วิธีสอนเด็กของท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม
แปลเรียบเรียง อับดุลวาเฮด สุคนธา
1. การขอดุอา
รายงานจากท่าน อิบนุอับบาส เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ว่า ท่านนบีเคยขอความคุ้มครองให้กับหลานของท่าน คือท่านฮะซันกับฮุเซน เพราะบิดาของเจ้าทั้งสองนั้นเคยขอให้กับลูกนั้นคือท่านนบีอิสมาอีลและอิสหาก
أَعُوذُ بِكَلِمَاتِ اللَّهِ التَّامَّةِ، مِنْ كُلِّ شَيْطَانٍ وَهَامَّةٍ، وَمِنْ كُلِّ عَيْنٍ لاَمَّةٍ
คำอ่าน “ อะอุซุ บิกะลิมาติลลาฮิตตามมาติ มิน กุลลิชัยฏอนิน วะฮามมะติน วะมินกุลลิอัยนิน ลามมะติน"
คำแปล “ ฉันขอความคุ้มครองให้แก่เจ้าด้วยถ้อยดำรัสของอัลลอฮฺอันสมบูรณ์ยิ่ง ให้พ้นจาก (การล่อลวงของ) ชัยฏอน, ให้พ้นจากสัตว์พิษ และให้พ้นจากทุกๆ สายตาที่ให้ร้าย (หรือสายตาที่อิจฉา)
(บันทึกโดยบุคอรีย์)
- ทำตะห์หนีก تحنيك และขอดุอาอ์ให้กับเด็ก
การทำตะห์หนีกก็คือ การป้ายของหวานในปากของเด็กเช่นอินทผลัมหรือน้ำผึ้ง ในตอนที่เขาคลอดใหม่ๆ โดยมีอัลหะดีษถึงเรื่องนี้ว่า จากท่านอบูมูซาได้กล่าวว่า
قَالَ وُلِدَ لِي غُلَامٌ فَأَتَيْتُ بِهِ النَّبِيَّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ فَسَمَّاهُ إِبْرَاهِيمَ فَحَنَّكَهُ بِتَمْرَةٍ وَدَعَا لَهُ بِالْبَرَكَةِ وَدَفَعَهُ إِلَيَّ
ฉันได้ลูกชายจึงพาเขาไปหาท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ท่านได้ตั้งชื่อเขาว่าอิบรอฮีม และท่านได้ทำตะหฺหนีกแก่เขาด้วยอินทผลัม และได้ขอดุอาอ์ให้มีความจำเริญแก่เขา จากนั้นก็ได้ส่งเขาคืนให้ฉัน
(รายงานโดยอัลบุคอรียฺ และมุสลิม)
- ขอดุอาอฺให้ลูกนั้นเข้าใจศาสนา
ท่านนะบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้ขอดุอาอ์ให้ท่านอับดุลลอฮ์ อิบนุ อับบาส ว่า :
اللَّهُمَّ فَقِّهْهُ فِي الدِّينِ وَعَلِّمْهُ التَّأْوِيلَ
“โอ้อัลลอฮ์ ขอพระองค์ทรงทำให้เขาเข้าใจในศาสนา และสอนเขาในการอธิบายอัลกุรอ่าน”
(อะหมัด , มุสนัด , มุสนัดอับดุลลอฮ์ อิบนุ อับบาส อิบนุ อับดุลมุฏฏอล็บ )
อีกสำนวนหนึ่ง: มีรายงานจากท่านอับดุลลอฮ์ อิบนุ อับบาส เล่าว่า : ท่านนะบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้อุ้มฉันและท่านได้ขอดุอาอ์ ว่า :
اللَّهُمَّ عَلِّمْهُ الْحِكْمَةَ
“โอ้อัลลอฮ์ ขอพระองค์ทรงสอนความรู้ (การอธิบายอัลกุรอ่าน) ให้แก่เขาด้วยเถิด”
(บันทึกโดยบุคอรีย์)
2. ตั้งชื่อที่ดี
ชื่อที่ตั้งตามชื่อของบรรดา นบี และเหล่าคนดี ทั้งชายและหญิงในหน้าประวัติศาสตร์ เพื่อหวังว่า จะมีผลต่อเด็กในแง่การยึดเป็นแบบฉบับ เช่น มุฮัมมัด ,อิบรอฮีม, อิสมาอีล, มูซา, อุมัร, อุษมาน, มัรยัม, เคาะดียะฮฺ, อาอีชะฮฺ, สุมัยยะฮฺ
ชื่อที่ให้ความหมายว่าเป็นบ่าวของอัลลอฮ์ ตะอาลา ดังที่ปรากฏในหะดีษว่า:จากท่านอิบนุ อุมัร
” أَحَبُّ الْأَسْمَاءِ إِلَى اللَّهِ تَعَالَى عَبْدُ اللَّهِ وَعَبْدُ الرَّحْمَنِ”
“ ชื่ออันเป็นที่รักยิ่งของอัลลอฮฺ ตะอาลา คืออับดุลลอฮฺ และอับดุรเราะหฺมาน “
(รายงานโดยมุสลิม อบูดาวูด อัตติรมีซียฺ และอิบนุมาญะฮฺ)
และเมื่อกิยาส (เปรียบเทียบ) แล้ว ถ้านำคำว่า อับดุล ไปประกอบเข้ากับพระนามอื่นๆ ที่งดงามของอัลลอฮฺ ตะอาลา ที่ไม่ได้กล่าวไว้ในหะดีษ ก็ถือว่าชื่อเหล่านั้นเป็นชื่อที่ดียิ่ง เช่น อับดุลฮาลีม , อับดุล ร่อซ๊าก , อับดุลกอดีร ฯลฯ
