เป้าหมายสูงสุดของการอัตตัรบียะฮฺ
  จำนวนคนเข้าชม  8590


อัตตัรบียะฮฺ ในอิสลาม

อับดุลวาเฮด สุคนธา แปลเรียบเรียง

 

ความหมายการ (อัตตัรบียะฮฺ)

 

· تربية มาจากคำว่า ربى يربي (เราะบา ยุรบี) การดูแลและเลี้ยงดู อัลลอฮฺได้ตรัสว่า

 

قَالَ أَلَمْ نُرَبِّكَ فِينَا وَلِيداً وَلَبِثْتَ فِينَا مِنْ عُمُرِكَ سِنِينَ

 

     “ เขา(ฟิรเอาน์) กล่าวว่า เรามิได้เลี้ยงดูเจ้าเมื่อขณะเป็นเด็กอยู่กับพวกเราดอกหรือ? และเจ้าได้อยู่กับเราหลายปีในช่วงชีวิตของเจ้า

 (อัลกุรอาน สูเราะฮฺ อัชชุอารออฺ 26/18)

 

وَاخْفِضْ لَهُمَا جَنَاحَ الذُّلِّ مِنَ الرَّحْمَةِ وَقُل رَّبِّ ارْحَمْهُمَا كَمَا رَبَّيَانِي صَغِيراً

 

     “ และจงนอบน้อมแก่ท่านทั้งสอง ซึ่งการถ่อมตนเนื่องจากความเมตตา และจงกล่าวว่า 

     “ข้าแต่พระเจ้าของฉัน ทรงโปรดเมตตาแก่ท่านทั้งสองเช่นที่ทั้งสองได้เลี้ยงดูฉันเมื่อเยาว์วัย

 (อัลกุรอาน สูเราะห์ อัล-อิสรออฺ 17/24)

 

· التربية มาจากคำว่า رب يرب (ร็อบบะ ยะรุบบุ) หมายถึง การแก้ไขให้ดีขึ้น การสั่งสอน การปกครองดูแล อัลกุรอาน ได้ให้ความหมายการดูแลสั่งสอน ในอายัตต่างๆ เช่น

 

وَعَلَّمَ آدَمَ الأَسْمَاء كُلَّهَا ثُمَّ عَرَضَهُمْ عَلَى الْمَلاَئِكَةِ فَقَالَ أَنبِئُونِي بِأَسْمَاء هَـؤُلاء إِن كُنتُمْ صَادِقِينَ

 

     “ และพระองค์ได้ทรงสอนบรรดานามของทั้งปวงให้แก่อาดัม ภายหลังได้ทรงแสดงสิ่งเหล่านั้นแก่มะลาอิกะฮฺ แล้วตรัสว่า จงบอกบรรดาชื่อของสิ่งเหล่านั้นแก่ข้า หากพวกเจ้าเป็นผู้พูดจริง

 (อัลกุรอาน สูเราะห์ อัล-บะกอเราะฮฺ 2/32)

 

     อิมาม อัลบัยฎอวีย์ ได้กล่าวว่าอัตตัรบียะฮฺ คือ การนำสิ่งหนึ่งสิ่งใดสู่ความสมบูรณ์ของมัน จากลักษณะหนึ่ง สู่อีกลักษณะหนึ่ง

 

     อัร-รอฆิบ อัล-อัศฟาฮานีย์ ได้กล่าวว่าอัตตัรบียะฮฺ คือ การสร้างสิ่งใดสิ่งหนึ่งจากขั้นสู่อีกขั้นจนถึงขีดความสมบูรณ์

 

     ท่าน เชค มูฮัมหมัด กุฏุบ กล่าวว่าการศึกษา หมายถึง กระบวนการส่งเสริมและพัฒนาความสามารถและทักษะของบุคคลเพื่อตอบสนองความต้องการของชีวิตในทุกแง่ทุกมุม ร่างกาย สติปัญญา ภาษา พฤติกรรม สังคม และ ศาสนานำไปสู่กระบวนการสร้างบุคคลขั้นจนถึงขีดความสมบูรณ์

 

เป้าหมายสูงสุดของการอัตตัรบียะฮฺ

 

อัลลอฮฺทรงกล่าวว่า

 

﴿ وَمَا خَلَقْتُ الجِنَّ وَالإِنْسَ إِلَّا لِيَعْبُدُونِ الذاريات: 56

 

และข้ามิได้สร้างญินและมนุษย์มาเพื่ออื่นใด เว้นแต่เพื่อเคารพภักดีต่อข้า

 

