มารยาทของการฏอวาฟ
  จำนวนคนเข้าชม  22994


มารยาทของการฏอวาฟ

 

อับดุลวาเฮด สุคนธา

 

          ฏอวาฟ (طواف) คือ การเดิน เวียนรอบกะอฺบะหฺเจ็ดครั้ง ในพิธีฮัจญ์ พิธีอุมเราะหฺ ถือได้ว่าเป็นบทบัญญัติของอิสลามตั้งแต่การสร้างกะบะฮฺสมัยท่านนบี อิบรอฮีม อะลัยอิสลาม

อัลลอฮฺ ตรัสว่า

 

وَعَهِدْنَا إِلَى إِبْرَاهِيمَ وَإِسْمَاعِيلَ أَنْ طَهِّرَا بَيْتِيَ لِلطَّائِفِينَ وَالْعَاكِفِينَ وَالرُّكَّعِ السُّجُودِ

 

     “และเราได้สั่งเสียแก่อิบรอฮีม และอิสมาอีลว่า เจ้าทั้งสองจงทำความสะอาดบ้านของข้าเพื่อบรรดาผู้ทำการเฎาะวาฟ และบรรดาผู้ทำการเอียะติกาฟ และบรรดาผู้ที่ทำรุกัวะและสุญูด

( ซูเราะห์อัล บะกอเราะห์ 125)

 

 มารยาทการฏอวาฟ 

 

♣- การรำลึกถึงอัลลอฮฺ ขณะฏอวาฟ

 

          การอ่านกรุอ่าน หรือ อ่านดุอาอฺต่างๆ เมื่อเดินมาถึงมุมเรียกว่า อัลยามานี(มุนก่อนถึงหินดำ) ท่านนบีจะกล่าวว่า

رَبَّنا آتِنا في الدُّنيا حَسَنَةً، وفي الآخِرَةِ حَسَنَةً وَقِنا عَذَابَ النّار

ร็อบ บะนา อะตีนา ฟิดดุนยา หะซะนะห์ วะ ฟิล อาคิเราะต์ หะซะนะห์ วะ กีนา อาดาบัล นาร

     “โอ้พระผู้เป็นเจ้าของพวกเรา โปรดประทานสิ่งดีงามให้แก่พวกเรา ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า และขอให้พ้นจากการลงโทษด้วยไฟนรกด้วยเทอญ แล้วอ่านซูเราะห์อื่นๆ ขออภัยโทษมากๆ

(บันทึกโดย อะบูดาวูด)

เป็นบทดุอาอฺที่ท่านจะอ่านบ่อยมาก

 

♣- ละทิ้งจากคำพูดไร้สาระ

 

ท่านนบี กล่าวว่า

( إِنَّمَا الطَّوَافُ صَلَاةٌ ، فَإِذَا طُفْتُمْ ، فَأَقِلُّوا الْكَلَامَ .)

แท้จริง การตอวาฟ เดินวนรอบนั้น คือการละหมาด เมื่อพวกท่านตอวาฟ จงพูดน้อยๆ

( นาซาอีย์ และอะหมัด)

 

♣- การจูบ และสัมผัสหินดำ และการสัมผัส มุมยะมานี (มุมก่อนถึงหินดำ)

 

          แท้จริงอัลลอฮ์ ตะอาลา มิทรงวางบทบัญญัติให้แก่บรรดามุสลิมในการที่เขาจะทำความใกล้ชิดพระองค์ ด้วยกับการจูบ หรือสัมผัสหินใดๆ นอกจากสองสถานที่นี้เท่านั้น ดังที่ได้มีคำพูดยืนยันของท่านอุมัร บิน ค็อฏฏ็อบ ร่อฏิยัลลอฮุอันฮู่ เมื่อท่านเข้าไปเพื่อที่จะจูบหินดำว่า

فَقَالَ إِنِّى أَعْلَمُ أَنَّكَ حَجَرٌ لا تَضُرُّ وَلا تَنْفَعُ وَلَوْلا أَنِّى رَأَيْتُ النَّبِى يُقَبِّلُكَ مَا قَبَّلْتُكَ

     "แท้จริงฉันรู้ว่าเจ้าคือก้อนหินธรรมดาก้อนหนึ่ง ไม่ให้โทษ ไม่ให้คุณ หากแม้นว่าฉันไม่เห็นว่าท่านร่อซูล จูบเจ้า ฉันก็จะไม่จูบเจ้า

(บุคครีย์ และ มุสลิม)

ท่านอิบนุอุมัร เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา ได้ยินท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า

إِنَّ اسْتِلَامَهُمَا يَحُطُّ الْخَطَايَا .

