ศ็อลฯเท่ากับ 4 มุด ( หรือ 4 กอบมือขนาดปานกลาง) นักวิชาการบางท่านให้ทัศนะว่าเท่ากับ 2.5 กิโลกรัม

 

- มัซฮับชาฟิอีย์และมัซฮับหัมบะลีย์ ให้ทัศนะว่าเท่ากับ 2.36 กิโลกรัม

- มัซฮับมาลิกีย์ ให้ทัศนะว่าเท่ากับ 2.26 กิโลกรัม

- ทัศนะของมัซฮับหะนาฟีฮฺ ให้ทัศนะว่าเท่ากับ 2.88 กิโลกรัม

- ท่านเชคมูฮัมหมัด ซอแหละฮฺ อัลอุษัยมีน ให้ทัศนะว่าเท่ากับ 2.40 กิโลกรัม

- เชค อับดุลอะซีซ บิน บาซ ก็ให้ทัศนะว่าเท่ากับ 3 กิโลกรัม แบบเผื่อเอาไว้

- สภาฟัตวาประเทศคูเวต ให้ทัศนะว่าเท่ากับ 2.5 กิโลกรัม

- สภาฟัตวาประเทศอียิปต์ ให้ทัศนะว่าเท่ากับ 2.6 กิโลกรัม

- สภาฟัตวาประเทศเอมิเรตส์ให้ทัศนะว่าเท่ากับ 2.83 กิโลกรัม

- สำนักจุฬาราชมนตรี จ่ายซะกาต 1 ศออ์ เท่ากับ 2.7 กิโลกรัม

 

     ปริมาณที่แตกต่างระหว่าง มัซฮับชาฟิอีย์และ มัซฮับมาลิกีย์ของมัซฮับหะนาฟีฮฺ ต่างอยู่ที่ 10 กรัมโดยประมาณ

     รายงานจากท่านอบู สะอีด อัล-คุดรีย์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ว่า พวกเราได้เคยจ่ายซะกาตวันอีดในสมัยท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม

 

كُنَّا نُخْرِجُ فِي عَهْدِ رَسُولِ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ يَوْمَ الْفِطْرِ صَاعًا مِنْ طَعَامٍ، أَوْ صَاعًا مِنْ تَمْرٍ، أَوْ صَاعًا مِنْ شَعِيرٍ، أَوْ صَاعًا مِنْ زَبِيبٍ.

 

จำนวนหนึ่งศออฺจากอาหาร หรือ หนึ่งศออฺจากอินทผลัม หรือ หนึ่งศออฺจากข้าวบาร์เล่ย์ หรือองุ่นแห้ง

( บุคอรีย มุสลิม)

 

จ่ายซะกาตฟิฏรฺเป็นอัตรา เงิน

 

     ทัศนะที่หนึ่ง มัซฮับชาฟิอีย์และหัมบะลีย์ มาลิกีย์ ไม่อนุญาตให้จ่ายซะกาตฟิฏรฺเป็นเงิน

          เพราะหลักฐานจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ที่กล่าวถึงอาหารประเภทต่างๆ โดยไม่ได้กล่าวถึงมูลค่า(หรือเงิน)ทั้งๆ ที่มันก็เป็นสิ่งที่มีการใช้อยู่ในสมัยนั้น หากมูลค่าหรือราคาสามารถแทนได้ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ก็จะต้องชี้แจงว่าได้เพราะไม่อนุญาตให้ละเลยการชี้แจงเมื่อมันเป็นเวลาที่ความจำเป็นต้องชี้แจง และไม่มีรายงานว่ามีเศาะหาบะฮฺท่านใดที่จ่ายซะกาตฟิฏรฺเป็นเงิน ทั้งๆ ที่มันเป็นสิ่งที่อยู่ในความสามารถของพวกเขาในยุคนั้นที่จะทำเช่นนั้น และการจ่ายเป็นมูลค่าแทนจะทำให้เอกลักษณ์อันยิ่งใหญ่นี้หายไปและผู้คนก็จะไม่รู้ถึงบทบัญญัติของมัน

 

     เชค ซอแหละฮฺ อัลอุษัยมีน,เชคอับดุลอะซีร บินบาซ,เชคซอแหละฮฺ อัลเฟาซาน,เชคสุลัยมานอัรรูฮัยลีย์ : 123456790d  จ่ายซะกาตฟิฏรฺเป็นอัตราเงินใช้ไม่ได้ เพราะบทบัญญติกำหนดให้ออก อาหารจาก ปวงปราชญ์ส่วนมาก

 

     ทัศนะที่สอง ของมัซฮับหะนาฟีฮฺ อนุญาตให้จ่ายซะกาตฟิฏรฺเป็นเงิน

 

     ทัศนะที่สาม เชคอิสลามอิบนุตัยมียะฮฺในคำพูดและหัมบะลีย์ อนุญาตให้จ่ายซะกาตฟิฏรฺเป็นเงิน เมื่อมีความจำเป็นและมองถึงความต้องการของคนจน เป็นประโยชน์มากกว่า

 

     ท่านเชค คอลิด อัลมุสลิฮฺ มีความเห็นอนุญาตหากว่าการจ่ายซะกาตฟิฏรฺเป็นเงินเป็นการบรรเทาทุกข์คนยากไร้และผู้ขัดสน

 

     สภาฟัตวาประเทศอียิปต์ ให้ทัศนะว่า อนุญาตหากว่าการจ่ายซะกาตฟิฏรฺเป็นเงิน เพื่อเป็นการบรรเทาทุกข์คนยากไร้และผู้ขัดสนมีการจ่าย

 

          ซะกาตด้วยจำนวนเงิน สมัยท่านค่อลีฟะฮฺ อุมัร บิน อับดุลอาซีร ท่าน ฮะซันบัสรีย์ ท่านซุฟยาน อัสเสารีย์ และในกลุ่มของอิหม่ามมาลิกีย์ เช่นท่าน อะบู อาซิม อิบนุ ดีนาร์ อิบนุวะบิน เป็นต้น