สำนวนการอาซาน และวิธีละหมาดที่บ้านช่วงสถาณการณ์วิกฤตโคโรนา
  จำนวนคนเข้าชม  7821


สำนวนการอาซาน และวิธีละหมาดที่บ้านช่วงสถาณการณ์วิกฤตโคโรนา Covit-19

 

แปลและรวบรวมโดย อบูบักร สะแหละ

 

คำถาม 

          เชื่อว่าพี่น้องหลายท่านคงสงสัยว่า ถ้าละหมาดที่มัสยิดไม่ได้เราต้องละหมาดที่บ้านแบบใดกัน แล้วจะละหมาดทั้งทีเราต้องอาซานใหม แต่เอ๋สำนวนอาซานแบบปกติทุกวันหรือแบบใดกันดีละ?

 

คำตอบ 

          เพจการเรียกร้องสู่หลักศรัทธาแบบสลัฟหรืออัดดะอฺวะอฺ อิลา เอียะติกอดิสสลัฟและมุลตากอมหาวิทยาลัยอิสลามมะดีนะห์ประจำวันที่17 - 03 - 2020 ได้ซึ่งสุรุปคำตอบได้ดังนี้

 

1.สำนวนการอาซาน

 

          แม้ว่ามัสยิดจะไม่มีการละหมาดญามาอะห์ก็จริงแต่การอาซานที่มัสยิดยังต้องอาซานปกติทุกเวลาละหมาดเพื่อแจ้งให้ผู้คนทราบเวลาละหมาดแล้วให้บุคคลที่ทำการอาซานบอกเวลาละหมาดกล่าว

صَلُّوا فِي بُيُوتِكُمْ

แปลว่าท่านทั้งหลายจงละหมาดที่บ้านของพวกท่าน

จำนวน 2 ครั้งแทนการกล่าว (حَيَّ عَلَي الصَّلَاةِ ) ดังนี้

اَللهُ أَكْبَر ، اَللهُ أَكْبَر

اَللهُ أَكْبَر ، اَللهُ أَكْبَر

أَشْهَدُ أَنْ لَا إِلَهَ إِلَّا اللهُ ، أَشْهَدُ أَنْ لَا إِلَهَ إِلَّا اللهُ

أَشْهَدُ أَنَّ مُحَمَّدًا رَّسُولُ اللهِ ، أَشْهَدُ أَنَّ مُحَمَّدًا رَّسُولُ اللهِ

صَلُّوا فِي بُيُوتِكُمْ ، صَلُّوا فِي بُيُوتِكُمْ

حَيَّ عَلَي الْفَلَاحِ ، حَيَّ عَلَي الْفَلَاحِ

اَللهُ أَكْبَر ، اَللهُ أَكْبَر

لَاإِلَهَ إِلَا اللهُ .

         ยึดตามหะดีษอีหม่ามบุคอรีย์ หมายเลขหะดีษที่ 668 และอีหม่ามมุสลิม หมายเลขหะดีษที่ 699 ซึ่งเป็นสำนวนของอีหม่ามมุสลิมว่า

عَنْ عبدِ اللهِ بنِ عَبَّاسٍ، أنَّهُ قالَ لِمُؤَذِّنِهِ في يَومٍ مَطِيرٍ: إذَا قُلْتَ: أَشْهَدُ أَنْ لا إلَهَ إلَّا اللَّهُ، أَشْهَدُ أنَّ مُحَمَّدًا رَسولُ اللهِ، فلا تَقُلْ: حَيَّ علَى الصَّلَاةِ، قُلْ: صَلُّوا في بُيُوتِكُمْ، قالَ: فَكَأنَّ النَّاسَ اسْتَنْكَرُوا ذَاكَ، فَقالَ: أَتَعْجَبُونَ مِن ذَا، قدْ فَعَلَ ذَا مَن هو خَيْرٌ مِنِّي، إنَّ الجُمُعَةَ عَزْمَةٌ، وإنِّي كَرِهْتُ أَنْ أُحْرِجَكُمْ فَتَمْشُوا في الطِّينِ والدَّحْضِ.

