ผู้เป็นเจ้าของทรัพย์สินที่แท้จริง
แปลเรียบเรียง อ.อาบีดีน พัสดุ
ฉันขอสั่งเสียแก่ท่านทั้งหลาย รวมถึงตัวฉันเอง ให้มีความยำเกรงต่ออัลลอฮฺ
﴿ فَاتَّقُوا اللَّهَ مَا اسْتَطَعْتُمْ وَاسْمَعُوا وَأَطِيعُوا وَأَنْفِقُوا خَيْرًا لِأَنْفُسِكُمْ وَمَنْ يُوقَ شُحَّ نَفْسِهِ فَأُولَئِكَ هُمُ الْمُفْلِحُونَ ﴾
“ดังนั้นจงยำเกรงอัลลอฮฺเถิด เท่าที่พวกเจ้ามีความสามารถ
และจงเชื่อฟังและปฏิบัติตาม และบริจาคเถิด เพราะเป็นการดียิ่งสำหรับตัวของพวกเจ้า
และผู้ใดถูกปกป้องให้พ้นจากความตระหนี่แห่งจิตใจของเขา ชนเหล่านั้นพวกเขาเป็นผู้ประสบความสำเร็จ”
พี่น้องทั้งหลาย โลกดุนยาที่เราอาศัยอยู่นี้นั้น ย่อมมีความหลากหลาย มีคนที่ร่ำรวยและคนยากจน คนที่มีเกียรติและคนที่ต่ำต้อย แต่สิ่งเหล่านี้แน่นอนมิใช่บทสรุปสุดท้าย และมิใช่มาตรวัดที่ละเอียดอ่อนที่จะสามารถวัดสัจธรรมความจริง รวมถึงบทสรุปของเรื่องราวทั้งหมดได้
ทว่ามันเป็นเพียงแค่ช่วงเวลาแห่งความสมดุล ชั่วคราว ไม่ถาวร ที่บางครั้งได้ปกคลุมและกั้นขวางสายตาจากสัจธรรม ก่อเกิดความสับสนในเรื่องราวและซ่อนเร้นซึ่งความจริง ต่อมาสิ่งต่างๆ เหล่านี้ก็จบสิ้นลงด้วยความรวดเร็ว ม่านที่ปิดกั้นได้ถูกเปิดออก และสิ่งที่ซ่อนเร้นก็จะถูกเปิดเผยออกมา เมื่อนั้นเอง บรรดาผู้ที่อดทนจะได้รับรางวัลของพวกเขาอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ รางวัลที่มิอาจคนานับได้ ส่วนบรรดาผู้ที่อธรรมก็จะได้รู้ว่าทางกลับอันใดที่พวกเขาจะกลับคืนสู่
พี่น้องผู้ศรัทธาได้เห็นบ่าวของอัลลอฮฺที่อยู่รายล้อมพวกเขา มีบรรดาผู้ที่ละเลยต่อสัญญาณแห่งอัลลอฮฺทั้งในด้านการสร้างและทางด้านบทบัญญัติ พวกเขาต่างไม่รับรู้ ต่างหลงลืม และต่างผินหลังให้ ทั้งๆที่มันมาจากพระองค์อัลลอฮฺ ผู้ทรงบังเกิดพวกเขา โดยที่สิ่งเหล่านั้น (สัญญาณแห่งอัลลอฮฺ) มีมาเพื่อเป็นระบอบการดำเนินชีวิต และเป็นหลักประกันความปลอดภัยสำหรับผู้ที่ดำเนินชีวิตอยู่บนกฎเกณฑ์ที่สมบูรณ์และชัดแจ้งนี้ โดยปราศจากความสับสนในสิ่งที่มีความชัดเจน
