ต้นเหตุแห่งความเป็นศัตรูกัน
แปลเรียบเรียง อ.อาบีดีน พัสดุ
บรรดามุสลิมทั้งหลาย อิสลามได้เตือนให้ระวังจากการแข่งขันกันในการแสวงหาและสะสมทรัพย์สิน เพราะจะเป็นต้นเหตุแห่งความเป็นศัตรูกัน ความโกรธเคืองกัน และความพินาศย่อยยับ
อัลลอฮฺ ตรัสว่า
﴿ وَاعْلَمُوا أَنَّمَا أَمْوَالُكُمْ وَأَوْلَادُكُمْ فِتْنَةٌ وَأَنَّ اللَّهَ عِنْدَهُ أَجْرٌ عَظِيمٌ ﴾ [الأنفال: 28]
“และพึงรู้เถิดว่า แท้จริงทรัพย์สินของพวกเจ้า และลูกๆ ของพวกเจ้านั้น เป็นสิ่งทดสอบ ชนิดหนึ่งเท่านั้น และแท้จริงอัลลอฮฺนั้น ณ พระองค์มีรางวัลอันใหญ่หลวง”
ท่านนบี ศอลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
" مَا الفَقرَ أَخشَى عَلَيكُم وَلَكِنْ أَخشَى أَن تُبسَطَ الدُّنيَا عَلَيكُم كَمَا بُسِطَت عَلَى مَن كَانَ قَبلَكُم فَتَنَافَسُوهَا كَمَا تَنَافَسُوهَا فَتُهلِكَكُم كَمَا أَهلَكَتهُم " رَوَاهُ البُخَارِيُّ وَمُسلِمٌ
“สิ่งที่ฉันกลัวที่สุดว่ามันจะมาประสบกับพวกท่านมิใช่ความยากจน แต่ว่าสิ่งที่ฉันกลัวที่สุดคือ
การที่ดุนยาจะถูกทำให้กว้างขวางแก่พวกท่าน เสมือนกับที่มันได้เคยถูกทำให้กว้างขวางแก่บรรดาผู้ที่มาก่อน
แล้วพวกท่านต่างแข่งขันกันเหมือนกับที่พวกเขาได้แข่งขันกัน แล้วมันก็จะทำลายพวกท่านเหมือนกับที่เคยทำลายพวกเขามาแล้ว”
จากท่านอับดิ้ลลาฮฺ บิน อัมรฺ จากท่านร่อซูลุ้ลลอฮฺ ศอลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ท่านได้กล่าวว่า
" إِذَا فُتِحَت عَلَيكُم فَارِسُ وَالرُّومُ أَيُّ قَومٍ أَنتُم ؟ " قَالَ عَبدُالرَّحمَنِ بنُ عَوفٍ: نَقُولُ كَمَا أَمَرَنَا اللهُ. قَالَ رَسُولُ اللهِ – صَلَّى اللهُ عَلَيهِ وَسَلَّمَ -: " أَوْ غَيرَ ذَلِكَ، تَتَنَافَسُونَ ثُمَّ تَتَحَاسَدُونَ ثُمَّ تَتَدَابَرُونَ ثُمَّ تَتَبَاغَضُونَ أَوْ نَحوَ ذَلِكَ، ثُمَّ تَنطَلِقُونَ في مَسَاكِينِ المُهَاجِرِينَ فَتَجعَلُونَ بَعضَهُم عَلَى رِقَابِ بَعضٍ " رَوَاهُ مُسلِمٌ وَغَيرُهُ
“เมื่อฟาริสและโรมได้ถูกพิชิตโดยพวกท่าน พวกท่านจะเป็นกลุ่มชนใดกัน ?
