มุสลิมกับข้อคิดจากวิกฤตโรคระบาด
แปลเรียบเรียง อับดุลวาเฮด สุคนธา
1. การศรัทธาต่อกฏกำหนดสภาวะ(กอฏอ กอดัร)
อัลลอฮฺ ตรัสว่า
قُلْ لَنْ يُصِيبَنَا إِلَّا مَا كَتَبَ اللَّهُ لَنَا هُوَ مَوْلَانَا ۚ وَعَلَى اللَّهِ فَلْيَتَوَكَّلِ الْمُؤْمِنُونَ
التوبة : ٥١
“จงกล่าวเถิด (มุฮัมมัด) ว่า จะไม่มี(ทุกข์ภัยใดๆ) มาประสบแก่เราเป็นอันขาด นอกจากสิ่งที่อัลลอฮ์ได้กำหนดไว้แก่เราเท่านั้น ซึ่งพระองค์เป็นผู้ทรงคุ้มครองเรา และแด่อัลลอฮฺนั้น มุอฺมินทั้งหลายจง(ให้การ) มอบหมายเถิด”
จากท่านอบู อัล-อับบาส อับดุลลอฮฺ อิบนุ อับบาส เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุมา เล่าว่า: “ในวันหนึ่งขณะที่ฉันนั่งอยู่ข้างหลังท่านนบี ﷺ ท่านก็ได้กล่าวกับฉันว่า
وَاعْلَمْ أَنَّ مَا أَخْطَأَكَ لَمْ يَكُنْ لِيُصِيْبَكَ وَمَا أَصَابَكَ لَمْ يَكُنْ لِيُخْطِئَكَ .
وَاعْلَمْ أَنَّ النَّصْرَمَعَ الصَّبْرِ . وَأَنَّ الفَرَجَ مَعَ الكَرْبِ وَأَنَّ مَعَ العُسْرِ يُسْراً " .
“และเจ้าจงพึงทราบเถิดว่า สิ่งใดที่คลาดแคล้วจากท่าน มันย่อมไม่ประสบกับท่าน และสิ่งใดที่มันประสบกับท่าน มันย่อมไม่คลาดแคล้วจากท่านอย่างแน่นอน และเจ้าจงทราบเถิดว่าชัยชนะอยู่กับความอดทน และความสุขอยู่กับทุกข์ และความสะดวกง่ายดายอยู่กับความยากลำบาก”
(อัต-ติรฺมิซีย์มี)
2. ละเมิดและฝ่าฝืนบทบัญญัติของอัลลอฮ์
สาเหตุที่เกิดบททดสอบต่างๆ การลงโทษของอัลลอฮฺที่กล่าวถึงนี้หมายถึงความหายนะและความวุ่นวายที่เกิดขึ้นในโลก และสร้างผลเสียให้กับสังคมมนุษย์ทั้งมวล ซึ่งบังเกิดขึ้นให้เห็นทั่วทุกแห่งดังที่อัลลอฮฺได้มีดำรัสว่า
ظَهَرَ الْفَسَادُ فِي الْبَرِّ وَالْبَحْرِ بِمَا كَسَبَتْ أَيْدِي النَّاسِ لِيُذِيقَهُم بَعْضَ الَّذِي عَمِلُوا لَعَلَّهُمْ يَرْجِعُونَ
"ความวิบัติ (ความผิดบาปและหายนะ) ได้เกิดขึ้นทั้งทางบกและทางน้ำ เนื่องจากสิ่งที่มือของมนุษย์ได้ทำขึ้น เพื่อที่พระองค์จะให้พวกเขาลิ้มรสผลบางส่วนจากที่พวกเขากระทำไว้ โดยหวังที่จะให้พวกเขากลับเนื้อกลับตัว"
(อัลกุรอาน 41)
บททดสอบที่เกิดขึ้นสำหรับผู้ที่อธรรมหรือฝ่าฝืนบทบัญญัติของอัลลอฮฺ ถือว่า เป็นการลงโทษ และลบล้างบาป เตือนสติพวกเขา หากว่าเขาเป็นผู้ศรัทธา ถือว่า เป็นการยกระดับยกเกียรติของเขา
3. สาเหตุโรคระบาด (ผิดประเวณี ซีนา) และ กินดอกเบี้ย
ท่านนบี มูฮัมหมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
