ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการจีฮาดในอิสลาม
จีฮาด เมื่อมีการแปลเป็นภาษาต่างประเทศแล้ว โลกตะวันตกได้ให้ความหมายของจีฮาดว่า "สงครามอันศักดิ์สิทธิ์" ซึ่งในอิสลามไม่ได้ให้ความหมายของจีฮาดว่า สงครามอันศักด์สิทธิ์ ในทางศาสนาบัญญัติอิสลามได้ให้ความหมายของคำ จีฮาด ว่า "สงครามที่ยุติธรรม และ สงครามที่อยุติธรรม" ความหมายของคำว่า จีฮาด นั้นหมายความว่า การเสียสละด้วยความพยายาม ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท กล่าวคือ
♣ ประการแรกหมายถึง การต่อสู้กับตัวเราเอง
♣ ประการที่สองหมายถึง สงครามอันชอบธรรม
ในอิสลามได้ให้ความหมายการต่อสู้เพื่อเอาชนะตัวเองนั้น คือ จีฮาดใหญ่ หมายถึง การขัดเกลากิเลส ความชั่ว การเอาชนะต่อสิ่งที่เป็นภาระการปลดปล่อยตัวเองจากอบายมุขต่างๆ เช่น ความเกลียดชังต่อผู้อื่น ความอิจฉาริษยา เพื่อทำให้ตัวผู้ปฏิบัติมีความใกล้ชิดต่อพระผู้เป็นเจ้า
ส่วนควมหมายที่สองอิสลามได้ให้ความหมาย จีฮาดเล็ก หมายถึง การทำสงครามที่ชอบธรม การทำสงครามที่ชอบธรรมนั้นตามบทบัญญัติอิสลามหมายถึง การทำสงครามเพื่อป้องกันตัวเองโดยมีเป้าหมายที่จะต่อต้านการโจมตีของศัตรูเท่านั้น ดังมีหลักฐานปรากฏในคัมภีร์อัลกุรอานอย่างชัดแจ้งเกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยที่องค์อัลลอฮ์ ได้ทรงอนุญาตให้บรรดามุสลิมต่อสู้กับศัตรูผู้รุกราน ดังปรากฏในอัลกุรอาน ซูเราะฮ์ อัลฮัจญ์ โองการที่ 39 ความว่า
"สำหรับบรรดาผู้ (ถูกโจมตีนั้น) ได้รับอนุญาตให้ต่อสู้ได้ เพราะพวกเขาถูกข่มเหง"
และในซูเราะฮ์ อัลบะเกาะเราะฮ์ โองการที่ 190 ความว่า
"และพวกเจ้าจงต่อสู้ศัตรูในทางของอัลลอฮ์ ต่อบรรดาผู้ที่ทำร้ายพวกเจ้า
และจงอย่ารุกราน แท้จริงพระองค์ไม่ทรงชอบผู้รุกราน"
จากโองการทั้งสองดังกล่าวข้างต้น ได้ระบุอย่างเด่นชัดแล้วว่าพระองค์อัลลอฮ์นั้น ทรงอนุญาตบรรดามุสลิมให้ทำการต่อสู้ป้องกันตนเอง และอิสลามยังห้ามมิให้รุกรานผู้อื่นด้วย แท้จริงพระองค์ทรงกริ้วผู้รุกราน และได้ระบุในอัลกุรอาน ซูเราะฮ์ อัลบาเกาะเราะฮ์ โองการที่ 194 ความว่า
"ดังนั้นผู้ใดละเมิดต่อพวกเจ้า ก็จงละเมิดต่อเขาเยี่ยงที่เขาละเมิดต่อพวกเจ้า"
อิสลามห้ามการสู้รบและการนองเลือดอย่างเด็ดขาด แต่หากสู้รบเพื่อป้องกันตนเองก็เป็นสิ่งที่อิสลามอนุญาต ดังปรากฏในอัลกุรอาน ซูเราะฮ์ อัลบาเกะเราะฮ์ โองการที่ 216 ความว่า