3. สอนให้ออกห่างจากสิ่งที่ต้องห้ามและชั่วร้ายต่างๆ
รายงานจากท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ว่า ท่านหะสัน บิน อาลี (หลานของท่านนบี) เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้หยิบผลอินทผลัมลูกหนึ่งที่มาจากการบริจาคทาน เอามาใส่ในปาก ท่านนบี ได้กล่าวว่า «كِخْ، كِخْ» (กิค กิค) เพื่อให้หะสันคายออกมา แล้วท่านนบี ก็กล่าวว่า
أَمَا شَعَرْتَ أَنَّا لَا نَأْكُلُ الصَّدَقَةَ
“เจ้าไม่รู้ดอกหรือว่าพวกเรา(นบีและวงค์วานของท่าน)นั้น ห้ามรับประทานสิ่งที่เป็นทานบริจาค”
(เศาะฮีหฺ อัล-บุคอรีย์)
- เวลาเริ่มเข้ามักริบ ควรจะห้ามเด็กไม่ให้ออกนอกบ้าน
เพราะมันเป็นเวลาที่ชัยฏอนจะออกมา ดังที่มีปรากฏในฮะดีส เวลากลางคืนเป็นเวลาที่ชัยฏอนพลุกพล่าน เพราะมันชอบความมืด ไม่ชอบแสงสว่าง -เราขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺให้พ้นจากการยุยงและการมาของชัยฏอนด้วยเถิด อามีน
ท่านร่อซู้ล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
لَا تُرْسِلُو صِبْيَانَكُمْ إِذَا غَابَتْ الشَّمْسُ حَتَّى تَذْهَبَ فَحْمَةُ الْعِشَاءِ ، فَإِنَّ الشَّيَاطِينَ تَنْبَعِثُ إِذَا غَابَتْ الشَّمْسُ حَتَّى تَذْهَبَ فَحْمَةُ الْعِشَاءِ
“ท่านทั้งหลายอย่าได้ปล่อยเด็กๆ ของพวกท่านออกมาขณะที่ดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า จนถึงต้นเวลาอิชาอฺ เพราะแท้จริง ชัยฏอนมันกำลังกรูกันออกมา”
(ฮะดีส บันทึกโดยอิมาม มุสลิม)
- อาซาน ทารกแรกเกิด
อาซานที่หูขวา และอิกอมะห์ที่หูซ้าย ภายหลังการคลอดของทารกเป็นซุนนะห์ที่ท่านนบีได้ปฏิบัติแก่เด็กทารกแรกเกิด จากท่านอบี ร่อเฟีย เล่าว่า
رَأَيْتُ رَسُولَ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ أَذَّنَ فِي أُذُنِ الْحَسَنِ بْنِ عَلِيٍّ حِينَ وَلَدَتْهُ فَاطِمَةُ بِالصَّلَاةِ .
“ฉันได้เห็นท่านศาสดามูฮัมหมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม อาซานที่หูของอัลฮุเซ็น บุตร อาลี ขณะที่ฟาติมะห์คลอดเขาออกมา”
(บันทึกโดยอบูดาวูดและติรมิซีย์)
- สอนดุอาอ์กุนูต (ในละหมาดวิเตร)
จากท่านฮะซัน บินอาลี ท่านนบี สอนแก่ฉัน สำนวนกล่าวในกุนูตว่า:
اللَّهُمَّ اهْدِنِي فِيمَنْ هَدَيْتَ ، وَعَافِنِي فِيمَنْ عَافَيْتَ ، وَتَوَلَّنِي فِيمَنْ تَوَلَّيْتَ ، وَبَارِكْ لِي فِيمَا أَعْطَيْتَ ، وَقِنِي شَرَّ مَا قَضَيْتَ ، فإِنَّكَ تَقْضِي وَلا يُقْضَى عَلَيْكَ ، وَإِنَّهُ لا يَذِلُّ مَنْ وَالَيْتَ ، وَلا يَعِزُّ مَنْ عَادَيْتَ ، تَبَارَكْتَ رَبَّنَا وَتَعَالَيْتَ
อ่านว่า : อัลลอฮุมมะฮ์ดินี ฟีมัน ฮะดัยต์ วะอาฟินี ฟีมัน อาฟัยต์ วะตะวัลละนีฟีมันตะวัลลัยต์ วะบาริกลีฟีมันอะอฺฏ็อยต์ วะกินีชัรร่อมาก่อฎ็อยต์ ฟะอินนะกะตักฎี วะลายุกฎออะลัยก์ ฟะอินนะฮูลายะซิลลุมันวาลัยต์ วะลายะอิซซุมันอาดัยต์ ตะบาร็อกต่า ร็อบบะนา วะตะอาลัยต์