แท้จริง การสัมผัสมุมทั้งสองคือ มุมหินดำและ มุม อัลญามานีย์ จะลบล้างความผิด

( บันทึกโดย อะหมัด และติรมีซีย์)

          สำหรับคนเดินฏอวาฟระวังการเบียดเสียด แออัดในขณะจูบหินดำและการสัมผัสมุม ยามานี จงระวังการทำร้ายผู้อื่นในระหว่างการจูบหรือสัมผัส

 

♣- การครองอิหฺรอมแบบสไบเฉียง

 

          คือ การเปิดไหล่ข้างขวาโดยที่ให้ส่วนกลางผ้าอยู่ใต้รักแร้ข้างขวาและส่วนปลายผ้าทั้งสองอยู่บนไหล่ข้างซ้าย รายงานจาก ท่าน อะบี ยะลา บิน อุมัยยะกล่าวว่า

أَنَّ النَّبِيَّ صلّى الله عليه وسلّم طَافَ بِالْبَيْتِ مُضْطَبِعًا.

แท้จริง ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม ฏอวาฟ บัยตุลลอฮฺ ในครองอิหฺรอมแบบสไบเฉียง” 

(บันทึกโดยติรมีซีย์ อะบูดาวูด)

 

♣- การวิ่งเหยาะๆ ในขณะฎอวาฟ

 

          มีสุนนะฮฺ สำหรับคนทำการตอวาฟในการทำฮัจญ์และอุมเราะห์ให้วิ่งเหยาะๆ ในสามรอบแรกของการฎอวาฟ ท่านอิบนุ อับาส เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ในขณะที่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัมและบรรดาสาวกมาถึง มักกะฮฺ และ บรรดามุชรีกีน (เห็นสภาพมุสลิม อ่อนแรง ล่าช้า ) กล่าวว่า แท้จริง พวกเขานั้น ประสบอาการป่วยจากเมือง มาดีนะฮ์

فَأَمَرَهُمْ النَّبِيُّ صلّى الله عليه وسلّم أَنْ يَرْمُلُواالْأَشْوَاطَ الثَّلَاثَةَ وَأَنْ يَمْشُوا مَا بَيْنَ الرُّكْنَيْنِ وَلَمْ يَمْنَعْهُ أَنْ يَأْمُرَهُمْ أَنْ يَرْمُلُوا الْأَشْوَاطَ كُلَّهَا إِلَّا الْإِبْقَاءُ عَلَيْهِمْ.

     “ท่านนบี สั่งให้บรรดาสาวกนั้น ทำการวิ่งเหยาะๆใน สามรอบแรก และ เดินในช่วงระหว่าง (มุมหินดำกับ มุมยามานี) เป็นที่อนุญาตหากใครจะวิ่งเหยาะทั้งเจ็ดรอบ เว้นแต่บางส่วนของกลุ่มของพวกเขา

(บันทึก บุคอรีย์ มุสลิม)

ท่านอิบนุ อุมัร เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ

رَأَيْتُ رَسُولَ اللَّهِ صلّى الله عليه وسلّم حِينَ يَقْدَمُ مَكَّةَ إِذَا اسْتَلَمَ الرُّكْنَ الْأَسْوَدَ أَوَّلَ مَا يَطُوفُ يَخُبُّ ثَلَاثَةَ أَطْوَافٍ مِنْ السَّبْعِ.

     “ขณะที่ฉันเห็นท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม มาถึง นครมักกะฮฺ ท่านได้สัมผัสหินดำ ประการแรกเริ่มฎอวาฟ นั้นคือ การวิ่งเหยาะๆในสามรอบแรกจากการฎอวาฟทั้งเจ็ดรอบบันทึก

( บุคอรีย์ มุสลิม)

 

♣- ละหมาด2 ร็อกอะฮฺ หลังมะกอมอิบรอฮีม

 

     เมื่อฎอวาฟครบ 7 รอบ ให้ปิดไหล่ขวา และไปหลังมะกอม นบีอิบรอฮีม และให้กล่าว

وَاتَّخِذُوْا مِنْ مَقَامِ إِبْرَا هِيْمَ مُصَلّى (วัตตะคิซูมินอิบรอฮีมะมุศ็อลลา)

พวกท่านทั้งหลายจงยึดมะกอมนบีอิบรอฮีมเป็นที่ละหมาด

          ละหมาดหลังมะกอมอิบรอฮีม 2 ร็อกอะฮฺ หากมีความสะดวกหรือไม่ก็ที่ไหนก็ได้ในบริเวณมัสยิด ในร็อกอะฮฺแรกให้อ่าน "อัล-ฟาติหะฮฺ กับ อัล-กาฟิรูน" และในร็อกอะฮฺที่สองให้อ่าน "อัล-ฟาติหะฮฺ กับ อัล-อิคลาศ"

