ขั้นตอนในการอบรมเลี้ยงดูลูกๆ
  จำนวนคนเข้าชม  2889


ขั้นตอนในการอบรมเลี้ยงดูลูกๆ 

 

แปลเรียบเรียง .อาบีดีน พัสดุ

 

          ด้วยความเข้าใจและรับรู้ของเราเกี่ยวกับภาระหน้าที่อันสำคัญที่ได้ถูกวางไว้บนบ่าของพวกเรา เกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูบรรดาลูกๆของเรา และทำให้พวกเขาเติบโตเป็นคนดี จึงจำเป็นที่จะต้องดำเนินตามขั้นตอนอันสำคัญที่อัลกุรอ่านได้ระบุเอาไว้  คำสั่งสอนของท่านนบี  เรื่องราวที่ดำเนินไปในชีวิตของท่าน  ตลอดจนแนวทางการปฏิบัติของบรรดาศาสนทูตและผู้ที่ประพฤติดีทั้งหลายในเรื่องเหล่านี้

 

         และจากขั้นตอนเหล่านั้น คือ การขอดุอาอฺ ให้แก่ลูกๆ ให้พวกเขาประพฤติดี ได้รับทางนำ และคุณความดีทั้งหลาย ท่านนบีอิบรอฮีม อะลัยฮิสสะลาม ได้วิงวอน โดยกล่าวว่า

 

﴿ رَبِّ اجْعَلْ هَذَا الْبَلَدَ آمِنًا وَاجْنُبْنِي وَبَنِيَّ أَنْ نَعْبُدَ الْأَصْنَامَ [إبراهيم: 35]

 

     “และจงรำลึกเมื่ออิบรอฮีมกล่าวว่า โอ้พระเจ้าของข้าพระองค์ ขอพระองค์ทรงให้เมืองนี้ (มักกะฮฺ) ปลอดภัย

     และทรงให้ข้าพระองค์และลูกหลานของข้าพระองค์พ้นจากการบูชาเจว็ด

 

เช่นเดียวกัน ท่านได้กล่าววิงวอนว่า

 

﴿ رَبِّ اجْعَلْنِي مُقِيمَ الصَّلَاةِ وَمِنْ ذُرِّيَّتِي رَبَّنَا وَتَقَبَّلْ دُعَاءِ [إبراهيم: 40]،

 

     “โอ้พระเจ้าของข้าพระองค์ ขอพระองค์ทรงให้ข้าพระองค์และจากลูกหลานของข้าพระองค์เป็นผู้ดำรงการละหมาด

     โอ้พระเจ้าของเรา ขอพระองค์ทรงตอบรับการวิงวอนของข้าพระองค์ด้วยเทอญ

 

ยกมือทั้งสองขึ้นวิงวอนด้วยความมุ่งมาตรปารถนาจากองค์อภิบาล พลางกล่าวว่า

 

﴿ رَبَّنَا وَاجْعَلْنَا مُسْلِمَيْنِ لَكَ وَمِنْ ذُرِّيَّتِنَا أُمَّةً مُسْلِمَةً لَكَ [البقرة: 128]،

 

     “ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าของข้าพระองค์ โปรดให้ข้าพระองค์ทั้งสองเป็นผู้นอบน้อมต่อพระองค์

     และโปรดให้มีขึ้นจากลูกหลานของพวกข้าพระองค์ ซึ่งประชาชาติที่นอบน้อมต่อพระองค์

 

         และนี่คือเหล่าบรรดาบ่าวของผู้ทรงเมตตา พวกเขาวิงวอนต่ออัลลอฮฺ ขอพระองค์ประทานลูกหลานที่ดีอันเป็นที่รื่นรมย์แก่สายตาของพวกเขา

 

﴿ وَالَّذِينَ يَقُولُونَ رَبَّنَا هَبْ لَنَا مِنْ أَزْوَاجِنَا وَذُرِّيَّاتِنَا قُرَّةَ أَعْيُنٍ وَاجْعَلْنَا لِلْمُتَّقِينَ إِمَامًا [الفرقان: 74]

 

     “และบรรดาผู้ที่กล่าวว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าของเรา ขอพระองค์โปรดประทานแก่เราซึ่งคู่ครองของเราและลูกหลานของเรา ให้เป็นที่รื่นรมย์แก่สายตาของเรา และทรงทำให้เราเป็นแบบอย่างแก่บรรดาผู้ยำเกรง

 

          และท่านนบี ซะกะรียา อะลัยฮิสสะลาม ท่านไม่เพียงแต่ขอลูกเท่านั้น , แต่ท่านวิงวอนขอให้พวกเขาเป็นลูกที่ดีเป็นลูกที่ซอลิฮฺอีกด้วย

