หลักยึดมั่นของชาวซุนนะฮ์ ภายใต้ความเข้าใจของชาวสลัฟ
อับดุลบารีน์ นาปาเลน แปลเรียบเรียง
หลักการยึดมั่นของชาวอะลุซซุนนะฮฺวัลญะมาอะฮฺนั้นตั้งอยู่บนพื้นฐานจากอัลกุรอ่านและซุนนะฮฺของท่านนบี(ซ็อลลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) และแนวทางของบรรดาซอฮาบะฮฺผู้ทรงเกียรติ ที่อัลลอฮ์ได้ทรงพอพระทัยเเก่พวกเขา
พระองค์ได้ตรัสว่า
"اتَّبِعُوا مَا أُنْزِلَ إِلَيْكُمْ مِنْ رَبِّكُمْ وَلا تَتَّبِعُوا مِنْ دُونِهِ أَوْلِيَاءَ قَلِيلاً مَا تَذَكَّرُونَ"
"พวกเจ้าจงปฏิบัติตามสิ่งที่ถูกประทานลงมาแก่พวกเจ้าจากพระเจ้าของพวกเจ้าเถิด และอย่าปฏิบัติตามบรรดาผู้คุ้มครองใดๆ อื่นจากพระองค์ ส่วนน้อยเท่านั้นที่พวกเจ้าจะรำลึก"
(อัล อะร้อฟ : ๓)
และพระองค์ได้ตรัสว่า
"وَأَنَّ هَذَا صِرَاطِي مُسْتَقِيماً فَاتَّبِعُوهُ وَلا تَتَّبِعُوا السُّبُلَ فَتَفَرَّقَ بِكُمْ عَنْ سَبِيلِهِ ذَلِكُمْ وَصَّاكُمْ بِهِ لَعَلَّكُمْ تَتَّقُونَ"
"และแท้จริงนี้คือทางของข้าอันเที่ยงตรงพวกเจ้าจงปฏิบัติตามมันเถิด และอย่าปฏิบัติตามหลาย ๆ ทาง เพราะมันจะทำให้พวกเจ้าแยกออกไปจากทางของพระองค์ นั่นแหละที่พระองค์ได้สั่งเสียมันไว้แก่พวกเจ้า เพื่อว่าพวกเจ้าจะยำเกรง"
(อัลอันอาม ๑๕๓)
และพระองค์ตรัสว่า
"فَمَنْ تَبِعَ هُدَايَ فَلا خَوْفٌ عَلَيْهِمْ وَلا هُمْ يَحْزَنُون"
"ผู้ใดที่ปฏิบัติตามคำแนะนำของข้า ก็ไม่มีความกลัวใดๆแก่พวกเขา เเละพวกเขาจะไม่มีความเสียใจ"
(อัลบากอเราะห์ : ๓๘)
และตรัสว่า
"فَمَنِ اتَّبَعَ هُدَايَ فَلا يَضِلُّ وَلا يَشْقَى"
"แล้วผู้ใดปฏิบัติตามคำแนะนำ(ฮิดายะฮ์)ของข้า เขาจะไม่หลงผิด และจะไม่ได้รับความลำบาก"
(ฏอฮา : ๑๒๓)
และตรัสว่า
"وَمَا كَانَ لِمُؤْمِنٍ وَلا مُؤْمِنَةٍ إِذَا قَضَى اللَّهُ وَرَسُولُهُ أَمْراً أَنْ يَكُونَ لَهُمُ الْخِيَرَةُ مِنْ أَمْرِهِمْ وَمَنْ يَعْصِ اللَّهَ وَرَسُولَهُ فَقَدْ ضَلَّ ضَلالاً مُبِيناً"
"ไม่บังควรแก่ผู้ศรัทธาชายและผู้ศรัทธาหญิง เมื่ออัลลอฮ์และร่อซูลของพระองค์ได้กำหนดกิจการใดแล้ว ที่พวกเขาจะมีการเลือกในเรื่องของพวกเขาได้อีก และผู้ใดไม่เชื่อฟังอัลลอฮ์และร่อซูลของพระองค์แล้ว แน่นอนเขาได้หลงผิดอย่างชัดแจ้ง"