และจากสิ่งที่ก่อเกิดความเข้าใจที่ผิดพลาดและคลาดเคลื่อน , คือเรื่องราวของความเหลื่อมล้ำกันในระหว่างผู้คนเกี่ยวกับริสกีปัจจัยยังชีพ และส่วนแบ่งของพวกเขาในเรื่องทรัพย์ โดยพวกเขาได้ยึดเอาสิ่งเหล่านี้เป็นมาตฐานในการให้เกียรติและยกย่องผู้คน จนกระทั่งความรักและความโกรธเกลียดเป็นไปเพื่อทรัพย์ การใกล้ชิด การห่างเหิน การให้ และการปฏิเสธที่จะให้ จึงทำให้เกิดความสับสนในเรื่องต่าง ๆ และการหันห่างจากความถูกต้องที่ควรจะเป็น จึงจำเป็นที่จะต้องปรับเปลี่ยนความเข้าใจให้ถูกต้อง และนำเรื่องราวทั้งหลายกลับคืนสู่สถานะที่เหมาะสมของมัน
แท้จริงในอัลกุรอ่านและซุนนะฮฺ หากบรรดาผู้คนทั้งหลายได้พินิจพิจารณาและไตร่ตรอง แน่นอนพวกเขาจะเปลี่ยนมุมมองของพวกเขาที่มีต่อสิ่งที่พวกเขาครอบครอง ความคิดและความเชื่อต่างๆ ที่มีต่อทรัพย์สินทั้งในเรื่องที่หวงแหน และความรังเกียจอันมากมายที่อยู่ในหัวใจจะได้รับการเปลี่ยนแปลง และเขาก็จะสามารถที่จะจัดการกับเรื่องราวอันยุ่งยากและปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน อันเนื่องมาจากทรัพย์สินเหล่านั้น
﴿ وَلِلَّهِ مُلْكُ السَّمَاوَاتِ وَالْأَرْضِ وَمَا بَيْنَهُمَا يَخْلُقُ مَا يَشَاءُ وَاللَّهُ عَلَى كُلِّ شَيْءٍ قَدِيرٌ ﴾ [المائدة: 17]
“และอำนาจแห่งบรรดาชั้นฟ้าและแผ่นดิน และสิ่งที่อยู่ในระหว่างทั้งสองนั้นเป็นสิทธิของอัลลอฮฺเท่านั้น ทรงบังเกิดสิ่งที่พระองค์ทรงประสงค์และอัลลอฮฺนั้นทรงเดชานุภาพเหนือทุกสิ่งทุกอย่าง”
﴿ وَالَّذِينَ يَبْتَغُونَ الْكِتَابَ مِمَّا مَلَكَتْ أَيْمَانُكُمْ فَكَاتِبُوهُمْ إِنْ عَلِمْتُمْ فِيهِمْ خَيْرًا وَآتُوهُمْ مِنْ مَالِ اللَّهِ الَّذِي آتَاكُمْ ﴾ [النور: 33]
“และบรรดาผู้ที่ต้องการจะไถ่ตัวให้เป็นอิสระจากผู้ที่มือขวาของพวกเจ้าครอบครอง พวกท่านจงทำสัญญากับพวกเขา หากพวกเจ้ารู้ว่าเป็นการดีกับพวกเขา และจงบริจาคแก่พวกเขาซึ่งทรัพย์สมบัติของอัลลอฮฺ ที่พระองค์ทรงประทานให้แก่พวกเจ้า”
เพราะฉะนั้น ทรัพย์สิน คือ ทรัพย์สินของอัลลอฮฺ ผู้เป็นเจ้าของที่แท้จริง ส่วนที่บรรดาผู้คนได้ครอบครอง ทั้งหมดนั้นเป็นเพียงแค่ของฝากและความรับผิดชอบ ในฐานะตัวแทนในทรัพย์เท่านั้น พวกเขาไม่สามารถที่จะใช้จ่ายตามความปารถนาตามอำเภอใจ ทว่าเพื่อให้พวกเขาได้ใช้ประโยชน์และให้หมดไปโดยสอดคล้องกับบทบัญญัติที่ได้ถูกประทานลงมา ด้วยการแสวงหาที่สุจริต (ฮาล้าล) การลงทุนที่ฮาล้าล หลังจากนั้นก็คือการใช้จ่ายที่มีประโยชน์ และมอบให้แก่ผู้ที่มีสิทธิที่จะได้รับทรัพย์สินเหล่านั้น เพื่อให้ผลประโยชน์ของพวกเขา และผลประโยชน์ของชุมชน ได้เกิดเป็นจริงขึ้นมา และบรรลุถึงความผาสุก ตลอดจนผู้คนที่รายล้อมพวกเขาด้วย
