อัลลอฮฺ ผู้ทรงตอบรับ
  จำนวนคนเข้าชม  10147


อัลลอฮฺ ผู้ทรงตอบรับ

อับดุลวาเฮด สุคนธา เรียบเรียง

 

          หนึ่งในคุณลักษณะนามของอัลลอฮฺ คือ พระองค์ คือ ผู้ทรงตอบรับการขอดุอาอ์ คือ อิบาดะฮ์อัลลอฮ์ ตะอาลา ทรงกล่าวไว้ว่า :

 

وَإِذَا سَأَلَكَ عِبَادِي عَنِّي فَإِنِّي قَرِيبٌ ۖ أُجِيبُ دَعْوَةَ الدَّاعِ إِذَا دَعَانِ ۖ فَلْيَسْتَجِيبُوا لِي وَلْيُؤْمِنُوا بِي لَعَلَّهُمْ يَرْشُدُونَ

 

     “และเมื่อบ่าวของข้าถามเจ้าถึงข้าแล้ว ก็ (จงตอบเถิดว่า) แท้จริงข้านั้นอยู่ใกล้ ข้าจะตอบรับคำวิงวอน ของผู้ที่วิงวอน เมื่อเขาวิงวอนต่อข้า

     ดังนั้น พวกเขาจงตอบรับข้าเถิด และศรัทธาต่อข้า เพื่อว่าพวกเขา จะได้อยู่ในทางที่ถูกต้อง” 

(อัลบะกอเราะฮ์ : 186)

          อัลลอฮ์ ตะอาลา ทรงกล่าวไว้ว่า :

ادْعُونِي أَسْتَجِبْ لَكُمْ

จงวิงวอนขอต่อข้าเถิด ข้าจะตอบรับแก่พวกเจ้า

( ฆอฟิรฺ : 60)

อัลลอฮ์จะทรงตอบรับการขอดุอาอ์

 

          มีรายงานจากอะบีซะอีด อัลคุดรีย์ : แท้จริงท่านนะบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า :

 

مَا مِنْ مُسْلِمٍ يَدْعُو بِدَعْوَةٍ لَيْسَ فِيهَا إِثْمٌ وَلَا قَطِيعَةُ رَحِمٍ إِلَّا أَعْطَاهُ اللَّهُ بِهَا إِحْدَى ثَلَاثٍ إِمَّا أَنْ تُعَجَّلَ لَهُ دَعْوَتُهُ وَإِمَّا أَنْ يَدَّخِرَهَا لَهُ فِي الْآخِرَةِ وَإِمَّا أَنْ يَصْرِفَ عَنْهُ مِنْ السُّوءِ مِثْلَهَا قَالُوا إِذًا نُكْثِرُ قَالَ اللَّهُ أَكْثَرُ

 

     “ไม่มีมุสลิมคนใดที่ได้ขอดุอาอ์ต่ออัลลอฮ์ ด้วยดุอาอ์ที่ไม่ประกอบด้วยความผิดบาป และการตัดญาติขาดมิตร นอกจากอัลลอฮ์จะทรงรับแก่เขาอย่างแน่นอนด้วยประการหนึ่งจาก 3 ประการต่อไปนี้ 

♦ บางทีพระองค์ตอบรับคำวิงวอนของเขานั้นโดยทันที 

♦ บางทีก็รีรอเอาไว้ให้เขา ในวันอาคิเราะฮ์ และ

♦ บางทีให้เป็นการขจัดความชั่วร้ายทำนองเดียวกันออกไปจากเขา 

     บรรดาเศาะฮาบะฮ์ ถามว่า เช่นนั้นถ้าหากเราวิงวอนขอมาก เล่า 

     ท่านเราะซูล  ตอบว่า : อัลลอฮ์ย่อมให้มากกว่าอีก

(บันทึกโดยอะหมัด , มุสนัด , มุสนัดอะบีซะอีด อัลคุดรีย์)