ท่านอับดุรเราะฮฺมาน บิน เอาฟฺ กล่าวว่า เราจะเป็นดั่งที่อัลลอฮฺได้ทรงสั่งใช้แก่พวกเรา
ท่านร่อซู้ล ศอลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
“เรื่องราวจะไม่เป็นเช่นนั้น (หมายถึงไม่เป็นอย่างที่ท่านอับดุรเราะฮฺมันคิด) พวกเขาต่างแข่งขันกัน (ในเรื่องดุนยา) แล้วก็จะอิจฉาริษยากัน แล้วก็จะหันหลังให้กัน แล้วก็จะโกรธเกลียดซึ่งกันและกัน หรือในทำนองนั้น แล้วพวกท่านก็จะออกไปยังสถานที่พำนักของบรรดามุฮาญิรีน แล้วให้บางคนอยู่บนต้นคอของอีกบางคน”
ขอให้พวกเรายำเกรงต่ออัลลอฮฺ - ประชาชาติอิสลามทั้งหลาย - และขอให้พวกเราระวังจากการที่จะทำให้ผู้ที่มีทรัพย์สินมาก กลายเป็นมาตรวัดแห่งความมีหน้ามีตาและความสูงส่ง เพราะเหล่านั้นคือสิ่งที่บ่งบอกถึงความเสื่อมเสีย ความอธรรม และการละเมิด อัลลอฮฺ ตรัสว่า
﴿ وَقَالَ لَهُمْ نَبِيُّهُمْ إِنَّ اللَّهَ قَدْ بَعَثَ لَكُمْ طَالُوتَ مَلِكًا قَالُوا أَنَّى يَكُونُ لَهُ الْمُلْكُ عَلَيْنَا وَنَحْنُ أَحَقُّ بِالْمُلْكِ مِنْهُ وَلَمْ يُؤْتَ سَعَةً مِنَ الْمَالِ قَالَ إِنَّ اللَّهَ اصْطَفَاهُ عَلَيْكُمْ وَزَادَهُ بَسْطَةً فِي الْعِلْمِ وَالْجِسْمِ وَاللَّهُ يُؤْتِي مُلْكَهُ مَنْ يَشَاءُ وَاللَّهُ وَاسِعٌ عَلِيمٌ ﴾ [البقرة: 247]
“และนบีของพวกเขาก็กล่าวแก่พวกเขาว่า แท้จริงอัลลอฮฺได้ทรงส่งฏอลูตมาเป็นกษัตริย์แก่พวกท่านแล้ว
พวกเขากล่าวว่า เขาจะมีอำนาจเหนือพวกเราได้อย่างไร? ทั้ง ๆ ที่พวกเราเป็นผู้สมควรต่ออำนาจนั้นยิ่งกว่าเขา และทั้งเขาก็มิได้รับทรัพย์สมบัติอันกว้างขวาง
เขา (นะบีของเขา) กล่าวว่า อัลลอฮฺได้ทรงคัดเลือกเขาให้มีอำนาจเหนือพวกท่านแล้ว และได้ทรงเพิ่มให้แก่เขาอีก ซึ่งความกว้างขวางในความรู้และความสูงใหญ่ในร่างกาย และอัลลอฮฺนั้นจะทรงประทานอำนาจของพระองค์ให้แก่ผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์ และอัลลอฮฺเป็นผู้ทรงกว้างขวาง ผู้ทรงรอบรู้”
อัลลอฮฺ ตรัสว่า
﴿ إِنَّ قَارُونَ كَانَ مِن قَومِ مُوسَى فَبَغَى عَلَيهِم وَآتَينَاهُ مِنَ الكُنُوزِ مَا إِنَّ مَفَاتِحَهُ لَتَنُوءُ بِالعُصبَةِ أُولي القُوَّةِ إِذ قَالَ لَهُ قَومُهُ لا تَفرَحْ إِنَّ اللهَ لا يُحِبُّ الفَرِحِينَ *
