เทคนิคการสอนให้ลูกรักอัลกรุอ่าน
อับดุลวาเฮด สุคนธา เรียบเรียง
การส่งเสริมลูกน้อยให้รักอัลกุรอานถือเป็นอีกภารกิจของผู้ที่เป็นพ่อแม่ และเป็นสิ่งที่ประเสริฐอย่างยิ่ง ดังนั้นควรที่จะตั้งเป้าหมาย วิธที่จะทำให้ลูกน้อยรักอัลกุรอานเพื่อให้ลูกน้อยสามารถไปถึงเป้าหมาย และให้โอกาสหนูน้อยเข้าใจ อัลกุรอาน และไม่ถือเป็นการบังคับหรือเป็นภาระมากนักของลูกน้อย เพื่อให้เกิดพัฒนาการ และสามารถสร้างบุคลิกภาพเพราะ อัลกรุอ่านจะช่วยขัดเขลาจิตใจของเขาให้เป็นคนดี ตลอดจนการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข
อัลกุรอ่าน คือ ทางนำแห่งชีวิต
อัลกุรอาน คือ พระดำรัสของอัลลอฮฺที่ทรงประทานแก่ท่านนบีมุฮำหมัด ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ผ่านมลาอิกะฮฺ ญิบรีล เป็นคัมภีร์เล่มสุดท้ายของอัลลอฮฺสำหรับมนุษยชาติ เพื่อเป็นทางนำสำหรับมนุษย์ไปสู่การมีชีวิตที่มีความสงบสุขในโลกนี้และโลกหน้า
ดังที่อัลลอฮฺ ตรัสว่า
إِنَّ هَـذَا الْقُرْآنَ يِهْدِي لِلَّتِي هِيَ أَقْوَمُ وَيُبَشِّرُ الْمُؤْمِنِينَ الَّذِينَ يَعْمَلُونَ الصَّالِحَاتِ أَنَّ لَهُمْ أَجْراً كَبِيراً
“แท้จริง อัลกุรอานนี้นำสู่ทางที่เที่ยงตรงยิ่งและแจ้งข่าวดีแก่บรรดาผู้ศรัทธาที่ประกอบความดีทั้งหลายว่า สำหรับพวกเขานั้นจะได้รับการตอบแทนอันยิ่งใหญ่”
( อัล-อิสรออฺ 9)
ความสำคัญของอัลกุรอาน
อัลกุรอาน คือ คำดำรัสของอัลลอฮฺ ตะอาลา ประดุจเส้นเชือกอันมั่นคง และเป็นแนวทางอันเที่ยงธรรม ผู้ใดที่ยึดมั่นในคำสอนอัลกุรอานเขาก็ย่อมได้รับทางนำ และผู้ใดที่ผินหลังให้อัลกุรอานเขาก็ย่อมอยู่ในความหลงผิดและความหายนะ อัลลอฮฺทรงสรรเสริญอัลกุรอานในอายะฮฺต่างๆ อย่างมากมาย ทั้งนี้ก็เพื่อชี้แจงถึงความประเสริฐของอัลกุรอาน และให้ข้อชี้ชัดแก่มวลมนุษย์ถึงตำแหน่งและสถานภาพของอัลกุรอาน
อัลลอฮฺ ตะอาลา ตรัสว่า
إِنَّا جَعَلْنَاهُ قُرْآنًا عَرَبِيًّا لَّعَلَّكُمْ تَعْقِلُونَ، وَإِنَّهُ فِي أُمِّ الْكِتَابِ لَدَيْنَا لَعَلِيٌّ حَكِيمٌ
“แท้จริงเราได้ทำให้คัมภีร์เป็นกุรอานภาษาอาหรับ เพื่อพวกเจ้าจะได้ใช้สติปัญญา และแท้จริงอัล-กุรอานซึ่งอยู่ในแม่บทแห่งคัมภีร์ ณ ที่เรานั้นคือสิ่งที่สูงส่ง พรั่งพร้อมด้วยปรัชญา”
(สูเราะฮฺอัซ-ซุครุฟ: 3-4)
การอ่านอัลกุรอานเป็นอาหารแก่จิตวิญญาณ การอ่านอัลกุรอานจะช่วยเติมพลังแก่จิตใจทำให้จิตใจสงบเบิกบาน มีชีวิตชีวา และมีกำลังใจ
ความประเสริฐของการศึกษาและสอนอัลกุรอาน
จากอุษมาน เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
خَيْرُكُمْ مَنْ تَعَلَّمَ القُرْآنَ وَعَلَّمَهُ.
