การละหมาดย่อรวมในขณะเดินทาง
  จำนวนคนเข้าชม  59747


การละหมาดย่อรวมในขณะเดินทาง

 

แปลเรียบเรียงโดย อิสมาอีล กอเซ็ม

 

คำถาม 

 

         ฉันเคยเดินทาง และฉันต้องการรวมละหมาดมัฆริบและละหมาดอีชา ฉันได้ถึงไปยังเมืองหนึ่งในเวลาอีชา และฉันได้ละหมาดมัฆริบ การกระทำของฉันถูกต้องหรือไม่ และอะไรคือเงื่อนไขของการละหมาดรวม ?

 

มวลการสรรเสริญเป็นเอกสิทธิ์ของอัลลอฮฺ 

 

          อนุญาตให้ผู้ที่เดินทางละหมาดรวมกันได้ระหว่างละหมาดสองเวลา ตรงตามเงื่อนไขต่อไปนี้ 

 

     ๑การเดินอยู่ในระยะที่ถูกเรียกว่าการเดินทาง ประมาณ ๘๐ กิโลเมตร ซึงเป็นทัศนะของนักวิชาการส่วนมาก และนักวิชาการบางท่านมีความเห็นระยะของการเดินทางไม่มีการกำหนดที่ตายตัว ให้ถือตามแนวทางที่พื้นที่นั้นๆปฏิบัติ

 

     ๒บรรดานักวิชาการส่วนมากได้ตั้งเงื่อนไข ในการเดินทางนั้น ก็คือการเดินทางไปกระทำสิ่งที่อนุญาต หากว่าเป็นการเดินทางไปปล้นสะดม หรือทำสิ่งชั่วช้าลามก หรือสิ่งที่เป็นบาป ไม่อนุญาตแก่เขาสำหรับข้อผ่อนปรนในการเดินทาง(สำหรับการละหมาดรวมและย่อ) แต่ท่านอบูหานีฟะฮฺ รอฮิมาอุลลอฮฺ ไม่ได้ตั้งเงื่อนไขดังกล่าว

ไปดูใน อัลเมาซูฮะ อัลฟิกฮียะฮฺ ๒๗/๒๗๖ 

 

     ๓ให้ตั้งเจตนาว่าจะพำนักประมาณ สี่วันหรือมากกว่านั้น หากพำนักอยู่มากกว่าดังกว่า ไม่อนุญาตสำหรับข้อผ่อนปรนในการเดินทาง(หมายถึงละหมาดรวมและย่อ) และไม่อนุญาตให้ละศีลอดในเดือนรอมาฎอนและการละหมาดย่อและรวม 

นักวิชาการของสภาวิจัยปัญหาศาสนา

          หากมีเจตนา อยู่เกินสี่วัน ไม่อนุญาตให้เอาข้อผ่อนปรนในการเดินทาง ไม่ว่าการรวมและย่อละหมาด และในทำนองดังกล่าว หากเขาเจตนาจะอยู่ต่ำกว่า สี่วัน หรือการเดินทางนั้นไปเกี่ยวโยงกับการจัดการธุระ เมื่อไหร่ที่สิ้นสุดการเดินทาง ก็อนุญาตแก่เขาข้อผ่อนปรนในการเดินทาง 

ฟาตาวา อัลลิจนะฮฺ อัดดาอิมะฮฺ ๑๑๔/๑๑๓ / 

 

     ๔การเอาข้อผ่อนปรนในการเดินทางจะยังไม่เริ่มก่อน จนกว่าเขาจะออกจากเมืองของเขา (ข้อผ่อนปรนในที่นี้คือการอนุญาตให้รวมและย่อละหมาด ก็คืออนุญาตให้รวมได้อย่างเดียวยังไม่ต้องย่อก่อน หากยังไม่ออกจากบ้าน)

ไปดูหนังสือ อัลเมาซูอะ อัลฟิกอียะฮฺ ๒๗/๒๗๙ 

 

     ๕. บรรดานักวิชาการส่วนมากได้ตั้งเงื่อนไข ให้มีการต่อเนื่องกันในละหมาดสองเวลาที่ได้นำมารวมกันในเวลาแรก อย่าได้ทิ้งช่วงระหว่างละหมาดทั้งสองเป็นเวลานาน  ท่านชัยคุลอิสลาม อิบนูตัยมียะหฺได้เลือกทัศนะที่ว่า การทิ้งช่วงไม่ได้เป็นเงื่อนไข