อัลลอฮฺ ตรัสว่า
﴿ آمِنُوا بِاللَّهِ وَرَسُولِهِ وَأَنْفِقُوا مِمَّا جَعَلَكُمْ مُسْتَخْلَفِينَ فِيهِ فَالَّذِينَ آمَنُوا مِنْكُمْ وَأَنْفَقُوا لَهُمْ أَجْرٌ كَبِيرٌ ﴾ [الحديد: 7]
“พวกเจ้าจงศรัทธาต่ออัลลอฮฺ และรอซู้ลของพระองค์ และจงบริจาคในทางของอัลลอฮฺ จากสิ่งที่พระองค์ทรงทำให้พวกเจ้าเป็นตัวแทนของมัน ดังนั้น บรรดาผู้ศรัทธาและบรรดาผู้บริจาคในหมู่พวกเจ้านั้น สำหรับพวกเขาจะได้รับรางวัลอันยิ่งใหญ่”
สิ่งที่ปรากฏในโลกแห่งความโดดเดี่ยวในวันนี้ จากผลที่เกิดกับจิตใจในการแสวงหาทรัพย์ด้วยหนทางต่างๆที่ไม่ถูกต้องตามหลักการศาสนา หรือก่อให้เกิดความเดือดร้อนต่อผู้อื่นด้วยการครอบงำ หรือกีดกันซึ่งกันและกันจากการทำธุรกิจและการแสวงหาทรัพย์ การดูหมิ่นความเป็นมนุษย์ด้วยการไม่ให้สิทธิที่พวกเขาควรได้รับ หรือแนวทางแห่งการสุรุ่ยสุร่ายในทรัพย์ เหล่านี้นั้นทำให้รู้สึกได้ว่าเขาเหล่านั้นเสมือนมืดบอดและหูหนวกจากการรับรู้ว่า พวกเขาเป็นเพียงผู้ดูแลรับผิดชอบต่อของฝากที่มีราคา และเป็นหน้าที่อันสำคัญ แล้วพวกเขาก็ทำให้ของฝากเหล่านั้นเสียหาย และใช้สิ่งเหล่านั้นในการบ่อนทำลาย คำดำรัสของท่านนบี ศอลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม จึงเหมาะกับพวกเขา
-: "إِنَّ رِجَالاً يَتَخَوَّضُونَ في مَالِ اللهِ بِغَيرِ حَقٍّ، فَلَهُمُ النَّارُ يَومَ القِيَامَةِ" رَوَاهُ البُخَارِيُّ
“แท้จริง บรรดาผู้คนที่ไปเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินของอัลลอฮฺโดยไม่ชอบธรรมนั้น สำหรับพวกเขาในวันปรโลกแล้วคือไฟนรก”
การใช้จ่ายหรือเข้าไปเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินด้วยหนทางที่ไม่ชอบธรรม เหล่านี้จะไม่เกิดขึ้นเว้นแต่จากความคิดที่ว่า เขาคือเจ้าของทรัพย์ที่แท้จริง เพราะหากคิดว่าเขาเป็นเพียงผู้รับหน้าที่ดูแลในฐานะตัวแทนแล้วละก็ แน่นอนเขาจะพยายามอย่างสุดความสามารถในการควบคุมดูแล การเอารัดเอาเปรียบกันในระหว่างผู้คนย่อมจะน้อยลง และการก่อความเดือดร้อนบนหน้าแผ่นดินก็จะหมดไปอีกด้วย และโดยธรรมชาติของจิตใจมนุษย์ ย่อมเอนเอียงสู่ทรัพย์สินและชอบที่จะเก็บสะสมมัน
อัลลอฮฺ ตรัสว่า
