แบบอย่างในการอบรมเลี้ยงดูบุตร
  จำนวนคนเข้าชม  2765


แบบอย่างในการอบรมเลี้ยงดูบุตร

 

แปลเรียบเรียง อับดุลวาเฮด สุคนธา

 

เป้าหมาย ในการอบรมเลี้ยงดูบุตร

       - เพื่อให้พวกเขานั้นเจริญเติบโตอยู่ในหลักคำสอนของอัลอิสลามปฏิบัติตามในสิ่งที่พระองค์ทรงสั่งใช้และคำสั่งห้าม

- เพื่อให้พวกเขานั้นมีจรรยามารยาทที่ดีงาม

- เพื่อให้พวกเขานั้นจะได้เป็นที่รื่นรมย์แก่พ่อแม่ และมีความสุข

- เพื่อให้พวกเขานั้นมีความเมตตาต่อผู้อื่น

- เพื่อให้พวกเขานั้นเป็นคนที่ฉลาดมีสติในการดำรงชีวิต

 

ดังที่อัลลอฮฺตรัสว่า 

﴿وَٱلَّذِينَ يَقُولُونَ رَبَّنَا هَبۡ لَنَا مِنۡ أَزۡوَٰجِنَا وَذُرِّيَّٰتِنَا قُرَّةَ أَعۡيُن وَٱجۡعَلۡنَا لِلۡمُتَّقِينَ إِمَامًا  

     “และบรรดาผู้ที่กล่าวว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าของเรา ขอพระองค์โปรดประทานแก่เรา ซึ่งคู่ครองของเราและลูกหลานของเรา ให้เป็นที่รื่นรมย์แก่สายตาของเรา และทรงทำให้เราเป็นแบบอย่างแก่บรรดาผู้ยำเกรง

(อัล-ฟุรกอน 74)

     ท่านอิม่าม บักวีย์  ( قُرَّةَ أَعْيُنٍ )กล่าวว่า รื่นรมย์แก่สายตาของเราในโองการดังกล่าวหมายถึง บุตรที่ดีที่ยำเกรงต่ออัลลอฮฺ

     ท่านอิม่ามฮะซัน บัสรี กล่าวความหมายโองการนี้ว่า    เมื่อมุสลิมคนหนึ่ง เห็นว่าลูกของเขานั้น เป็นคนดีเชื่อฟังและปฏิบัติตามคำสั่งของพระองค์

 

แบบอย่างการอบรมเลี้ยงดูบุตรของบรรดานบีและชาวสลัฟ

 

1. พ่อแม่จะต้องขอดุอาอ์ให้กับลูกๆ ให้เป็นคนดีและได้รับทางนำ

 

     ดุอาอฺของนบีอิบรอฮีมและนบีอิสมาอีล อะลัยฮิสลาม อัลลอฮฺตรัสว่า

 

رَبَّنَا تَقَبَّلْ مِنَّا ۖ إِنَّكَ أَنتَ السَّمِيعُ الْعَلِيمُ

     “ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าของพวกข้าพระองค์โปรดรับ(งาน) จากพวกข้าพระองค์ด้วยเถิด แท้จริงพระองค์นั้นทรงได้ยินและทรงรอบรู้

(อัลบะเกาะเราะหฺ :127)

อัลลอฮฺตรัสว่า

رَبَّنَا وَاجْعَلْنَا مُسْلِمَيْنِ لَكَ وَمِنْ ذُرِّيَّتِنَا أُمَّةً مُسْلِمَةً لَكَ

     “พระผู้อภิบาลของเรา ขอพระองค์โปรดทรงทำให้เราทั้งสองเป็นผู้นอบน้อมต่อพระองค์ และโปรดทรงทำให้ลูกหลานของเราเป็นชนชาติที่นอบน้อมต่อพระองค์ด้วยเถิด

( ซูเราะฮฺอัลบะเกาะเราะฮฺ 128)

อัลลอฮฺตรัสว่า

رَبِّ اجْعَلْنِي مُقِيمَ الصَّلاةِ وَمِنْ ذُرِّيَّتِي رَبَّنَا وَتَقَبَّلْ دُعَاءِ

     “ข้าแต่พระเจ้าของข้าพระองค์ ขอพระองค์โปรดให้ข้าพระองค์และลูกหลานของข้าพระองค์ เป็นผู้ดำรงการละหมาด โอ้พระผู้เป็นเจ้าของเรา ขอพระองค์โปรดทรงตอบรับการวิงวอนด้วยเถิด

