ความรัก ในศาสนาอิสลาม
  จำนวนคนเข้าชม  24374


ความรัก ในศาสนาอิสลาม 

อับดุลวาเฮด สุคนธา

 

          "ความรัก" คือ ? คือ ความรู้สึก สภาพและเจตคติต่าง ซึ่งมีตั้งแต่ความชอบระหว่างบุคคลหมายถึงอารมณ์การดึงดูดและความผูกพัน ส่วนบุคคลอย่างแรงกล้า ในบริบททางปรัชญา ความรักเป็นคุณธรรมแสดงออกซึ่งความเมตตา ความเห็นอกเห็นใจ และความเสน่หาทั้งหมดของมนุษย์ ความรักเป็นแก่นแท้ของศาสนาอิสลาม ฉะนั้นมนุษย์เรามีความรู้สึกหลากหลายรูปแบบเช่น ความรัก ความเศร้า ความทุกข์ เป็นต้น

 

ความรักมีหลายรูปแบบ ดังนี้

 

รักอัลลอฮฺ

 

          การรักอัลลอฮฺ เป็นส่วนหนึ่งของการศรัทธา และมุสลิมและผู้ศรัทธาทุกๆ คนจำเป็นต้องมีความรักต่อพระเจ้า มากกว่าตัวของเขาเอง มากกว่าบิดามารดาของเขา มากว่าลูกเมียของเขา และมากกว่าทรัพย์สินเขาเขาและมนุษย์ทุกๆ คน และแน่นอนใครก็ตามที่เขานั้นรักสิ่งอื่นมากกว่าอัลลออฺและร่อซูล แน่นอนจะมีการลงโทษจากพระองค์ อัลลอฮฺ ตรัสว่า

 

قُلْ إِن كَانَ آبَاؤُكُمْ وَأَبْنَآؤُكُمْ وَإِخْوَانُكُمْ وَأَزْوَاجُكُمْ وَعَشِيرَتُكُمْ وَأَمْوَالٌ اقْتَرَفْتُمُوهَا وَتِجَارَةٌ تَخْشَوْنَ كَسَادَهَا وَمَسَاكِنُ تَرْضَوْنَهَا أَحَبَّ إِلَيْكُم مِّنَ اللهِ وَرَسُولِهِ وَجِهَادٍ فِي سَبِيلِهِ فَتَرَبَّصُواْ حَتَّى يَأْتِيَ اللهُ بِأَمْرِهِ وَاللهُ لاَ يَهْدِي الْقَوْمَ الْفَاسِقِينَ

 

     "จงกล่าวเถิด (มุหัมมัด) ว่า หากบรรดาบิดาของพวกเจ้าและบรรดาลูกๆของพวกเจ้าและบรรดาพี่น้องของพวกเจ้า และบรรดาคู่ครองของพวกเจ้า และบรรดาญาติของพวกเจ้า

     และบรรดาทรัพย์สมบัติที่พวกเจ้าแสวงหาไว้ และสินค้าที่พวกเจ้ากลัวว่าจะจำหน่ายมันไม่ออก และบรรดาที่อยู่อาศัยที่พวกเจ้าพึงพอใจมันนั้น เป็นที่รักใคร่แก่พวกเจ้ายิ่งกว่าอัลลอฮฺและรสูลของพระองค์ และการต่อสู้ในทางของพระองค์แล้วไซร้

     ก็จงรอคอยกันเถิด จนกว่าอัลลอฮฺจะทรงนำมาซึ่งคำสั่งของพระองค์ และอัลลอฮฺนั้นจะไม่ทรงนำทางแก่กลุ่มชนที่ละเมิด"

(อัตเตาบะฮฺ : 24)

 

          ความรัก เป็นพื้นฐานของศาสนาอิสลาม เป็นหลักสำคัญและเป็นองค์ประกอบของอิสลาม ผู้ที่เป็นมุสลิมจะต้องมีความรักที่มีต่ออัลลอฮฺ อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ เพื่อจะทำให้การนับถือศาสนาอิสลามของเขานั้นครบถ้วนสมบูรณ์

 

รักท่านนบีมุฮัมมัด ซ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม

 

อัลลอฮฺตรัสว่า

قُلْ إِن كُنتُمْ تُحِبُّونَ اللهَ فَاتَّبِعُونِي يُحْبِبْكُمُ اللهُ وَيَغْفِرْ لَكُمْ ذُنُوبَكُمْ وَاللهُ غَفُورٌ رَّحِيمٌ»