 

﴿ هُنَالِكَ دَعَا زَكَرِيَّا رَبَّهُ قَالَ رَبِّ هَبْ لِي مِنْ لَدُنْكَ ذُرِّيَّةً طَيِّبَةً إِنَّكَ سَمِيعُ الدُّعَاءِ [آل عمران: 38]،

 

     “ที่โน่นแหละ ซะกะรียาได้วิงวอนต่อพระผู้เป้นเจ้าของเขาโดยกล่าวว่า ข้าแต่พระเจ้าของข้าพระองค์

     โปรดประทานแก่ข้าพระองค์ซึ่งบุตรที่ดีคนหนึ่งจากที่พระองค์ แท้จริงพระองค์เป็นผู้ทรงได้ยินคำวิงวอน

 

          และดุอาของพ่อที่ขอให้แก่ลูกของเขานั้น คือดุอาที่ได้รับการตอบรับ เป็นสิ่งที่ถูกคาดหวังว่าจะได้รับ ด้วยการอนุมัติจากอัลลอฮฺ , จากท่านอบีฮุร็อยเราะฮฺ  เล่าว่า ท่านร่อซู้ล  กล่าวว่า 

 

((ثلاث دعوات مستجابات لا شكَّ فيهن: دعوة المظلوم، ودعوة الوالد، ودعوة المسافر))

 

     “ดุอาสามประเภทที่จะได้รับการตอบรับ อย่างไม่มีข้อสงสัยในสิ่งเหล่านั้น การวิงวอนของผู้ถูกอธรรม , การวิงวอนของบิดา , และการวิงวอนของผู้เดินทาง

 

          อัลลอฮฺ ตะอาลา ผู้ทรงบังเกิดบิดา และทรงทำให้พวกเขามีความเมตตาต่อลูกของเขา , และมีความรักที่จะให้ลูกของเขาได้ชัยชนะและความสำเร็จทั้งในดุนยาและอาคีเราะฮฺ , ความเป็นห่วงเป็นใยต่อลูกในสิ่งเลวร้ายต่างๆที่จะมาประสบ - ทำให้การวิงวอนขอให้แก่ลูกของเขาได้รับการตอบรับ และแม่นั้น ความเมตตาและความเอื้ออาทรของนางย่อมมากกว่า การได้รับการตอบรับในการวิงวอนของนางจึงสมควรยิ่งกว่า 

 

         ท่านมะนาวี่ ร่อฮีมะฮุ้ลลอฮฺ ได้ให้เหตุผลที่การวิงวอนของพ่อที่ขอให้ลูกได้รับการตอบรับว่าเพราะความห่วงใยที่มีต่อลูกอย่างจริงใจ , เสียสละตัวเขาอย่างมากมายให้แก่ลูก  ดังนั้นเมื่อความห่วงใยถูกต้องเป็นจริง การวิงวอนของเขาจึงได้รับการตอบรับ และการที่ไม่ได้ระบุถึงแม่ ทั้งๆ ที่สิทธิของนางนั้นถูกเน้นย้ำ การวิงวอนของนางย่อมเข้าใกล้การตอบรับยิ่งกว่า  เพราะเป็นสิ่งที่สมควรกว่า"

 

     ท่านนบี  ได้ชี้แนะประชาชาติของท่านให้ขอดุอาอฺแก่ลูกหล่านก่อนที่พวกเขาจะถือกำเนิดมา  จากท่านอิบนุอับบาส เล่าว่า ท่านร่อซู้ล  กล่าวว่า

 

((لو أنَّ أحدهم إذا أراد أن يأتي أهله قال: بسم الله، اللهمَّ جنِّبنا الشيطان، وجنِّب الشيطان ما رَزقتنا، فإنه إن يقدر بينهما ولَد في ذلك، لم يضره شيطان أبدًا))

 

     “หากคนใดในหมู่พวกท่านต้องการเข้าหาภรรยาของตนเองและได้กล่าวว่าด้วยพระนามของอัลลอฮฺ โอ้อัลลอฮโปรดทรงให้ชัยฏอนห่างไกลจากเราและโปรดให้ชัยฏอนห่างไกลจากสิ่งที่พระองค์จะประทานให้แก่เราดังนั้นหากอัลลอฮได้กำหนดไว้ว่าเขาจะได้ลูกจากการนี้ชัยฏอนก็มิอาจทำอะไรแก่ลูกของเขาได้ตลอดไป

 

     ท่านนบี  ได้ขอดุอาให้ทารกหญิง , ดังที่ท่านหญิงอาอิชะฮฺ  ได้เล่าไว้ โดยนางกล่าวว่า แท้จริงท่านร่อซู้ล  บรรดาทารกได้ถูกนำมาหาท่าน ท่านนบี  จึงขอความจำเริญให้แก่พวกเขา และทำการตะหฺนีก