(อัล อะห์ซาบ : ๓๖)
และพระองค์ได้ตรัสว่า
"وَمَا آتَاكُمُ الرَّسُولُ فَخُذُوهُ وَمَا نَهَاكُمْ عَنْهُ فَانْتَهُوا وَاتَّقُوا اللَّهَ إِنَّ اللَّهَ شَدِيدُ الْعِقَابِ"
"และสิ่งใดที่ท่านรอซูลได้นำมาให้กับพวกเจ้าก็จงยึดเอามัน และสิ่งไหนที่ท่านได้ห้ามพวกเจ้าก็จงละเว้นเสีย พวกเจ้าจงยำเกรงอัลลอฮ์เถิดแท้จริงอัลลอฮ์เป็นผู้ทรงเข้มงวดในการลงโทษ"
(อัลฮัชรฺ : ๗)
และพระองค์ได้ตรัสว่า
"فَلْيَحْذَرِ الَّذِينَ يُخَالِفُونَ عَنْ أَمْرِهِ أَنْ تُصِيبَهُمْ فِتْنَةٌ أَوْ يُصِيبَهُمْ عَذَابٌ أَلِيمٌ"
"ดังนั้นบรรดาผู้ที่ฝ่าฝืนคำสั่งของเขา(มุฮัมมัด) จงระวังตัวเถิดว่า เคราะห์กรรมจะเกิดขึ้นแก่พวกเขา หรือว่าการลงโทษอันเจ็บปวดจะเกิดขึ้นแก่พวกเขาเช่นกัน"
(อันนูร : ๖๓)
และท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมได้กล่าวไว้ ในหะดีษของท่านอิรบาต บิน ซารียะฮ์ ว่า : ...
"فإنَّه مَن يعش منكم بعدي فسيرى اختلافاً كثيراً، فعليكم بسُنَّتِي وسُنَّة الخلفاء المهديين الراشدين، تَمسَّكوا بها، وعضُّوا عليها بالنواجذ، وإيَّاكم ومحدثات الأمور؛ فإنَّ كلَّ محدثة بدعة، وكلَّ بدعة ضلالة" رواه أبو داود (4607) ، والترمذي (2676) وغيرهما، وهذا لفظ أبي داود، وقال الترمذي: ( حديث حسن صحيح ).
"ดังนั้นแท้จริงแล้ว ใครที่มีชีวิตอยู่หลังจากฉัน เขาจะได้เห็นความขัดแย้งอย่างมากมาย ดังนั้นพวกเจ้าจงตามแนวทางของฉัน และแนวทางของบรรดาคอลีฟะฮ์ที่ได้รับทางนำ และพวกเจ้าจงยึดมั่นอยู่บนแนวทางอันเที่ยงตรงนั้น เเละจงกัดมันลงไปด้วยกับฟันกราม และสำหรับท่านทั้งหลายจงระวังการงานต่างๆที่ได้อุตริขึ้นมาใหม่ เพราะว่าแท้จริงแล้วทุกๆสิ่งที่อุตริขึ้นมาใหม่ในศาสนานั้นคือบิดอะฮ์ และทุกๆบิดอะฮฺคือการหลงผิด"
(รายงานโดย อบูดาวูด เเละอัตติรมีซีย์.)
وفي صحيح البخاري (7280) عن أبي هريرة : أنَّ رسول الله قال: " كلُّ أمَّتِي يدخلون الجنَّة إلاَّ مَن أبى، قالوا: يا رسول الله! ومَن يأبَى؟ قال: مَن أطاعنِي دخل الجنَّة، ومَن عصانِي فقد أبَى ".