ความว่า : โอ้ อัลลอฮฺ โปรดนำทางฉันให้อยู่ในกลุ่มผู้ที่พระองค์ทรงนำทาง โปรดปกป้องฉันให้อยู่ในกลุ่มผู้ที่พระองค์ทรงปกป้อง โปรดให้ความรักแก่ฉันให้อยู่ในกลุ่มที่พระองค์ทรงรักเขา โปรดให้ความจำเริญแก่ฉันในสิ่งที่พระองค์ประทานให้ โปรดปกป้องฉันให้พ้นจากความเลวร้ายที่พระองค์ทรงกำหนด เพราะพระองค์เป็นผู้กำหนด และไม่มีผู้ใดมากำหนดพระองค์ได้ เพราะผู้ที่พระองค์ทรงรักจะไม่ต่ำต้อย และผู้ที่ทรงเป็นศัตรูจะไม่ได้รับเกียรติ พระองค์ทรงจำเริญและทรงสูงส่ง โอ้พระผู้อภิบาลของเรา
(หะดีษ เศาะเฮียะห์ บันทึกโดยอบูดาวูด ติรมิซีย์ นะซาอีย์)
4. สอนการกล่าว “บิสมิลลาฮฺ” ก่อนรับประทานอาหารและการดื่ม
มีรายงานจากอัมร์ บิน สะละมะฮฺ เล่าว่า ท่านนบี ได้กล่าวกับอัมร์ว่า:
«يَا غُلامُ ، سَمِّ اللهَ وَكُلْ بِيَمِيْنِكَ ، وَكُلْ مِمَّا يَلِيْكَ»
“โอ้เด็กน้อยเอ๋ย จงกล่าวนามของอัลลอฮฺ และจงรับประทานด้วยมือขวา และรับประทานอาหารที่อยู่ถัดจากท่าน”
(อัล-บุคอรีย์ และมุสลิม)
5. สอนให้รู้จักอัลลอฮฺ และขอความคุ้มครองการช่วยเหลือจากอัลลอฮฺ
จากท่านอบู อัล-อับบาส อับดุลลอฮฺ อิบนุ อับบาส เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุมา เล่าว่า: “ในวันหนึ่งขณะที่ฉันนั่งอยู่ข้างหลังท่านนบี ﷺ ท่านก็ได้กล่าวกับฉันว่า:
" يَا غُلَامُ إِنِّيْ أُعَلِّمُكَ كَلِمَاتٍ : اِحْفَظِ اللهَ يَحْفَظْكَ ، اِحْفَظِ اللهَ تَجِدْهُ تُجَاهَكَ .إِذَا سَأَلْتَ فَاسْأَلِ اللهَ ، وَإِذَا اسْتَعَنْتَ فَاسْتَعِنْ بِاللهِ .
“โอ้เด็กน้อย ฉันจะสอนบางถ้อยคำแก่เจ้า: เจ้าจงพิทักษ์อัลลอฮฺ แล้วอัลลอฮฺจะพิทักษ์เจ้า เจ้าจงพิทักษ์อัลลอฮฺ แล้วเจ้าจะพบพระองค์อยู่เบื้องหน้า เมื่อเจ้าจะวิงวอนขอก็จงวิงวอนขอต่ออัลลอฮฺ และเมื่อเจ้าจะขอความช่วยเหลือก็จงขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮฺ”
(บันทึกโดยอัต-ติรมีซีย์ และท่านกล่าวว่า "หะดีษอยู่ในระดับหะสันเศาะหี้หฺ “)
6. สอนรู้จักการกล่าวสลามเมื่อเข้าบ้าน
อัลลอฮฺ ตรัสว่า
فَإِذَا دَخَلْتُمْ بُيُوتاً فَسَلِّمُوا عَلَى أَنْفُسِكُمْ تَحِيَّةً مِنْ عِنْدِ اللَّهِ مُبَارَكَةً طَيِّبَة النور / 61.
“เมื่อพวกเจ้าเข้าไปในบ้านก็จงกล่าวสลามให้แก่ตัวของพวกเจ้าเอง เป็นการคำนับอันจำเริญยิ่งจากอัลลอฮ์”
จากท่านอะนัส เราะฎิยัลลอฮฺอันฮฺ เล่าว่า: ท่านนบี ﷺ ท่านก็ได้กล่าวกับฉันว่า:
(يَا بُنَيَّ إِذَا دَخَلْتَ عَلَى أَهْلِكَ فَسَلِّمْ ، يَكُنْ بَرَكَةً عَلَيْكَ وَعَلَى أَهْلِ بَيْتِكَ)
“โอ้เด็กน้อย เมื่อลูกจะเข้าบ้าน ก็จงให้กล่าวสลาม เพราะสลามนั้นมีความศิริมงคลแก่ลูกและครอบครัวของลูกเอง”
( บันทึกติรมีซีย์)
ท่านเชคอุษัยมีน กล่าวว่า “เมื่อท่านจะเข้าบ้าน จงกล่าวสลาม คนที่อยู่ในบ้าน ไม่ว่าจะเป็น ครอบครัว เพื่อนๆ เพราะนี้คือซุนนะฮฺ”
7. สอนด้วยการเล่าเรื่อง
ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมเอง ก็ได้รับคำสั่งให้ใช้วิธีการดังกล่าว(ในการอบรมขัดเกลา)เช่นเดียวกัน ดังที่อัลลอฮฺ ตะอาลา ตรัสว่า
﴿فَاقْصُصِ الْقَصَصَ لَعَلَّهُمْ يَتَفَكَّرُونَ﴾
“ดังนั้น เจ้าจงเล่าเรื่องราวเหล่านั้นเถิด เพื่อว่าพวกเขาจะได้ใคร่ครวญ”
(สูเราะฮฺ อัลอะอฺรอฟ : 176)
เป็นเรื่องปกติที่เด็กๆนั้นชอบจะให้เล่าเรื่องต่างๆ สื่อที่ดียิ่งในการสอนและอบรมลูก นั้นคือการเล่าเรื่องราว เช่น ประวัติของบรรดานบี หรือ ประวัติบรรดาคนดีต่างๆ แทนจากการเล่า เรื่องผี หรือนิทานปรัมปราหลอกเด็ก
