มารยาทต่อครอบครัว
อับดุลวาเฮด สุคนธา เรียบเรียง
ความหมายและความสำคัญ
ครอบครัวที่ดีจำเป็นต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งความอบอุ่น ความรัก ความเมตตาที่พึงมีต่อกัน โดยเฉพาะ อัลกุรอานได้บรรยายถึงลักษณะของครอบครัวตามแบบของอิสลามไว้ในโองการดังต่อไปนี้
وَمِنْ آيَاتِهِ أَنْ خَلَقَ لَكُم مِّنْ أَنفُسِكُمْ أَزْوَاجًا لِّتَسْكُنُوا إِلَيْهَا وَجَعَلَ بَيْنَكُم مَّوَدَّةً وَرَحْمَةً إِنَّ فِي ذَٰلِكَ لَآيَاتٍ لِّقَوْمٍ يَتَفَكَّرُونَ
“และสัญญาณหนึ่งแห่งองค์พระผู้อภิบาลนั้นคือ พระองค์ทรงบังเกิดคู่ครองของพวกเจ้าจากเรือนร่างของพวกเจ้าเอง
เพื่อพวกเจ้าจักได้อยู่ร่วมชีวิตกับนาง และทรงประทานความรัก ความเมตตาขึ้นในหมู่พวกเจ้า”
และความเมตตาระหว่างพวกเจ้า แท้จริงในการนี้ แน่นอน ย่อมเป็นสัญญาณแก่หมู่ชนผู้ใคร่ครวญ “
(กุรอาน 21)
ครอบครัว ถือเป็นสถาบันขั้นพื้นฐานของสังคม ระบบครอบครัวในศาสนาอิสลามได้นำสิทธิของสามี ภรรยา บุตร และญาติพี่น้อง ด้วยการส่งเสริมความดีและออกห่างประพฤติที่ไม่ดี เช่น เห็นแก่ตัว ไม่โอบอ้อมอารี ความเป็นระเบียบของสังคมที่สมานฉันท์ควรได้รับการสรรสร้างจากสมาชิกในครอบครัวใหญ่ที่มีความใกล้ชิดกันและจากบุตรผู้สืบสกุล
หลักการ
รายงานอบีฮุรอยเราะห์ กล่าวว่า ท่านรอซูล กล่าวว่า :
أكملُ المؤمنين إيمانًا أحسنُهم خُلقًا وخيارُكم خيارُكم لأهلِه
“บรรดาผู้ศรัทธาที่มีอีหม่านสมบูรณ์ที่สุด คือผู้ที่มีมารยาทดี
และคนที่ดีที่สุดในหมู่พวกท่านคือ ผู้ที่ปฏิบัติดีต่อภรรยาของพวกเขาในหมู่พวกท่าน “
(บันทึกโดยติรมิซีย์)
การปฏิบัติ
♦ พูดจาด้วยถ้อยคำที่สุภาพ และอ่อนโยน
อัลลอฮฺ ได้ทรงสั่งใช้ แก่ผู้ศรัทธาว่า
وَقُولُوا لِلنَّاسِ حُسْناً “และจงพูดจาแก่เพื่อนมนุษย์อย่างดี”
(อัลบากอเราะฮฺ : 83)
♦ ให้อ่านดุอาอ พร้อมกับให้สลาม
ดุอาอ์เข้าบ้าน
بِسْمِ الهِ อ่านว่า “บิสมิลลาฮฺ” ความว่า “ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ”
ความประเสริฐ : อ่านแล้วชัยตอนไม่สามารถเข้ามาหลับนอนในบ้านเราได้
(บันทึกโดย: มุสลิม)
อัลลอฮ์ ได้ ตรัสไว้ในอัลกุรอ่านความว่า
(فإذَا دَخَلْتُمْ بُيُوتاً فَسَلِّمُوا على أنْفُسِكُمُ تَحِيَّةً مِنْ عِنْدِ اللَّهِ مُبَارَكَةً طَيِّبَةً)
“พวกเจ้าเข้าไปในบ้านก็จงกล่าวสลามให้แก่ตัวของพวกเจ้าเอง เป็นการคำนับอันจำเริญยิ่งจากอัลลอฮ์”
(อันนูร 61)
มีรายงานจาก อะนัส บินมาลิก ว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ ได้กล่าวว่า :
يا بُنيَّ! إذا دَخَلْتَ على أَهلِكَ, فسلِّمْ, يكُنْ بَرَكَةً عليكَ, وعلى أهلِ بيتِكَ
“โอ้ลูกเอ๋ย เมื่อเจ้าเข้ามายังครอบครัว(บ้าน)จงให้กล่าวสลาม อัสสะลามุอะลัยกุม มันจะเป็นความศิริมงคลกับเจ้า และคนในครอบครัวของเจ้า “
(บันทึกโดยติรมีซีย์)
กล่าวสลามเมื่อไม่มีคนอยู่ในบ้าน มีรายงานจาก อิบนุ อุมัร ได้กล่าวว่า : เมื่อเข้าบ้านแล้วไม่มีคนอยู่ในจงกล่าวว่า
السَّلامُ عَلَيْنا وعلى عِباد اللَّهِ الصَّالِحِين
อัสลามุอะลัยนา วะอะลา อีบาดิลลาฮิศฺศอลิฮีน
“ขอความ ศานติจงประสบแด่พวกเราและแด่ปวงบ่าวของอัลลอฮ์ผู้ทรงคุณธรรม”
(บันทึกโดย: บุคอรีย์)
♦ ช่วยเหลืองานบ้าน
ท่านหญิงอาอิชชะฮ์ได้ถูกถามว่า อะไรบ้างหรือที่ท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมได้ทำงานในบ้าน?