ในซอเฮี๊ยะของอีหม่ามบุคคอรี(7280) จากท่านอบูฮุรัยเราะฮ์ รอดียัลลอฮูอันฮู แท้จริงแล้วท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมได้กล่าวว่า
"ประชาชาติของฉันทุกคนจะได้เข้าสวรรค์ยกเว้นผู้ที่เขาปฏิเสธ
บรรดาซอฮาบะฮฺก็กล่าวว่า โอ้ศาสนทูตของอัลลอฮ์ แล้วใครเล่าที่จะปฏิเสธ?
ท่านจึงกล่าวว่า ใครที่เชื่อฟังและปฏิบัติตามฉัน จะได้เข้าสวรรค์ และใครที่ฝ่าฝืนฉัน ดังนั้นแน่นอนเท่ากับว่าเขาได้ปฏิเสธแล้ว"
وفي صحيح مسلم (767) عن جابر بن عبد الله: أنَّ رسول الله كان يقول في خطبته: " أمَّا بعد، فإنَّ خيرَ الحديث كتاب الله، وخيرَ الهدي هديُ محمد، وشرَّ الأمور محدثاتُها، وكلَّ بدعة ضلالة ".
ในซอเฮี๊ยะของอีหม่ามมุสลิม(767) จากท่านญาบิร บิน อับดิลลาฮฺ : แท้จริงท่านศาสนทูตของอัลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมได้กล่าวในคุตบะฮฺของท่านว่า
"แท้จริงแล้ว คำพูดที่ดีที่สุดคือ คัมภีร์ของอัลลอฮ์ และแนวทางที่ดีที่สุดคือแนวทางของท่านนบีมูฮัมหมัด และการงานต่างๆที่ชั่วช้าที่สุดคือ สิ่งที่อุตริขึ้นมาใหม่ในศาสนา และทุกๆบิดอะฮฺ(สิ่งอุตริในศาสนา)คือการหลงผิด"
وروى البخاري في صحيحه (2697)، ومسلم في صحيحه (1718) عن عائشة رضي الله عنها قالت: قال رسول الله : " مَن أحدث في أمرنا هذا ما ليس منه فهو ردٌّ "، وفي لفظ لمسلم: " مَن عمل عملاً ليس عليه أمرُنا فهو ردٌّ ".
จากท่านหญิงอาอีชะฮฺ(รอฎียัลลอฮูอันฮา)ได้กล่าวว่า ท่านรอซูลของอัลลอฮ์ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมได้กล่าวว่า
"ใครที่ได้ทำสิ่งใหม่ขึ้นในศาสนาของเราศาสนานี้ เเน่นอน สิ่งนั้นย่อมถูกปฏิเสธ"
และในสำนวนของมุสลิม
"ใครที่ได้ปฏิบัติการงานหนึ่งการงานใด โดยที่ไม่ได้มีที่มาจากศาสนาของเรา ดังนั้นการงานนั้นก็ถูกปฏิเสธ"
وروى الإمام أحمد (16937)، وأبو داود (4597) وغيرُهما - واللفظ لأحمد – عن معاوية قال: إنَّ رسول الله قال: " إنَّ أهلَ الكتابين افترقوا في دينهم على ثنتين وسبعين ملَّة، وإنَّ هذه الأمَّةَ ستفترق على ثلاث وسبعين ملَّة يعني الأهواء، كلُّها في النار إلاَّ واحدة، وهي الجماعة ".
จากมุอาวิยะห์ รอดียัลลอฮุอันฮฺ กล่าวว่า ท่านนบี(ศ็อลลัลลอฮุอาลัยฮิวะซัลลัม)ได้กล่าวว่า
"แท้จริงบรรดาชาวคัมภีร์ทั้งสอง ต่างก็ได้มีการแตกแยกกันเกิดขึ้นในศาสนาของพวกเขาออกเป็น 72 กลุ่ม และแท้จริงอุมมะฮ์ของฉันนี้จะแตกออกเป็น 73 กลุ่ม (หมายถึงกลุ่มที่ใช้อารมณ์ตัวเองเป็นที่ตั้ง) ทุกๆกลุ่มตกนรก ยกเว้นกลุ่มเดียว คือญามาอะฮฺ(กลุ่มมุสลิม)”
(รายงานโดยอะห์มัดและอบูดาวูด.)