“ผู้ที่ประเสริฐที่สุดในหมู่พวกท่านคือผู้ที่ศึกษาและทำการสอนอัลกุรอาน”
(บันทึกโดย อัลบุคอรีย์)
จากท่านอิบนุ มัสอูด เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
مَنْ قَرَأَ حَرْفًا مِنْ كِتَابِ اللَّهِ فَلَهُ بِهِ حَسَنَةٌ، وَالْحَسَنَةُ بِعَشْرِ أَمْثَالِهَا، لاَ أَقُولُ الم حَرْفٌ، وَلَكِنْ أَلِفٌ حَرْفٌ، وَلاَمٌ حَرْفٌ، وَمِيمٌ حَرْفٌ
“ผู้ใดที่อ่านอัลกุรอานหนึ่งตัวอักษรเขาจะได้รับหนึ่งความดีงาม โดยหนึ่งความดีงามนั้นจะเพิ่มทวีคูณเป็นสิบเท่า ฉันไม่ได้บอกว่า อลิฟ ลาม มีม เป็นหนึ่งอักษร แต่อลิฟ เป็นหนึ่งอักษร ลาม เป็นหนึ่งอักษร มีม ก็เป็นอีกหนึ่งอักษร”
(บันทึกโดย อัต-ติรมิซีย์)
จากท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮา ได้เล่าว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
المَاهِرُ بِالقُرْآنِ مَعَ السَّفَرَةِ الكِـَرامِ البَرَرَةِ، وَالَّذِي يَـقْرَأُ القُرْآنَ وَيَتَتَعْتَعُ فِيهِ، وَهُوَ عَلَيهِ شَاقٌّ، لَـهُ أَجْرَانِ..
“ผู้ที่ชำนาญในการอ่านอัลกุรอานนั้นจะอยู่ร่วมกับมลาอิกะฮฺผู้จดบันทึกอีกทั้งมีเกียรติ และผู้ที่อ่านอัลกุรอานอย่างตะกุกตะกัก (ไม่คล่อง) แต่เขาก็พยามยามอ่าน เขาจะได้สองผลบุญ”
(บันทึกโดย อัล-บุคอรียฺมุสลิม)
ตำแหน่งการท่องจำอัลกุรอาน
มีรายงานยืนยันว่าท่านเราะซูล ให้สถานะกับเศาะฮาบะฮฺแตกต่างกันอันเนื่องจากการท่องจำอัลกุรอาน เมื่อท่านแต่งตั้งใครให้ทำภารกิจใดภารกิจหนึ่ง
ท่านจะกล่าวว่า “จงให้คนที่ท่องจำอัลกุรอานมากที่สุดเป็นอิหม่ามนำ”
(บันทึกโดยบุคอรียฺ)
เทคนิค การเลี้ยงลูกให้รักอัลกุรอาน
ทบทวนอัลกุรอานที่ลูกท่องจำได้ วัย ๒-๕ ขวบ เป็นวัยที่จำได้ดี ลูกจะจำอัลกุรอานที่ได้ฟังจากเทป ยูทูป ทุกวันได้ ทุกวันก่อนนอนหรือเวลาใดที่สะดวกควรให้ลูกได้ทบทวน ท่องจำอัลกุรอานที่จำได้ วันละหนึ่ง ซูเราะฮฺ สั้นๆที่ไว้อ่านในละหมาดก็ได้
♣ สมควรที่พ่อแม่ จะต้องอ่านกรุอ่านต่อหน้าลูกๆ อ่านในขณะที่เล่นกับลูก ในบ้าน ตอนขับรถ
♣ มอบของขวัญแก่ลูก คือ มอบอัลกรุอ่านให้ เพื่อให้เขานั้นมีความรู้สึกเป็นเจ้าของสิ่งนั้น
♣ ส่งเสริมให้ลูกไปเรียนอัลกรุอ่าน ตามมัสยิด โรงเรียนที่มีการเรียนการสอนกรุอ่าน
♣ สนับสนุนให้ลูกนั้นเข้าประกวดแข่งขันทดสอบท่องจำอัลกรุอ่าน ตามเวทีต่างๆ ละแวกใกล้เคียง ในโรงเรียน หมู่บ้าน งานมัสยิด
♣ อัดเสียงตอนเขาอ่าน เพื่อทำการ ปรับปรุงแก้ไข้ในเรื่องการออกเสียง ตัวอักษรอย่างถูกต้อง ตามกฎของการอ่าน
♣ พ่อแม่ควรส่งเสริมให้ลูกฝึกเป็นอิม่ามนำละหมาด เช่น เริ่มต้นการนำละหมาดที่บ้าน ต่อมา ที่มัสยิด