 

     "จงกล่าว(แก่ประชาชาติของเจ้า)เถิด(โอ้มุหัมมัด) ว่า ถ้าหากว่าพวกเจ้ารักอัลลอฮฺจริง พวกเจ้าก็จงปฏิบัติตาม(แนวทางของ)ฉัน แล้วอัลลอฮฺจะทรงรักพวกเจ้า และทรงอภัยโทษต่อบาปต่างๆแก่พวกเจ้าและอัลลอฮฺคือผู้ประทานอภัยและทรงเมตตายิ่ง"

(อาล อิมรอน : 31)

ท่านนบีมุฮัมมัดซ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมกล่าวว่า

 

وَالَّذِيْ نَفْسِيْ بِيَدِهِ لَا يُؤْمِنُ أَحَدُكُمْ حَتَّى أَكُونَ أَحَبَّ إِلَيْهِ مِنْ وَالِدِهِ وَوَلَدِهِ وَالنَّاسِ أَجْمَعِينَ

 

     “ขอสาบานต่อผู้ที่ชีวิตของฉันอยู่ในพระหัตถ์ของพระองค์ คนหนึ่งคนใดในพวกท่านจะยังไม่อีหม่าน จนกว่าจะฉันเป็นที่รักมากที่สุด โดยมากกว่ารักพ่อของเขาลูกของเขาและมนุษย์ทั้งหมด

(บันทึกโดยบุคอรียฺ : มุสลิม)

อับดุลลอฮฺ บิน ฮิชาม เล่าว่า

 

كُنَّا مَعَ النَّبِىِّ صلى الله عليه وسلم وَهْوَ آخِذٌ بِيَدِ عُمَرَ بْنِ الْخَطَّابِ ، فَقَالَ لَهُ عُمَرُ يَا رَسُولَ اللَّهِ لأَنْتَ أَحَبُّ إِلَىَّ مِنْ كُلِّ شَىْءٍ إِلاَّ مِنْ نَفْسِى .فَقَالَ النَّبِىُّ صلى الله عليه وسلم « لاَ وَالَّذِى نَفْسِى بِيَدِهِ حَتَّى أَكُونَ أَحَبَّ إِلَيْكَ مِنْ نَفْسِكَ » .فَقَالَ لَهُ عُمَرُ : فَإِنَّهُ الآنَ وَاللَّهِ لأَنْتَ أَحَبُّ إِلَىَّ مِنْ نَفْسِى . فَقَالَ النَّبِىُّ صلى الله عليه وسلم « الآنَ يَا عُمَرُ » .

 

     ครั้งหนึ่งเราอยู่พร้อมกับนบี และท่านเอามือไปจับมืออุมัร บิน อัลค็อฏฏอบอุมัรได้กล่าวแก่ท่านว่า"โอ้รสูลของอัลลอฮฺ แท้จริงท่านเป็นคนที่ฉันรักมากกว่าสิ่งอื่นใดนอกจากตัวฉันเองเท่านั้น"

     ดังนั้นท่านนบี จึงกล่าวขึ้นว่า "ไม่ ฉันขอสาบานด้วยพระนามของผู้ที่ตัวฉันอยู่ในพระหัตถ์ของพระองค์ จนกว่าตัวฉันจะเป็นที่รักของเจ้ามากกว่าตัวของเจ้าเอง"

     ดังนั้นอุมัรจึงกล่าวแก่ท่านว่า "แท้จริง ขณะนี้ ฉันขอสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ว่าแท้จริงท่านนั้นเป็นที่รักของฉันมากกว่าตัวของฉันเองดังนั้น

     นบี จึงกล่าวว่า "บัดเดี๋ยวนี้แหละ โอ้อุมัร"

(อัลบุคอรีย์)

ท่านนบีท่านรอซูลุลลอฮฺ ซ็อลลัลลอ ฮุอะลัยฮิวะซัลลัมกล่าวว่า

 

ثَلَاثٌ مَنْ كُنَّ فِيهِ وَجَدَ حَلَاوَةَ الْإِيمَانِ أَنْ يَكُونَ اللَّهُ وَرَسُولُهُ أَحَبَّ إِلَيْهِ مِمَّا سِوَاهُمَا.