8. สอนลูกเมื่อมีพฤติกรรมที่ทำผิด ด้วยบอกการลงโทษ
ปรากฏว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จะมีความเกรี้ยวกราดต่อผู้ที่กระทำความผิด และจะลงโทษคนผู้นั้น จากท่านอับดุลลอฮฺ อิบนุอับบาส เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา ได้เล่าว่า
أَنَّ رَسُولَ اللهِ -صلى الله عليه وسلم- رَأَى خَاتَمًا مِنْ ذَهَبٍ فِى يَدِ رَجُلٍ فَنَزَعَهُ فَطَرَحَهُ وَقَالَ « يَعْمِدُ أَحَدُكُمْ إِلَى جَمْرَةٍ مِنْ نَارٍ فَيَجْعَلُهَا فِى يَدِهِ ». فَقِيلَ لِلرَّجُلِ بَعْدَ مَا
ذَهَبَ رَسُولُ اللَّهِ -صلى الله عليه وسلم- خُذْ خَاتَمَكَ انْتَفِعْ بِهِ. قَالَ لاَ وَاللَّهِ لاَ آخُذُهُ أَبَدًا وَقَدْ طَرَحَهُ رَسُولُ اللَّهِ -صلى الله عليه وسلم
“ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เห็นชายคนหนึ่งสวมแหวนทองคำที่นิ้วมือของเขา ท่านจึงถอดแหวนจากนิ้วมือของชายคนนั้น และขว้างทิ้งมันไป
แล้วท่านนบีก็ได้กล่าวว่าจะมีใครบ้างไหมในหมู่พวกเจ้าที่จะเอาถ่านไฟที่กำลังถูกเผาไหม้จากไฟนรกและถือมันไว้ในมือของเขา ?
ภายหลังจากที่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมได้จากไป ก็ได้มีบางคนแนะนำชายคนนั้นที่เป็นเจ้าของแหวนให้เอาแหวนไปขายเพื่อที่จะได้รับประโยชน์จากราคาของมัน
แต่ชายเจ้าของแหวนได้กล่าวตอบว่า “ ไม่ ขอสาบานต่ออัลลอฮฺ ฉันจะไม่มีวันนำแหวนนั้นกลับมาอีก ในเมื่อท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ขว้างมันทิ้งไปแล้ว”
(บันทึกโดยมุสลิม)
เมื่อพ่อแม่ เห็นลูกๆกระทำสิ่งที่ผิด หรือสิ่งที่ค้านกับหลักการของศาสนา หน้าที่สำคัญสำหรับพ่อแม่จะต้องตักเตือนด้วยการบอกถึงโทษในพฤติกรรมนั้น เพื่อให้ลูกๆรู้สึกกลัวและไม่กล้ากระทำอีก เมื่อเห็นเด็กๆ ร้องเพลง หรือ เต้นเมื่อได้ยินเสียงดนตรี หน้าที่พ่อแม่จะต้องเตือน ด้วยคำขู่ เช่น การร้องเพลง เป็นการกระทำที่อัลลอฮฺไม่รักนะลูก หรือ เป็นพฤติกรรมของชัยตอนนะครับลูก
9. สอนด้วยการปฏิบัติให้ลูกดู
ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เคยสั่งใช้ให้บรรดาเศาะหาบะฮ์มีความสุภาพอ่อนโยน และท่านเป็นแบบอย่างในเรื่องดังกล่าวด้วย ซึ่งครั้นเมื่ออายะฮฺนี้ถูกประทานลงมา
﴿يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آَمَنُوا لِمَ تَقُولُونَ مَا لَا تَفْعَلُونَ﴾
“โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย ทำไมพวกเจ้าจึงกล้าพูดในสิ่งที่พวกเจ้าไม่ปฏิบัติ”
(สูเราะฮฺอัศศอฟ : 2)
ช่างน่าแปลกในสังคมปัจจุบัน ที่พ่อแม่นั้นมักจะละเลยในการอบรมเลี้ยงดูบุตรหลาน สั่งสอนบุตรหลานในเรื่องที่ดีๆตามหลักคำสอนของศาสนาแต่ พ่อแม่เองกับปฏิบัติให้ลูกๆเห็นเป็นตัวอย่าง คือไม่ได้ปฏิบัติในสิ่งที่สอนลูก
♣ สอนลูกห้ามดูหนังฟังเพลง แต่ พ่อแม่กลับฟังเสียเอง
♣ สอนลูกให้ปกปิด แต่งกาย เรียบร้อย คลุมศรีษะ แต่แม่ ไม่คลุมศรีษะ พ่อสวมใส่กางเกงขาสั้น บางครั้งสิ่งที่เราพบเห็นในพฤติกรรมของพ่อแม่ชอบเคร่งครัดแต่งกายลูกตามระเบียบของโรงเรียน โดยเฉพาะโรงเรียนสอนศาสนา เช่น
♣ เวลาไปส่งลูก แม่ไม่คลุมศรีษะ แต่ลูกแต่งกายเรียบร้อย
♣ พ่อไปส่งลูกไปละหมาดที่มัสยิด แต่พ่อกลับมานอนที่บ้านไม่ไปมัสยิด