 

         กี่มากน้อยมาแล้วที่บรรดาเด็กๆ ได้รับความดีอันมากมาย จากบิดามารดาที่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องราวการขอดุอาอฺ  เหล่านี้คือสาเหตุที่ทำให้เด็กครองตนอยู่ในหลักการศาสนา ได้รับความดีทั้งในดุนยาและอาคีเราะฮฺ

 

          และจากขั้นตอนที่ควรให้ความสำคัญในการอบรมเลี้ยงดูลูกคือการมีเมตตาแก่พวกเขา การแสดงออกซึ่งความเอื้ออาทรและความรักต่อพวกเขา , และนี่คือเรื่องที่สำคัญมากซึ่งบรรดาเด็กๆต้องการ  กี่มากน้อยแล้วที่เด็กๆ ต้องอยู่กับช่วงเวลาที่ปราศจากความเอื้ออาทร เป็นเหตุแห่งปัญหาที่บิดามารดาไม่สามารถที่จะยอมรับสิ่งเหล่านั้นได้  ดังนั้นการแก้ปัญหาที่ดีที่สุดคือการจูบปลายคิ้วของลูกชายหรือลูกสาว โอบกอดพวกเขาและคำพูดปลอบขวัญที่ออกมาจากหัวใจสู่หัวใจ

          แท้จริงท่านนบี  เป็นตัวอย่างอันสูงส่งในเรื่องเหล่านี้ ท่านได้เตือนให้ระวังจากการปฏิสัมพันธ์กับเด็กๆ ด้วยความแข็งกระด้าง ดังในซอฮีฮฺทั้งสอง จากฮาดีษของท่านอบีฮุร็อยเราะฮฺ  ได้เล่าว่า 

 

قبَّل رسول الله صلى الله عليه وسلم الحسنَ بن علي وعنده الأقرع بن حابِس التميمي جالسًا، فقال الأقرع: إنَّ لي عشرةً من الولد ما قبَّلتُ منهم أحدًا، فنظر إليه رسول الله صلى الله عليه وسلم ثم قال: ((مَن لا يَرحم لا يُرحم))

 

     “ท่านร่อซู้ล  จูบท่านฮาซันบินอาลี โดยท่านอักรออฺ บิน ฮาบิส อัตตัยมี่ ได้นั่งอยู่ด้วย 

     ท่าน อัลอักรออฺ กล่าวว่า ฉันมีลูกสิบคน แต่ฉันไม่เคยจูบพวกเขาเลย ท่านนบีได้มองไปยังท่านอักรออฺ

     แล้วท่านนบีกล่าวว่า ((مَن لا يَرحم لا يُرحم)) ใครที่ไม่มีเมตตา เขาก็ย่อมไม่ได้รับความเมตตา

 

          ท่านนบี  ลงจากมิมบัรซึ่งท่านกำลังทำการเทศนาแก่บรรดามุสลิม เมื่อท่านเห็นฮาซันและฮุเซนกำลังเดินปีนป่ายเข้ามา , ท่านนบี  มิอาจอดใจจากภาพเหล่านั้น, อันเนื่องจากความเมตตาและความรักที่มีแก่พวกเขา

จากอบีบุรอยดะฮฺ  เล่าว่า 

 

: كان رسول الله صلى الله عليه وسلم يَخطبنا، إذ جاء الحسن والحسين عليهما قَميصان أحمران يَمشيان ويعثران، فنزل رسول الله صلى الله عليه وسلم من المنبر فحملهما ووضعهما بين يديه، ثم قال: ((صدَق الله: ﴿ وَاعْلَمُوا أَنَّمَا أَمْوَالُكُمْ وَأَوْلَادُكُمْ فِتْنَةٌ [التغابن: 15]، فنظرتُ إلى هذين الصبيين يمشيان ويعثران، فلم أصبِر حتى قطعتُ حديثي ورفعتهما

 

          ท่านร่อซู้ล  ได้คุฏบะฮฺให้พวกเรา ครั้นเมื่อท่านฮาซันและท่านฮุเซนได้เข้ามา ทั้งสองสวมเสื้อสีแดง เดินปีนป่ายเข้ามา , ท่านร่อซู้ล  จึงลงจากมิมบัร และอุ้มท่านทั้งสองขึ้น และวางทั้งสองไว้ข้างหน้าท่าน ,

     หลังจากนั้น ท่านนบี  กล่าวว่า (อัลลอฮฺทรงตรัสสมจริงแล้ว) 