ให้ไปดู มัจมูฮฺฟาตาวา ๒๔/๕๔

 

     ๖. มีเงื่อนไขในการลำดับระหว่างละหมาดสองเวลาที่รวมกัน ก็คือทัศนะของนักวิชาการส่วนมาก 

          บรรดานักวิชาการของสภาวิจัยถาวรด้านปัญหาศาสนา ได้กล่าวว่า จำเป็นจะต้องรวมและเรียงลำดับ โดยที่ละหมาดศุฮรีก่อน หลังจากนั้นให้ละหมาดอัสรี ละหมาดมัฆริบก่อนหลังจากนั้นให้ละหมาดอีชา เหมือนกันจะละหมาดในเวลาแรกหรือละหมาดในเวลาหลัง ( ตักดีม ตะคีร

ฟาตาวา อัลลิจนะฮอัดดาอิมะฮ ๑๓๙/  ท่านเชค อิบนู อุซัยมีนรอฮิมาอุลลอฮฺ 


 มีเงื่อนไขในการลำดับ ก็คือเริ่มเวลาแรกก่อนหลังจากนั้นเวลาที่สอง

     เนื่องจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮูอะลัยอิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า (พวกท่านจงละหมาด เสมือนที่พวกท่านได้เห็นฉันละหมาด )) เนื่องจากบทบัญญัติ ได้มาลำดับเวลาต่างๆ ในการละหมาด และหากว่าคนที่ลืม หรือไม่รู้ หรือ มีกลุ่มคนที่พวกเขากำลังละหมาดอีชา โดยที่เขามีเจตนาที่จะรวมในในละหมาดช่วงท้าย หลังจากที่เขาได้ละหมาดอีชาพร้อมกับพวกเขา หลังจากนั้นให้ละหมาดมัฆริบ ในกรณีนี้ การลำดับจะตกไปหรือไม่ตก?

     ทัศนะที่เป็นทราบกันในระหว่างนักวิชาการของเรา ขออัลลอฮฺโปรดเมตตาต่อพวกเขา แท้จริงกรณีดังกล่าวไม่ถือว่า ตกการลำดับ(เวลาของการละหมาด ) และในเรื่องดังกล่าว หากว่าคนกลุ่มที่ได้นำเวลาละหมาดที่สองมานำหน้าเวลาละหมาดที่หนึ่ง เนื่องจากลืมหรือไม่รู้ฮุกุม หรือทันละหมาดญามาฮะ หรืออื่นจากสาเหตุดังกล่าว ดังนั้นการรวมดังกล่าวไม่ถูกต้อง ในสภาพดังกล่าว เราจะทำอย่างไร?

 

คำตอบ 

          การละหมาดซึ่งการละหมาดอันแรกนั้นไม่ถูกต้องในการละหมาดฟัรฎู จำเป็นต้องละหมาดใหม่ ตัวอย่างดังกล่าว ชายคนหนึ่งตั้งใจที่จะละหมาดรวม หลังจากนั้นเขาได้เข้ามัสยิดพบว่าผู้คนกำลังละหมาดอีชา เขาได้ละหมาดพร้อมกับพวกเขา โดยเจตนาละหมาดอีชา หลังจากเสร็จจากละหมาดอีชา เขาได้ละหมาดมัฆริบ เราตอบว่าการละหมาดอีชาไม่ถูกต้อง เนื่องจากเขาได้นำอีชามาไว้ก่อนมัฆริบ และลำดับเวลาละหมาดคือเงื่อนไข ดังนั้นให้เขาละหมาดอีชาครั้งที่สอง ส่วนละหมาดมัฆริบนั้นถูกต้องใช้ได้

     ความหมายคำพูดของเราคือ ไม่ถูกต้อง ไม่ถูกต้องสำหรับละหมาดฟัรฎู ที่ทำให้ปล่อยภาระที่ต้องรับผิดชอบ แต่ว่าเขาจะได้รับเป็นผลบุญของละหมาดซุนนะห์ จบจากสรุปของหนังสือ อัชชัรหฺอัลมุมเตียะ ๔๐๑-๔๐๒ /

 

อิสลาม คำถามและคำตอบ