 

     “สามประการที่ใครก็ตามมีเขาย่อมได้พบกับความหวานชื่นของการอีหม่าน (ศรัทธา) การที่อัลลอฮฺและ รอซูลเป็นที่รักที่สุดสำหรับเขา .."

(บันทึกโดยบุคอรียฺ มุสลิม )

อนัส บิน มาลิก เล่าว่า มีชายคนหนึ่งมาหาท่านนบี แล้วกล่าวว่า 

 

أَنَّ أَعرابيًّا قَالَ لرسول اللَّه ﷺ: مَتَى السَّاعَةُ؟ قَالَ رسولُ اللَّه ﷺ: مَا أَعْدَدْتَ لَهَا؟ قَالَ: حُبُّ اللَّهِ ورسولِهِ، قَالَ: أَنْتَ مَعَ مَنْ أَحْبَبْتَ.

"โอ้รสูลของอัลลอฮฺ เมื่อไหร่จะถึงวันกียามะฮฺ ?" 

ท่านนบีถามเขาว่า "แล้วเจ้าเตรียมอะไรไว้สำหรับวันกิยามะฮฺ ?"

ชายผู้นั้นตอบว่า "ความรักที่มีต่ออัลลอฮฺและรสูลของพระองค์"

ท่านนบีตอบว่า "ถ้าเช่นนั้น เจ้าก็จะได้พำนักอยู่กับคนที่เจ้ารัก

 

รักที่จะปฏิบัติตามบทบัญญัติอิสลาม

 

وَالَّذِينَ كَفَرُوا فَتَعْسًا لَهُمْ وَأَضَلَّ أَعْمَالَهُمْ* ذَلِكَ بِأَنَّهُمْ كَرِهُوا مَا أَنْزَلَ اللَّهُ فَأَحْبَطَ أَعْمَالَهُمْ

 

     “ส่วนบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธานั้น ความพินาศหายนะจะได้แก่พวกเขาและพระองค์ได้ทรงทำให้การงานของพวกเขาไร้ผล

     ทั้งนี้เพราะว่า พวกเขาเกลียดชังสิ่งที่อัลลอฮ.ทรงประทานลงมา พระองค์จึงทรงทำให้การงานของพวกเขาไร้ผล

(มุฮัมหมัด 8 9)

พระองค์ที่ตรัสไว้ในอัลกุรอานว่า :

 

وَأْمُرْ أَهْلَكَ بِالصَّلَاةِ وَاصْطَبِرْ عَلَيْهَا لَا نَسْأَلُكَ رِزْقًا َحْنُ نَرْزُقُكَ وَالْعَاقِبَةُ لِلتَّقْوَىٰ

 

     “และจงใช้ครอบครัวของเจ้าให้ทำการละหมาด และจงอดทนในการปฏิบัติ เรามิได้ขอเครื่องยังชีพจากเจ้า เราต่างหากเป็นผู้ให้เครื่องยังชีพแก่เจ้าและบั้นปลายนั้นสำหรับผู้ที่มีความยำเกรง

(ตอฮา 132)

     มีคนถามท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ว่าการละหมาดใดที่ประเสริฐที่รองลงมาจากละหมาดห้าเวลา? ท่านตอบว่า

 

«أَفْضَلُ الصَّلاةِ بَـعْدَ الصَّلاةِ المَكْتُوبَةِ، الصَّلاةُ فِي جَوْفِ اللَّيْلِ»

 

การละหมาดที่ประเสริฐที่สุดรองลงมาจากละหมาดห้าเวลาคือการละหมาดในช่วงท้ายของกลางคืน” 

(บันทึกโดยมุสลิม)

 

รักภรรยา

 

           ความรักมีต่อภรรยา คือสาเหตุทำให้ครองชีวิตคู่ที่ยาวนานสิ่งนี้เป็นธรรมชาติของผู้ชายและผู้หญิง มันคือพรอันประเสริฐที่อัลลอฮ์ ประทานให้แก่มนุษย์

อัลลอฮฺทรงกล่าวว่า

 

وَمِنْ آيَاتِهِ أَنْ خَلَقَ لَكُم مِّنْ أَنفُسِكُمْ أَزْوَاجًا لِّتَسْكُنُوا إِلَيْهَا وَجَعَلَ بَيْنَكُم مَّوَدَّةً وَرَحْمَةً إِنَّ فِي ذَٰلِكَ لَآيَاتٍ لِّقَوْمٍ يَتَفَكَّرُونَ