وروى البخاري في صحيحه (5063)، ومسلم في صحيحه (1401) عن أنس في حديث طويل، آخره: "فمَن رغب عن سُنَّتِي فليس منِّي".
ได้มีรายงานจากท่านอีหม่ามบุคคอรีย์ ในซอฮีหฺของท่าน และจากท่านอีหม่ามมุสลิม ในซอฮีหฺของท่านเช่นกัน จากท่านอนัส ในฮาดีษที่มีตัวบทยาว ในตอนช่วงท้ายของฮะดีษได้กล่าวว่า
"และผู้ใดประสงค์อื่นจากแนวทางของฉัน ดังนั้นเขาก็ไม่ไช่พวกของฉัน"
(รายงานโดยบุคอรีย์และมุสลิม.)
ดังนั้น หลักการยึดมั่นของชาวอะลุซซุนนะฮฺวัลญามาอะฮฺนั้นอยู่บนรากฐานของอัลกุรอ่านและซุนนะฮ์เท่านั้น เพราะความเชื่อนั้นคือ สิ่งที่มาจากความรู้เร้นลับ ที่ไม่สามารถจะล่วงรู้สิ่งเหล่านั้นได้ เว้นแต่ด้วยหลักฐานจากอัลกุรอ่านและซุนนะฮ์
สิ่งใดก็ตามที่ได้กล่าวในอัลกุรอ่าน พระคัมภีร์อันทรงเกียรติ และได้มีการบอกกล่าวในซุนนะฮ์แล้วนั้น เเน่นอน สติปัญญาอันบริสุทธิ์จะต้องสอดคล้องไปกับสิ่งนั้น เเละจะต้องรับได้โดยไม่ปฏิเสธ
ท่านชัยคุ้ลอิสลาม อะหมัด บิน อับดุลฮาลีม อัลฮัรรอนีย์ รอฮีมาฮุ้ลลอฮฺ มีหนังสืออยู่เล่มหนึ่ง ที่มีเนื้อหากว้างและคลอบคลุมเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้ มีชื่อว่า
درء تعارض العقل والنقل" ความหมาย "ป้องกันการสวนทางระหว่างสติปัญญากับหลักฐาน"
ดังนั้นสิ่งที่ต้องกลับไปหาในการที่จะเข้าใจในตัวบทต่างๆนั้น ต้องยึดตามแนวทางของท่านนบี(ศ็อลลล็อลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) เเละเเนวทางของบรรดาซอฮาบะฮ์ ในสิ่งที่มีรายงานมาจากพวกเขา จากความเข้าใจที่ถูกต้องและความรู้ที่มีประโยชน์ และแน่นอนว่าพวกเขาทั้งหลายนั้นได้เข้าใจความหมายต่างๆ ในสิ่งที่พวกเขาได้รับการบอกกล่าวจากคุณลักษณะต่างๆของอัลลอฮ์ตะอาลา เพราะคัมภีร์อัลกุรอ่านและซุนนะฮ์นั้น ถูกประทานลงมาด้วยภาษาของพวกเขา พร้อมกับมอบหมายความรู้ที่เกี่ยวกับเรื่องคุณลักษณะเหล่านั้นว่าเป็นอย่างไรนั้นต่อพระองค์อัลลอฮ์ตะอาลา เพราะแท้จริงแล้วสิ่งดังกล่าวนั้นมาจากความรู้อันเร้นลับ ที่ไม่มีใครรู้ได้นอกจากพระองค์
ดังเช่นที่ได้มีตัวบทหลักฐานมาจากท่านอีหม่าม มาลิก บิน อานัส ในการชี้แจงหลักการยึดมั่นอันนี้ โดยที่ท่านได้กล่าวในขณะที่ถูกถามถึงลักษณะของการประทับของอัลลอฮบนบัลลังก์ ท่านกล่าวว่า
"การประทับนั้นเป็นที่เข้าใจกัน(ในด้านความหมาย) เเต่ลักษณะของการประทับนั้นไม่เป็นที่ทราบ และการถามถึงคุณลักษณะของมันนั้นเป็นเรื่องอุตริกรรม ส่วนการอีหม่านต่อสิ่งนั้นคือสิ่งจำเป็น "
(ตัมฮีด ของท่านอิบนุ อับดิลบัรฺ ๗/๑๓๘.)
