การละหมาดญะนาซะฮฺจะวางศรีษะทางด้านไหนของอิหม่าม ?
แปลเรียบเรียง อ.อาบีดีน พัสดุ
มีญานาซะฮฺที่มัสยิด และเกิดประเด็นความเห็นไม่ตรงกันเล็กน้อยว่า จะวางศรีษะของผู้ตายทางด้านขวาหรือทางด้านซ้ายของอิหม่าม ขณะที่ทำการละหมาด (ญะนาซะฮฺ) ให้แก่เขา ?
ประการแรก
ซุนนะฮฺ (แนวทางของท่านนบี ซ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม) คืออิหม่ามยืนบริเวณศรีษะ (ผู้ตาย) ในการละหมาดญะนาะซะฮฺให้แก่ผู้ตายที่เป็นชาย , ส่วนผู้ตายที่เป็นหญิง ซุนนะฮฺ ให้ยืนบริเวณกลางลำตัวของนาง
ประการที่สอง
ในการวางศรีษะของผู้ตายในขณะที่ละหมาดให้แก่เขา ไม่ว่าจะวางด้านขวาของอิหม่ามหรือทางด้านซ้ายถือว่าเป็นที่อนุมัติ , เนื่องจากไม่มีตัวบทหลักฐานใดๆ มาเจาะจงด้านใดด้านหนึ่ง , และไม่มีข้อแตกต่างใดๆ ในเรื่องนี้ ไม่ว่าผู้ตายจะเป็นชายหรือหญิง
ได้มีปรากฏในหนังสือ " التاج والإكليل " (3/36) ซึ่งเป็นตำราของมัซฮับมาลิกี่ยะฮฺ
วางศรีษะของผู้ตายทางด้านขวาของอิหม่าม และหากวางในด้านที่ตรงกันข้าม , ท่านซะฮฺนูนและอิบนุ้ลกาซิม กล่าวว่า การละหมาดของพวกเขาถูกต้อง
♦ อิบนุรุชดฺ กล่าวว่า สำหรับในเรื่องดังกล่าวนี้เปิดกว้าง (ให้เลือกปฏิบัติได้) “ انتهى "
เชค อุซัยมีน ร่อฮิมะฮุลลอฮ์ ได้ถูกถามว่า การวางศรีษะของผู้ตายทางด้านขวาของอิหม่ามขณะที่ทำการละหมาดให้แก่เขา เป็นสิ่งที่มีระบุในบทบัญญัติใช่หรือไม่ ?
ท่านเชคตอบว่า
ฉันไม่เคยรู้มาก่อนเลยว่ามันคือซุนนะฮฺ , เพราะฉะนั้นแล้ว อิหม่ามที่ทำหน้าที่ละหมาดให้แก่ผู้ตาย สมควรที่จะวางศรีษะของผู้ตายทางด้านซ้ายของเขาในบางครั้ง เพื่อให้ผู้คนได้มีความเข้าใจว่า การวางศรีษะของผู้ตายทางด้านขวา (ของอิหม่าม) นั้น มิใช่เป็นวายิบ , เพราะผู้คนทั่วไปต่างมีความเชื่อว่าจำเป็นจะต้องวางศรีษะของผู้ตายทางด้านขวาของอิหม่าม , ซึ่งก็มิได้มีหลักฐานที่ระบุเอาไว้
انتهى من " مجموع الفتاوى
และท่านเชค ได้กล่าวไว้เช่นกันว่า
ไม่มีข้อแตกต่างใดๆ ในการวางศรีษะของผู้ตายทางด้านขวา หรือทางด้านซ้ายของอิหม่าม , ซึ่งสวนทางกับสิ่งที่ผู้คนโดยทั่วไปคิดไปว่าจำเป็น (ที่ศรีษะของผู้ตาย) จะต้องอยู่ทางด้านขวาของอิหม่าม
انتهى من "مجموع الفتاوى (17/101)
والله أعلم