وَابتَغِ فِيمَا آتَاكَ اللهُ الدَّارَ الآخِرَةَ وَلا تَنسَ نَصِيبَكَ مِنَ الدُّنيَا وَأَحسِنْ كَمَا أَحسَنَ اللهُ إِلَيكَ وَلا تَبغِ الفَسَادَ في الأَرضِ إِنَّ اللهَ لا يُحِبُّ المُفسِدِينَ *
قَالَ إِنَّمَا أُوتِيتُهُ عَلَى عِلمٍ عِندِي أَوَلم يَعلَمْ أَنَّ اللهَ قَد أَهلَكَ مِن قَبلِهِ مِنَ القُرُونِ مَن هُوَ أَشَدُّ مِنهُ قُوَّةً وَأَكثَرُ جَمعًا وَلا يُسأَلُ عَن ذُنُوبِهِمُ المُجرِمُونَ *
فَخَرَجَ عَلَى قَومِهِ في زِينَتِهِ قَالَ الَّذِينَ يُرِيدُونَ الحَيَاةَ الدُّنيَا يَا لَيتَ لَنَا مِثلَ مَا أُوتيَ قَارُونُ إِنَّهُ لَذُو حَظٍّ عَظِيمٍ *
وَقَالَ الَّذِينَ أُوتُوا العِلمَ وَيلَكُم ثَوَابُ اللهِ خَيرٌ لِمَن آمَنَ وَعَمِلَ صَالِحًا وَلا يُلَقَّاهَا إِلاَّ الصَّابِرُونَ *
فَخَسَفنَا بِهِ وَبِدَارِهِ الأَرضَ فَمَا كَانَ لَهُ مِن فِئَةٍ يَنصُرُونَهُ مِن دُونِ اللهِ وَمَا كَانَ مِنَ المُنتَصِرِينَ *
وَأَصبَحَ الَّذِينَ تَمَنَّوا مَكَانَهُ بِالأَمسِ يَقُولُونَ وَيكَأَنَّ اللهَ يَبسُطُ الرِّزقَ لِمَن يَشَاءُ مِن عِبَادِهِ وَيَقدِرُ لَولا أَن مَنَّ اللهُ عَلَينَا لَخَسَفَ بِنَا وَيكَأَنَّهُ لا يُفلِحُ الكَافِرُونَ. تِلكَ الدَّارُ الآخِرَةُ نَجعَلُهَا لِلَّذِينَ لا يُرِيدُونَ عُلُوًّا في الأَرضِ وَلا فَسَادًا وَالعَاقِبَةُ لِلمُتَّقِينَ ﴾ [القصص: 76، 83]
“แท้จริงกอรูนมาจากพวกพ้องของมูซา เขาได้กดขี่ต่อพวกเขา และเราได้ประทานทรัพย์สมบัติมากมายแก่เขา จนกระทั่งลูกกุญแจทั้งหลายของมันนั้น เมื่อคนแข็งแรงกลุ่มหนึ่งยกแบกด้วยความยากลำบาก เมื่อพวกพ้องของเขากล่าวแก่เขาว่า อย่าได้หยิ่งผยอง เพราะแท้จริงอัลลอฮฺไม่ทรงโปรดบรรดาผู้หยิ่งผยอง”
“และจงแสวงหาสิ่งที่อัลลอฮฺได้ประทานแก่เจ้าเพื่อปรโลก และอย่าลืมส่วนของเจ้าแห่งโลกนี้ และจงทำความดี เสมือนกับที่อัลลอฮฺได้ทรงทำความดีแก่เจ้า และอย่าแสวงหาความเสียหายในแผ่นดิน แท้จริง อัลลอฮฺไม่ทรงโปรดปรานบรรดาผู้บ่อนทำลาย”