   ♥ เป้าหมายสูงสุดของการมีอยู่ของมนุษย์นั้นคือ การรู้จักพระเจ้า นั้นคือ อัลลอฮฺ ตะอาลา

   ♥ หน้าที่ของผู้ถูกสร้าง(มนุษย์) คือ การรู้จักผู้ทรงสร้าง (อัลลอฮฺ)

   ♥ การเป็นบ่าว (มุสลิมที่ดี )ของอัลลอฮฺ ไม่ได้หมายความว่า จะต้องละหมาด บวช จ่ายซะกาต ทำฮัจญ์ อย่างเดียว แต่มันหมายถึง ทุกอย่างที่อัลลอฮฺทรงรัก และพอพระทัย จากคำพูด รวมทั้งการกระทำทั้งเปิดเผยและไม่เปิดเผย

 

     ท่านเชค อิสลาม อิบนุตัยมียะกล่าวว่าแท้จริงหัวใจของมนุษย์นั้นถูกสร้างมาเพื่อให้รักพระเจ้า

 

     บุคคลใดอยากเป็นบ่าวที่ดีของอัลลอฮฺ ต้องน้อมรับต่อคำบัญชาของพระองค์ทั้งหมดที่พระองค์ทรงพอพระทัย

 

﴿ سَمِعْنَا وَأَطَعْنَا غُفْرَانَكَ رَبَّنَا وَإِلَيْكَ المَصِيرُ [البقرة: 285.

 

     “และพวกเขาได้กล่าวว่า เราได้ยินแล้ว และได้ปฏิบัติตามแล้ว การอภัยโทษจากพระองค์เท่านั้นที่พวกเราปรารถนา โอ้พระเจ้าของพวกเรา! และยังพระองค์นั้น คือ การกลับไป

 

     จากท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺ นั่นคืออับดุรฺเราะหฺมาน อิบนุ ศ็อค์รฺ เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุ เล่าว่า: ฉันได้ยินท่านเราะสูลุลลอฮฺ กล่าวว่า

 

"مَا نَهَيْتُكُمْ عَنْهُ فَاجْتَنِبُوْهُ ، وَمَا أَمَرْتُكُمْ بِهِ فَأْتُوْا مِنْهُ مَا اسْتَطَعْتُمْ

 

     “สิ่งใดก็ตามที่ฉันได้ห้ามพวกท่าน ก็จงละเว้นเสีย และสิ่งใดก็ตามที่ฉันได้สั่งใช้ พวกท่านก็จงปฏิบัติเท่าที่พวกท่านมีความสามารถ

     แท้จริง สิ่งที่ทำให้ชนรุ่นก่อนพวกท่านต้องพินาศ คือการซักไซ้ของพวกเขาที่มากเกิน และการขัดแย้งกับบรรดานบีของพวกเขา

( หะดีษบันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ และมุสลิม)

 

เป้าหมายของการอัตตัรบียะฮฺ 

   ♣· เพื่อให้มนุษย์นั้นรู้จักอัลลอฮ์ ด้วยการทำอิบาดะ ด้วยใจอับบริสุทธิ๋

   ♣· เพื่อที่จะให้มนุษย์นั้นเป็นมุสลิมที่สมบูรณ์แบบ ในการเป็นแบบอย่างให้แก่ผู้อื่น ด้วยการเป็นบ่าวที่มีเกียรติ อัลลอฮฺ

   ♣· เพื่อที่จะให้มนุษย์นั้นเป็นบุคคล ที่คอยสร้างสรรค์สังคมให้น่าอยู่ด้วยการดำรงตนในกรอบของศาสนา และนำไปสู่การสร้างสังคมที่ดีงาม ตลอดจนประชาชาติอิสลาม

   ♣· เพื่อจะให้มนุษย์นั้นตอบสนองประโยชน์ทั้งโลกนี้และโลกหน้า ในด้านศาสนาและทางโลก

 

องค์ประกอบ การอัตตัรบียะฮฺ 

   ♣· วะฮีย์ คือ หลักคำสอนจากพระเจ้า นั้นคือ อัลกรุอ่านและ ซุนนะฮฺ

   ♣· แบบอย่างของบรรพชนรุ่นก่อน ศ่อฮาบะฮ์ ชาวสลัฟ ตาบีอีน

   ♣· บุคคล เป็นมุสลิม ทุกคน จะต้องรู้จักตัวเองเพื่อกำหนดให้ตัวเองใช้ชีวิตในสังคมนั้นๆ