♣ พ่อแม่ พยายามถามลูกในคำถามเกี่ยวข้องกับอัลกรุอ่าน ในคำถามง่ายๆสำหรับเขา เช่น อัลกรุอ่าน คือ คำพูดของใคร อ่านกรุอ่านแล้วจะได้รับภาคผลเท่าไร เป็นต้น
♣ พ่อแม่ควรจะเล่าเรื่องราวใน อัลกรุอ่านให้ลูกๆฟัง เช่น จากซูเราะสั้น เรื่องราวของกองทัพช้าง เพราะเด็กๆชอบเรื่องราว
♣ พ่อแม่ควรให้รางวัลแก่ลูกที่ท่องจำและอ่านได้ถูกต้อง ตั้งใจอ่าน และให้รางวัลคนที่ท่องจำอัลกุรอานด้วย รางวัลอาจจะเป็นสิทธิพิเศษ หรือการกระทำในสิ่งที่ลูกชอบ การกอด การชมเชย หรือการพาไปเที่ยว หรือสิ่งที่ได้ตกลงกัน แต่ไม่ควรให้ในสิ่งที่มีราคาแพง
วิธีการท่องจำ
กุญแจสำหรับพ่อแม่จะช่วยให้ลูกๆนั้นรัก อัลกรุอ่าน
♥ พ่อแม่จะต้องให้เกียรติแก่บรรดาลูกๆ เพราะเด็กส่วนใหญ่สามารถที่จะนั่งในระยะเวลานาน คือ เด็กมักจะซนอยู่ไม่นิ่ง ปล่อยให้เด็กเล่นบ้าง ท่องบ้าง เพื่อจะให้การสอนนั้นเป็นไปตามธรรมชาติของเด็ก
♥ พ่อแม่ หรือครูผู้สอน จะต้อง มอบแรงจูงใจแก่เด็กๆ เช่น ใครท่องสามอายะนี้ได้ ครูจะมอบขนมให้ ให้เงิน สิบบาทเป็นรางวัล
♥ พ่อแม่หรือครูจะต้องบอกความหมายที่เป็นใจความสำคัญของ อายะนั้นๆ เพื่อง่ายต่อการท่องจำของเด็ก เช่น อธิบายเรื่อง ลักษณะของอัลลอฮฺ ควรจะท่องจำซูเราะ อัลอิคลาส
♥ พยายามอย่า ทำการขมขู่ หากว่าเด็กนั้นไม่สามารถท่องจำได้ โดยการหาวิธีปลอบใจเด็กแทนการลงโทษ
♥ ควรสร้างบรรยากาศการแข่งขันภายในห้องเรียน ในบ้าน หรือมัสยิด
♥ สำหรับเด็ก การลงโทษถือว่าเป็นที่น่าหวาดกลัว การลงโทษด้วยการแสดงสีหน้าให้รู้ว่ารู้สึกโกรธถือว่าเป็นการเพียงพอแล้วสำหรับเด็ก
♥ หากว่าเด็กไม่สามารถท่องจำได้ ครูจะต้องสอบถาม สาเหตุของเด็กๆ ว่าทำไม่ไม่ท่องหรือ ท่องไม่ได้
♥ พ่อแม่ ควรจะสอนลูกน้อยอ่านให้ถูกต้อง ด้วยการเริ่มต้นบทสั้นๆ เช่น สูเราะห์ อัลเกาซัร และ อัลอิคลาส
♥ พยายามให้ลูกฝึกอ่านเป็นประจำ เมื่ออ่านได้ถูกต้องตามหลักการตัจญวีดแล้วแต่อาจยังไม่คล่อง ควรให้อ่านทุกวันตอนเช้าหลังศุบฮฺประมาณวันละ ๕-๑๐ นาที การอ่านอัลกุรอานเป็นทักษะที่ต้องฝึกฝนอยู่บ่อยๆ เพื่อให้สามารถอ่านได้อย่างถูกต้องและคล่องแคล่ว โดยการวางเงื่อน ไขว่า ถ้าลูกอ่านแล้ว พ่อจะให้เล่น ให้ขนม หนึ่งห่อ
สื่อที่สำคัญ
♦ สถานที่ในการท่องจำ สอนเด็กๆ
♦ เวลาที่เหมาะสม หลังจากการเล่นของเด็กๆ
♦ ระวังการลงโทษทางร่างกาย
♦ คอมพิวเตอร์ คลิปวิดีโอ เครื่องเสียง ใช้ ไมโครโฟน การสื่อสารทันสมัย เหมาะกับเด็ก
♦ อย่าบังคับให้เด็กท่องก่อนอายุ 7 ขวบ
♦ เทคนิคหลากหลายรูปแบบในการนำเสนอ แก่เด็ก รูปภาพประกอบ ลวดลายสีสันต่างๆ