มารยาทในการนอน
เรื่องเกี่ยวกับมารยาทในการนอนนั้น มีแบบอย่างจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม บอกไว้ดังนี้
1. นอนแต่หัวค่ำ
ไม่สมควรนอนดึกหรืออดนอนโดย่ไม่มีประโยชน์ สมควรอย่างยิ่งที่มุสลิมจะเข้านอนแต่หัวค่ำหลังจากละหมาดอิชาอฺแล้ว ยกเว้นในกรณีทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ เช่น พูดคุยกับแขก หรือทบทวนบทเรียนความรู้ หรือสร้างความใกล้ชิดกับครอบครัว หรือทำผลประโยชน์ให้กับบรรดาพี่น้องมุสลิม เนื่องจากมีรายงานของอบีบัรซะฮฺอั้ลอัสละมียฺ เล่าว่า
أَنَّ النَّبِيِّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّم":
" كَانَيَكْرَهُ النَّوْمَ قَبْلَ الْعِشَاءِ وَالْحَدِيثَ بَعْدَهَا
“ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม นั้น ไม่ชอบการเข้านอนก่อนละหมาดอิชาอฺ และการพูดคุยหลังละหมาดอิชาอฺ”
(บันทึกโดย อัลบุคอรีย์ เลขที่ 547 และมุสลิม เลขที่ 647)
2. นอนข้างขวา, ไม่นอนทับท้อง
มารยาทของการนอนนั้น คือ ให้เริ่มนอนข้างขวา และหลังจากนั้นจะเปลี่ยนเป็นด้านซ้ายก็ไม่เป็นไร เนื่องจากมีฮะดีษของท่านหญิงอาอิชะฮฺ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮา ว่า
“แท้จริงท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม นั้น นอนบนข้างขวาของท่าน”
(บันทึกโดย อัลบุคอรีย์ เลขที่ 994)
และไม่สมควรที่มุสลิมจะนอนทับท้องของตนเนื่องจากมีคำของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ที่พูดกับผู้ที่ท่านเห็นเขานอนทับท้องของตัวเองว่า :-
إِنَّ هَذِهِ ضِجْعَةٌ يُبْغِضُهَا اللَّهُ . “นี่เป็นการนอนที่อัลลอฮฺทรงกริ้ว”
(บันทึกโดย อบูดาวู้ด เลขที่ 5040 จากฮะดีษของยะอีซ บิน ฏิคฟะฮฺ จากบิดาของท่าน และอัตติรมีซีย์ เลขที่ 2768 จาก ฮะดีษ อบูฮุร็อยเราะฮฺ)
3. ดุอาอฺตอนเข้านอนและตอนตื่นนอน
สมควรที่มุสลิมจะต้องจำดุอาอฺก่อนนนอนที่มีรายงานชัดเจนจากท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ดังนี้ :-
ดุอาอฺ :-
بِاسْمِكَ اللَّهُمَّ أَمُوْتُ وَأَحْيَا
“ด้วยพระนามแห่งพระองค์ท่าน โอ้ อัลลอฮฺ ที่ข้าพระองค์จะตาย หรือจะมีชีวิต”
(บันทึกโดย อบูดาวู้ด)
และเมื่อตื่นนอนแล้วก็กล่าวว่า :-
الحَمْدُ لله الذِي أحْيَانا بَعْدَ مَا أمَاتَنَا وإلَيْهِ النَشُور
“บรรดาการสรรเสริญทั้งมวล เป็นสิทธิของอัลลอฮฺ ผู้ซึ่งให้เราได้มีชีวิตขึ้นมาหลังจากที่ได้ให้เราตายไป และยังพระองค์นั้นคือการกลับไป”
(บันทึกโดย อัลบุคอรีย์ เลขที่ 5849 จากฮะดีษ ฮุซัยฟะฮฺ และมุสลิม เลขที่ 4886 จากฮะดีษ อัลบะร็ออฺ)
และท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้บอกกับท่านอาลีและท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ ว่า
أَلَا أَدُلُّكُمَا عَلَى مَا هُوَ خَيْرٌ لَكُمَا مِنْ خَادِمٍ،إِذَا أَوَيْتُمَاإِلَى فِرَاشِهَا أَوْ أَخَذْتُمَا مَضَاجِعَكُمَا فَكَبِّرًا أَرْبَعًا وَثَلَاثَيْنَ وَسَبِّحًا ثَلَاثًا وَثَلَاثِيْنَ وَاحْمَدَاثَلَاثًا وَثَلَاثِيْنَ فَهُوَ خَيْرٌ لَكُمَا مِنْ خَادِمٍ .
