การถือศีลอดกับการทำงาน
แปลเรียบเรียง อ.อาบีดีน พัสดุ
คำถาม
พวกเราอยู่ในประเทศตะวันตก คือ พวกเขาไม่ได้ให้ความสำคัญต่อการถือศีลอด และผู้คนที่ถือศีลอด , และสามีของฉันต้องทำงานเป็นระยะเวลาหนึ่งปี เพื่อให้ปีสุดท้ายครบสมบูรณ์ในงานที่เกี่ยวกับการจ่ายยา และงานนี้เป็นหลักสูตรการเรียนของปีสุดท้าย , คือ ปีที่จะต้องฝึกงาน , ปัญหาที่เราประสบก็คือ สถานที่ทำงานมีระยะทางที่ต้องขับรถหนึ่งชั่วโมง , และสถานที่ทำงานยังเต็มไปด้วยคนป่วย , สามีของฉันเริ่มรู้สึกวิงเวียนและปวดศรีษะในระหว่างที่ทำงาน โดยเริ่มที่จะให้ยาคนไข้ในลักษณะที่ไม่ถูกต้อง , และตอนนี้เขาเริ่มคิดที่จะละศีลอดด้วยเหตุดังกล่าว , โดยที่ทราบดีว่าระยะทางจากที่พักไปถึงที่ทำงานนั้น น้อยกว่า ๔๘ ไมล์ ดังที่ท่านได้ระบุในคำตอบหนึ่ง , แต่ทว่าหนทางนั้นต้องใช้เวลาถึงหนึ่งชั่วโมงในการไป และกลับอีกหนึ่งชั่วโมง , และจะต้องทำงานอย่างต่อเนื่องถึง ๑๒ ชั่วโมง ,
เพราะฉะนั้น จะอนุญาตให้เขาไม่ถือศีลอด แล้วไปถือใช้หลังจากจบการเรียนปีสุดท้ายของเขาหรือไม่ ?
คำตอบ : อัลฮัมดุลิ้ลลาฮฺ
การถือศีลอดเป็นรุก่นหนึ่งจากรุก่นต่างๆ ของอิสลาม ด้วยกับอัลกุรอ่าน ซุนนะฮฺ และการเห็นพ้องกันของบรรดาผู้รู้ทั้งหมด (อิจมาอฺ) , จึงไม่อนุญาตให้มุสลิมละศีลอดโดยปราศจากอุปสรรค์ตามบทบัญญัติ (ข้อผ่อนผันทางบทบัญญัติคือเจ็บป่วยหรือเดินทาง) , อาจเกิดความยากลำบากในขณะที่ถือศีลอดในบางครั้ง แต่ก็จำเป็นที่จะต้องอดทนและขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮฺ
เมื่อคนใดมีความกระหายในช่วงกลางวันของเดือนรอมฏอน ก็ไม่เป็นไรหากจะเอาน้ำเทลงบนศรีษะเพื่อเป็นการคลายร้อนหรือบ้วนปาก , แต่หากความกระหายรุนแรงและส่งผลต่อร่างกายเป็นอย่างมาก หรือกลัวว่าจะเป็นอันตรายถึงชีวิตก็อนุญาติให้ละศีลอดได้ , แล้วทำการชดใช้ในวันอื่นๆ หลังจากรอมฏอน
แต่ไม่อนุญาตให้อาชีพหรือการทำงานคือสาเหตุที่ทำให้เกิดความยากลำบากแก่เขา ในเมื่อสามารถที่จะขอวันหยุดงานในช่วงเดือนรอมฏอน หรือสามารถทีจะทำให้งานหนักเบาลงได้ในเดือนรอมฏอน , หรือเปลี่ยนไปสู่งานที่มีความง่ายดายกว่า
บรรดาอุลามาอฺของคณะกรรมการถาวรเพื่อการวินิจฉัยปัญหาได้ระบุว่า
เป็นที่ทราบกันดีในหลักการของอิสลามว่าการถือศีลอดในเดือนรอมฏอนนั้นเป็นฟัรฏู (จำเป็น) แก่ทุกคนที่บรรลุนิติภาวะแล้ว และเป็นรุก่นหนึ่งจากบรรดารุก่น (หลักการที่สำคัญ) ของอิสลาม เพราะฉะนั้น จึงจำเป็นสำหรับบรรดาผู้ที่บรรลุนิติภาวะแล้วทุกคน จะต้องถือศีลอดเพื่อเป็นการสนองตอบสิ่งที่อัลลอฮฺทรงกำหนดให้เป็นฟัรฏู มุ่งหวังการตอบแทน และเกรงกลัวการลงโทษ โดยในขณะเดียวกันก็ต้องไม่ลืมส่วนได้ (การงาน) ของเขาในโลกดุนยานี้ และไม่เลือกเอาดุนยาโดยปล่อยทิ้งอาคีเราะฮฺของเขา
และเมื่อการปฏิบัติในสิ่งที่อัลลอฮฺทรงกำหนดให้เป็นฟัรฏูในเรื่องอิบาดะฮฺต่างๆ กลายเป็นอุปสรรค์ต่อการงานของเขาในดุนยา ก็จำเป็นที่จะต้องมีการบริหารจัดการเพื่อที่จะสามารถกระทำทั้งสองอย่างได้พร้อมๆ กัน ดังในตัวอย่างที่ได้ระบุไว้ในคำถาม คือปรับเปลี่ยนมาทำงานในเวลากลางคืน แต่หากไม่สะดวกที่จะทำเช่นนั้น ก็ให้ลางานในช่วงเดือนรอมฏอนถึงแม้ว่าจะเป็นการลาที่ไม่ได้รับเงินเดือนก็ตาม และหากไม่สามารถกระทำได้ ก็ควรที่จะหางานในด้านอื่นๆ ที่สามารถจะรวมไว้ซึ่งสิ่งที่เป็นหน้าที่ทั้งสองไปพร้อมๆ กัน โดยไม่ทำให้การงานในดุนยาส่งผลเสียต่องานอาคีเราะฮฺ