 

ในบักทึกของอิม่าม มุสลิม 

لا يَزَالُ يُسْتَجَابُ للعبدِ ما لم يَدْعُ بإِثْمٍ أو قَطِيعَةِ رَحِمٍ، ما لم يَستعجِلْ». قِيلَ: يا رسولَ الله، ما الاستِعجال؟ قال: «يقول: قَدْ دَعَوْتُ وقد دَعَوْتُ، فلَمْ أَرَ يَسْتَجِيبُ لي، فَيَسْتَحْسِرُ عندَ ذلك، ويَدَعُ الدُّعاءَ

 

     “การวิงวอนดุอาอฺของบ่าวนั้นจะถูกตอบรับตราบใดเขานั้น ไม่มีบาปและตัดสัมพันธ์เครือญาติ และไม่เร่งรีบให้พระองค์ตอบรับในการขอ

     มีศ่อฮาบะ กล่าวถามท่านนบี  ว่าอะไรคือการเร่งรีบ ? “

     ท่านนบี  ตอบว่าคือบุคคลกล่าวว่า ขอขอ แต่ฉันไม่เห็นว่าอัลลอฮฺจะทรงตอบรับแก่ฉันเลย เขาก็หมดหวัง ละทิ้งจากการขอดุอาอฺ

 

          การสุญูดนั้นถือว่าเป็นอิริยาบถที่บ่าวหรือผู้ละหมาดได้ใกล้ชิดอัลลอฮ์มากที่สุด ท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม จึงส่งเสริมให้ดุอาอฺวิงวอนขอจากอัลลอฮ์ในขณะสุญูดให้มากที่สุด 

 

     ท่านอาบูฮุรอยเราะฮ์ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ รายงานว่า รอซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า

 

أَقْرَبُ مَا يَكُونُ الْعَبْدُ مِنْ رَبِّهِ وَهُوَ سَاجِدٌ فَأَكْثِرُوا الدُّعَاءَ

 

วาระที่บ่าวจะได้อยู่ใกล้ชิดพระผู้เป็นเจ้ามากที่สุดคือในขณะสุญูด ดังนั้นพวกท่านจงดุอาอฺวิงวอน ให้มาก เถิด

(บันทึกโดยอะหมัด,มุสลิม,อาบูดาวูดและอันนซาอีย์)

 

          รายงานจากท่าน อะบี อุมามะฮฺ กล่าวว่า มีคนมาถามท่านนบี ว่า การขอดุอาอฺในช่วงเวลาใด พระองค์จะตอบรับ(คือดีที่สุด

 

جَوْفَ اللَّيْلِ الْآخِرِ ، وَدُبُرَ الصَّلَوَاتِ الْمَكْتُوبَاتِ

 

ท่านนบี  ตอบว่าช่วงสุดท้ายของกลางคืน และหลังเวลาละหมาดฟัรฎู ห้าเวลา” 

(บันทึกโดย ติรมีซีย์)

คำว่าหลังละหมาดตรงนี้หมายถึง  وَدُبُرَ الصَّلَوَاتِ الْمَكْتُوبَاتِ  ก่อนให้สลามในเวลาละหมาด

(อิบนุ ก็อยยิม เเละ เชค อิสลามอิบนุตัยมียะ เชค อิบนุ อุษัยมีน เชค บินบาซ)

 

สิ่งที่ได้รับ จากบทเรียน

อัลลอฮฺทรงรักที่จะให้บ่าวของพระองค์จะวิงวอนขอดุอาอฺ

เงื่อนไขของการตอบขอดุอาอฺ 3 ข้อ

- ไม่มีความผิด

- ไม่ตัดสัมพันธ์เครือญาติ

- ไม่เร่งรีบจะให้อัลลอฮฺตอบรับ

อย่าสิ้นหวังในการขอดุอาอฺ เพราะอัลลอฮฺคือ ผู้ทรงตอบรับ