 

     “และหนึ่งจากสัญญาณทั้งหลายของพระองค์คือ ทรงสร้างคู่ครองให้แก่พวกเจ้าจากตัวของพวกเจ้า เพื่อพวกเจ้าจะได้มีความสุขอยู่กับนาง และ ทรงมีความรักใคร่และความเมตตาระหว่างพวกเจ้า แท้จริงในการนี้ แน่นอน ย่อมเป็นสัญญาณแก่หมู่ชนผู้ใคร่ครวญ” 

( 21 )

ดังมีรายงานฮะดีษจากท่านอับดุลลอฮฺ อิบนิ อัมรฺ อิบนิล อ๊าซ

 

"الدُّيْنَا مَتَاعٌ وَخَيْرُ مَتَاعِ الدُّنْيَا الْمَرْأةُ الصَّالِحَةُ"

 

     “โลกดุนยานี้คือ ความสุขเบิกบาน ความเพลิดเพลิน และความเบิกบาน ความเพลิดเพลินที่ดียิ่งของดุนยาคือ หญิง (ภรรยา) ที่ดี

 (บันทึกโดย อิมามมุสลิม)

♦ ท่านหญิงอาอิชะฮ์ ภรรยาที่รักยิ่งของท่านนบีมุฮัมมัด

     ท่านอัมร อิบนุอาศ ได้กล่าวว่าแท้จริงฉันได้ถามท่านรอซูลว่าผู้ใดในมวลมนุษย์ที่เป็นที่รักยิ่งแก่ท่านมากที่สุด

يا رسولَ اللَّهِ أيُّ النَّاسِ أحبُّ إليكَ قالَ عائشةُ قيلَ مِنَ الرِّجالِ قالَ أبوها

     ท่านรอซูล กล่าวว่าอาอิชะฮฺ” 

     ท่านอัมร จึงถามต่อไปอีกว่าและจากบรรดาผู้ชายเล่า ใครเป็นที่รักยิ่งแก่ท่าน

     ท่านรอซูล ตอบว่าบิดาของนาง” 

(รายงานโดยบุคอรีย์ มุสลิม และติรมีซีย์)

          อาอิชะฮ์เป็นบุตรีของอบูบักร อัศศิดดิก ซึงเป็นสหายสนิทของท่านนบีมุฮัมหมัด และเป็นชายคนแรกที่เข้ารับอิสลาม อาอิชะฮ์เป็นสตรีที่มีความประเสริฐเหนือบรรดาสตรีทั้งหลาย โดยท่านนบีได้กล่าวถึงความประเสริฐของท่านหญิงอาอิชะฮ์ว่า

 

وَإِنَّ فَضْلَ عَائِشَةَ عَلَى النِّسَاءِ كَفَضْلِ الثَّرِيدِ عَلَى سَائِرِ الطَّعَامِ

 

     “ความเลอเลิศของอาอิชะฮ์ที่เหนือกว่าสตรีทั้งหลายนั้น เหมือนกับความเลอเลิศของษะรีด (อาหารชนิดหนึ่ง)ที่เหนืออาหารอื่นๆ

(รายงานโดยบุคอรีย์)

 

♦ จะต้องให้ปฏิบัติต่อสตรีด้วยดี

 

     รายงานจากอบีฮุรอยเราะห์ กล่าวว่า ท่านรอซูลกล่าวว่า : 

لَا يَفْرَكْ مؤمن مؤمنة، إنْ كرِه مِنْهَا خُلُقاً رَضِيَ منها آخر

     "ชายผู้ศรัทธาอย่าเกลียดหญิงผู้ศรัทธา ถ้าหากเขาเกลียดนางในเรื่องมารยาทอย่างหนึ่งอย่างใด ก็ขอให้พึงพอใจนางในเรื่องอื่นๆ

(รายงานโดยมุสลิม)

     รายงานอบีฮุรอยเราะห์ กล่าวว่า ท่านรอซูล กล่าวว่า :

أكملُ المؤمنين إيمانًا أحسنُهم خُلقًا وخيارُكم خيارُكم لأهلِه

     “บรรดาผู้ศรัทธาที่มีอีหม่านสมบูรณ์ที่สุด คือผู้ที่มีมารยาทดี และคนที่ดีที่สุดในหมู่พวกท่านคือ ผู้ที่ปฏิบัติดีต่อภรรยาของพวกเขาในหมู่พวกท่าน