“เขา (กอรูน) กล่าวว่า ฉันได้รับมันเพราะความรู้ของฉัน ก็เขา (กอรูน) ไม่รู้ดอกหรือว่าแน่นอน อัลลอฮฺได้ทรงทำลายผู้ที่มีพลังยิ่งกว่าและมีพรรคพวกมากกว่า ก่อนหน้าเขาในศตวรรษก่อน ๆ และบรรดาผู้กระทำความผิด จะไม่ถูกสอบถามเกี่ยวกับความผิดต่าง ๆ ของพวกเขาดอกหรือ ! ”
“ดังนั้น เขาได้ออกไปหาพวกพ้องของเขาด้วยเครื่องประดับอย่างโอ่อ่าของเขา บรรดาผู้ปารถนาชีวิตแห่งโลกนี้ กล่าวว่า โอ้ หากเราได้มีเช่นที่กอรูนได้ถูกประทานมา แท้จริงเขาเป็นผู้มีโชควาสนายิ่งใหญ่จริง ๆ”
“และบรรดาผู้ได้รับความรู้ กล่าวว่า ความวิบัติแด่พวกท่าน ผลบุญแห่งอัลลอฮฺนั้นดีกว่าแก่ผู้ศรัทธาและกระทำความดี และไม่มีผู้ใดได้รับมันนอกจากบรรดาผู้อดทนเท่านั้น”
“ดังนั้น เราจึงให้ธรณีสูบเขาและเคหะสถานของเขา สำหรับเขาไม่มีผู้ใดจะช่วยเหลือเขาได้นอกจากอัลลอฮฺ และเขาก็มิใช่เป็นผู้ช่วยเหลือตนเองได้”
“และบรรดาผู้อยากมีฐานะเยี่ยงเขาเมื่อวานนี้ จะกล่าวในวันพรุ่งนี้ว่า พึงทราบเถิด เป็นที่แน่นอนว่าอัลลอฮฺนั้นทรงให้กว้างขวางและทรงให้คับแคบซึ่งเครื่องยังชีพ แก่ผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์ จากปวงบ่าวของพระองค์ หากมิใช่อัลลอฮฺทรงโปรดปรานแก่เรา แน่นอนพระองค์ก็จะทรงให้ (ธรณี) สูบเราลงไป พึงทราบเถิด แท้จริงบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาจะไม่ประสบชัยชนะ”
“นั่นคือที่พำนักแห่งปรโลก เราได้เตรียมมันไว้สำหรับบรรดาผู้ที่ไม่ปารถนาหยิ่งผยองในแผ่นดิน และไม่ก่อการเสียหาย และบันปลายย่อมเป็นของบรรดาผู้ยำเกรง”
เพราะฉะนั้น พึงระวังการมุ่งมั่นก้มหน้าก้มตารวบรวมทรัพย์และหลงลืมการรำลึกถึงอัลลอฮฺ เพราะมันคือความขาดทุน และบั้นปลายอันเลวร้าย
﴿ يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا لا تُلهِكُم أَموَالُكُم وَلا أَولادُكُم عَن ذِكرِ اللهِ وَمَن يَفعَلْ ذَلِكَ فَأُولَئِكَ هُمُ الخَاسِرُونَ ﴾
“โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย อย่าให้ทรัพย์สินของพวกเจ้าและลูกหลานของพวกเจ้าหันเหพวกเจ้าจากการรำลึกถึงอัลลอฮฺ และผู้ใดกระทำเช่นนั้นชนเหล่านั้นคือพวกที่ขาดทุน”
الخطبة الثانية
أَمَّا بَعدُ، فَاتَّقُوا اللهَ – تَعَالى – وَأَطِيعُوهُ وَلا تَعصُوهُ، وَاحمَدُوهُ وَاذكُرُوهُ، وَاشكُرُوهُ وَلا تَكفُرُوهُ.