﴿ زُيِّنَ لِلنَّاسِ حُبُّ الشَّهَوَاتِ مِنَ النِّسَاءِ وَالْبَنِينَ وَالْقَنَاطِيرِ الْمُقَنْطَرَةِ مِنَ الذَّهَبِ وَالْفِضَّةِ وَالْخَيْلِ الْمُسَوَّمَةِ وَالْأَنْعَامِ وَالْحَرْثِ ذَلِكَ مَتَاعُ الْحَيَاةِ الدُّنْيَا وَاللَّهُ عِنْدَهُ حُسْنُ الْمَآبِ ﴾ [آل عمران: 14]
“ได้ถูกทำให้สวยงาม (ลุ่มหลง) แก่มนุษย์ซึ่งความรักในบรรดาสิ่งที่เป็นเสน่ห์อันได้แก่ผู้หญิงและลูกชาย ทองและเงินอันมากมาย และม้าดี และปศุสัตว์ และไร่นา
นั่นเป็นสิ่งอำนวยประโยชน์ชั่วคราวในชีวิตความเป็นอยู่แห่งโลกนี้เท่านั้น และอัลลอฮฺนั้น ณ พระองค์ คือที่กลับอันสวยงาม”
และอัลลอฮฺทรงตรัสว่า
﴿وَتُحِبُّونَ الْمَالَ حُبًّا جَمًّا ﴾
“และพวกเจ้ารักสมบัติกันอย่างมากมาย”
﴿ وَإِنَّهُ لِحُبِّ الْخَيْرِ لَشَدِيدٌ ﴾ [العاديات: 8]
“และแท้จริงเขามีความหวงแหนเพราะรักในทรัพย์สมบัติ”
ท่านนบี ศอลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
"لَو أَنَّ لابنِ آدَمَ وَادِيًا مِن ذَهَبٍ أَحَبَّ أَن يَكُونَ لَهُ وَادِيَانِ، وَلَن يَملأَ فَاهُ إِلاَّ التُّرَابُ، وَيَتُوبُ اللهُ عَلَى مَن تَابَ" رَوَاهُ الشَّيخَانِ وَهَذَا لَفظُ البُخَارِيُّ.
“หากแม้นมนุษย์มีทองคำเต็มหนึ่งหุบเขา เขาก็ยังปรารถนาที่จะมีสองหุบเขา และไม่มีอะไรที่จะทำให้ปากของเขาเต็มได้นอกจากดิน และอัลลอฮฺทรงรับการกลับตัวของผู้ที่กลับตัว(เตาบะฮฺ)”
มนุษย์ทุกคนชื่นชอบทรัพย์สิน และจิตใจของทุกคนย่อมเอนเอียงสู่การสะสมทรัพย์ ไม่มีใครที่พึงพอใจหากสิทธิของเขาในทรัพย์ถูกทำให้ขาดตกบกพร่องไป เพราะฉะนั้นจากสิ่งที่ย้อนแย้งกับธรรมชาติแห่งความเป็นมนุษย์ที่อัลลอฮฺทรงบังเกิดพวกเขาขึ้นมา ก่อนที่พวกเขาจะฝ่าฝืนบทบัญญัติของพระองค์ ก็คือการที่ผู้คนต่างอธรรม และดึงดันต่อกันในเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับสิทธิต่างๆ การที่คนรวยละเลยสิทธิของคนยากจน การล่าช้าของนายจ้างในการจ่ายค่าตอบแทนการทำงาน หรือแม้กระทั่งการละเมิดต่อกันในทรัพย์สิน ด้วยเหตุนี้เอง อิสลามจึงได้เน้นย้ำถึงความต้องห้ามของทรัพย์สิน และการล่วงละเมิดต่อทรัพย์
อัลลอฮฺ ตรัสว่า
﴿ يَاأَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا لَا تَأْكُلُوا أَمْوَالَكُمْ بَيْنَكُمْ بِالْبَاطِلِ إِلَّا أَنْ تَكُونَ تِجَارَةً عَنْ تَرَاضٍ مِنْكُمْ وَلَا تَقْتُلُوا أَنْفُسَكُمْ إِنَّ اللَّهَ كَانَ بِكُمْ رَحِيمًا ﴾ [النساء: 29]،