เชคอบูอับบาส อะห์หมัด บิน อลี อัลมักรีซีย์ อัชชาฟีอีย์ (ท่านเสียชีวิตในปีฮิจเราะห์ที่ 845) ได้อธิบายหลักการยึดมั่นของบรรดาซอฮาบะฮฺ ไว้ในหนังสือของท่านที่มีชื่อว่า "المواعظ والاعتبار بذكر الخطط والآثار (2/356) ท่านได้กล่าวถึงสภาพของหลักความเชื่อต่างๆของชาวมุสลิมตั้งแต่เริ่มต้นของศาสนาอิสลาม ไปจนกระทั่งถึงยุคหลังๆที่เกิดมีความเชื่อเเปลกใหม่เกิดขึ้น เเละทำให้มุสลิมมีความเเตกเเยกออกเป็นกลุ่มต่างๆ ท่านได้กล่าวว่า
"จงทราบเถิดว่า แท้จริงแล้ว ครั้นเมื่ออัลลอฮ์ตะอาลาได้ทรงส่งท่านนบีของพระองค์ มูฮัมหมัด(ศ็อลลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม)จากชาวอาหรับไปยังมนุษย์ทั้งปวงนั้น ท่านบีก็ได้บอกถึงคุณลักษณะของพระเจ้าของพวกเขาแก่พวกเขา ด้วยกับสิ่งที่พระองค์ได้บอกถึงคุณลักษณะของพระองค์อันทรงเกียร์ติไว้ในคัมภีร์อันเกรียงไกรที่มาลาอีกะฮฺยิบรีลได้นำมาประทานให้แก่หัวใจของท่านนบี(ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) รวมไปถึงสิ่งที่เป็นวะฮฺยูจากพระเจ้าของท่านเช่นกัน (หรือที่เรียกกันว่าฮาดิษ)
และไม่มีใครคนใดเลยจากชาวอาหรับ ทั้งชาวเมืองและชาวชนบท ที่ถามท่านนบีซ็อลลล็อลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมถึงความหมายของเรื่องเหล่านั้น(คุณลักษณะของอัลลอฮ์) ดั่งที่พวกเขาเคยได้พากันถามท่านนบี(ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม)ถึงเรื่องการละหมาด การจ่ายซากาต การถือศีลอด การทำฮัจญ์ และเรื่องอื่นๆไม่ว่าจะเป็นคำสั่งใช้และคำสั่งห้าม และเช่นเดียวกับที่พวกเขาเคยได้ถามท่านนบี(ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม)ถึงสภาพต่างๆของวันกียามะฮฺ สวรรค์และนรก
และหากมีคนหนึ่งจากพวกเขาถูกถามเกี่ยวกับคุณลักษณะของอัลลอฮ์ แน่นอนพวกเขาก็ต้องนำมารายงาน เสมือนกับที่พวกเขาได้รายงานเกี่ยวกับเรื่องกฎเกณฑ์ฮาล้าลและฮารอม หรือบอกเกี่ยวกับสิ่งที่ศาสนาส่งเสริม และสิ่งที่ศาสนาได้เตือนห้าม และสภาพของวันสิ้นโลก หรือเรื่องสงครามต่างๆ หรือเรื่องฟิตนะห์ หรืออื่นๆในทำนองนั้น ดังที่ได้ถูกรวมเอาไว้ในหนังสือฮะดีษ ทั้งที่อธิบายความหมายฮะดีษ หรือสายรายงานต่างๆ หรือในหนังสือที่ถูกรวบรวมฮาดิษไว้