“พวกท่านทั้งหลายพึงยำเกรงต่ออัลลอฮฺ ตะอาลา เชื่อฟังและอย่าได้ฝ่าฝืน สรรเสริญและรำลึกถึงพระองค์อย่างสม่ำเสมอ , ขอบคุณพระองค์และอย่าได้ปฏิเสธ”
บ่าวของอัลลอฮฺทั้งหลาย ในอัลกุรอ่านและซุนนะฮฺของท่านศาสดาแห่งพระองค์นั้น มิได้ชมเชยผู้ที่ร่ำรวยเพียงเพราะความร่ำรวยของเขา และมิได้ตำหนิคนยากจนเพียงเพราะว่าพวกเขามีปัจจัยเพียงน้อยนิดเท่านั้น ในวันกิยามะฮฺทรัพย์สินและลูกหลานมิใช่สิ่งที่จะใช้ในการเข้าใกล้ชิดอัลลอฮฺ แต่ทว่า ตราชั่งแห่งความเหลื่อมล้ำกันคือ การงานที่ดีและความยำเกรง
อัลลอฮฺ ตรัสว่า
﴿ وَمَا أَموَالُكُم وَلا أَولادُكُم بِالَّتي تُقَرِّبُكُم عِندَنَا زُلفَى إِلاَّ مَن آمَنَ وَعَمِلَ صَالِحًا فَأُولَئِكَ لَهُم جَزَاءُ الضِّعفِ بما عَمِلُوا وَهُم في الغُرُفَاتِ آمِنُونَ ﴾
“และมิใช่ทรัพย์สินของพวกเจ้า และมิใช่ลูกหลานของพวกเจ้า ที่จะทำให้พวกเจ้าใกล้ชิดสนิทกับเรา นอกจากผู้ศรัทธาและกระทำความดี
ดังนั้นชนเหล่านั้นสำหรับพวกเขาจะได้รับการตอบแทนเป็นสองเท่า ตามที่พวกเขาได้กระทำไว้ และพวกเขาจะพำนักอยู่ในสวนสวรรค์อย่างผู้ปลอดภัย”
อัลลอฮฺ ตรัสว่า
-: ﴿ إِنَّ أَكرَمَكُم عِندَ اللهِ أَتقَاكُم ﴾.
“แท้จริงผู้ที่มีเกียรติยิ่งในหมู่พวกเจ้า ณ ที่อัลลอฮฺนั้น คือผู้ที่มีความยำเกรงยิ่งในหมู่พวกเจ้า”
คนร่ำรวยและคนยากจนที่เชื่อฟังอัลลอฮฺ มุอฺมินจะไม่ใส่ใจว่าใครจะมีความเหนือชั้นกว่า เพราะ คนรวยที่ขอบคุณ (อัลลอฮฺ) เขาจะได้รับการตอบแทน คนยากจนที่อดทน เขาก็จะได้รับการตอบแทน
บรรดานบี บรรดาร่อซู้ล และบรรดามุสลิมในยุคต้น มีทั้งผู้ที่ร่ำรวย อาทิเช่น นบีอิบรอฮีม นบีอัยยูบ นบีดาวู๊ด นบีสุไลมาน , ท่านอุสมานบินอัฟฟาน อับดุรเราะฮฺมานบินเอาฟฺ ต็อลหะฮฺ และท่านซุเบร ,
และมีบรรดาผู้ที่ยากจน , เช่น ท่านนบีอีซา บุตรของมัรยัม นบียะหฺยา บุตร ซะกะรี่ยา , ท่านอาลี บิน อบีตอลิบ , อบีซัร อัลฆิฟารี่ , มุซอับ บิน อุเมร , ซัลมาน อัลฟาริซี่ ,
และมีผู้ที่ประสบกับทั้งสองสภาพการณ์ บางช่วงก็ร่ำรวย บางช่วงก็ประสบกับความยากจนขัดสน เขาจึงมีทั้งความใจบุญของผู้ที่ร่ำรวย และความอดทนของผู้ที่ขัดสน และจากเขาเหล่านั้นคือ ท่านนบีมุฮัมมัด ศอลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม , ท่านอบูบักร และท่านอุมัร .