นี้คือสิ่งที่น่ากลัวในยุคสังคมปัจจุบันที่มันจะซึมสับในตัวของบุตรหลานโดยที่ท่านนั้นไม่รู้ตัว ในเมื่อว่าพ่อแม่ไม่ได้ปฏิบัติตามสิ่งที่สอนแก่ลูกๆๆๆ มันจะเป็นคำถาม สำหรับลูกขึ้นมาว่า แล้วทำไม แม่ทำได้ พ่อทำได้ คนนั้นฟังเพลงได้ คนนี้ ดูหนังได้
ตัวอย่าง รายงานจากท่าน อับดุลลอฮฺ บิน อามีร แท้จริง เขากล่าวว่า
دَعَتْنِي أُمِّي يَوْمًا وَرَسُولُ اللَّهِ عَلَيْهِ السَّلامُ قَاعِدًا فِي بَيْتِنَا، فَقَالَتْ : هَا أُعْطِيكَ، فَقَالَ لَهَا رَسُولُ اللَّهِ عَلَيْهِ السَّلامُ : " وَمَا أَرَدْتِ أَنْ تُعْطِيَهُ؟ "، قَالَتْ : أُعْطِيهِ تَمْرًا، قَالَ لَهَا رَسُولُ اللَّهِ عَلَيْهِ السَّلامُ : " أَمَا إِنَّكِ لَوْ لَمْ تُعْطِهِ شَيْئًا، كُتِبَتْ عَلَيْكِ كِذْبَةً
แม่ทิ้งฉันเอาไว้ในวันนั้น และขณะนั้นท่านนบี นั่งอยู่ในบ้านของเราด้วย โดยนางพูดว่า ฉันจะให้รางวัลแก่เจ้า(ลูก)
ท่านนบีกล่าวถามนางว่า เธอจะมอบสิ่งใดให้เขา(ลูก)
นางตอบว่า ฉันจะมอบอิทผาลัมให้เขา(ลูก)
ท่านนบีกล่าว กับนาง(แม่)ว่า หากเธอไม่ให้เขา(ลูก) เท่ากับว่า เธอนั้นโกหก ถูกบันทึกเป็นการโกหก
(บันทึก อะบูดาวูด)
หากว่า พ่อแม่ สัญญากับลูกๆเอาไว้ เป็นสิทธิที่ลูกๆ จะได้รับจากพ่อแม่ หากว่า พ่อแม่ผิดคำพูดที่เคยสัญญาเอาไว้ แน่นอนสิ่งนี้จะเป็นความทรงจำกับลูกและเวลาเราสอน เราบอกลูก เขาก็จะไม่เชื่อฟัง เพราะสาเหตุจากการผิดคำพูดนั้นเอง
วิธีการสอนลูก
- วันนี้หากลูกไปมัสยิด พ่อจะชื้อขนมให้หนึ่งถุง
- วันนี้หากลูกอ่านกรุอ่าน ซูเราะห์ กุลอุวัลอัลลอุอะฮัด พ่อจะให้เงินสิบบาท
หากพ่อผิดคำพูด ลูกจะไม่ไปมัสยิด หรือ จะไม่อ่านกรุอ่านอีกเลย
10. สอนให้เด็กรู้จัก สิทธิของตัวเอง
มีรายงานจากท่าน ซะลฺ บิน ซะฮฺ ว่า :
أُتِيَ بِشَرَابٍ فَشَرِبَ مِنْهُ، وَعَنْ يَمِينِهِ غُلَامٌ، وَعَنْ يَسَارِهِ الْأَشْيَاخُ، فَقَالَ لِلْغُلَامِ: "أَتَأْذَنُ لِي أَنْ أُعْطِيَ هَؤُلَاءِ؟ فَقَالَ الْغُلَامُ: "وَاللَّهِ يَا رَسُولَ اللَّهِ لَا أُوثِرُ بِنَصِيبِي مِنْكَ أَحَدًا" قَالَ: فأعطاه إياه
มีคนนำน้ำมาให้แก่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ โดยที่ด้านขวาของท่านมีเด็กน้อยอยู่ และที่ด้านขวามีศ่อฮาบะอาวุโสอยู่
ท่านเราะสูลุลลอฮฺ กล่าวกับเด็กน้อยว่า อนุญาตให้พวกพวกเขา(ดื่ม)ได้หรือไม่
เด็กน้อยว่า ตอบว่า ขอสาบานต่ออัลลอฮฺ ฉันจะไม่ยอมยกสิทธิของฉันให้แก่พวกเขา“ซึ่งที่ฉันได้รับจากท่านนบี และท่านนบีหยิบให้แก่เขา คือเด็กน้อยคนนั้น
(บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ และมุสลิม)
11. สอนด้วยความเอ็นดูเมตตาเด็ก
รายงานจากท่านอะนัส บิน มาลิก ซึ่งท่านเราะซูลได้แสดงความเมตตา และเล่นกับเด็ก ครั้งหนึ่งท่านได้พูดกับเด็กน้อยว่า
يَا أَبَا عُمَيْرٍ ، مَا فَعَلَ النُّغَيْرُ ؟ قَالَ : نُغَرٌ يَلْعَبُ بِهِ “โอ้เจ้าอุมัยรฺ นุเฆร มันทำอะไรให้”
อะบูอุมัยรฺ เป็นชื่อเล่นของเด็กเล็กคนหนึ่ง ซึ่งเด็กคนนั้น “นุเฆร” เป็นนกน้อยตัวหนึ่งลักษณะคล้ายนกกระจอก และนุเฆรตายเด็กน้อยก็เศร้าเสียใจมาก
(บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ และมุสลิม)
รายงานจากอบีก่อตาดะฮ์ อัลอันซอรีย์ เขากล่าวว่า