سَأَلْتُ عَائِشَةَ مَا كَانَ النَّبِيُّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ يَصْنَعُ فِي بَيْتِهِ؟ قَالَتْ: كَانَ يَكُونُ فِي مِهْنَةِ أَهْلِهِ - تَعْنِي خِدْمَةَ أَهْلِهِ - فَإِذَا حَضَرَتِ الصَّلاَةُ خَرَجَ إِلَى الصَّلاَةِ " .
ท่านหญิงกล่าวว่า “ท่านทำงานบ้านเป็นประจำ เมื่อถึงเวลาละหมาดท่านจะออกไปละหมาด”
( รายงานโดยบุคอรีย์)
♦ ทำดีและเคารพเชื่อฟังพ่อแม่ผู้ปกครอง ไม่ดื้อรั้น ไม่ก้าวร้าว ไม่พูดโกหก
อัลลอฮฺ ตรัสว่า
﴿ وَبِٱلۡوَٰلِدَيۡنِ إِحۡسَٰنا ﴾ "และจงทำดีต่อบิดามารดา”
(อันนิซาอฺ : 36)
♦ ไม่ตำหนิอาหาร
จากอะบีฮุร็อยเราะฮฺ กล่าวว่า :
مَا عَابَ النَّبِىُّ - صلى الله عليه وسلم - طَعَامًا قَطُّ ، إِنِ اشْتَهَاهُ أَكَلَهُ ، وَإِنْ كَرِهَهُ تَرَكَهُ .
“ท่านนบี ไม่เคยตำหนิอาหารเลย หากท่านชอบท่านก็จะทาน และหากท่านไม่ชอบ ท่านก็จะละจากมันเสีย”
(บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ และมุสลิม)
ดุอาอฺ
♦ ดุอาอฺที่พ่อแม่ควรขอให้ลูกหลาน
رَبِّ هَبْ لِي مِنْ لَدُنْكَ ذُرِّيَّةً طَيِّبَةً ۖ إِنَّكَ سَمِيعُ الدُّعَاءِ
“ข้าแต่พระเจ้าของข้าพระองค์ โปรดได้ทรงประทานแก่ข้าพระองค์ซึ่งบุตรที่ดีคนหนึ่งจากที่พระองค์ แท้จริงพระองค์เป็นผู้ทรงได้ยินคำวิงวอน”
(ซูเราะฮฺอาละอิมรอน 3 : 38)
♦ ดุอาขอให้มีครอบครัวที่ดี มีความสุข
رَبَّنَا هَبْ لَنَا مِنْ أَزْوَاجِنَا وَذُرِّيَّاتِنَا قُرَّةَ أَعْيُنٍ وَاجْعَلْنَا لِلْمُتَّقِينَ إِمَامًا
อ่านว่า... ร็อบบานา ฮับลานา มินอัซวาญีนา ว่าซุรรียาตีนา กูรรอตาอะยุน วัจญฺอัลนา ลิลมุตตากีน่า อีมามา"
"โอ้พระเจ้าของพวกเรา โปรดประทานความสุขใจแก่พวกเราจากคู่ครองและลูกหลานของพวกเรา และโปรดบันดาลพวกเราเป็นผู้นำแห่งบรรดาผู้มีความยำเกรง “
(ซูเราะฮฺอัลฟุรกอน อายะฮฺที่ 74)