“ผู้ศรัทธาทั้งหลาย จงอย่ากินทรัพย์ของพวกเจ้า ในระหว่างพวกเจ้าโดยมิชอบ นอกจากมันจะเป็นการค้าขายที่เกิดจากความพอใจในหมู่พวกเจ้า และจงอย่าฆ่าตัวของพวกเจ้าเอง แท้จริงอัลลอฮฺเป็นผู้ทรงเมตตาต่อพวกเจ้าเสมอ”
﴿ وَلَا تَأْكُلُوا أَمْوَالَكُمْ بَيْنَكُمْ بِالْبَاطِلِ وَتُدْلُوا بِهَا إِلَى الْحُكَّامِ لِتَأْكُلُوا فَرِيقًا مِنْ أَمْوَالِ النَّاسِ بِالْإِثْمِ وَأَنْتُمْ تَعْلَمُونَ ﴾ [البقرة: 188]،
“และพวกเจ้าจงอย่ากินทรัพย์สมบัติของพวกเจ้า ระหว่างพวกเจ้าโดยมิชอบ และจงอย่าจ่ายมันให้แก่ผู้พิพากษา
เพื่อที่พวกเจ้าจะกินส่วนหนึ่งจากทรัพย์สมบัติของผู้อื่นด้วยการกระทำสิ่งที่เป็นบาป ทั้งๆที่พวกเจ้ารู้กันอยู่”
ท่านนบี ศอลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวในฮัจย์อำลาว่า
وَقَالَ – صَلَّى اللهُ عَلَيهِ وَسَلَّمَ – في حَجَّةِ الوَدَاعِ: "فَإِنَّ دِمَاءَكُم وَأَموَالَكُم وَأَعرَاضَكُم عَلَيكُم حَرَامٌ كَحُرمَةِ يَومِكُم هَذَا في بَلَدِكُم هَذَا في شَهرِكُم هَذَا" مُتَفَّقٌ عَلَيهِ،
“แท้จริงชีวิต ทรัพย์สิน และเกียรติของพวกท่านเป็นที่ต้องห้าม เฉกเช่นเดียวกัน วันนี้ เมืองนี้ และเดือนนี้ก็เป็นที่ต้องห้าม”
ท่านนบี ศอลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
وَقَالَ – عَلَيهِ الصَّلاةُ وَالسَّلامُ -: "مَنِ اقتَطَعَ أَرضًا ظَالِمًا لَقِيَ اللهَ وَهُوَ عَلَيهِ غَضبَانُ" رَوَاهُ مُسلِمٌ وَغَيرُهُ،
" فَقَالَ لَهُ رَجُلٌ: وَإِنْ كَانَ شَيئًا يَسِيرًا يَا رَسُولَ اللهِ ؟ فَقَالَ: " وَإِنْ كَانَ قَضِيبًا مِن أَرَاكٍ " رَوَاهُ مُسلِمٌ
“ผู้ใดตัดกรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยอธรรม เขาจะพบกับอัลลอฮฺในสภาพที่อัลลอฮฺทรงกริ้วโกรธ”
แล้วมีชายคนหนึ่งกล่าวขึ้นมาว่า “และถึงแม้จะเป็นเพียงเศษเสี้ยวเล็กน้อยกระนั้นหรือ? ท่านเราะสูลุลลอฮฺ”
ท่านกล่าวตอบว่า “และถึงแม้จะเป็นเพียงกิ่งไม้หนามก็ตาม”
ท่านนบี ศอลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้เข้มงวดอย่างมากในเรื่องหนี้สิน, ท่านไม่ละหมาดให้แก่ผู้ตายที่ยังมีภาระหนี้สิน (โดยที่ไม่มีผู้ใดรับชดใช้แทน) โดยเป็นการกระตุ้นเตือนให้ครอบครัวของผู้ตายชดใช้หนี้สินของผู้ตายให้ครบถ้วน และส่วนการสำทับอย่างหนักหน่วงและสำคัญ ได้มีต่อการละเมิดทรัพย์ของผู้ที่อ่อนแอ ไม่ว่าจะเป็นเด็กกำพร้า สตรี และคนงานรับจ้าง