(บันทึกโดยติรมิซีย์)

 

รักพี่น้อง

 

          แท้จริงอัลลอฮ์ ทรงให้มนุษย์ทุกคนบนโลกใบนี้ รักพระผู้สร้าง และให้พวกเขานั้นรักกันในหมู่พี่น้องมุสลิมในการดำเนินชีวิต การใช้ชีวิตในสังคม และทรงห้ามปรามการรังเกียจ ความโกรธแค้น สิ่งที่นำมาซึ่งความแตกแยก ทะเลาะวิวาท

อัลลอฮ์ ทรงกล่าวว่า

 

وَاذْكُرُوا نِعْمَتَ اللَّهِ عَلَيْكُمْ إِذْ كُنتُمْ أَعْدَاءً فَأَلَّفَ بَيْنَ قُلُوبِكُمْ فَأَصْبَحْتُم بِنِعْمَتِهِ إِخْوَانًا

 

     “และจำรำลึกถึงความเมตตาของอัลลอฮฺที่มีต่อพวกเจ้า ขณะที่พวกเจ้าเป็นศัตรูกัน แล้วพระองค์ได้ทรงให้สนิทสนมกันระหว่างหัวใจของพวกเจ้า แล้วพวกเจ้าก็กลายเป็นพี่น้องกันด้วยความเมตตาของพระองค์ "

 (อาล อิมรอน: 102-103)

ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า

 

المُؤْمِنُ لِلْمُؤْمِنِ كَالْبُنْيَانِ يَشُدُّ بَعْضُهُ بَعْضًا

 

     “ความสัมพันธ์ระหว่างมุอ์มินผู้ศรัทธานั้น เปรียบได้ดังอาคารที่ต่างส่วนต่างเกื้อหนุนเสริมความแกร่งให้แก่กัน แล้วท่านก็สอดประสานนิ้วมือเข้าด้วยกัน

(บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ และมุสลิม)

พระองค์ ตรัสความว่า

﴿ إِنَّمَا ٱلمُؤمِنُونَ إِخوَة ﴾

แท้จริงบรรดาผู้ศรัทธานั้นเป็นพี่น้องกัน

 (อัล-หุญุรอต: 10)

     ดังที่มีรายงานจากท่านอนัส ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัย ฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า :

 

لا يُؤْمِنُ أَحدُكُمْ حتَّى يُحِبَّ لأَخِيهِ مَا يُحِبُّ لِنَفْسِهِ

 

     “บุคคลหนึ่งบุคคลใดของพวกท่านจะยังไม่มีศรัทธาที่สมบูรณ์ จนกว่าเขาจะมีความปรารถนาให้พี่น้อง ของเขาได้รับในสิ่งที่ตัวของเขาเองปรารถนาที่จะได้รับ” 

(บันทึกโดย บุคอรีย์และ มุสลิม)

     ท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้เล่าว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า

 

سَبْعَةٌ يُظِلُّهُمُ اللَّهُ فِي ظِلِّهِ، يَوْمَ لاَ ظِلَّ إِلَّا ظِلُّهُ: الإِمَامُ العَادِلُ، وَشَابٌّ نَشَأَ فِي عِبَادَةِ رَبِّهِ، وَرَجُلٌ قَلْبُهُ مُعَلَّقٌ فِي المَسَاجِدِ، وَرَجُلاَنِ تَحَابَّا فِي اللَّهِ اجْتَمَعَا عَلَيْهِ وَتَفَرَّقَا عَلَيْهِ، وَرَجُلٌ طَلَبَتْهُ امْرَأَةٌ ذَاتُ مَنْصِبٍ وَجَمَالٍ، فَقَالَ: إِنِّي أَخَافُ اللَّهَ، وَرَجُلٌ تَصَدَّقَ، أَخْفَى حَتَّى لاَ تَعْلَمَ شِمَالُهُ مَا تُنْفِقُ يَمِينُهُ،وَرَجُلٌ ذَكَرَ اللَّهَ خَالِيًا فَفَاضَتْ عَيْنَاهُ

 