( ซูเราะฮฺอิบรอฮีม: 40)

อัลลอฮฺตรัสว่า

رَبِّ هَبْ لِي مِنْ لَدُنْكَ ذُرِّيَّةً طَيِّبَةً ۖ إِنَّكَ سَمِيعُ الدُّعَاءِ

     “ข้าแต่พระเจ้าของข้าพระองค์ โปรดได้ทรงประทานแก่ข้าพระองค์ซึ่งบุตรที่ดีคนหนึ่งจากที่พระองค์ แท้จริงพระองค์เป็นผู้ทรงได้ยินคำวิงวอน” 

(ซูเราะฮฺอาละอิมรอน 38)

رَبِّ اجْعَلْ هَٰذَا الْبَلَدَ آمِنًا وَاجْنُبْنِي وَبَنِيَّ أَنْ نَعْبُدَ الْأَصْنَامَ

     “โอ้พระเจ้าของข้าพระองค์ ขอพระองค์ทรงทำให้เมืองนี้ (มักกะฮฺ) ปลอดภัยและขอพระองค์ทรงทำให้ข้าพระองค์และลูกหลานของข้าพระองค์พ้นจากการบูชาเจว็ด” 

(ซูเราะฮฺอิบรอฮีม: 35)

อัลลอฮฺตรัสว่า

"رَبِّ هَبْ لِي حُكْمًا وَأَلْحِقْنِي بِالصَّالِحِينَ" 83 الشعراء

ข้าแต่พระเจ้าของฉัน! ขอพระองค์ประทานความรู้และทรงให้ฉันอยู่รวมกับหมู่คนดีทั้งหลาย

     ท่านอิบนุกะซีร กล่าวว่า ท่านนบีอิบรอฮีม ขอวิงวอนต่อพระองค์โปรดประทานบุตรที่มีความรู้และความเข้าใจในศาสนาและบุตรที่ดีในโลกนี้และโลกหน้า

อัลลอฮฺตรัสว่า

﴿ رَبِّ هَبْ لِي مِنَ الصَّالِحِينَ {الصافات: 100}

ข้าแต่พรเจ้าของข้าพระองค์ ขอพระองค์ทรงประทานบุตรที่มาจากหมู่คนดีให้แก่ข้าพระองค์ด้วย

 

ดุอาอฺของท่านบีอิบรอฮีม อะลัยฮิสสลาม ให้ลูกๆของท่าน..

أَعُوذُ بِكَلِمَاتِ اللَّهِ التَّامَّةِ، مِنْ كُلِّ شَيْطَانٍ وَهَامَّةٍ، وَمِنْ كُلِّ عَيْنٍ لاَمَّةٍ

     คำอ่านอะอุซุ บิกะลิมาติลลาฮิตตามมาติ มิน กุลลิชัยฏอนิน วะฮามมะติน วะมินกุลลิอัยนิน ลามมะติน"

     คำแปลฉันขอความคุ้มครองให้แก่เจ้าด้วยถ้อยดำรัสของอัลลอฮฺอันสมบูรณ์ยิ่ง ให้พ้นจาก(การล่อลวงของ)ชัยฏอน, ให้พ้นจากสัตว์พิษ และให้พ้นจากทุกๆ สายตาที่ให้ร้าย(หรือสายตาที่อิจฉา)" 

(บันทึกโดยบุคอรีย์ และท่านอื่นๆ)

 

2. ส่งเสริมให้ทำอิบาดะฮฺ ร่วมกับลูกๆตั้งแต่ยังเล็ก

 

อัลลอฮฺตรัสว่า

﴿ وَكَانَ يَأْمُرُ أَهْلَهُ بِالصَّلَاةِ وَالزَّكَاةِ {مريم:55}

"และเขาใช้หมู่ญาติของเขาให้ปฏิบัติละหมาดและจ่ายซะกาต และเขาเป็นที่โปรดปราน ที่พระเจ้าของเขา"

อัลลอฮฺตรัสว่า

﴿وَأۡمُرۡ أَهۡلَكَ بِٱلصَّلَوٰةِ وَٱصۡطَبِرۡ عَلَيۡهَاۖ

และเจ้าจงสั่งใช้ครอบครัวของเจ้าให้ทำละหมาด และจงอดทนในการปฏิบัติละหมาด

(ฏอฮา 132)

