ต่างศาสนิกชนทานเนื้ออากีเกาะฮฺของมุสลิมได้หรือไม่ ?
อ.อบูบักร สะแหละ แปลและเรียบเรียง
เชื่อว่าหลายท่านคงมีคำถามคาใจใคร่อยากจะรู้เพราะวิถีชีวิตการเป็นอยู่ในประเทศเราเป็นประเทศพหุวัตนธรรม หลากชาติ หลายศาสนาซึ่งต้องไปมาหาสู่และสมาคมกันฉันพี่น้องร่วมชาติในหลากมิติซึ่งหนึ่งในนั้นคือ ประเพณีทางศาสนาที่บางครั้งอาจเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ การทำอากีเกาะฮฺรับลูกน้อย เพื่อชูโกรขอบคุณเนียะมัตที่พระองค์อัลลอฮฺทรงประทานลูก ซึ่งเป็นริซกีอันประเสิรฐ ผู้สืบมรดกความดีที่ไม่สิ้นสุดโดยการได้ลูกที่ดีศอเละหฺ จึงเป็นที่มาของพีธีทางศาสนาอิสลามอันนามว่า “ อัล - อะกีเกาะฮฺ
มีการตอบประเด็นดังกล่าวในเวปไซต์”อิสลามเวป”ถึงประเด็นข้างต้นหมายเลขฟัตวาที่ 165285 ดังนี้
คำถาม
ผมอยากเชิญเพื่อนๆชาวคริสต์มาร่วมรับประทาน “ อากีเกาะฮฺ หรือการเชือดเพื่อพระองค์อัลลอฮฺ ได้ใหมครับ ?
และผมสามารถให้เนื้ออากีเกาะฮฺแก่เขาได้ใหมครับ ?
คำตอบ
มวลการสรรเสริญเป็นกรรมสิทธ์แด่อัลลอฮฺ ขอความประสาทพรจงมีแด่ท่านรอซูลตลอดจนสหายและวงค์วารของท่าน
การเชิญชาวคริสต์มาร่วมรับประทานอะกีเกาะฮฺ นั้นไม่เป็นไร ( สามารถกระทำได้ )โดยเฉพาะกรณีการเชิญเพราะหวังว่าเขาจะรับอิสลามหรือมีความต้องการบางอย่าง ท่านเชคอุซัยมีน (รอมาฮุลลอฮฺ )เคยถูกถามถึงประเด็นดังกล่าวถึงการให้อะกีเกาะฮฺแก่คนกาเฟร ( หมายถึงคนต่างศาสนิก)
ท่านเชคก็ได้ตอบว่า
คนกาเฟร (หมายถึงคนต่างศาสนิก)สามารถรับประทานจากมุสลิมได้ หากพวกเขาผู้นั้นไม่เป็นผู้ที่ให้ร้ายแก่ชนชาวมุสลิม ไม่ว่าความเลวร้ายจะมาจากตัวเขาเอง หรือพวกพ้องกลุ่มชนของเขา ซึ่งพระองค์อัลลอฮฺตาอาลาทรงกล่าวว่า
لَّا يَنْهَاكُمُ اللَّهُ عَنِ الَّذِينَ لَمْ يُقَاتِلُوكُمْ فِي الدِّينِ وَلَمْ يُخْرِجُوكُم مِّن دِيَارِكُمْ أَن تَبَرُّوهُمْ وَتُقْسِطُوا إِلَيْهِمْ ۚ إِنَّ اللَّهَ يُحِبُّ الْمُقْسِطِينَ
“อัลลอฮฺมิได้ทรงห้ามพวกเจ้าเกี่ยวกับบรรดาผู้ที่มิได้ต่อต้านพวกเจ้าในเรื่องศาสนา และพวกเขามิได้ขับไล่พวกเจ้าออกจากบ้านเรือนของพวกเจ้า ในการที่พวกเจ้าจะทำความดีแก่พวกเขา และให้ความยุติธรรมแก่พวกเขา แท้จริงอัลลอฮฺทรงรักผู้มีความยุติธรรม”
(อัล-มุมตะฮินะอฺ อายะที่ 8)
แต่ถ้าการให้ที่ไม่ก่อให้เกิดความปลอดภัยหรือไม่มีความจำเป็นใด ทางที่ดีก็ไม่ควรเชื้อเชิญ ซึ่งอาหารนี้อาจสร้างผลกระทบแก่ญาติพี่น้องรวมถึงชาวมุสลิมที่มีความต้องการมากกว่ากลุ่มชนศาสนิกดังคำสอนที่ระบุในหะดีษว่า
لَا تُصَاحِب اِلّا مُؤْمِنًا ، وَلَا يَأْكُلُ طَعَامَكَ اِلّاَ تَقِيٌّ ( رَوَاهُ أبُوداود )
