โทษผู้ที่ผินหลังให้ อัลกรุอ่าน
  จำนวนคนเข้าชม  5228


โทษผู้ที่ผินหลังให้ อัลกรุอ่าน 

อับดุลวาเฮด สุคนธา

 

          อัลกุรอ่าน คือ ทางนำแห่งชีวิต , อัลกุรอาน คือ พระดำรัสของอัลลอฮฺที่ทรงประทานแก่ท่านนบีมุฮำหมัด ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ผ่านมลาอิกะฮฺ ญิบรีล เป็นคัมภีร์เล่มสุดท้ายของอัลลอฮฺสำหรับมนุษยชาติ เพื่อเป็นทางนำสำหรับมนุษย์ไปสู่การมีชีวิตที่มีความสงบสุขในโลกนี้และโลกหน้า 

ดังที่อัลลอฮฺ ตรัสว่า

 

إِنَّ هَـذَا الْقُرْآنَ يِهْدِي لِلَّتِي هِيَ أَقْوَمُ وَيُبَشِّرُ الْمُؤْمِنِينَ الَّذِينَ يَعْمَلُونَ الصَّالِحَاتِ أَنَّ لَهُمْ أَجْراً كَبِيراً

 

     “แท้จริง อัลกุรอานนี้นำสู่ทางที่เที่ยงตรงยิ่งและแจ้งข่าวดีแก่บรรดาผู้ศรัทธาที่ประกอบความดีทั้งหลายว่า สำหรับพวกเขานั้นจะได้รับการตอบแทนอันยิ่งใหญ่” 

(อัล-อิสรออฺ 9)

 

          นอกจากนี้การอ่านอัลกุรอานจะช่วยให้จิตใจสงบ ความศรัทธาในหัวใจเพิ่มพูน อัลลอฮฺ ได้ตรัสว่า

 

وَإِذَا تُلِيَتْ عَلَيْهِمْ آيَاتُهُ زَادَتْهُمْ إِيمَاناً

 

และ(ผู้ศรัทธานั้น)เมื่อใดที่ได้ฟังอัลกุรอานแล้ว จะทำให้ศรัทธาของพวกเขาเพิ่มพูนขึ้น” 

(อัล-อันฟาล : 2)

 

          ขอให้ท่านทั้งหลายได้ใส่ใจและให้ความสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งชีวิตของเรากับอัลกุรอานนั้น อย่าให้เราต้องอ่านกุรอาน เฉพาะวันที่ญาติพี่น้องของเราเสียชีวิต อย่าให้เราเป็นผู้อ่านกุรอานเฉพาะวันที่เขาเชิญให้เรามาอ่าน

          ดังนั้นอย่าให้ท่านเป็นบุคคลที่ห่างเหินจากอัลกุรอาน และจะเข้าอยู่ในกลุ่มบุคคลที่อัลลอฮ ทรงกล่าวไว้ในซูเราะฮ.ฏอฮา โองการที่ 124-127 ว่า

 

﴿وَمَنْ أَعْرَضَ عَنْ ذِكْرِي فَإِنَّ لَهُ مَعِيشَةً ضَنكًا وَنَحْشُرُهُ يَوْمَ الْقِيَامَةِ أَعْمَى﴾

 

     “และผู้ใดผินหลังจากการรำลึกถึงข้า แท้จริงสำหรับเขาคือ การมีชีวิตอยู่อย่างคับแค้น และเราจะให้เขาฟื้นคืนชีพในวันกิยามะฮ์ในสภาพของคนตาบอด

 

قَالَ رَبِّ لِمَ حَشَرْتَنِي أَعْمَى وَقَدْ كُنتُ بَصِيرًا

 

     เขากล่าวว่าข้าแต่พระเจ้าของข้าพระองค์ ทำไมพระองค์จึงทรงให้ข้าพระองค์ฟื้นคืนชีพขึ้นมาในสภาพของคนตาบอดเล่า ทั้งๆที่ข้าพระองค์เคยเป็นคนตาดี มองเห็น

 

قَالَ كَذَٰلِكَ أَتَتْكَ آيَاتُنَا فَنَسِيتَهَا ۖ وَكَذَٰلِكَ الْيَوْمَ تُنسَىٰ

 

     พระองค์ตรัสว่าเช่นนั้นแหละ เมื่อโองการทั้งหลายของเราได้มีมายังเจ้า เจ้าก็ทำเป็นลืมมัน และในทำนองเดียวกัน วันนี้เจ้าก็จะถูกลืม

 