และหากผู้ใดที่ได้ใคร่ครวญหนังสือฮะดีษต่างๆที่ได้ถูกรวบรวมเอาไว้ หรือติดตามร่องรอยของชาวสะลัฟ เขาจะรู้เลยว่า ไม่มีสายรายงานที่ถูกต้อง หรือแม้กระทั้งสายรายงานที่อ่อนที่ได้รายงานจากบรรดาศอฮาบะฮ์ ด้วยกับความแตกต่างในระดับของพวกเขาและในจำนวนของพวกเขาที่มากมาย ว่าพวกเขาได้ถามท่านนบีถึงความหมายที่เกี่ยวกับคุณลักษณะของอัลลอฮ์ที่พระองค์ได้บอกถึงคุณลักษณะของพระองค์เองในอัลกุรอ่าน หรือที่มาจากการบอกกล่าวด้วยถ้อยคำที่มาจากท่านนบีมูฮำมัด(ศ็อลลัลลอฮุอาลัยฮิวะซัลลัม)
แต่ทว่า พวกเขาทั้งหมดต่างมีความเข้าใจในความหมายดังกล่าว และพวกเขาจะไม่พูดเกี่ยวกับคุณลักษณะต่างๆเหล่านั้น(คือจะไม่ไปทลุทลวงในเรื่องของซิฟ้าต) และไม่มีผู้ใดจากพวกเขาที่มาแยกแยะระหว่างคุณลักษณะที่เกี่ยวกับตัวตนของพระองค์ หรือลักษณะที่เกี่ยวกับการกระทำของพระองค์ แต่แท้ที่จริงแล้ว พวกเขาต่างยอมรับถึงคุณลักษณะของพระองค์ที่มีมาตั้งแต่ดั้งเดิม เช่น ความรู้(ของพระองค์) ความสามารถ การมีชีวิต ความต้องการ การได้ยิน การมองเห็น การพูด ความยิ่งใหญ่ ความมีเกียรติ ความกรุณา ความโปรดปราน ความเข้มแข็ง ความเกียงไกร พวกเขาได้พูดเหมือนกันหมด
ในทำนองเดียวกันนี้ที่พวกเขายอมรับ จากสิ่งที่พระองค์ได้กล่าวเกี่ยวกับคุณลักษณะของพระองค์ที่มีเกียรติ เช่น พระพักตร์ของพระองค์ พระหัตถ์ และอื่นๆ พร้อมกับปฏิเสธความเหมือนกับสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย ดังนั้น พวกเขาได้ยืนยันถึงคุณลักษณะของอัลลอฮ์โดยปราศจากการเปรียบเทียบ และพวกเขาได้ให้ความบริสุทธิ์ต่อพระองค์โดยที่ไม่ได้ปฏิเสธถึงคุณลักษณะต่างๆเหล่านั้น และพวกเขาก็ไม่ได้เอนเอียงความหมายไปเป็นอย่างอื่น
พวกเขาต่างเห็นพ้องกันเกี่ยวกับการเชื่อถึงคุณลักษณะต่างๆตามที่ได้ระบุในหลักฐาน และไม่มีใครจากพวกเขาที่ได้ยืนยันการเป็นเอกภาพของอัลลอฮ์ และยอมรับถึงการเป็นนบีของมูฮำมัด(ศ็อลลัลลอฮุอาลัยฮิวะซัลลัม)นอกจากด้วยกับอัลกุรอ่าน และพวกเขาก็ไม่เคยรู้จักเกี่ยวกับหลักตรรกะ หรือหลักปรัชญาต่างๆ ในยุคของพวกเขาจึงใด้ดำเนินไปในรูปแบบนั้น จนกระทั่งมีคนเริ่มปฏิเสธเรื่องการกำหนดสภาวะการของอัลลอฮ์ และมาพูดว่า การงานต่างๆนี้เพิ่งจะเกิดขึ้น โดยที่พระองค์ไม่ได้กำหนดสิ่งใดๆต่อสิ่งที่พระองค์ทรงสร้างเลย...”
