บทลงโทษของผู้ที่ไม่ถือศีลอดในเดือนรอมฏอน โดยไม่มีอุปสรรค์ (ข้อผ่อนผัน)ใดๆ
แปลเรียบเรียง อ.อาบีดีน พัสดุ
คำถาม
ฉันไม่ถือศีลอด แล้วฉันจะถูกลงทัณฑ์ในวันกิยามะฮฺหรือไม่ ?
คำตอบ
การถือศีลอดเดือนรอมฏอน เป็นรุก่นข้อหนึ่ง (หลักการ) ที่อิสลามตั้งอยู่บนมัน , แท้จริงอัลลอฮฺทรงแจ้งว่าพระองค์ทรงกำหนดการถือศีลอดแก่บรรดาผู้มีอีหม่านจากประชาชาตินี้ , ดังเช่นที่พระองค์ทรงกำหนดมันแก่บรรดาผู้ที่มาก่อนพวกเขา , พระองค์ทรงตรัสว่า
( يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا كُتِبَ عَلَيْكُمُ الصِّيَامُ كَمَا كُتِبَ عَلَى الَّذِينَ مِنْ قَبْلِكُمْ لَعَلَّكُمْ تَتَّقُونَ ) البقرة / 183
“บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย การถือศีลอดนั้นได้ถูกกำหนดแก่พวกเจ้าแล้ว เช่นเดียวกับที่ได้ถูกกำหนดแก่บรรดาผู้ก่อนหน้าพวกเจ้ามาแล้ว เพื่อว่าพวกเจ้าจะได้ยำเกรง”
และทรงตรัสว่า
: ( شَهْرُ رَمَضَانَ الَّذِي أُنْزِلَ فِيهِ الْقُرْآنُ هُدىً لِلنَّاسِ وَبَيِّنَاتٍ مِنَ الْهُدَى وَالْفُرْقَانِ فَمَنْ شَهِدَ مِنْكُمُ الشَّهْرَ فَلْيَصُمْهُ وَمَنْ كَانَ مَرِيضاً أَوْ عَلَى سَفَرٍ فَعِدَّةٌ مِنْ أَيَّامٍ أُخَرَ يُرِيدُ اللَّهُ بِكُمُ الْيُسْرَ وَلا يُرِيدُ بِكُمُ الْعُسْرَ وَلِتُكْمِلُوا الْعِدَّةَ وَلِتُكَبِّرُوا اللَّهَ عَلَى مَا هَدَاكُمْ وَلَعَلَّكُمْ تَشْكُرُونَ ) البقرة / 185
“เดือนรอมฏอนนั้น เป็นเดือนที่อัล-กุรอ่านได้ถูกประทานลงมาในฐานะเป็นข้อแนะนำสำหรับมนุษย์ และเป็นหลักฐานอันชัดเจนเกี่ยวกับข้อแนะนำนั้น และเกี่ยวกับสิ่งที่จำแนกระหว่างความจริงกับความเท็จ
ดังนั้นผู้ใดในหมู่พวกเจ้าเข้าอยู่ในเดือนนั้นแล้ว ก็จงถือศีลอดในเดือนนั้น และผู้ใดป่วย หรืออยู่ในการเดินทาง ก็จงถือใช้ในวันอื่นแทน อัลลอฮฺทรงประสงค์ให้มีความสะดวกแก่พวกเจ้า และไม่ทรงให้มีความลำบากแก่พวกเจ้า
และเพื่อที่พวกเจ้าจะได้ให้ครบถ้วน ซึ่งจำนวนวัน (ของเดือนรอมฏอน) และเพื่อพวกเจ้าจะได้ให้ความเกรียงไกรแด่อัลลอฮฺในสิ่งที่พระองค์ทรงแนะนำแก่พวกเจ้า และเพื่อพวกเจ้าจะขอบคุณ”
อิหม่ามบุคอรีและมุสลิม ได้บันทึก จาก ท่านอิบนุอุมัร ร่อฏิฯ เล่าว่า ท่านร่อซูลุ้ลลอฮฺ ซ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