     “ในวันกิยามะฮฺจะมีมนุษย์ 7 กลุ่ม ที่อัลลอฮฺ จะทรงให้ร่มเงาของพระองค์แก่พวกเขาในวันซึ่งไม่มีร่มเงาใด นอกจากร่มเงาของพระองค์ ร่มเงาที่ทรงให้แก่บุคคล 

     กลุ่มที่หนึ่ง คือ กลุ่มของอิมามหรือผู้นำที่ทรงคุณธรรม อยู่ในหลักการ มีความเที่ยงธรรม

     กลุ่มที่สอง คือ กลุ่มเยาวชนหรือชายหนุ่มที่ตลอดชีวิตวัยหนุ่มของเขานั้นเติบโตมาในเรื่องของการทำอิบาดะฮฺ เรื่องของการศึกษาหาความรู้ในเรื่องราวของศาสนา

     กลุ่มที่สาม คือ กลุ่มของชายที่จิตใจของเขาผูกพันอยู่กับมัสยิด

     กลุ่มที่สี่ คือ กลุ่มของบุคคลที่รักกันเพื่ออัลลอฮฺรวมกัน เป็นมิตรกัน เป็นสหายกันในหลักการของอัลลอฮฺ แล้วก็จากกัน แยกกันในเรื่องของศาสนา มิใช่เรื่องของทรัพย์สินเงินทอง

     กลุ่มที่ห้า คือ ชายที่มีหญิงผู้มีความสวยงามมาชักชวนเขา (ให้ทำซินา) แต่เขากล่าวว่าแท้จริงฉันกลัวอัลลอฮฺ"

     กลุ่มที่หก คือ กลุ่มของคนที่ทำทาน บริจาคทานโดยเขาปกปิดมันไว้จนกระทั่งมือซ้ายไม่รู้ว่ามือขวาได้บริจาค ได้ทำบุญอะไรไปบ้าง

     กลุ่มที่เจ็ด คือ กลุ่มของคนที่เมื่อเขารำลึกถึงอัลลอฮฺ อยู่เพียงลำพังแล้ว ดวงตาของเขาก็หลั่งน้ำตาเอ่อออกมา

(บันทึกโดยบุคอรียฺและมุสลิม)

 

ท่านนบีมีความรักต่อท่านอบูบักร์

ท่านอัมร อิบนุลอาศ ได้ถามท่านเราะซูลลุลลอฮ์ ถึงคนที่เป็นที่รักที่สุดของท่าน

ท่านนะบีตอบว่า "อบูบักร"

เขากล่าวว่า "แล้วใครอีกครับ ?"

ท่านนะบีตอบว่า "ต่อมาก็คืออุมัร อิบนุ อัลคอฏฏอบ" แล้วท่านก็กล่าวถึงคนอื่นอีกหลายคน

 

ท่านนบีมีความรักต่อท่านมุอ๊าซ อิบนิ ญะบัล

     อะบูดับดิรเราะห์มาน อัลฮุบุลีย์ เล่าจากท่านอัศศุนาบิฮีย์ เล่าจากท่านมุอ๊าซ อิบนิญะบัล ว่าแท้จริง ท่านรอซูลลุลลอฮ์ ได้จับมือของท่านมุอ๊าซแล้วกล่าวว่า โอ้มุอ๊าซ ฉันขอสาบานต่ออัลเลาะห์ว่า แท้จริงฉันรักท่าน

     ท่านนบีได้กล่าวต่อไปอีกว่าฉันของสั่งเสียแก่ท่าน โอ้มุอ๊าซ...ท่านอย่าได้ละทิ้งเป็นอันขาด ในทุกๆหลังเวลาละหมาดที่จะกล่าวว่า :

اللَّهُم أَعِنِّي عَلَى ذِكْرِكَ وَشُكْرِكَ، وحُسنِ عِبَادتِك

     ข้าแต่อัลเลาะห์ โปรดช่วยเหลือข้าพระองค์ในการกล่าวรำลึกถึงพระองค์ และกล่าวขอบพระคุณพระองค์ และการประกอบอิบาดะห์ที่ดีงามต่อพระองค์ด้วย"

(บันทึกโดยอบูดาวูด)

 

รักเครือญาติ

 

        สำหรับญาติพี่น้องที่มีความสัมพันธ์เครือญาติกับท่าน เช่น เป็นพี่น้อง ลุง ป้า น้า อา ตลอดจนลูกพี่ลูกน้อง หรือบุคคลอื่นที่เป็นเครือญาติกับเรานั้นพวกเขามีสิทธิพึงได้รับ 