لَمْ تَظْهَرْ الْفَاحِشَةُ فِي قَوْمٍ قَطُّ حَتَّى يُعْلِنُوا بِهَا إِلَّا فَشَا فِيهِمْ الطَّاعُونُ وَالْأَوْجَاعُ الَّتِي لَمْ تَكُنْ مَضَتْ فِي أَسْلَافِهِمْ الَّذِينَ مَضَوْا
"ชนกลุ่มใดก็ตาม ที่เต็มไปด้วยความลามกโสมม (ผิดประเวณี ซีนา) ถึงระดับที่พวกเขาทำมันอย่างเปิดเผย โจ่งแจ้ง ไม่รู้สึกว่าผิด (เมื่อถึงขั้นนั้น) โรคระบาด (กาฬโรค) จะแพร่กระจาย ลุกลามในหมู่พวกเขา และจะประสบโรคภัยที่แปลกประหลาด ที่ไม่เคยเกิดขึ้นกับคนยุคก่อนหน้าพวกเขามาก่อนเลย”
( อิบนุมาญะ ศอเฮี้ยะ อัลบานีย์)
ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า :
إِذَا ظَهَرَ الزِّنَا وَالرِّبَا فِي قَرْيَةٍ ، فَقَدْ أَحَلُّوا بِأَنْفُسِهِمْ عَذَابَ اللَّهِ
"เมื่อซินาและดอกเบี้ยได้ปรากฏในเมืองหนึ่งเมืองใด แน่นอนเหลือเกินว่า พวกเขาได้ทำให้การลงทัณฑ์จากอัลลอฮ์ เป็นที่อนุมัติแก่พวกเขาแล้ว"
( บันทึกโดย บัยฮากีย์)
ท่านอับดุลลอฮฺ อิบนุ มัสอูด กล่าวว่า
" اذا ظهر الزّنا والرّبا في قرية أذن الله بهلاكها ".
“เมื่อการซินา และการกินดอกเบี้ยปรากฏขึ้นในเมืองหนึ่งเมืองใด อัลลอฮ์จะทรงอนุมัติความพินาศให้เกิดขึ้นแก่เมืองนั้น"
4. บุคคลที่โดนทดสอบ คือ บุคคลที่อัลลอฮ์รัก
ท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้บอกไว้ว่า
((إِنَّ عِظَمَ الْجَزَاءِ مَعَ عِظَمِ الْبَلاءِ، وَإِنَّ اللهَ إِذَا أَحَبَّ قَوْمًا ابْتَلاهُمْ، فَمَنْ رَضِيَ فَلَهُ الرِّضَا، وَمَنْ سَخِطَ فَلَهُ السُّخْطُ))
“ผลบุญอันใหญ่หลวงนั้นขึ้นอยู่กับการทดสอบอันใหญ่หลวง (การทดสอบยิ่งรุนแรง ผลบุญก็ยิ่งเพิ่มขึ้น) และแท้จริงนั้นหากว่าอัลลอฮฺ สุบหานะฮูวะตะอาลา ทรงรักบุคคลใดพระองค์ก็จะทรงทดสอบพวกเขา และบุคคลที่มีความพอใจเขาก็จะได้รับความพอใจ ส่วนคนที่จะไม่สบายใจหรือแสดงความไม่พอใจต่อการทดสอบนั้น เขาก็จะได้รับความไม่สบายใจ”
(บันทึกโดยอัตติรมิซี)
อัลลอฮฺได้มีดำรัสว่า
وَلَقَدْ أَخَذْنَاهُم بِالْعَذَابِ فَمَا اسْتَكَانُوا لِرَبِّهِمْ وَمَا يَتَضَرَّعُونَ
“และโดยแน่แท้เราได้ทดสอบพวกเขาด้วยการลงโทษ แต่พวกเขาก็หาได้นอบน้อมต่อพระเจ้าของพวกเขาไม่ และพวกเขาก็ไม่ยอมถ่อมตน “
(มุมินูน : 76 )
ท่านอิบนุก็อยยิมกล่าวว่า อัลลอฮฺทดสอบพวกเขา เพื่อจะให้พวกเขานั้น นอบน้อมด้วยการ วิงวอนดุอาอฺต่อพระองค์ และพระองค์ทรงตำหนิกับคนที่โดนทดสอบแล้ว แต่ยังดื้อดึงต่อพระองค์
5. บททดสอบจะการลบล้างความผิด
ท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวไว้อย่างชัดเจนว่า
