มารยาทต่อคนยากจน และผู้ด้อยโอกาส
อับดุลวาเฮด สุคนธา เรียบเรียง
ความหมายและความสำคัญ
คนจน คือ คนที่ขาดปัจจัยต่างๆในการดำเนินชีวิต เขาเป็นคนสิ้นไร้ไม้ตอก สังคมจะต้องช่วยเหลือพวกเขาไว้ คนจนที่แท้จริงนั้นจะต้องไม่เป็นผู้ที่แบมือขอผู้อื่น เขาจะต้องทุ่มเทความสามารถในการประกอบอาชีพอย่างสุดความสามารถ เพื่อให้ได้มาซึ่งริสกีที่ฮาลาล
ท่านอาลี อิบนิ อะบีฏอลิบ กล่าวว่า
“อัลลอฮฺ ตะอาลา ได้ทรงให้เป็นภาระหน้าที่ของคนร่ำรวยที่จะบริจาคให้แก่คนยากจน ถ้าหากคนยากจนหิว หรือเปลือยกาย (ไม่มีเครื่องนุ่งห่ม) ก็เป็นผลเนื่องมาจากความตระหนี่ถี่เหนียวของคนร่ำรวยนั่นเอง”
หลักการ
อัลกุรอานได้กำชับว่าให้ความช่วยเหลือแก่เพื่อนบ้านยากจน ตะอาลา ตรัสความว่า
وَاعْبُدُوا اللَّهَ وَلَا تُشْرِكُوا بِهِ شَيْئًا ۖ وَبِالْوَالِدَيْنِ إِحْسَانًا وَبِذِي الْقُرْبَىٰ وَالْيَتَامَىٰ وَالْمَسَاكِينِ
“และพวกเจ้าจงสักการะต่ออัลลอฮฺ และอย่าตั้งสิ่งหนึ่งสิ่งใดเป็นภาคีกับพระองค์
และเจ้าจงกระทำความดีต่อบิดามารดา
และจงกระทำความดีต่อญาติสนิท เด็กกำพร้า คนยากจนขัดสน
และข้าทาสบริวาร เพื่อนบ้านที่ใกล้เคียง
และเพื่อนบ้านที่ห่างไกล
และเพื่อนเคียงข้าง
และคนที่เดินทาง”
(อันนิซาอฺ 36)
การปฏิบัติ
♣ บริจาคช่วยเหลือ
ท่านซัลมาน บินอามิร เราะฎิยัลลอฮุ อันฮุได้กล่าวว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺกล่าวว่า
الصَدَقَة عَلى المِسْكينَ صَدَقَة، وَهِيَ على ذِي الرَحِمِ ثْنَتَان صَدَقَة وَصِلَة
“การบริจาคแก่คนจน เป็นการบริจาค(เพียงอย่างเดียว) และการบริจาคแก่ผู้มีเครือญาติ ได้ 2 (อย่าง)คือ เป็นการบริจาค และเป็นการเชื่อมสัมพันธ์เครือญาติ”
(บันทึกโดยอะห์มัด )
♣ การอุปการะหญิงหม้าย คนยากจน
รายงานจากอบีฮุรอยเราะห์ จากท่านนบี กล่าวว่า :
السَّاعِي عَلَى الأَرْمَلَةِ وَالمِسْكِينِ ، كَالْمُجَاهِدِ فِي سَبِيلِ اللَّهِ ، أَوِ القَائِمِ اللَّيْلَ الصَّائِمِ النَّهَارَ
ผู้อุปการะหญิงหม้ายและคนจนนั้น เหมือนกับผู้ทำการ ญิฮาด ในหนทางของอัลเลาะห์
หรือท่านรอซูลกล่าวว่า : เหมือนผู้ที่ละหมาด ตะฮัดญุดไม่หยุด เหมือนกับผู้ที่ถือศีลอดไม่ขาด
(บันทึกโดยบุคอรีย์และมุสลิม)
♣ ไม่สร้างความเดือนร้อน อย่าช่วยเหลือเพื่อหวังชื่อเสียงอย่างอื่น
อัลลอฮฺ ตรัสว่า