رَأَيْتُ النَّبِيَّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ يَؤُمُّ النَّاسَ وَأُمَامَةُ بِنْتُ أَبِي الْعَاصِ وَهِيَ ابْنَةُ زَيْنَبَ بِنْتِ النَّبِيِّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ عَلَى عَاتِقِهِ فَإِذَا رَكَعَ وَضَعَهَا وَإِذَا رَفَعَ مِنْ السُّجُودِ أَعَادَهَا
"ฉันได้เห็นท่านนบี กำลังเป็นอิมามนำละหมาดผู้คนทั้งหลาย โดย(หลานสาวของท่านนบีคือ)อุมามะฮ์ บุตรสาว อะบีลอาซฺ และเป็นบุตรสาวของท่านนางซัยนับ บุตรี ของท่านนบี ได้อยู่บนต้นคอของท่านนบี เมื่อท่านได้ก้มลงร่อกั๊วะ ท่านก็จะวางอุมามะฮ์ และเมื่อท่านขึ้นจากสุยูด ท่านก็หวนกลับเอาอุมามะฮ์(มาแบกไว้ที่ต้นคอ)"
(รายงานโดยบุคอรี และมุสลิม)
ส่งเสริมให้พ่อแม่นั้นพาลูกๆไปมัสยิดเพื่อจะพวกเขานั้นสัมผัสบรรยากาศการละหมาด เป็นการปลูกฝังที่ดี และการอุ้มเด็กนั้นเป็นสื่อหนึ่งที่บ่งบอกถึงความเอ็ดดูเมตตา
จากอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้จูบอัล-หะสัน บิน อะลี โดยมีอัล-อักเราะอฺ บินหาบิส อัลตะมีมีย์ นั่งอยู่ด้วย
:قَبَّلَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ الْحَسَنَ بْنَ عَلِىٍّ وَعِنْدَهُ الأَقْرَعُ بْنُ حَابِسٍ التَّمِيمِىُّ جَالِسًا . فَقَالَ الأَقْرَعُ إِنَّ لِي عَشَرَةً مِنَ الْوَلَدِ مَا قَبَّلْتُ مِنْهُمْ أَحَدًا . فَنَظَرَ إِلَيْهِ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ ثُمَّ قَالَ « مَنْ لاَ يَرْحَمُ لاَ يُرْحَمُ »
อัล-อักเราะอฺพูดขึ้นว่า “ฉันมีลูกสิบคน ซึ่งฉันไม่เคยจูบพวกเขาเลยแม้แต่คนเดียว”
ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิวะสัลลัม จึงจ้องมองไปที่เขา แล้วกล่าวว่า “ผู้ใดไม่ปรานี (ต่อผู้อื่น) เขาก็จะไม่ได้รับการปรานี(จากอัลลอฮฺ)”
(บุคอรีย์และมุสลิม)
จากอะนัส เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ท่านได้กล่าวว่า :
خَدَمْتُ النَّبِيَّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ عَشْرَ سِنِينَ ، فَمَا قَالَ لِى أُفٍّ، وَلاَ لِمَ صَنَعْتَ، وَلاَ أَلاَّ صَنَعْتَ.
ฉันได้รับใช้ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม สิบปี (ตลอดเวลาสิบปีนั้น) ท่านไม่เคยกล่าวกับฉันว่า “อุฟ” (คำสบถที่แสดงออกถึงความเบื่อหน่ายหรือไม่พอใจ) หรือ “เจ้าทำทำไม(แบบนี้)?” หรือ “เจ้าน่าจะทำ(แบบนี้)?”
(บุคอรีย และมุสลิม)
12. สอนด้วยการเยี่ยมเยียนคนป่วย
จากอนัส บิน มาลิก เราะฏิยัลลอฮฺ อันฮู กล่าวว่า
أَنَّ غُلَامًا مِنَ اليَهُودِ كَانَ يَخدُمُ النَّبِيَّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيهِ وَسَلَّمَ فَمَرِضَ ، فَأَتَاهُ النَّبِيُّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيهِ وَسَلَّمَ يَعُودُهُ ، فَقَعَدَ عِندَ رَأسِهِ ، فَقَالَ : أَسلِم . فَنَظَرَ إِلَى أَبِيهِ وَهُوَ عِندَ رَأسِهِ ، فَقَالَ لَه : أَطِع أَبَا القَاسِمِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيهِ وَسَلَّمَ . فَأَسلَمَ ، فَخَرَجَ النَّبِيُّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيهِ وَسَلَّمَ وَهُوَ يَقُولُ : الحَمدُ لِلَّهِ الذِي أَنقَذَهُ مِنَ النَّارِ .