((مَا يُصِيبُ الْمُسْلِمَ مِنْ نَصَبٍ وَلاَ وَصَبٍ وَلاَ هَمٍّ وَلاَ حَزَن وَلاَ أَذًى وَلاَ غمٍّ، حتَّى الشَّوْكَةُ يُشَاكُها إِلاَّ كفَّر اللَّه بهَا مِنْ خطَايَاه))
“มุสลิมนั้นจะไม่ประสบกับความยากลำบาก ความเจ็บป่วย ความเศร้าโศก เสียใจ ความทรมาน ปัญหาต่างๆ หรือความไม่สบายใจที่จะประสบ แม้กระทั่งหนามที่อาจจะตำขณะที่เขาเดินทางนั้น ทั้งหมดนี้จะเป็นการทดสอบหรือลบล้างความผิดต่างๆ เป็นการชำระ ให้อภัยโทษจากความผิดต่างๆ ที่เราได้เคยกระทำในอดีต”
(บันทึกโดยอัลบุคอรีย์และมุสลิม)
ท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า
مَنْ يُرِد الله به خيرًا يُصِبْ منه
" ผู้ใดที่อัลลอฮฺ ปรารถนาจะให้เขาได้รับความดี เขาจะถูกทดสอบให้พบกับความเดือดร้อน "
(บันทึกโดย บุคอรีย์)
6. บททดสอบแยกแยะใครคือ ผู้ศรัทธาที่แท้จริง
อัลลอฮฺ ตะอาลาได้ตรัสว่า :
أَحَسِبَ النَّاسُ أَنْ يُتْرَكُوا أَنْ يَقُولُوا آمَنَّا وَهُمْ لَا يُفْتَنُونَ
"มนุษย์คิดหรือว่า พวกเขาจะถูกทอดทิ้งเพียงแต่พวกเขากล่าวว่าเราศรัทธา และพวกเขาจะไม่ถูกทดสอบ กระนั้นหรือ”
(อัล-อังกะบูต : 2)
وَلَقَدْ فَتَنَّا الَّذِينَ مِن قَبْلِهِمْ فَلَيَعْلَمَنَّ اللَّهُ الَّذِينَ صَدَقُوا وَلَيَعْلَمَنَّ الْكَاذِبِينَ أَمْ حَسِبَ الَّذِينَ يَعْمَلُونَ السَّيِّئَاتِ أَن يَسْبِقُونَا سَاءَ مَا يَحْكُمُونَ
"และโดยแน่นอน เราได้ทดสอบบรรดาก่อนหน้าพวกเขาแล้วดังนั้นอัลลอฮ์จะทรงจำแนกให้รู้แจ้งถึงบรรดาผู้สัจจริง และจะทรงจำแนกให้รู้แจ้งถึงบรรดาผู้กล่าวเท็จ"
( อัลอังกะบูต 3)
7. จะต้องอดทนสิ่งที่มาประสบ
อัลลอฮฺ ตะอาลา ได้ตรัสว่า :
وَلَنَبْلُوَنَّكُمْ حَتَّىٰ نَعْلَمَ الْمُجَاهِدِينَ مِنْكُمْ وَالصَّابِرِينَ وَنَبْلُوَ أَخْبَارَكُمْ
"และแน่นอนเราจะทดสอบพวกเจ้าจนกระทั่งเราจะได้รู้ถึงบรรดาผู้ต่อสู้ดิ้นรน และบรรดาผู้หนักแน่นอดทนในหมู่พวกเจ้า และเราจะทดสอบการงานของพวกเจ้า "
(มุฮัมมัด : 31)
อัลลอฮฺ ตะอาลา ได้ตรัสว่า :
( فَصَبْرٌ جَمِيلٌ ) “การอดทน เป็นสิ่งที่สวยงาม”
(ซูเราะฮฺยูซูฟ อายะฮฺที่18 )
ท่านมุญาฮิด กล่าวว่า คือการอดทนโดยไม่ตีโพยตีพาย
จากอบียะห์ยา ศุฮัยบ์ อิบนิ สินาน รอดิยัลลอฮุอันฮุมา ว่า ท่านรอซู้ล ศอลลัลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
عَجَبًالأَمْرِالْمُؤْمِنِ إِنَّ أَمْرَهُ كُلَّهُ لَهُ خَيْرٌ وَلَيْسَ ذَلِكَ لأَحَدٍ إِلاَّ لِلْمُؤْمِنِ إِنْ أَصَابَتْهُ سَرَّاءُ شَكَرَفَكَانَ خَيْرًالَهُ ، وَإِنْ أَصَابَتْهُ ضَرَّاءُ صَبَرَ فَكَانَ خَيراً لَهُ