ดังที่อัลลอฮฺได้ตรัสว่า 

وَءَاتِ ذَا ٱلۡقُرۡبَىٰ حَقَّهُۥ

และจงให้สิทธิแก่ผู้ที่เป็นเครือญาติ

(อัล-อิสรออ์ : 26)

     และท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า 

«مَنْ كَانَ يُؤْمِنُ بِاللهِ وَالْيَوْمِ الآخِرِ فَلْيَصِلْ رَحِمَهُ»

ใครก็ตามที่มีความศรัทธาต่ออัลลอฮฺและวันกิยามะฮฺ ก็จงเชื่อมสัมพันธ์กับเครือญาติของเขา” 

(บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ )

     และท่านอนัส เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้เล่าว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า

 

مَنْ أَحَبَّ أَنْ يُبْسَطَ لَهُ فِي رِزْقِهِ، وَيُنْسَأَ لَهُ فِي أَثَرِهِ، فَلْيَصِلْ رَحِمَهُ

 

     “ผู้ใดอยากให้ริสกีของเขาเพิ่มพูน และให้ร่องรอย(อายุขัย)ของเขาได้ยืดยาวขึ้น เขาก็จงเชื่อมสัมพันธ์เครือญาติของเขาเถิด” 

(บันทึกโดยอัลบุคอรียฺและมุสลิม)

(และความหมายที่ว่ายุนสะอ์ ละฮู มิน อะญะริฮฺคือ ถูกยืดอายุขัย)

     และยังสั่งใช้ให้ทำดีต่อสหายของท่านทั้งสอง ท่านศาสนทูต (ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม) ได้กล่าวว่า

 

إِنَّ أَبَرَّ الْبِرِّ صِلَةُ الْوَلَدِ أَهْلَ وُدِّ أَبِيهِ.

แท้จริง การกตัญญูที่ดีที่สุดคือการเชื่อมสัมพันธ์กับเพื่อนรักของพ่อของเขา” 

(บันทึกโดยมุสลิม)

 

ความประเสริฐของความรัก

 

อัลลอฮฺจะทรงรักเขา

 

มุอาซ เล่าว่า ฉันได้ยิน ท่านนบีมุหัมมัด -ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม- อัลลอฮฺทรงกล่าวว่า

 

وَجَبَتْ محبتي للمُتَحابِّينَ فِيَّ، والمتجالسين فِيَّ، والمتزاورين فِيَّ، والمتباذِلين

 

     “ความรักของฉัน(อัลลอฮฺ)จะต้องเกิดแก่บรรดาผู้ที่เขารักกันเพราะฉัน และบรรดาผู้ที่นั่งพบปะกันเพราะฉัน

     และบรรดาผู้ที่เขาเยี่ยมเยียนกันเพราะฉัน และบรรดาผู้ที่เขาทุ่มเทเสียสละกันเพราะฉัน” 

(บันทึกโดยมาลิก)

     เช่นเดียวกับคำพูดของมลาอิกะฮฺที่จะกล่าวกับผู้ที่ไปเยี่ยมเพื่อนเพื่ออัลลอฮฺ ว่า

أن الله عز وجلَ قد أحبّكَ كما أحببتهُ لهُ 

     "ฉันนี้คือ ทูตจากอัลลอฮ์มายังท่าน เพื่อจะบอกว่า อัลลอฮฺได้ทรงรักท่านเหมือนกับที่ท่านได้รักเขาเพื่อพระองค์"

 (บันทึกโดยมุสลิม)

 

ได้อยู่ในร่มเงาบัลลังก์ของพระองค์

 

     อบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ เล่าว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ได้กล่าวว่า อัลลอฮฺ จะทรงกล่าวในวันกิยามะฮฺว่า

 

أين المتحابون بجلالي؟ اليوم أظلهم في ظلي يوم لا ظل إلا ظلي

 

     “ไหนละผู้ที่รักกันเพื่อเทิดเกียรติข้า..วันนี้ฉันจะให้พวกเขาได้หลบร้อนใต้ร่มเงาของข้า อันเป็นวันที่ไม่มีร่มเงาใด นอกจากร่มเงาของข้าเท่านั้น

(บันทึกโดยมุสลิม)