﴿ وَاعْلَمُوا أَنَّمَا أَمْوَالُكُمْ وَأَوْلَادُكُمْ فِتْنَةٌ [التغابن: 15]

อันที่จริงทรัพย์สินและลูกหลานของสูเจ้านั้น เป็นเครื่องทดสอบ

     ฉันได้มองเห็นเด็กสองคนกับลังเดินปีนป่าย, ฉันจึงไม่สามารถที่จะอดใจ จนฉันต้องหยุดการคุฏบะฮฺและอุ้มเด็กทั้งสองขึ้นมา

     ท่านนบี  ได้สุญูดเป็นเวลานาน , อันเนื่องจากท่านฮุเซน ได้ขึ้นขี่บนหลังท่าน

 

จากท่าน อับดุลลอฮฺ บิน ชั๊ดด๊าด จากบิดาของเขา เล่าว่า

"خرج علينا رسولُ الله صلى الله عليه وسلم في إحدى صلاتي العشاء وهو حاملٌ حسنًا أو حُسينًا، فتقدَّم رسول الله صلى الله عليه وسلم فوضعه، ثم كبَّر للصلاة فصلَّى، فسجد بين ظهراني صلاته سجدةً أطالها، قال أَبي: فرفعتُ رأسي وإذا الصَّبي على ظهر رسول الله صلى الله عليه وسلم وهو ساجدٌ، فرجعتُ إلى سجودي، فلما قضى رسولُ الله صلى الله عليه وسلم الصلاةَ، قال الناس: يا رسول الله، إنك سجدتَ بين ظهراني صلاتك سجدةً أطلتَها، حتى ظننا أن قد حدث أمرٌ، أو أنه يوحى إليك؟ قال: ((كل ذلك لم يكن، ولكن ابني ارتحلني؛ فكرهتُ أن أعجله حتى يَقضي حاجته))[17].

 

     “ท่านนบี  ได้ออกมาหาพวกเรา หนึ่งในละหมาดช่วงอิชา โดยท่านนบี  ได้อุ้มท่านฮาซันหรือฮุเซน ท่านร่อซู้ล  ได้ขึ้นไปข้างหน้าและวางเขาลง , ต่อมาท่านนบี  ได้ตักบีรเพื่อทำการละหมาด , ท่านได้สุญูดในละหมาด เป็นการสุญูดที่ยาวนาน 

     พ่อของฉันกล่าวว่า ฉันได้เงยศรีษะขึ้นมาและเห็นเด็กอยู่บนหลังท่านร่อซู้ล โดยที่ท่านนบีกำลังสุญูด , ฉันจึงกลับไปสู่การสุญูด 

     และเมื่อท่านนบี  ได้เสร็จสิ้นจากการละหมาด , บรรดาผู้คนต่างกล่าวว่า โอ้ท่านร่อซูลุ้ลลอฮฺ ท่านได้สุญูดในละหมาดเป็นเวลานาน , จนพวกเราคิดไปว่ามีเหตุการณ์เกิดขึ้น , หรือได้มีโองการประทานมาให้แก่ท่าน

     ท่านนบี  กล่าวว่า (มิได้มีสิ่งใดเกิดขึ้นตามที่พวกท่านได้กล่าวมา , ทว่าลูกของฉันได้ขึ้นขี่บนหลังฉัน , ฉันจึงไม่ต้องการรีบเร่ง ,ปล่อยให้เขาเสร็จสิ้นจากความต้องการของเขาเสียก่อน

 

          ท่านนบี  ได้ใช้เวลาในการละหมาดสั้นลง เนื่องจากความเมตตาต่อเด็กเล็ก ขณะที่ท่านได้ยินเสียงร้องของเด็ก , ท่านนบี  จึงใช้เวลาละหมาดสั้นลง เพราะแม่ของเขากำลังอยู่ในละหมาด 

 

จากท่านอนัส บิน มาลิก ท่านนบี กล่าวว่า 

 

((إنِّي لأدخل في الصلاة وأنا أريد إطالتها، فأسمع بكاءَ الصَّبي؛ فأتجوَّز في صلاتي مما أعلم من شدَّة وَجْدِ أمِّه من بكائه))[18]

 

     “แท้จริงฉันได้เข้าสู่การละหมาด โดยตั้งใจที่จะละหมาดให้ยาวนาน แต่แล้ว (ขณะนำละหมาดอยู่) ฉันก็ได้ยินเสียงร้องของเด็ก ฉันจึงได้รวบรัดการละหมาดของฉัน เพราะรู้ดีถึงความลำบากของผู้เป็นแม่จากการร้องไห้ของลูก

 

 

 

คุตบะห์วันศุกร์