“กิจกรรมของผู้ศรัทธานั้นช่างประหลาดเหลือเกิน เพราะกิจกรรมของเขาทั้งหมดนั้นเป็นความดีแก่ตัวเขาทั้งสิ้น ซึ่งจะไม่เป็นเช่นนั้นแก่ผู้ใด นอกจากผู้ศรัทธาเท่านั้น ถ้าหากเขาได้รับสิ่งที่น่าปลาบปลื้มยินดี เขาก็สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของอัลลอฮ์ นั่นเป็นความดีสำหรับเขา และถ้าหากมีสิ่งที่ไม่พึงประสงค์เกิดขึ้นกับเขา เขาก็อดทน นั่นก็เป็นความดีสำหรับเขาอีกเช่นกัน”
(รายงานโดย มุสลิม)
8. เสียชีวิตด้วยโรคระบาด เท่ากับตายชะฮีด
ท่านหญิง ฮัฟเซาะ เล่าวว่า ท่านอะนัสถามฉัน สาเหตุการณ์เสียชีวิตของท่าน ยะหยา อิบนุ อะบี อัมเราะฮฺ ฉันบอกว่า เขาเสียชีวิตด้วยโรคระบาด ท่านอะนัสกล่าวว่า ท่านนบีกล่าวว่า
الطَّاعُونُ شَهَادَةٌ لِكُلِّ مُسْلِمٍ
“กาฬโรคนั้นเป็นชะฮีด คือ(มุสลิมตายด้วยโรคระบาดนั้นถือว่า ตายชะฮีด)”
( บุคอรีย์)
ท่านรอซุลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า :
« لَيسَ مِنْ رَجُلٍ يَقَعُ الطَّاعُونُ ، فَيَمْكُث فِي بَيتِهِ صَابِرًا مُحْتَسِبًا يَعْلَمُ أَنَّهُ لَا يُصِيبُه إلَّا مَا كَتَبَ اللهُ لَهُ ؛ إلِّا كَانَ لَهُ مِثْلُ أَجْرِ الشَّهِيدِ ».
"บุคคลใดก็ตามที่ได้ประสบกับกาฬโรค แล้วเขาก็กักตัวเองอยู่ในบ้านของเขา ด้วยความอดทน หวังในความโปรดปรานของอัลลอฮ์ โดยที่เขารู้ว่าโรคร้ายที่เขากำลังประสบอยู่นั้น คือสิ่งที่อัลลอฮ์ทรงกำหนดไว้ให้แก่เขาแล้ว และเขาจะได้รับผลบุญเสมือนผู้ที่ตายชะฮีด"
(อิม่ามอะหมัด)
9. การขอดุอาอฺ คุ้มครองจากอัลลอฮฺ
การขอดุอาอฺหรือการขอพรต่ออัลลอฮฺเป็นอิบาดะฮฺที่ทำได้ง่ายที่สุด แต่มีความสำคัญอย่างมหาศาล การขอดุอาอฺนอกจากจะเป็นการขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮฺในเรื่องต่างๆ ดังนั้นยังพระองค์เท่านั้นที่เขาต้องวอนขอ และต้องเพียรพยายามไม่เกียจคร้านที่จะขอจากพระองค์
อัลลอฮฺได้ตรัสว่า
أَمَّن يُجِيبُ الْمُضْطَرَّ إِذَا دَعَاهُ وَيَكْشِفُ السُّوءَ وَيَجْعَلُكُمْ خُلَفَاء الْأَرْضِ أَإِلَهٌ مَّعَ اللهِ قَلِيلاً مَّا تَذَكَّرُونَ
“หรือมีผู้ใดเล่าที่ตอบรับผู้ที่วอนขอยามคับขัน และผู้ที่ขจัดความชั่วร้ายออกไป และผู้ที่ทำให้พวกเจ้าได้ปกครองแผ่นดิน (นอกเสียจากอัลลอฮฺ) ยังมีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺอีกหรือ? น้อยนักที่พวกเจ้าคิดใคร่ครวญ”
(สูเราะฮฺ อัน-นัมลฺ: 62)
ดังอัลกุรอาน ความว่า
وَإِذَا مَرِضْتُ فَهُوَ يَشْفِينِ
“และเมื่อฉันป่วย ดังนั้น พระองค์ทรงทำให้ฉันหายป่วย”