 

♣- ดื่มน้ำซัมซัม

 

          เมื่อฎอวาฟครบ 7 รอบ ละหมาด2 ร็อกอะฮฺ หลังมะกอมนบีอิบรอฮีม ส่งเสริมจะให้ดื่มน้ำซัมซัม จากท่านญาบีร เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ

أَنَّ النَّبِيَّ صلّى الله عليه وسلّم رَمَلَ ثَلَاثَةَ أَطْوَافٍ مِنْ الْحَجَرِ إِلَى الْحَجَرِ، وَصَلَّى رَكْعَتَيْنِ، ثُمَّ عَادَ إِلَى الْحَجَرِ، ثُمَّ ذَهَبَ إِلَى زَمْزَمَ فَشَرِبَ مِنْهَا، وَصَبَّ عَلَى رَأْسِهِ، ثُمَّ رَجَعَ، فَاسْتَلَمَ الرُّكْنَ

     “แท้จริงท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัมการวิ่งเหยาะๆในสามรอบแรกจากการฎอวาฟจากมุมหนึ่งไปยังอีกมุมหนึ่ง และ ละหมาด 2 ร็อกอะฮฺ ต่อมาไปยังหินดำ หลังจากนั้น ดื่มน้ำซัมซัม และราดน้ำบนศรีษะ หลังจากนั้น ท่านนบี กลับไปสัมผัสกับหินดำ

(บันทึกโดย อิมาม อะหมัด)

 

♣- สัมผัสหินดำ หลังจากละหมาด 2 ร็อกอะฮฺ

 

      จากท่านญาบีร เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ

ثُمَّ نَفَذَ إِلَى مَقَامِ إِبْرَاهِيمَ عليه السّلام، فَقَرَأَ:{ وَاتَّخِذُوا مِنْ مَقَامِ إِبْرَاهِيمَ مُصَلًّى }، فَجَعَلَ الْمَقَامَ بَيْنَهُ وَبَيْنَ الْبَيْتِ، فَكَانَ يَقْرَأُ فِي الرَّكْعَتَيْنِ:{ قُلْ هُوَ اللَّهُ أَحَدٌ }، وَ:{ قُلْ يَا أَيُّهَا الْكَافِرُونَ }، ثُمَّ رَجَعَ إِلَى الرُّكْنِ فَاسْتَلَمَه.

ท่านนบี เมื่อฎอวาฟครบ 7 รอบ แล้วจึงไปที่มะกอมนบีอิบรอฮีม และให้กล่าว

وَاتَّخِذُوْا مِنْ مَقَامِ إِبْرَا هِيْمَ مُصَلّى (วัตตะคิซูมินอิบรอฮีมะมุศ็อลลา)

พวกท่านทั้งหลายจงยึดมะกอมนบีอิบรอฮีมเป็นที่ละหมาด

     (ละหมาดหลังมะกอมอิบรอฮีม 2 ร็อกอะฮฺ) ทำให้มะกอมนั้นอยู่ระหว่างตัวของท่านนบี กับ กะบะฮฺ ในร็อกอะฮฺแรกให้อ่าน "อัล-ฟาติหะฮฺ กับ อัล-กาฟิรูน" และในร็อกอะฮฺที่สองให้อ่าน "อัล-ฟาติหะฮฺ กับ อัล-อิคลาศ ต่อมา ท่านนบี ไปสัมผัสกับหินดำ 

(บันทึกโดย มุสลิม)

 

บิดอะฮฺในการฎอวาฟ 

·♦ การเนียตฎอวาฟเพื่อคนนั้นคนนี้

· ขอความศิริมงคลต่อหินดำ จูบ ลูบคลำ

· ให้สลามก่อนอิม่ามในขณะละหมาดเพื่อไปจูบหินดำ

· อ่านดุอาอฺเจาะจงในการฎอวาฟแต่ละรอบ เช่น รอบที่หนึ่ง ต้องอ่านบทนี้ เท่านั้น

· การจูบ ลูบ สัมผัสทุกๆมุมของกะบะฮฺ

· การยกมือทั้งสองในขณะตรงกับหินดำเหมือนกับการยกมือทั้งสองในละหมาด สุนนะ ให้ยกมือเดียว

· การวางมือขวาไว้บนมือซ้ายในขณะฎอวาฟทำเหมือนในละหมาด

· ดุอาอฺตรงรางทอง

· เฉพาะเจาะจงทำการฎอวาฟในขณะฝนตก