 

          ความว่าจากท่านอับดิลลาฮฺ บิน ฮาริษ จากท่านอับดุลลอฮฺ อิบนิ อับบ้าสแท้จริงท่านนั้นได้กล่าวแก่ผู้ทำการอาซานของท่านในวันฝนตกหนักว่าช่วงตอนที่เจ้ากล่าวคำว่า

أَشْهَدُ أَنْ لَا إِلَهَ إِلَّا اللهُ ، أَشْهَدُ أَنْ لَا إِلَهَ إِلَّا اللهُ

أَشْهَدُ أَنَّ مُحَمَّدًا رَّسُولُ اللهِ ، أَشْهَدُ أَنَّ مُحَمَّدًا رَّسُولُ اللهِ

เสร็จแล้วนั้น เจ้าไม่ต้องกล่าวคำว่า

حَيَّ عَلَي الصَّلَاةِ

แต่ให้กล่าวคำว่า

صَلُّوا فِي بُيُوتِكُمْ

         ท่านกล่าวไปแล้ว ประหนึ่งดังว่าผู้คนส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับท่านดังกล่าว แล้วท่าน( อิบนุอับบ้าส )กล่าวขึ้นว่าแล้วพวกเจ้าจะรู้สึกแปลกตรงไหนกัน ? แท้จริงคนดีๆกว่าฉันเขาทำกัน แท้จริงละหมาดวันศุกร์มันเป็นสิทธิหน้าที่ แต่ฉันเองไม่ชอบที่จะไล่พวกท่านแล้วปล่อยให้พวกท่านต้องเดินลงดินหรอกนะ

 

     ● เชคอุซัยมีน กล่าวอธิบายดังกล่าวนี้ในหนังสือตะอฺลีกอต อิบนุอุซัยมีน อะลัลกาฟีย์ ลิลนิกุดามะห์ว่า แล้วเรากล่าวจะคำว่า

حَيَّ عَلَي الفَلَاحِ   ได้ใหมละ?

     คำตอบคือ ได้ เรากล่าวมันบางครั้งบางเวลาว่า ฮัยยะ อะลัล ฟาลาอฺ เพราะผู้คนนั้นจะได้รับความสำเร็จถึงแม้นเขาจะละหมาดที่บ้านของเขาก็ตามและตัวบทหะดีษเองข้างต้นนี้อาจไม่ระบุไว้ก็เถอะแต่มันก็คือการเรียกร้องเชิญชวนผู้คนให้ละหมาด

 

2.วิธีละหมาดที่บ้านในช่วงสถาณการณ์วิกฤตโคโรนา Covit-19

 

   ● ละหมาดญามาอะห์ที่บ้านร่วมกับสมาชิกครอบครัวโดยไม่ต้องทำการอาซาน แต่ให้รอฟังเสียงอาซานจากมัสยิด

   ● อีกอมะห์ทุกครั้งก่อนเริ่มทำการละหมาดฟัรฏู 5 เวลา

   ● ละหมาดในเวลาที่ศาสนากำหนดและควรระวังการล่าช้าปล่อยละเลิยทำกิจกรรมในบ้านจนหมดเวลาเพราะนั้นคือสัญญาณของการกระทำบาปใหญ่ที่มาโดยไม่รู้ตัวเหตุเนื่องทิ้งละหมาดหรือปล่อยเวลาให้หมดโดยไร้ซึ่งความจำเป็น

   ● รูปแบบการละหมาดให้ปฏิบัติตามซุนนะห์ปกติทั้งจำนวนและเวลาปกติ ไม่ต้องละหมาดย่อ ไม่ต้องละหมาดรวม ( 2-4-4-3-4 ) ยกเว้นกรณีเดินทางหรือฝนตกเป็นต้น

   ● ควรละหมาด ซุนนะห์รอวาติบก่อนและหลังเสร็จสิ้นละหมาดฟัรฏูทุกครั้งตามซุนนะห์ที่ปรากฏหลักฐานชัดเจนในรูปแบบต่างๆเพื่อรักษาความดีและการเพิ่มพูนชั้นสวรรค์และบ้านวันละ 1 หลังสำหรับผู้ที่รักษาละหมาดซุนนะห์รอวาติบครบ