(อัชชุอะเราะฮฺ 80)
ดุอาอฺป้องกันโครต่างๆ
اللَّهُـمَّ إنِّي أَعُوذُ بِكَ مِنَ البَرَصِ وَالجُنُونِ وَالجُذَامِ وَمِنْ سَيِّئِ الأَسْقَامِ
คำอ่าน : อัลลอฮุมม่ะ อินนี อะอูซุบิกะ มินัลบะเราะศิ วัลญุนูนิ วัลญุซามิ ว่ะมินชัยยิอิล อัสกอม
ความว่า "โอ้อัลลอฮฺ ฉันขอความคุ้มครองต่อพระองค์ให้พ้นจากโรคเรื้อน โรคบ้า โรคจุดดำขนหลุดร่วง และโรคภัยที่เลวร้ายทั้งมวล"
(รายงานโดย อะบูดาวุด)
10. รางวัลผู้ที่อดทน
เมื่อเห็นเขาประสบกับมุศีบะฮฺเขาจะมีความหนักแน่น เขาจะมีความมั่นคง ไม่บ่น ไม่แสดงความไม่พอใจ นี่คือสิ่งที่เราต้องฝึกในชีวิตของเรา ท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้แจ้งถึงผลบุญมหาศาลสำหรับผู้ที่อดทน
((إنَّ اللَّه قَالَ:"إِذَا ابْتَلَيْتُ عَبدِي بحبيبتَيْهِ فَصبَرَ عَوَّضْتُهُ مِنْهُمَا الْجنَّةَ))
“อัลลอฮฺ อัซซะวะญัล ตรัสว่า หากว่าฉันได้ทดสอบบ่าวของฉันด้วยการยึดดวงตาทั้งสองของเขา (ทำให้เขาตาบอด) จากนั้นเขาก็อดทนต่อการทดสอบนั้น จะไม่มีการตอบแทนใดสำหรับเขานอกจากสวรรค์”
(บันทึกโดยอัลบุคอรีย์)
11. ชีวิตในโลกนี้ เกิด แก่ เจ็บ ตาย
อัลลอฮฺได้ตรัสว่า
وَمَا هَٰذِهِ الْحَيَاةُ الدُّنْيَا إِلَّا لَهْوٌ وَلَعِبٌ ۚوَإِن الدارَ الآخِرَةَ لَهِىَ الحَيَوَانُ لَو كَانُوا يَعلَمُونَ العنكبوت/64 ،
“และการมีชีวิตอยู่ในโลกนี้มิใช่อื่นใด เว้นแต่เป็นการละเล่นและการสนุกสนานร่าเริง และแท้จริงสถานที่ในปรโลกนั้น แน่นอนมันคือชีวิตที่แท้จริงหากพวกเขาได้รู้”
การมีชีวิตอยู่ในโลกนี้ อัลลอฮฺได้ตรัสว่า
( لَقَد خَلَقنَا الإِنسانَ في كَبَدٍ ) البلد/4
“โดยแน่นอนเราได้บังเกิดมนุษย์มาเพื่อเผชิญความยากลำบาก”
12. เราเป็นสิทธิ์ของอัลลอฮฺ
อัลลอฮฺได้ตรัสว่า
﴿ إِنَّا لِلَّهِ وَإِنَّآ إِلَيۡهِ رَٰجِعُونَ ﴾
“แท้จริงเราเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺ สุบหานะฮูวะตะอาลา และแท้จริงเราจะต้องกลับไปสู่พระองค์”
(อัลบะเกาะเราะฮฺ : 156)
ผู้ที่ประสบกับบททดสอบ ต้องกล่าวว่า
إِنَّا لِلَّهِ وَإِنَّا إِلَيْهِ رَاجِعُونَ "อินนาลิลลาฮ์ วะอินนาอิลัยฮิรอญีอูน"
“แท้จริงพวกเราเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺ และแน่นอนพวกเราจะกลับไปยังพระองค์”
อิบนุ ฮะญัร กล่าวว่า : บทเรียนบางอย่างที่ได้รับเมื่อเกิดโรคระบาดและกาฬโรค คือ : ลดความคาดหวัง(ต่อดุนยา), ปรับปรุงอามัลให้สวยงามยิ่งขึ้น, ครองตนด้วยสติ, และเร่งเตรียมเสบียงสำหรับการเดินทาง(ไปอาคิเราะฮ์)