قَوْلٌ مَّعْرُوفٌ وَمَغْفِرَةٌ خَيْرٌ مِّن صَدَقَةٍ يَتْبَعُهَا أَذًى
“คำพูดที่ดี และการให้อภัยนั้น ดียิ่งกว่าทานที่มีการก่อความเดือดร้อนติดตามทานนั้น และอัลลอฮ์นั้นเป็นผู้ทรงมั่งมี ผู้ทรงหนักแน่นเสมอ”
(อัลบะกอเราะ : 263)
♣ ช่วยเหลือเท่าที่มีความสามารถ
รายงานจากอับดุลลอฮฺ บินอุมัร จากท่านนบี กล่าวว่า :
أَحَبُّ الأَعْمَالِ إِلَى اللَّهِ سُرُورٌ تُدْخِلُهُ عَلَى مُسْلِمٍ ، أَوْ تَكْشِفُ عَنْهُ كُرْبَةً ، أَوْ تَطْرُدُ عَنْهُ جُوعًا ، أَوْ تَقْضِي عَنْهُ دَيْنًا صحيح الجامع
การงานที่รักยิ่ง ณ ที่อัลลอฮฺ
- สร้างความปิติยินดีกับพี่น้องมุสลิม
- ขจัดความทุกข์ยาก เดือนร้อน
- ขจัดความหิวโหย
- ชดใช้หนี้สิน
♣ จงรักและอยู่ร่วมกับพวกเขา
รายงานจากอบีฮุรอยเราะห์ จากท่านนบี กล่าวว่า :
أحبُّوا الفقراءَ ، وجالِسُوهم
“จงรักคนยากจนและอยู่ร่วมกับพวกเขา “
(บันทึกโดยฮากิม ซอเฮียะฮฺอัลบานีย์)
♣ ส่งเสริมให้อาหาร
อัลลอฮฺกล่าวว่า
أَوْ إِطْعَامٌ فِي يَوْمٍ ذِي مَسْغَبَةٍ
“ หรือการให้อาหารในวันยากลำบากแห่งความหิวโหย”
( 14 อัลบะลัด)
จากท่านนบี กล่าวว่า :
خِيَارُكُمْ مَنْ أَطْعَمَ الطَّعَامَ
“คนที่ประเสริฐที่สุดในหมู่พวกท่าน คนที่ให้อาหาร”
( บันทึกโดยอิม่าม อะหมัด)
อัลลอฮฺทรงตำหนิคนที่ไม่แจกจ่ายอาหารคนยากจน โดยตรัสว่า
وَلَا تَحَاضُّونَ عَلَىٰ طَعَامِ الْمِسْكِينِ
“และพวกเจ้ามิได้ส่งเสริมกันในการให้อาหารแก่คนยากจนขัดสน”
(อัลฟัจญ์ 18 )
♣ ส่งเสริมให้เชิญคนจนที่ดีมาร่วมงานวะลีมะฮฺ (สมรสของคู่บ่าวสาว)
รายงานจากอบีฮุรอยเราะห์ จากท่านนบี กล่าวว่า :
شَرُّ الطَّعَامِ طَعَامُ الوَلِيمَةِ، يُدْعَى لَهَا الأغْنِيَاءُ ويُتْرَكُ الفُقَرَاءُ
“อาหารที่เลวร้ายยิ่งนั้นคือ อาหารในวันงานวะลีมะฮฺ (สมรสของคู่บ่าวสาว)เชิญเฉพาะคนรวย และไม่เชิญคนยากจน”
( บันทึกโดยบุคอรีย์)
ดุอาอฺขอให้ร่ำรวย
اللَّهُمَّ اكْفِنِيْ بِحَلَالِكَ عَنْ حَرَامِكَ، وَأَغْنِنِيْ بِفَضْلِكَ عَمَّنْ سِوَاكَ
อัลลอฮุมมักฟี้นี บี้ฮ่าลาลี้ก้า อันฮ่ารอมี้ก้า ว่าอัฆนี้นี บี้ฟัดลี่ก้า อัมมัน ซี่วาก้า
ความว่า: “โอ้อัลลอฮฺ โปรดให้ฮาลาลของพระองค์เป็นที่เพียงพอแก่ฉัน (ให้พ้น)จากหะรอมของพระองค์ และโปรดให้ฉันร่ำรวยอันเนื่องด้วยความโปรดปรานของพระองค์ ให้พ้นจาก(การพึ่งพา)ผู้อื่นจากพระองค์”
( บันทึกโดย: อัตติรมิซียฺ)