   ● ละหมาดญามาอะห์ในบ้านพร้อมกันจากเหล่าสมาชิกครัวเรือนกันอย่างพร้อมเพรียงทั้งสุภาพบุรุษและสภาพสตรีให้ผู้ชายเป็นอีหม่ามนำละหมาดและสตรีและเด็กยืนหลังตามลำดับซุนนะห์

   ● หากผู้นำครอบครัวมีลูกชายคนเดียวให้ลูกของเขายืนด้านขวา และให้ภรรยายืนหลังและตัวเขานั้นเป็นอีหม่ามนำละหมาด

   ● หากสมาชิกครอบครัวมีหลายคนทั้งชายและหญิงให้ผู้นำครอบครัวเป็นอีหม่ามและสมาชิกที่เหลือเป็นมะมูมยืนตามลำดับซุนนะห์เช่นการละหมาดที่มัสยิด

   ● หลังละหมาดศุบอิเสร็จแล้วมีซุนนะห์ให้นั่งอยู่ที่สถานที่ละหมาดเพื่อรอจนกว่าดวงอาทิตย์ขึ้นแล้วละหมาดซุนนะห์อิชรอกก่อนแยกย้ายไปทำภารกิจตามคำแนะนำหะดีษที่อธิบายโดยเชคบินบ้าซ

   ● รักษาเวลาละหมาด ละหมาดในช่วงต้นของเวลาดีที่สุดยกเว้นละหมาดอีชาอฺมีซุนนะห์ให้ละหมาดล่าช้าเล็กน้อยแต่ต้องเป็นเวลาก่อนเที่ยงคืน

   ● งดละหมาดวันศุกร์ในพื้นที่เสี่ยงไวรัสและให้ทำการละหมาดซุฮฺริแทนละหมาดยุมุอะห์ตามคำฟัตวาของประเทศซาอุฯ อียิปต์และท่านจุฬาฯประจำประเทศไทยเพื่อป้องกันความเสี่ยง

 

3.ข้อห้ามและข้อควรระวัง

 

   ● ห้ามทิ้งหรือปล่อยให้หมดเวลาเพราะเสี่ยงต่อการทำบาปใหญ่และตกศาสนา

   ● วายิบต้องละหมาดในทุกสถานการณ์ไม่มีการยกเว้นกรณีใดทั้งสิ้น

   ● อิสลามผ่อนปรนให้ลดย่อในกรณีมีเหตุการณ์ตามความเหมาะสมและผู้ที่มีลักษณะอยู่ในเงื่อนไขที่ศาสนากำหนดเท่านั้น แต่ไม่มีหลักฐานใดที่อนุญาติให้หยุดหรือเลิกละหมาด

   ● การอ้างขอลดย่อละหมาด จาก 4 เป็น 2 ด้วยการอ้างกลัวไวรัสย่อมถือเป็นบิดอะห์ซึ่งต้องหลีกห่าง

   ● อย่าเชื่อต่อคำแอบอ้างสถาณการณ์หากไม่มีหลักฐานจากอัลกรุอ่านและซุนนะห์ยืนยันเช่น

   ● الاتفاق الجماعي علي تخصيص صلاة ركعتين علي التاسعة أو ما شابهها ً

     ความว่า มติเอกฉันท์ว่าให้ทำการเลือกละหมาด 2 ร็อกอะห์ได้ จากจำนวน 9 ร็อกอะห์ หรือทำนองนั้นเพื่อช่วยให้รอดพ้นจากบาลาอฺโรคร้ายโรคระบาด เป็นต้น

 

          คำดังกล่าวนี้ บิดอะห์ย่อมถือเป็นการอุตริกรรมย้อนแย้งกับสิ่งที่อัลลอฮฺทรงบอกไว้ในอัลกรุอ่านซึ่งเป็นสิ่งที่รับไม่ได้ย่อมต้องถูกละทิ้งไปซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งต่อตักเตือนผู้คนให้ระวังหลีกห่างซึ่งไม่มีตัวบทใดรับรองจากหลักฐานที่มาจากอัลกุรอ่านและซุนนะห์ แต่ผู้ใดจะขอควรที่ขอตามซุนนะห์และวิธีที่ท่านสอนย่อมดีสุดและถูกต้องสุด

(ดู.. صفحة ذي الدعوة )

 

وَاللهُ أَعْلَمُ