อัลลอฮฺ ตรัสว่า
﴿ وَآتُوا الْيَتَامَى أَمْوَالَهُمْ وَلَا تَتَبَدَّلُوا الْخَبِيثَ بِالطَّيِّبِ وَلَا تَأْكُلُوا أَمْوَالَهُمْ إِلَى أَمْوَالِكُمْ إِنَّهُ كَانَ حُوبًا كَبِيرًا ﴾ [النساء: 2]
“และจงให้แก่บรรดาเด็กกำพร้า ซึ่งทรัพย์สมบัติของพวกเขา และจงอย่าเปลี่ยนเอาของเลวด้วยของดี
และจงอย่ากินทรัพย์ของพวกเขาร่วมกับทรัพย์ของพวกเจ้า แท้จริงมันเป็นบาปอันยิ่งใหญ่”
﴿ إِنَّ الَّذِينَ يَأْكُلُونَ أَمْوَالَ الْيَتَامَى ظُلْمًا إِنَّمَا يَأْكُلُونَ فِي بُطُونِهِمْ نَارًا وَسَيَصْلَوْنَ سَعِيرًا ﴾ [النساء: 10]
“แท้จริงบรรดาผู้ที่กินทรัพย์ของบรรดาเด็กกำพร้าด้วยความอธรรมนั้น แท้จริงพวกเขากินไฟเข้าไปในท้องของพวกเขาต่างหาก และพวกเขาก็จะเข้าสู่เปลวเพลิง”
ท่านนบี ศอลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
وَقَالَ – عَلَيهِ الصَّلاةُ وَالسَّلامُ -: " إِني أُحَرِّجُ حَقَّ الضَّعِيفَينِ: اليَتِيمُ وَالمَرأَةُ " رَوَاهُ أَحمَدُ وَغَيرُهُ وَحَسَّنَهُ الأَلبَانيُّ،
“แท้จริงฉันเป็นกังวลต่อสิทธิของผู้อ่อนแอทั้งสอง เด็กกำพร้าและสตรี”
และจากท่านอบีฮุรอยเราะฮฺ ร่อฏิฯ จากท่านนบี ศอลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า :
ثَلاثَةٌ أَنَا خَصمُهُم يَومَ القِيَامَةِ: رَجُلٌ أَعطَى بي ثم غَدَرَ، وَرَجُلٌ بَاعَ حُرًّا فَأَكَلَ ثَمنَهُ، وَرَجُلٌ استَأجَرَ أَجِيرًا فَاستَوفى مِنهُ وَلم يُعطِهِ أَجرَهُ " رَوَاهُ البُخَارِيُّ
อัลลอฮฺ ตรัสว่า : มีสามบุคคลที่ข้าคือคู่กรณีของพวกเขาในวันกิยามะฮฺ :
♦ คนที่ให้สัญญาต่อข้า ต่อมาเขาได้บิดพลิ้วสัญญา ,
♦ คนที่ขายอิสระชนคนหนึ่ง แล้วเขากินราคาของมัน ,
♦ คนที่ว่าจ้างคนงานคนหนึ่งให้ทำงาน แล้วเขาทำงานนั้นเสร็จ แต่เขา (ผู้ว่าจ้าง) กลับไม่ยอมจ่ายค่าจ้างให้กับคนงานนั้น”
ท่านร่อซู้ล ศอลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
أَعطُوا الأَجِيرَ أَجرَهُ قَبلَ أَن يَجِفَّ عَرَقُهُ " رَوَاهُ ابنُ مَاجَه وَصَحَّحَهُ الأَلبَانيُّ
“พวกท่านจงให้ค่าจ้างแก่คนงานรับจ้าง ก่อนที่เหงื่อของเขาจะแห้ง”
คุตบะฮ์วันศุกร์
ที่มา : https://www.alukah.net/sharia/0/38111/