( بُنِيَ الإِسْلامُ عَلَى خَمْسٍ : شَهَادَةِ أَنْ لا إِلَهَ إِلا اللَّهُ وَأَنَّ مُحَمَّدًا رَسُولُ اللَّهِ ، وَإِقَامِ الصَّلاةِ ، وَإِيتَاءِ الزَّكَاةِ ، وَالْحَجِّ ، وَصَوْمِ رَمَضَان )
“อิสลามนั้นถูกสร้างอยู่บนห้าประการด้วยกันคือ การกล่าวปฏิญาณว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลเลาะฮ์ และแท้จริง มุฮัมหมัดนั้นเป็นร่อซูลของอัลเลาะฮ์ การดำรงการละหมาด การจ่ายซะกาต การทำฮัจญ์ และการถือศีลอดเดือนรอมะฎอน”
เพราะฉะนั้นใครก็ตามที่ละทิ้งการถือศีลอด แท้จริงเขาได้ละทิ้งรุก่นหนึ่งจากรุ่ก่นต่างๆของอิสลาม , และกระทำบาปที่ยิ่งใหญ่หลวงจากบาปใหญ่ต่างๆ , ยิ่งไปกว่านั้น บรรดาสลัฟบางท่านถือว่า (การกระทำดังกล่าว) นำสู่การกุโฟร (การปฏิเสธ) และการออกนอกศาสนา ,
عياذا بالله من ذلك ขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺให้พ้นจากการกระทำเหล่านั้น
ท่านอบูยะอฺลา ได้บันทึกในหนังสือมุสนัดของเขา จากท่านอิบนุ อับบาส ร่อฏิฯ จากท่านนบี ซ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
( عرى الإسلام وقواعد الدين ثلاثة عليهن أسس الإسلام من ترك واحدة منهن فهو بها كافر حلال الدم : شهادة أن لا إله إلا الله ، والصلاة المكتوبة ، وصوم رمضان )
. والحديث صححه الذهبي ، وحسنه الهيثمي في مجمع الزوائد (1/48) والمنذري في الترغيب والترهيب برقم 805 ، 1486 ، وضعفه الألباني في السلسة الضعيفة برقم 94
“ที่ยึดของอิสลาม และหลักการศาสนามี ๓ ประการ ซึ่งบนสามประการนี้ ศาสนาได้ก่อตั้งขึ้น ผู้ใดละทิ้งประการหนึ่งประการใดจากสามประการ ถือว่าเขาเป็นกาฟิร (ผู้ปฏิเสธ) เลือดเป็นที่อนุมัติ ก็คือ : การปฏิญานตนว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ , การละหมาด ๕ เวลา , และการถือศีลอดในเดือนรอมฏอน”
ฮาดีษบทนี้ ท่านซะฮาบียฺ ถือว่าเป็นฮาดีษเศาะเหียะหฺ , ท่านฮัยซามี่ ถือว่าเป็นฮาดีษหะซัน ในหนังสือมุจมะอฺ อัซซะวาอิด (๔๘/๑) และท่าน อัลมุซิรี่ ใน หนังสืออัตตัรฆีบ วัตตัรฮีบ เลขที่ ๘๐๕ , ๑๔๘๖ ,เชคอัลอัลบานียฺ ถือว่าเป็นฮาดีษฏออีฟ ใน หนังสืออัซซิลซิละฮฺ อัฏฏออีฟะฮฺ เลขที่ ๙๔ และท่าน อัซซาฮาบียฺ ใน อัลกะบาอิร (หน้าที่ ๖๔)
وعند المؤمنين مقرر أن من ترك صوم رمضان بلا مرض ولا غرض ( أي بلا عذر يبيح ذلك ) أنه شر من الزاني ومدمن الخمر ، بل يشكون في إسلامه ويظنون به الزندقة والانحلال اهـ