وَكَذَٰلِكَ نَجْزِي مَنْ أَسْرَفَ وَلَمْ يُؤْمِن بِآيَاتِ رَبِّهِ ۚ وَلَعَذَابُ الْآخِرَةِ أَشَدُّ وَأَبْقَىٰ

 

     “และเช่นเดียวกัน เราจะตอบแทนผู้ที่ล่วงละเมิดขอบเขต และไม่ศรัทธาต่อโองการทั้งหลายของพระเจ้า และแน่นอน การลงโทษในปรโลกนั้นสาหัสยิ่ง และยาวนานยิ่ง

 

ความหมายของคำว่า อัซริกรฺ

 

     อิม่าม บักวีย์ กุรฏุบีย์ อิบนุเญาซี่ย์ อิบนุ ก็อยยิม เชากานีย์ อัสสะดี้ย์ และ อัรร่อซีย์ ส่วนของนักอรรถาธิบายกรุอ่าน กล่าวว่า คำว่า อัซริกรฺ ในโองการนี้นั้นคือ อัลกรุอ่าน

﴿وَمَنْ أَعْرَضَ عَنْ ذِكْرِي﴾

และผู้ใดผินหลังจากการรำลึกถึงข้า"

 

     ท่านอิม่าม บักวีย์ กล่าวว่า หมายถึง คนที่ไม่ศรัทธาและปฏิบัติตามอัลกรุอ่าน

 

     อิบนุ ก็อยยิม กล่าวว่า คำว่า อัซริกรฺ หมายถึง คำดำรัสของอัลลอฮฺที่ถูกประทานมายังท่านร่อซูลลอฮฺ และคนที่ละทิ้ง ผินหลัง หมายถึง คนที่ละทิ้งจากการพิจารณาและการปฏิบัติตามอัลกรุอ่าน

 

ความหมาย المعيشة الضَّنْك คือ การมีชีวิตอยู่อย่างคับแค้น

 

     ส่วนมากของนักอรรถาธิบายกรุอ่าน กล่าวว่า คือ บทลงโทษในหลุมฝังศพ ท่าน อิบนุ มัสฮู้ด อิบนุ อับบาส อะบีอูรอยเราะ อะบีสะอี้ด อัลคุดรีย์ 

 

     รากศัพท์เดิม มาจากความหมายว่า ความคับแคบ แร้นแค้น เช่น ที่พำนักที่คับแคบ แออัด ใช้ชีวิตอย่างลำบาก

 

     นักอรรถาธิบายกรุอ่าน ให้นิยาม ความหมาย المعيشة الضَّنْك ห้าทัศนะด้วยกัน ดังนี้

   หนึ่ง บทลงโทษในหลุมฝังศพ ท่าน อิบนุ มัสฮู้ด อิบนุ อับบาส อะบีอูรอยเราะ อะบีสะอี้ด อัลคุดรีย์

   สอง บทลงโทษในหลุมฝังศพด้วยการบีบรัด จนกระทั้งกระดูกซี่โครงประสานกัน อะฏออฺ อิบนุอับบาส

   สาม ความรุนแรงในไฟนรก จากท่าน ฮะซัน อิบนุอับบาส อิบนุ เซด และ กอตาดะ ฏอฮาก

   สี่ การกินทรัพย์ที่ต้องห้าม (ฮะรอม) เพราะ ของฮะรอมนั้นจะทำให้ มีชีวิตที่แร้นแค้น อยู่อยากยากลำบาก อิบนุอับบาส อิกรีมะฮฺ ฏอฮาก

   ห้า ทรัพย์ได้มาจากการอธรรม ไม่เกรงกลัวต่ออัลลอฮฺ ท่าน อิบนุ อับบาส และ ท่าน เฮาฟีฮฺ

 

     ท่านอิบนุ เญาซี่ย์กล่าวว่า มันคือ การใช้ชีวิต สามสถานที่ หลุมฝังศพ ดุนยา และ นรกญะฮัมนัม

 

          ความหมายที่ถูกต้อง สำหรับคนที่ผินหลังให้กรุอ่าน ในโลกนี้เขาจะประสบความ กลุ้มอกกลุ้มใจ เศร้าโศกเสียใจ เครียด เศร้าหมอง ส่วนในโลกหน้า เขาจะมีชีวิตทุกข์ยากลำบาก ท่าน ร่อซีย์ อิบนุ ก็อยยิม ชังกีตีย์ ท่านสะดี้ย์

 

ความหมาย คำว่า ตาบอด

 