(อัลมาวาอิศ วัลอิอติบารฺ ของท่านมิกรีซีย์ 4/188.)
สิ่งที่ท่าน อัลมักรีซี่ ได้อธิบายให้เกิดความกระจ่างแจ้งนี้ นั้นคือวิถีและแนวทางบรรดาซอฮาบะฮฺของท่านรอซูลมูฮัมหมัดศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมเเละเเนวทางของชาวสะลัฟ ก่อนที่จะมีการเกิดของกลุ่มต่างๆที่หลงผิด
และแท้จริงแล้วท่านนบีมูฮัมหมัด(ศ็อลลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม)ได้กล่าวไว้ในฮะดีษของอิรบาต บิน ซารียะฮ์ว่า
. . فإنَّه مَن يعش منكم بعدي فسيرى اختلافاً كثيراً، فعليكم بسُنَّتِي وسُنَّة الخلفاء المهديين الراشدين، تَمسَّكوا بها، وعضُّوا عليها بالنواجذ، وإيَّاكم ومحدثات الأمور؛ فإنَّ كلَّ محدثة بدعة، وكلَّ بدعة ضلالة" رواه أبو داود (4607) ، والترمذي (2676) وغيرهما، وهذا لفظ أبي داود، وقال الترمذي: حديث حسن صحيح".
"ดังนั้นแท้จริงแล้ว ใครที่มีชีวิตอยู่หลังจากฉัน เขาจะได้เห็นความขัดแย้งอย่างมากมาย ดังนั้นการตามแนวทางของฉัน และแนวทางของบรรดาคอลีฟะฮ์ผู้ได้รับทางนำ และอยู่บนแนวทางอันเที่ยงตรงนั้นคือสิ่งจำเป็นสำหรับพวกเจ้า จงกัดมันลงไปด้วยกับฟันกราม และสำหรับท่านทั้งหลายจงระวังการงานต่างๆที่ถูกทำให้เกิดขึ้นมาใหม่ เพราะว่าแท้จริงแล้วทุกๆสิ่งที่ถูกทำให้เกิดขึ้นมาใหม่(ในศาสนา)นั้นคือบิดอะฮ์ และทุกๆบิดอะฮฺคือการหลงผิด"
(รายงานโดยอบูดาวูด เเละอัตติรมีซีย์.)
ดังนั้น เป็นไปไม่ได้โดยเด็ดขาดที่จะกล่าวว่า หลักการยึดมั่นของคนที่มารุ่นหลังจากบรรดากลุ่มต่างๆที่แตกกันออกไป ตั้งเเต่รุ่นท้ายๆของยุคศอฮาบะฮ์ เเละตามมาหลังจากนั้น เช่นพวกกอดะรียะห์ เเละพวกมุรญิอะห์ หรือพวกญะห์มียะห์ หรือพวกมุอตะซีละห์ หรืออื่นๆ เป็นไปไม่ได้ที่พวกเขาเหล่านั้นจะมีหลักความเชื่อที่ถูกต้อง เเต่หลักความเชื่อที่ถูกต้องนั้นคือหลักความเชื่อที่มาจากท่านนบีเเละบรรดาศอฮาบะฮ์ เเละถ้าหากความเชื่อเเบบกลุ่มที่เกิดขึ้นยุคใหม่นี้คือความจริง เเน่นอน มันจะต้องมีการพูดกันในหมู่บรรดาศอฮาบะฮ์ เเละพวกเขาก็ต้องรีบเร่งที่จะไปยึดถือต่อสิ่งนั้น ดังนั้น เป็นไปไม่ได้ที่ความจริงจะถูกปิดบังเเก่บรรดาศอฮาบะฮ์ เเละกลับถูกเก็บไว้ให้เเก่คนรุ่นหลังๆนี้
(ดูหนังสือ ก็อฏฟฺ อัลญะนา อัดดานี ของเชคอับดุลมุหฺเซ็น อัลอับบ็าด หน้าที่ 10. )
وصلى الله على نبينا محمد وعلى آله وصحبه وسلم