“และบรรดามุอฺมินต่างยอมรับกันว่า ผู้ใดละทิ้งการถือศีลอดเดือนรอมฏอน โดยมิได้เจ็บป่วยและมิได้มีอุปสรรค์ที่จะอนุมัติให้กระทำเช่นนั้นได้ แท้จริงแล้วเขาชั่วช้ายิ่งกว่าผู้ที่ผิดประเวณีและผู้ที่ติดเหล้า ทำให้เกิดความสงสัยในอิสลามของเขา และพวกเขา (บรรดามุสลิม) อาจคิดว่าเขาเป็นผู้ที่แอบซ่อนความปฏิเสธและออกนอกลู่นอกทาง”
และจากสิ่งที่ถูกต้อง จากสัญญาแห่งการลงโทษ สำหรับผู้ที่ละทิ้งการถือศีลอด คือฮาดีษที่ท่านอิบนุคุซัยมะฮฺได้บันทึก (๑๙๘๖) และอิบนุ ฮิบบาน (๗๔๙๑) จากท่านอบีอุมามะฮฺ อัลบาฮิลี่ยฺ เล่าว่า ฉันได้ยินท่านร่อซูลุ้ลลอฮฺ ซ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
( بينا أنا نائم إذ أتاني رجلان فأخذا بضبعيّ ( الضبع هو العضد ) فأتيا بي جبلا وعِرا ، فقالا : اصعد فقلت : إني لا أطيقه . فقالا : إنا سنسهله لك . فصعدت حتى إذا كنت في سواء الجبل إذا بأصوات شديدة ، قلت : ما هذه الأصوات ؟ قالوا : هذا عواء أهل النار . ثم انطلقا بي فإذا أنا بقوم معلقين بعراقيبهم ، مشققة أشداقهم ، تسيل أشداقهم دما، قلت : من هؤلاء ؟ قال : هؤلاء الذين يفطرون قبل تحلة صومهم . صححه الألباني في صحيح موارد الظمآن برقم 1509
“ในระหว่างที่ฉันนอนหลับอยู่นั้น มีชายสองคนมาจับแขนฉัน และพาฉันไปยังภูเขาลูกหนึ่ง ซึ่งเป็นทางที่ยากลำบาก
แล้วทั้งสองกล่าวว่า เจ้าจงขึ้นไป
ฉันกล่าวว่า ฉันไม่สามารถที่จะขึ้นไปได้
ทั้งสองจึงกล่าวว่า พวกเราจะทำให้มันง่ายดายแก่เจ้า ฉันจึงได้ขึ้นไปจนกระทั่งถึงกลางภูเขา ทันใดนั้นก็ได้ยินเสียงที่ดังมาก
ฉันกล่าวว่า นี่มันเสียงอะไรกัน ?
พวกเขากล่าวว่า นี่คือเสียงร้องของชาวนรก
แล้วทั้งสองก็พาฉันเดินทางต่อไป ทันใดนั้น ฉันได้เห็นคนกลุ่มหนึ่ง ซึ่งถูกแขวนด้วยการเกี่ยวที่ข้อเท้าของพวกเขาเอาไว้ แก้มทั้งสองข้างของพวกเขามีแผลแยกออก มีเลือดไหลออกมา
ฉันจึงกล่าวว่า พวกเหล่านี้คือใครกัน ?
เขากล่าวว่า พวกเหล่านี้คือบรรดาผู้ที่ละศีลอดก่อนถึงเวลาที่จะละศีลอดของพวกเขา “
ท่านอัลอัลบานียฺ ถือว่าเป็นฮาดีษเศาะเฮียหฺ ใน เศาะเฮียหฺ มะวาริดิร ซอมอาน เลขที่ ๑๕๐๙
ท่านอัลอัลบานียฺ ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า “นี่คือการลงโทษของผู้ที่ถือศีลอดแล้วตั้งใจที่จะละศีลอดก่อนที่จะถึงเวลาละศีลอด , แล้วสภาพการณ์ของผู้ที่มิได้ถือศีลอดเลยจะเป็นเช่นใด ? !