“เจ้าจงอย่าคนหาสมาคมกับผู้ใดเว้นแต่มุอฺมินผู้ศรัทธา และอย่าให้ใครได้รับประทานอาหารของเจ้าเว้นแต่ ผู้ตักวายำเกรงอัลลอฮฺ”
( บันทึกโดย อบูดาวุด อะหฺหมัด อัตติรมีซีย์ )เชคอัลบีนีย์กล่าวว่า หะดีษนี้เป็นหะดีษ หะซัน
และในหะดีษที่บันทึกโดย อัต-ตีรมีซีย์ ว่า
اَلصَّدَقَةُ عَلَي الْمُسْلِمِينَ صَدَقَةُ وَهِيَ عَلَي الرَّحِمِ ثِنْتَانِ ،صَدَقَةُ وَصِلَةُ
“การทำทานศอดาเกาะฮฺแก่ชนชาวมุสลิมนั้นเป็นทานศอดาเกาะฮฺ แต่สำหรับเครือญาตินั้นต้อง สองอย่าง คือการทำทานศอดาเกาะฮฺและการเชื่อมสัมพันธ์ไมตรีมิตร”
เราอยากให้ผู้ถามได้นึกใคร่ครวญถึงหะดีษของท่านรอซูล ( ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม )บันทึกโดยอัลฮากิม ท่านรอซูล ได้กล่าวว่า
اَلْمَرْءُ عَلَي دِينِ خَلِيلِهِ ، فَلْيَنْظُرْ أَحَدَكُمْ مَنْ يُخَالِلُ ( رَوَاهُ الْحَاكِمُ )
“คนหนึ่งนั้นจะ(มั่นคง )อยู่ในศาสนาสหายของเขา ดังนั้นคนหนึ่งในสู่เจ้าจงดูพิจารณา คนที่จะเป็นเพื่อนสหาย”
และมีอธิบายถ้อยสำนวนหะดีษข้างต้นในหนังสือ “ فَيْضُ القَدِيرِ ของอิหม่ามนาวาวีย์ว่า “
وَلَا يَأْكُلُ طَعَامَكَ اِلّاَ تَقِيٌّ
“ และอย่าให้ใครได้รับประทานอาหารของเจ้า เว้นแต่ ผู้ตักวายำแกรง”
ณ ที่นี้หมายถึง แท้จริงอาหารเป็นสิ่งจำเป็นที่ก่อให้เกิดความประทับใจ ชอบหลงใหลซึ่งมีต้องมีการปะปนอีกทั้งยังก่อให้เกิดความเชื่อมั่น การร่วมทานกับบุคคลที่ไม่ตักวาย่อมทำให้ศาสนาอ่อนแอ อยู่ในสภาพการชุบฮาตเคลือบแคลง และจุดบกพร่องต่างๆ เฉกเช่น ดั่งเขาห้ามร่วมวงกับคนชั่วนั้นแหละ เพราะไม่สามารถจะหลบหลีกจากความเสื่อมเสียได้ บางทีอาจต้องลอยตามร่วมทำผิด หรือทำเป็นผ่อนปรนมองไม่เห็นพฤติกรรมชั่วช้า หากรับได้ดังกล่าว ความผิดพลาดไม่ดีของผู้อื่นอาจไม่ใช่สิ่งผิดสำหรับเขาอีกต่อไป
จุดประสงค์ในหะดีษมิใช่เป็นการหักห้ามให้คนที่ไม่ใช่คนตักวาทำดีต่อผู้อื่น เพราะท่านนบี เองเคยเลี้ยงอาหารแก่ชนมุชริกีน (ชนต่างศาสนิกผู้กราบใหว้รูปปั้น)ท่านได้ให้เพื่อหวังว่าการให้จะเป็นการเปลี่ยนจิตพวกเขาให้เปลี่ยนมารับนับถืออิสลาม ท่านเลี้ยงอาหารพวกเขาแต่ก็ไม่ร่วมนั่งวงกับเขา
ดังนั้นจุดประสงค์ของหะดีษนี้นั้นคือ เหมือนที่ท่านนบีได้บอกไว้ กล่าวคือ ห้ามแสวงหาสิ่งที่ ฮารอม พึงใส่ใจสิ่งเหมาะสมที่ผู้ตักวาควรหลีกเลี่ยง หมายถึง ไม่ควรคบค้าสมาคมกับผู้ใด เว้นแต่บุคคลที่เชื่อฟังอัลลอฮฺ และอย่ามีใครเป็นเพื่อนสหายเว้นแต่เขาต้องเป็นผู้ที่ตักวาเกรงกลัวอัลลอฮฺ
วัลลอฮุ อะอฺลัม ( พระองค์อัลลลอฮฺคือผู้ทรงรู้ยิ่ง )