﴿وَنَحْشُرُهُ يَوْمَ الْقِيَامَةِ أَعْمَى﴾

และเราจะให้เขาฟื้นคืนชีพในวันกิยามะฮ์ในสภาพของคนตาบอด

 

ผู้รู้มีความเห็นที่แตกต่างกัน

   ♣ ทัศนะที่หนึ่ง คำว่าตาบอดในโองการนี้ หมายถึง การมองไม่เห็นถึงหลักการที่ถูกต้อง ไม่ได้รับทางนำ จากท่าน มุญาฮิด ฏ็อบรีย์

﴿أَسْمِعْ بِهِمْ وَأَبْصِرْ يَوْمَ يَأْتُونَنَا﴾

พวกเขาจะได้ฟังอย่างชัดแจ้งและเห็นอย่างชัดอะไรอย่างนั้น ! วันที่พวกเขาจะมาหาเรา

( มัรยัม38)

 

﴿لَقَدْ كُنْتَ فِي غَفْلَةٍ مِنْ هَذَا فَكَشَفْنَا عَنْكَ غِطَاءَكَ فَبَصَرُكَ الْيَوْمَ حَدِيدٌ﴾ [ق: 22].

โดยแน่นอนเจ้าไม่สนใจต่อเรื่องนี้ นั้นเราจึงเปิดสิ่งที่ปกคลุมเจ้าอยู่ให้ออกไปจากเจ้า วันนี้สายตาของเจ้าจึงเฉียบขาด

 

   ♣ ทัศนะที่สอง ตาบอด มองอะไรไม่เห็น จากท่าน ชังกีตีย์ สะดี้ย อิบนุ ก็อยยิม

 

قَالَ رَبِّ لِمَ حَشَرْتَنِي أَعْمَى وَقَدْ كُنتُ بَصِيرًا

     เขากล่าวว่าข้าแต่พระเจ้าของข้าพระองค์ ทำไมพระองค์จึงทรงให้ข้าพระองค์ฟื้นคืนชีพขึ้นมาในสภาพของคนตาบอดเล่า ทั้งๆที่ข้าพระองค์เคยเป็นคนตาดี มองเห็น

 

          ตรงตามความหมายที่พระองค์ทรงกล่าวเอาไว้ บุคคลที่เขานั้นละทิ้งอัลกรุอ่าน หลังจากที่อัลลอฮฺทรงท่านร่อซูลมายังเขาแล้ว เท่ากับว่าเขานั้น ตาบอดจากความถูกต้อง และในวันกียามะพระองค์ทรงให้เขานั้นตาบอด อยู่ในการลงโทษ เฉกเช่นที่เขานั้นละทิ้งพระองค์ในดุนยา

อัลลอฮฺ ตรัสว่า

﴿وَنَحْشُرُهُمْ يَوْمَ الْقِيَامَةِ عَلَى وَجُوهِهِمْ عُمْيًا وَبُكْمًا وَصُمًّا﴾ [الإسراء: 97]

และเราจะชุมนุมพวกเขาในวันกิยามะฮ ถูกลากคว่ำหน้า โดยมีสภาพเป็นคนตาบอด เป็นใบ้และหูหนวก

 

          อัลลอฮฺทรงตอบแทนในสิ่งนั้น ทำอย่างไร ก็ได้อย่างนั้น อัลลอฮฺ ตรัสว่า

 

قَالَ رَبِّ لِمَ حَشَرْتَنِي أَعْمَى وَقَدْ كُنتُ بَصِيرًا

     เขากล่าวว่าข้าแต่พระเจ้าของข้าพระองค์ ทำไมพระองค์จึงทรงให้ข้าพระองค์ฟื้นคืนชีพขึ้นมาในสภาพของคนตาบอดเล่า ทั้งๆที่ข้าพระองค์เคยเป็นคนตาดี มองเห็น

 

قَالَ كَذَٰلِكَ أَتَتْكَ آيَاتُنَا فَنَسِيتَهَا ۖ وَكَذَٰلِكَ الْيَوْمَ تُنسَىٰ

     พระองค์ตรัสว่าเช่นนั้นแหละ เมื่อโองการทั้งหลายของเราได้มีมายังเจ้า เจ้าก็ทำเป็นลืมมัน และในทำนองเดียวกัน วันนี้เจ้าก็จะถูกลืม

 

          นี้คือบทลงโทษสำหรับผู้ที่ละทิ้งต่ออัลลอฮฺ ฉะนั้นอย่าได้ ตำหนิใครเลยนอกจากตัวเอง