งานนั้นมีหลากหลายประเภท และหนทางในการให้ได้มาซึ่งทรัพย์ มิได้จำกัดอยู่เพียงแค่ชนิดของงานที่หนักนี้ และมุสลิมย่อมไม่ไร้ซึ่งหนทางในการประกอบอาชีพสุจริตที่สามารถกระทำในสิ่งที่อัลลอฮฺทรงสั่งใช้เกี่ยวกับอิบาดะฮฺต่างๆ ไปพร้อมๆกันได้
( ومن يتق الله يجعل له مخرجاً . ويرزقه من حيث لا يحتسب . ومن يتوكل على الله فهو حسبه إن الله بالغ أمره قد جعل الله لكل شيء قدراً ) الطلاق/2،
“และผู้ใดยำเกรงอัลลอฮฺ พระองค์ก็จะทรงหาทางออกให้แก่เขา และจะทรงประทานปัจจัยยังชีพแก่เขา จากที่ที่เขามิได้คาดคิด และผู้ใดมอบหมายแด่อัลลอฮฺ พระองค์ก็จะทรงเป็นผู้พอเพียงแก่เขา แท้จริงอัลลอฮฺเป็นผู้ทรงบรรลุในกิจการของพระองค์โดยแน่นอน สำหรับทุกสิ่งทุกอย่างนั้น อัลลอฮฺทรงกำหนดกฎสภาวะไว้แล้ว”
หากสมมุติว่า ไม่มีงานใดแล้วนอกจากงานที่ได้ระบุมา (ในคำถาม) ซึ่งมีความยากลำบากและกลัวว่าจะถูกบีบบังคับด้วยหลักกฎหมาย ถูกบังคับจนไม่สามารถที่จะดำรงไว้ซึ่งสัญญาณต่างๆของศาสนา หรือ (การกระทำ) สิ่งที่เป็นฟัรฏูบางประการ ดังนั้น ก็จงอพยพออกจากแผ่นดินนั้น ไปยังผืนแผ่นดินที่ให้ความสะดวกแก่เขาในการที่จะดำรงไว้ซึ่งสิ่งจำเป็นในศาสนาและการดำรงชีพในดุนยา และร่วมมือกับบรรดามุสลิมบนความดีและความยำเกรง เพราะผืนแผ่นดินของอัลลอฮฺนั้นกว้างใหญ่ไพศาล
อัลลอฮฺ ตรัสว่า
: ( ومن يهاجر في سبيل الله يجد في الأرض مراغماً كثيراً وسعة ) النساء/100 ،
“และผู้ใดที่อพยพไปในทางของอัลลอฮฺ เขาก็จะพบในผืนแผ่นดิน ซึ่งสถานที่อพยพไปอันมากมาย และความมั่งคั่งด้วย”
وقال تعالى : ( قل يا عباد الذين آمنوا اتقوا ربكم للذين أحسنوا في هذه الدنيا حسنة وأرض الله واسعة إنما يوفى الصابرون أجرهم بغير حساب ) الزمر/ 10
“จงกล่าวเถิด (มุฮัมมัด) โอ้ปวงบ่าวผู้ศรัทธาทั้งหลายเอ๋ย จงยำเกรงพระเจ้าของพวกท่านเถิด สำหรับบรรดาผู้ทำความดีในโลกนี้ คือ (จะได้รับการตอบแทน) ความดี และแผ่นดินของอัลลอฮฺนั้นกว้างใหญ่ไพศาล แท้จริงบรรดาผู้อดทนนั้น จะได้รับการตอบแทนรางวัลของพวกเขาอย่างสมบูรณ์โดยไม่ต้องคำนวณ”
หากไม่มีความสามารถที่จะกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งจากที่กล่าวมาทั้งหมดได้เลย และจำเป็นที่จะต้องประกอบอาชีพที่มีความยากลำบากมากดังที่กล่าวในคำถาม ก็ให้ถือศีลอดจนกระทั่งรู้สึกว่าไม่ไหว จึงรับประทานอาหารและเครื่องดื่มเท่าที่จำเป็นแล้วให้ถือศีลอดต่อไป และให้ชดใช้ในวันอื่นๆ ที่มีความสะดวกในการที่จะถือศีลอด
ข้อวินิจฉัยปัญหาคณะกรรมการถาวรเพื่อการค้นคว้าวิจัยด้านวิชาการและการวินิจฉัยปัญหา( 10 / 234 – 236 )
และได้ถูกถามเช่นกัน – ชายคนหนึ่งประกอบอาชีพในร้านทำขนมปัง และต้องประสบกับความกระหายอย่างรุนแรงและความเหนื่อยล้าในการทำงาน จะอนุญาตให้เขาละศีลอดได้หรือไม่ ?
บรรดานักวิชาการได้ตอบไว้ว่า
ไม่อนุมัติให้ชายดังกล่าวละศีลอด เขาจำเป็นจะต้องถือศีลอด และการที่เขาทำขนมปังในช่วงเวลากลางวันนั้น มิใช่ข้อผ่อนผันในการที่จะละศีลอด และเขาจะต้องทำงานเท่าที่มีความสามารถ
ข้อวินิจฉัยปัญหาคณะกรรมการถาวรเพื่อการค้นคว้าวิจัยด้านวิชาการและการตอบปัญหา( 10 / 238 )
والله أعلم
คุตบะห์วันศุกร์