“แท้จริงมีเด็กชาวยิวเคยรับใช้ท่านนะบี ได้ล้มป่วย ท่านนะบี มาเยี่ยมเขา
โดยที่ท่านได้นั่งใกล้ศีรษะของเขาแล้วกล่าวว่า จงเข้ารับอิสลามเถิด
จากนั้นเขาได้มองไปยังพ่อของเขา (เพื่อขอความคิดเห็น)
พ่อของเขากล่าวว่า จงเชื่อฟังอบุลกอสิม แล้วเขาก็รับอิสลาม
ต่อจากนั้นท่านนะบี เดินออกมาแล้วกล่าวว่า “อัลฮัมดุลิลลาฮฺ ผู้ที่ทำให้เขารอดพ้นจากไฟนรก”
(อัล-บุคอรี)
13. ปลูกฝังลูกๆ ให้รู้จัก คำว่า (ลาอิลาฮาอิลลอฮฺ)
รายงานจากท่าน ญุดดุบ บิน อับดุลลิละ
كُنَّا مَعَ النَّبِيِّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ وَنَحْنُ فِتْيَانٌ حَزَاوِرَةٌ، فَتَعَلَّمْنَا الْإِيمَانَ قَبْلَ أَنْ نَتَعَلَّمَ الْقُرْآنَ، ثُمَّ تَعَلَّمْنَا الْقُرْآنَ، فَازْدَدْنَا بِهِ إِيمَانًا
“ครั้งเมื่อเราได้อยู่กับท่านนบี ซึ่งในขณะนั้นเรามีอายุใกล้จะบรรลุนิติภาวะ เราศึกษาเรียนรู้ หลักศรัทธาก่อน จะศึกษาอัลกรุอ่าน หลังจากนั้น เราได้ศึกษาอัลกรุอ่าน มันทำให้เรานั้นเพิ่มพูมอิม่าน"
(อิบนุ มาญะ)
จากท่าน อับดุลลอฮฺ อิบนุ อับบาส เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุมา กล่าวว่า: ท่านนบี ﷺ กล่าวว่า:
{المستدرك } " يَا فَتًى ، قُلْ لا إِلَهَ إِلا اللَّهُ โอ้เด็กน้อย จงกล่าว ในประโยคคำว่า “ลาอิลาฮาอิลลอฮฺ”
จากท่าน อะฎีบีย์ ได้ยินท่าน อิบนุ อุมัร กล่าวแก่ชายคนหนึ่งว่า ท่านจงอบรมบุตรของท่าน เพราะนี้คือ ความรับผิดชอบของท่านที่มีต่อลูกของท่าน สิ่งใดที่ท่านอบรม สิ่งใดที่ท่านสอน มันจะถูกสอบสวนในวันกียามะฮฺ
"โอ้พ่อจ๋า แท้จริง พ่อนั้นทรยศต่อฉัน(ลูก)ในวัยเด็ก มันคือผลทำให้ฉัน(ลูก)นั้น ทรยศต่อพ่อในยามชรา"
รายงานว่า ท่านอิบนุ อับบาส ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุได้กล่าวว่า
"اعْمَلُوْا بِطَاعَةِ اللهِ وَاتَّقُوْا مَعَاصِيَ اللهِ وَمُرُوْا أوْلاَدَكُمْ بِامْتِثَالِ اْلأوَامِرِ وَاجْتِنَابِ النَّوَاهِيْ فَذَلِكَ وِقَايَةً لَهُمْ مِنَ النَّارِ"
“พวกท่านจงปฎิบัติการงานด้วยการเชื่อฟังอัลลอฮ์ และจงระวังการละเมิด การฝ่าฝืนอัลลอฮ์ และจงใช้ให้ลูกๆของพวกท่านปฎิบัติตามคำสั่งใช้ และออกห่างจากสิ่งที่ถูกห้าม เพราะดังกล่าวนี้เป็นการป้องกันพวกเขาและพวกท่านจากไฟนรก”
(บันทึกของท่านอิมามอิบนุญะรีร และอิมามอิบนุ มุนซิร)
14. สอนเด็กรู้คุณค่า คำว่า (ลาอิลาฮาอิลลอฮฺ)
จากท่านอบู ฮูร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ เล่าว่าแท้จริงท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
أَسْعَدُ النَّاسِ بِشَفَاعَتِي يَوْمَ القِيَامَةِ ، مَنْ قَالَ لاَ إِلَهَ إِلَّا اللَّهُ ، خَالِصًا مِنْ قَلْبِهِ ، أَوْ نَفْسِهِ
“มนุษย์ที่มีความสุขกับชะฟาอะฮฺของฉันในวันกียามะฮฺ คือผู้ที่กล่าวว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดที่ควรสักการะนอกจากอัลลอฮฺ ด้วยใจที่บริสุทธิ์”
(บันทึกโดยอัลบุคอรีย์)
15. สอนลูกรู้จักคุณค่าการละหมาด
มีรายงานจากท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า
مَنْ غَدَا إلَى المَسْجِدِ أَوْ رَاحَ، أَعَدَّ الله لَـهُ فِي الجَنَّةِ نُزُلاً كَلَّمَا غَدَا أَوْ رَاحَ
“ใครก็ตามที่ไปกลับมัสญิดทุกๆเช้าหรือบ่ายเพื่อละหมาดญะมาอะฮฺแล้ว อัลลอฮฺจะเตรียมที่อยู่หนึ่งให้แก่เขาในสวรรค์ในทุกๆเช้าหรือบ่าย”