บ่าวของอัลลอฮฺทั้งหลาย ขอให้ท่านทั้งหลายพึงทราบเถิดว่า พระเจ้าของพวกท่านผู้ทรงสูงส่ง เมื่อพระองค์ทรงให้ริสกีอย่างกว้างขวางแก่บ่าวบางส่วนของพระองค์ ทรงให้พวกเขาร่ำรวยมีริสกีมาก ในขณะที่พระองค์ทรงให้อีกบางส่วนจากปวงบ่าวมีความคับแคบ ดำเนินชีวิตในสภาพยากจนมีน้อย พระองค์มิได้ประสงค์ที่จะให้คนร่ำรวยอวดเบ่งเหนือคนที่ยากจน ดูถูก เหยียดหยามพวกเขา ทว่าพระองค์ทรงประสงค์ที่จะให้พวกเขารับใช้กันและกัน
เมื่อบรรดาคนรวยต่างทำให้ทรัพย์ของพวกเขาเพิ่มพูน เฝ้าดูแลรักษามัน ต่อมาพวกเขาก็มอบส่วนหนึ่งจากทรัพย์เหล่านั้นให้แก่คนยากคนจนที่ทำงานรับใช้พวกเขา และผู้คนทั้งหมดคือผู้ที่ถูกบังเกิดให้ต้องรับความยากลำบาก ในความเป็นจริงพวกเขาทั้งหมดคือผู้ที่จะต้องแสวงหามิใช่ผู้ที่จะรับความสะดวกสบาย บรรดาผู้ที่ทำงานให้แก่คนร่ำรวยเพื่อแลกกับค่าจ้างจะเหนื่อยและยากลำบากมากไปกว่าบรรดาผู้ที่ร่ำรวย
ทว่าสำหรับทุกคนแล้ว หากเขาไม่เหนื่อยยากและขวนขวาย แน่นอนเขาก็จะไม่ได้รับในสิ่งที่เขาต้องการ และความหวังของเขาก็มิอาจเป็นจริงขึ้นมาได้ เพราะฉะนั้นจึงไม่มีความหมายใดๆ สำหรับคนรวยที่ดูถูกคนงานรับจ้าง และไม่มีเหตุผลใดที่บรรดาคนทำงานรับจ้างจะแสดงความเกลียดชังต่อคนที่ร่ำรวย
แต่ทว่าบรรดาคนร่ำรวยที่ได้รับการรับใช้ พวกเขาจำเป็นจะต้องขอบคุณพระเจ้าของพวกเขา ผู้ทรงประสงค์ให้บรรดาผู้ที่รับใช้พวกเขาเป็นผู้ที่อ่อนน้อมและไม่อวดใหญ่อวดโตเหนือพวกเขา และการที่จะต้องรีบเร่งในการจ่ายค่าแรงทำงาน และอย่าได้ทำให้บกพร่องในสิทฺธิที่พวกเขาจะต้องได้รับ
เช่นเดียวกัน บรรดาแรงงานก็จำเป็นที่จะต้องสรรเสริญอัลลอฮฺที่พระองค์ที่พระองค์ทรงให้มีผู้ที่รวบรวมและทำให้ทรัพย์เหล่านั้นเพิ่มพูน โดยส่วนหนึ่งจากทรัพย์เหล่านั้นจะถูกนำมาให้แก่พวกเขาเพื่อแลกเปลี่ยนกับความเหนี่อยยาก ฉะนั้นจงให้คำแนะนำและอย่าได้อิจฉาริษยา ทำงานให้ครบถ้วนสมบูรณ์และอย่าได้ฝ่าฝืนข้อปฏิบัติในการทำงาน
อัลลอฮฺ ตรัสว่า
﴿ أَهُم يَقسِمُونَ رَحمَةَ رَبِّكَ نَحنُ قَسَمنَا بَينَهُم مَعِيشَتَهُم في الحَيَاةِ الدُّنيَا وَرَفَعنَا بَعضَهُم فَوقَ بَعضٍ دَرَجَاتٍ لِيَتَّخِذَ بَعضُهُم بَعضًا سُخرِيًّا وَرَحمَةُ رَبِّكَ خَيرٌ مِمَّا يَجمَعُونَ ﴾
“พวกเขาเป็นผู้แบ่งปันความเมตตาแห่งพระเจ้าของเจ้ากระนั้นหรือ
เราต่างหากที่เป็นผู้จัดสรรการทำมาหากินของพวกเขา ระหว่างพวกเขาในการมีชีวิตอยู่ในโลกนี้
และเราได้เชิดชูบางคนในหมู่พวกเขาเหนือกว่าอีกบางคนหลายชั้น เพื่อบางคนในหมู่พวกเขาจะได้เอาอีกบางคนมาใช้งาน
และความเมตตาของพระเจ้าของเจ้านั้นดียิ่งกว่าที่พวกเขาสะสมไว้”
ที่มา : https://www.alukah.net/sharia/0/38111/
คุตบะห์วันศุกร์