รายงานจากท่านอัมรฺ บิน ชุอัยบ์ รายงานจากพ่อของท่าน รับจากปู่ของท่าน เราะฎิยัลลอฮุอันฮุม ว่า ท่านนบี ได้กล่าวว่า

مُرُوا أَوْلَادَكُمْ بِالصَّلَاةِ وَهُمْ أَبْنَاءُ سَبْعِ سِنِينَ، وَاضْرِبُوهُمْ عَلَيْهَا وَهُمْ أَبْنَاءُ عَشْرٍ، وَفَرِّقُوا بَيْنَهُمْ فِي الْمَضَاجِعِ

     “พวกท่านจงสั่งใช้ลูกๆ ให้ละหมาดเมื่อเขามีอายุ 7 ขวบ และจงเฆี่ยนตีให้พวกเขาละหมาดเมื่อมีอายุครบ 10 ขวบ พร้อมๆ กับแยกที่นอนระหว่างพวกเขา

(สุนัน อบี ดาวูด)

 

     ท่านชัยคุลอิสลาม อิบนุ ตัยมียะฮฺ เราะหิมะฮุลลอฮฺ กล่าวว่า ผู้ใดที่มีเด็กเล็ก ลูกทาส หรือลูกกำพร้าอยู่กับเขาแล้วเขาไม่สั่งใช้ให้ละหมาด เขาจะถูกลงโทษหากเขาไม่สั่งใช้เด็กๆ เหล่านั้น และเขาจะต้องถูกลงโทษตามกฎหมายด้วยโทษที่หนักเพราะฝ่าผืนคำสั่งของอัลลอฮฺและเราะซูลของพระองค์

 

ท่านนบียะกูบก็สั่งเสียด้วยกับลูก อัลลอฮฺตรัสว่า

وَوَصَّىٰ بِهَا إِبْرَاهِيمُ بَنِيهِ وَيَعْقُوبُ يَا بَنِيَّ إِنَّ اللَّهَ اصْطَفَىٰ لَكُمُ الدِّينَ فَلَا تَمُوتُنَّ إِلَّا وَأَنتُم مُّسْلِمُونَ{البقرة: 132}

     “และอิบรอฮีมได้สั่งเสียแก่ลูก ของเขาให้ปฏิบัติตามแนวทางนั้น และยะกูบก็สั่งเสียด้วยว่า

     โอ้ลูก ของฉัน แท้จริงอัลลอฮ์ได้ทรงเลือกศาสนาให้แก่พวกเจ้าแล้ว ดังนั้น พวกเจ้าจงอย่ายอมตามเป็นอันขาด นอกจากในขณะที่พวกเจ้าเป็นผู้สวามิภักดิ์(ต่ออัลลฮ์) เท่านั้น

 

﴿ أَمْ كُنْتُمْ شُهَدَاءَ إِذْ حَضَرَ يَعْقُوبَ الْمَوْتُ إِذْ قَالَ لِبَنِيهِ مَا تَعْبُدُونَ مِنْ بَعْدِي قَالُوا نَعْبُدُ إِلَهَكَ وَإِلَهَ آبَائِكَ إِبْرَاهِيمَ وَإِسْمَاعِيلَ وَإِسْحَاقَ إِلَهاً وَاحِداً وَنَحْنُ لَهُ مُسْلِمُونَ .{البقرة: 133}

 

     “หรือว่าพวกเจ้าอยู่ด้วย เมื่อความตายได้เยี่ยมกรายยะอ์กูบ ขณะที่เขากล่าวแก่ลูก ของเขาว่า พวกเจ้าจะเคารพสักการะอะไร หลังจากฉัน?

     พวกเขากล่าวว่า พวกเราจะเคารพสักการะพระเจ้าของท่าน และพระเจ้าแห่งบรรดาบิดาของท่าน คือ อิบรอฮีม อิสมาอีล และอิสฮาก แต่เพียงองค์เดียวและพวกเราจะเป็นผู้สวามิภักดิ์ต่อพระองค์เท่านั้น

 

          โองการนี้ อัลลอฮ์ทรงกล่าวถึงท่านนบียะกู๊บ อะลัยอิสลาม ท่านนั้นให้ความสำคัญกับการอบรมบุตรหลานและท่านได้สั่งเสียในช่วงชีวิตวาระสุดท้ายของท่าน ด้วยการให้เชื่อมั่นและศรัทธาต่ออัลลอฮฺเพียงองค์เดียวโดยที่ท่านนั้นมิได้สั่งเสียสิ่งใดเลย