"การสู้รบได้ถูกกำหนดแก่พวกเจ้า ทั้งที่มันเป็นที่รังเกียจแก่พวกเจ้า"
และการเปิดฉากจู่โจมต่อผู้อื่น เป็นสิ่งที่อิสลามห้ามอย่างเด็ดขาด
ถึงแม้ว่า จิฮาด มีความหมายว่า การสู้รบเพื่อป้องกันศาสนาและและตนเองนั้น มิได้จำกัดอยู่เฉพาะสำหรับการสู้รบในสมรภูมิเท่านั้น แต่เป็นการจิฮาดต่อทรัพย์สมบัติ จิตใจ และการสู้รบทางความคิด และแสวงหาหนทางต่างๆ เพื่อเป็นการตอบโต้ศัตรูในทุกรูปแบบ โดยมีจุดประสงค์เพื่อป้องกันสังคมอิสลามและหลักการศรัทธาของหมู่ชนในสังคมให้รอดพ้นจากการทำร้ายของศัตรู ซึ่งเรื่องต่างๆ ดังกล่าวเป็นสิทธิอันชอบธรรมสำหรับทุกชนชาติ และถูกแทรกแซงจากข้อตกลงระหว่างประเทศในปัจจุบัน
เมื่อศัตรูมุสลิมต้องการสร้างสันติภาพ และหยุดการหลั่งเลือด อิสลามก็กำชับมุสลิมให้ยอมรับสันติภาพนั้น ดังปรากฏในคัมภีร์อัลกุรอาน ซูเราะฮ์ อัลอัมฟาล โองการที่ 61 ความว่า
"และหากพวกเขาโอนอ่อนมาเพื่อการประนีประนอมแล้ว เจ้าก็จงโอนอ่อนตามเพื่อการนั้นด้วย
และจงมอบหมายแด่อัลลอฮ์เถิด"
ยิ่งกว่านั้นอิสลามยังเรียกร้องให้มุสลิมอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างสันติ และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับพวกเขาในขณะที่มั่นใจว่าพวกเขาจะไม่ทำร้ายมุสลิม ซึ่งจะพบเห็นได้ว่าอัลกุรอาน กำชับให้มุสลิมเชื่อมความสัมพันธ์กับผู้อื่นอย่างยุติธรรมและสันติ ดังปรากฏในซูเราะฮ์ อัลมุมตะฮินะห์ โองการที่ 8 ความว่า
"อัลลอฮ์มิได้ทรงห้ามพวกเจ้าเกี่ยวกับบรรดาผู้ที่มิได้ต่อต้านพวกเจ้าในเรื่องศาสนา
และพวกเขามิได้ขับไล่ออกจากบ้านเรือนของพวกเจ้า
ในการที่พวกเจ้าจะทำวามดีแก่พวกเขา และให้ความยุติธรรมแก่พวกเขา
แท้จริงอัลลอฮ์ทรงรักผู้มีความยุติธรรม"
ซึ่งอัลกุรอานอธิบายให้ทราบว่า เป้าหมายของอิสลามคือการเผยแพร่อิสลามและอภัยโทษระหว่างมนุษย์ พร้อมทั้งเกื้อกูลกันเพื่อก่อให้เกิดความสงบสุข
อย่างไรก็ตามจะพบเห็นว่าสื่อระหว่างประเทศบางสื่อพยายามรุกรานอิสลามโดยกล่าวว่า ฮิสลามเป็นศาสนาที่ส่งเสริมความรุนแรง ชาตินิยม และการก่อการร้าย ซึ่งข้อกล่าวหาดังกล่าวไม่มีมูลความจริง ซึ่งไม่มีในพื้นฐานของอิสลาม และตรงกันข้ามอย่างสิ้นเชิง อิสลามเป็นศาสนาแห่งความเมตตาปรานี และสันติภาพ
ศาสตราจารย์ ดร. มะห์มูด ฮัมดี ซักซูก