   ♣· สังคมมุสลิม จะต้องเรียนรู้การเป็นอยู่ สภาพสังคม การเปลี่ยนแปลงในเรื่องต่างๆ เพื่อกำหนดเป้าหมายในการใช้ชีวิต

 

แขนงต่างๆของการอัตตัรบียะฮฺ

 

· ปลูกฝังหลักศรัทธาที่ถูกต้องเพื่อนำไปสู่การสร้างสังคมมุสลิมที่ดี

 

อัลลอฮฺ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ตรัสว่า

وَاعْتَصِمُوا بِحَبْلِ اللَّهِ جَمِيعًا وَلَا تَفَرَّقُوا ۚ 

และพวกเจ้าจงยึดสายเชือกของอัลลอฮฺไว้ให้มั่น และจงอย่าแตกแยกกัน

(อาละอิมรอน ส่วนต้นของอายะฮฺที่ 103)

 

· ปลูกฝัง อบรบสั่งสอนบุคคลนั้นมีให้มีมารยาทที่ดีงาม จากความชื่อสัตย์ มีอามานะ มีความบริสุทธิ์ใจ

 

          แท้จริงหากเราพิจารณาในมหาคำภีร์อัลกรุอ่านของโองการต่างๆ เราจะพบถึงคำสอนอันล้ำค่าอย่างมากมาย และโอวาทต่างๆบอกถึงมารยาทอันดีงามเพื่อยกฐานะของมนุษย์ให้มีเกียรติและขัดเขลาจิตใจให้สูงส่ง

 

     อัลลอฮฺทรงกล่าวว่า

 

وَإِنَّكَ لَعَلَى خُلُقٍ عَظِيمٍ القلم: 4 

และแท้จริงเจ้านั้น อยู่บนคุณธรรมอันยิ่งใหญ่

 

     ดังคำพูดของท่านนบี ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวไว้มีความว่า

 

إنما بعثت لأتمم مكارم الأخلاق 

แท้จริงแล้ว ฉันถูกส่งมาเพื่อสร้างความสมบูรณ์ให้กับมารยาทที่ดี” 

(รายงานโดยอะหฺมัด)

 

· สร้างเสริมการทำงานเป็นกลุ่ม ญามาอะฮ์ ในสังคมมุสลิมที่อาศัยอยู่ร่วมกัน เพื่อปลูกฝังในการทำงานและการรับผิดชอบ การสร้างความเป็นพี่น้องมุสลิมด้วยกันเอง

 

      ความเป็นพี่น้องคือ มิตรภาพที่ดีในสังคม พระองค์ ตรัสความว่า

 

﴿ إِنَّمَا ٱلمُؤمِنُونَ إِخوَة

แท้จริงบรรดาผู้ศรัทธานั้นเป็นพี่น้องกัน” 

(อัล-หุญุรอต: 10)

 

ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า

 

المُؤْمِنُ لِلْمُؤْمِنِ كَالْبُنْيَانِ يَشُدُّ بَعْضُهُ بَعْضًا

     “ความสัมพันธ์ระหว่างมุอ์มินผู้ศรัทธานั้น เปรียบได้ดังอาคารที่ต่างส่วนต่างเกื้อหนุนเสริมความแกร่งให้แก่กัน แล้วท่านก็สอดประสานนิ้วมือเข้าด้วยกัน

(บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ และมุสลิม)

 

ท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ เล่าว่า ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า

 

وَكُوْنُوْا عِبَادَ اللهِ إِخْوَانًا

และพวกท่านจงเป็นบ่าวของอัลลอฮฺที่มีความรักใคร่กลมเกลียวกัน” 

(บันทึกโดยมุสลิม)

 

· จะต้องเป็นบุคคลที่มี ทัศนคติที่ดี คิดบวกอยู่เสอม จะต้องพูดจานิ่มนวล อ่อนโยน จะต้องเป็นตัวอย่างให้แก่ผู้อื่น สั่งใช้ในความดีและห้ามปรามความชั่ว

 

สื่อในการอัตตัรบียะฮฺ

♣· แบบอย่างที่ดีงาม

♣· ข้อเตือนใจ ข้อคิด

♣· การเล่าเรื่อง

♣· ใช้เวลาว่าง ให้เป็นประโยชน์ และเหมาะสม

♣· การตักเตือน สื่อถึงรูปแบบ และบทลงโทษ