”ฉันจะบอกเจ้าทั้งสองถึงสิ่งที่ดีกว่าให้แก่เจ้าทั้งสอง ยิ่งกว่าคนรับใช้เสียอีกเอาไหม?
กล่าวคือ เมื่อเจ้าทั้งสองจะเข้านอน หรือจะเริ่มนอน ก็จงกล่าว “อัลลอฮุอักบัร” 34 ครั้ง และกล่าว “ซุบฮานัลลอฮฺ” 33 ครั้ง และกล่าว “อัลฮัมดุลิลลาฮฺ” 33 ครั้ง นี่คือที่ดียิ่งกว่าคนรับใช้เสียอีก”
(บันทึกโดย มุสลิม เลขที่ 5843)
และท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม นั้นเมื่อท่านเข้ามายังที่นอนของท่าน ท่านกล่าวว่า :-
الْحَمْدُ لِلَّهِ الَّذِي أَطْعَمَنَا وَسَقَانَا وَكَفَانَا وَآوَانَا فَكَمْ مِمَّنْ لا كَافِي لَهُ وَلا مُؤْوِيْ
“บรรดาการสรรเสริญเป็นสิทธิของอัลลอฮฺ ผู้ทรงให้อาหารแก่เรา ให้น้ำดื่มแก่เรา และทรงเป็นที่พอเพียงแก่เรา และทรงให้ที่นอนแก่เรา ยังมีอีกตั้งกี่คนที่ยังขาดแคลนไม่มีที่พอเพียง และไม่มีผู้ให้ที่พักพิงแก่เขาเลย”
(บันทึกโดย มุสลิม เลขที่ 4890)
และท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้สั่งใช้ไว้ในฮะดีษของท่านบะร็ออฺ บิน อาซิบ รายงานว่า ให้เขากล่าวขณะที่เข้านอนว่า :
اللهم أَسْلَمْتُ نَفْسِي إِلَيْكَ وَفَوَّضْتُ أَمْرِي إِلَيْكَ ،وَأَلْجَأْتُ ظَهْرِي إِلَيْكَ رَغْبَةً وَرَهْبَةً إِلَيْكَ،لَامَلْجَأَوَلَامَنْجَامِنْكَ إِلَّا إِلَيْكَ ، آمَنْتُ بِكِتَابِكَ الَّذِي أَنْزَلْتَ وَنَبِيِّكَ الَّذِيْ أَرْسَلْتَ
“โอ้ อัลลอฮฺ ฉันขอมอบชีวิตของฉัน ไว้กับพระองค์, ฉันขออาศัยด้านหลังของฉันกับพระองค์
ด้วยความเกรงกลัวการลงโทษและปรารถนาผลบุญที่พระองค์
ไม่มีที่พักพิงใด และไม่มีทางรอดพ้นใด ๆ นอกจากพระองค์ท่านเท่านั้น
ฉันศรัทธาต่อคัมภีร์ของพระองค์ที่ได้ประทานลงมา และศรัทธาต่อนบีของพระองค์ ที่พระองค์ทรงส่งมา”
(บันทึกโดย อัลบุคอรีย์ เลขที่ 5836 และมุสลิม เลขที่ 4885)
4. การนอนโดยมีน้ำละหมาด
มารยาทในการนอน คือ จะต้องมีน้ำละหมาด เนื่องจากมีคำกล่าวของท่านร่อซุลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม แก่อัลบัรรออ์ บิน อาซิบ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ ว่า : -
إِذَا أَتَيْتَ مَضْجَعَكَ فَتَوَضَّأْ وُضُوءَكَ لِلصَّلَاةِ
“เมื่อเจ้าเข้าไปยังที่นอนของเจ้า ก็จงอาบน้ำละหมาดเหมือนกับที่ทำน้ำละหมาดเพื่อการละหมาด”
(มุตตะฟะกุนอะลัยฮฺ)
จากหนังสือจริยธรรมสำหรับเยาวชน อัลอิศลาหฺ สมาคม