(โดยมีบันทึกในอัล-บุคอรีย์ และมุสลิม)
การให้กำลังใจและการกล่าวชมเชยเด็กหรือ การบอกถึงรางวัลที่เขาจะได้รับ นั้นจะเป็นตัวกระตุ้นแก่เขาและคนผู้อื่น และเสมือนเป็นการ(เชิญชวนพวกเขาให้ทำความดีงาม)โดยทางอ้อมอีกด้วย เนื่องด้วยเด็กๆนั้นมักจะกระทำในสิ่งที่เขาได้รับการชมเชยเสมอ หรือได้รับรางวัล
16. สอนลูกด้วยการตักเตือน (ระมัดระวัง)
จากท่านมุอ๊าซ อิบนุญะบัล รอฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า ท่านเราะซูล ได้สั่งเสียฉันในสิ่ง 10 ประการ ท่านเราะซูล กล่าวว่า
لا تُشْرِكْ بِاللَّهِ شَيْئًا وَإِنْ قُتِلْتَ وَحُرِّقْتَ، وَلا تَعُقَّنَّ وَالِدَيْكَ، وَإِنْ أَمَرَاكَ أَنْ تَخْرُجَ مِنْ أَهْلِكَ وَمَالِكَ، وَلا تَتْرُكَنَّ صَلاةً مَكْتُوبَةً مُتَعَمِّدًا؛ فَإِنَّ مَنْ تَرَكَ صَلاةً مَكْتُوبَةً مُتَعَمِّدًا فَقَدْ بَرِئَتْ مِنْهُ ذِمَّةُ اللَّهِ، وَلا تَشْرَبَنَّ خَمْرًا؛ فَإِنَّهُ رَأْسُ كُلِّ فَاحِشَةٍ، وَإِيَّاكَ وَالْمَعْصِيَةَ؛ فَإِنَّ بِالْمَعْصِيَةِ حَلَّ سَخَطُ اللَّهِ عَزَّ وَجَلَّ، وَإِيَّاكَ وَالْفِرَارَ مِنَ الزَّحْفِ؛ وَإِنْ هَلَكَ النَّاسُ، وَإِذَا أَصَابَ النَّاسَ مُوتَانٌ وَأَنْتَ فِيهِمْ فَاثْبُتْ، وَأَنْفِقْ عَلَى عِيَالِكَ مِنْ طَوْلِكَ، وَلا تَرْفَعْ عَنْهُمْ عَصَاكَ أَدَبًا، وَأَخِفْهُمْ فِي اللَّهِ
♦ “ท่านอย่าตั้งสิ่งใดเป็นภาคีต่ออัลลอฮฺ แม้นว่าท่านจะถูกฆ่า และถูกเผา
♦- ท่านอย่าได้เนรคุณต่อพ่อแม่ของท่าน แม้ว่าท่านทั้งสองจะใช้ให้ท่านหย่าภรรยาของท่าน และละทิ้งทรัพย์สินของท่าน
♦- ท่านอย่าได้ทิ้งละหมาดฟัรฎูโดยจงใจ พันธะของอัลลอฮฺก็จะขาดจากเขา
♦- ท่านอย่าได้ดื่มสุรา แท้จริงสุราคือต้นเหตุของการทำความชั่วทั้งหลาย
♦- ท่านทั้งหลายจงระวังการฝ่าฝืนคำสั่งของอัลลอฮ์ แท้จริงการฝ่าฝืนคำสั่งของอัลลอฮ์ ความกริ้วโกรธของอัลลอฮ์จะประสบกับเขา
♦- ท่านจงอย่าหนีทัพในวันประจัญบาน แม้นว่าประชาชนทั้งหลายจะต้องล้มตายไปกันหมด
♦- ถ้าหากว่าความตายมาประสบกับประชาชนทั้งหลาย และท่านก็อยู่ในหมู่พวกเขาด้วย ก็จงยืนหยัด
♦- ท่านจงจ่ายค่าเลี้ยงดูให้แก่ครอบครัวของท่านจากทรัพย์สินของท่านอันเป็นริสกีย์ที่ฮะล้าล
♦- ท่านจงอย่าละทิ้งการอบรมมารยาทต่อเขาเหล่านั้น
♦- และจงสำทับให้พวกเขาเกรงกลัวอัลลอฮ์”
(บันทึกโดย อะห์หมัด และฏอบรอนีย์ ในอัลญามิอฺ อัลกะบีร)
ในวาระสุดท้ายของท่านค่อลีฟะย์ อุมัร บิน อับดุลอาซีร มีสหายของท่านเข้าไปเยี่ยม เป็นที่ทราบกับดีว่า ท่านอุมัรนั้น มีลูกหมด 15 คน
พวกเขา ถามท่านอุมัร ว่า ท่านได้ทิ้งสิ่งใดเอาไว้ให้กับบรรดาลูกๆของท่านละ โอ้ อะมีริล มุมินีน
ท่านอุมัร บิน อับดุลอาซีร ฉันทิ้งให้กับพวกเขา คือ ความยำเกรงต่ออัลลอฮฺ
พวกเขา กล่าวว่า ละอิลาอาอิลลอฮฺ มันหมายความว่าอย่างไรล่ะ
ท่านอุมัร ตอบว่า หากว่าพวกเขาเป็นคนดี มี ตักวา แน่นอนอัลลอฮฺจะทรงช่วยเหลือเขา จะปกป้องเขา และแน่นอนฉันไม่ได้ทิ้งสิ่งใดให้กับพวกเขา ที่จะทำให้พวกเขานั้น ทำการฝ่าฝืนต่ออัลลอฮฺ
ท่านอิบนุล เญาซีย์ รอฮิมาฮุลลอฮ กล่าวว่า :
ปรากฎว่าชนสลัฟนั้น เมื่อลูกๆของคนหนึ่งได้เติบโตขึ้นมา พวกเขาจะให้ลูกๆนั้นคลุกคลี สนใจอยู่กับการท่องจำอัลกุรอาน ฟังหะดิษ ดังนั้นอีมานก็จึงหนักแน่น, มั่นคงในหัวใจของเขา