เราวิงวอนขอจากอัลลอฮฺ ซึ่งความปลอดภัยและความเป็นปรกติสุขทั้งในดุนยาและอาคีเราะฮฺ اهـ
العُرقوب คือ เส้นเอ็นที่อยู่เหนือส้นเท้าของมนุษย์
والشِّدق คือ บริเวณข้างปาก
เพราะฉะนั้น คำตักเตือนสำหรับพี่น้องที่ถามคำถามมาคือ ขอให้ท่านยำเกรงอัลลอฮฺตะอาลา
และระมัดระวังจากความกริ้วโกรธอันรุนแรงและการลงโทษอันเจ็บปวดของพระองค์
และขอให้ท่านรีบกลับเนื้อกลับตัวก่อนที่ความตายจะมาประสบกับท่านอย่างฉับพลัน การต้องจากลาพี่น้องมุสลิม
แท้จริงวันนี้คือการกระทำโดยมิได้มีการคิดบัญชี , ส่วนพรุ่งนี้คือการคิดบัญชีและไม่มีการกระทำใดๆ
และขอให้ท่านทราบเถิดว่า ใครก็ตามที่สำนึกผิดกลับเนื้อกลับตัว อัลลอฮฺทรงรับการกลับตัวของเขา
และใครก็ตามที่เข้าใกล้อัลลอฮฺคืบหนึ่ง พระองค์จะเข้ามาใกล้เขาหนึ่งศอก
ผู้ทรงมีอานุภาพมหาศาล ผู้ที่มีความดีมากมายตลอดกาล ผู้ที่ปราศจากข้อด้อยและคุณสมบัติที่ไม่สมบูรณ์ทั้งปวง ผู้ทรงไม่เอาบาปและความผิดทั้งหมดของบ่าวมาเป็นเครื่องตัดสินในลงโทษพวกเขา หากแต่พระองค์ให้โอกาสพวกเขาในการขออภัยโทษจากพระองค์ ผู้ทรงมีความเมตตาปรานีกับทุกสิ่งทุกอย่าง
(أَلَمْ يَعْلَمُوا أَنَّ اللَّهَ هُوَ يَقْبَلُ التَّوْبَةَ عَنْ عِبَادِهِ وَيَأْخُذُ الصَّدَقَاتِ وَأَنَّ اللَّهَ هُوَ التَّوَّابُ الرَّحِيمُ )
التوبة / 104
“พวกเขาไม่รู้ดอกหรือว่า แท้จริงอัลลอฮฺนั้นทรงรับการสำนึกผิดจากปวงบ่าวของพระองค์ และทรงรับบรรดาสิ่งที่เป็นทาน (ศ่อดะเกาะฮฺ) และแท้จริงอัลลอฮฺนั้นคือ ผู้ทรงอภัยโทษ ผู้ทรงเมตตาเสมอ”
หากท่านได้ทดลองถือศีลอดแล้วท่านได้รู้ถึงความง่ายดายที่อยู่ในการถือศีลอด ความคุ้นชินความสุข ความผ่อนคลาย และความใกล้ชิดอัลลอฮฺ แล้วละก็ ท่านก็จะไม่ละทิ้งการถือศีลอดอีกเลย และขอให้ท่านใคร่ครวญ ดำรัสของอัลลอฮฺ ตะอาลา ในตอนท้ายโองการต่างๆ ของการถือศีลอด
( يُرِيدُ اللَّهُ بِكُمُ الْيُسْرَ وَلا يُرِيدُ بِكُمُ الْعُسْرَ )
“อัลลอฮฺทรงประสงค์ให้มีความสะดวกแก่พวกเจ้า และไม่ทรงให้มีความลำบากแก่พวกเจ้า”
وقوله ( وَلَعَلَّكُمْ تَشْكُرُونَ )
“และเพื่อพวกเจ้าจะขอบคุณ”
แน่นอนท่านก็จะได้ประจักษ์ว่า การถือศีลอดคือความโปรดปรานที่สมควรจะต้องได้รับการขอบคุณ และด้วยเหตุนี้เอง กลุ่มหนึ่งจากบรรดาชาวสะลัฟจึงปารถนาที่จะให้ทั้งปีเป็นรอมฏอน
เราวิงวอนขอต่ออัลลอฮฺให้ทรง (เตาฟีก) ช่วยเหลือท่าน ให้ทรงนำทางท่าน ให้ทรงทำให้หัวอกของท่านเบิกบานต่อสิ่งที่เป็นความผาสุกของท่านทั้งในดุนยาและอาคีเราะฮฺ
والله أعلم
คุตบะห์วันศุกร์