ลูก คือ ความรับผิดชอบ
  จำนวนคนเข้าชม  2792


ลูก คือ ความรับผิดชอบ

 

แปลเรียบเรียง .อาบีดีน พัสดุ

 

          หนึ่งในความโปรดปรานอันยิ่งใหญ่ที่อัลลอฮฺ ประทานให้แก่ปวงบ่าวของพระองค์ คือ เนี๊ยมัตแห่งลูกๆ , เมื่อพวกเขาเป็นผู้ประพฤติดีนั่นย่อมหมายถึง การงานที่ดี ที่ยังคงต่อเนื่องถึงบิดามารดาแม้ว่าทั้งสองจะสิ้นชีวิตไปแล้วก็ตาม , ท่านนบี กล่าวว่า 

 

((إذا مات الإنسان انقطع عنه عمله إلَّا من ثلاثة: إلا من صدقة جارية، أو علم يُنتفع به، أو ولد صالح يَدعو له))

 

     “เมื่อมนุษย์สิ้นชีวิตลง การงานของเขาจะถูกตัดขาดลง ยกเว้นสามประการ นอกจากการบริจาคทานที่ถาวร , หรือความรู้ที่ยังประโยชน์ , หรือลูกที่ดีขอดุอาให้แก่เขา

 

          การที่พวกเขาเป็นคนดี ย่อมทำให้บิดามารดาได้รับความดี , การเชื่อฟัง และผลประโยชน์ต่างๆที่ทั้งสองจะได้รับ , เช่นนั้นแหละ ที่เนี๊ยมัตแห่งลูกๆจึงเป็นความดีกลับไปสู่บิดามารดาทั้งในดุนยาและอาคีเราะฮฺ  และพวกเขาคือเครื่องประดับของชีวิตในโลกดุนยา

 

﴿ الْمَالُ وَالْبَنُونَ زِينَةُ الْحَيَاةِ الدُّنْيَا [الكهف: 46]،

 

ทรัพย์สมบัติและลูกหลานคือ เครื่องประดับแห่งการดำรงชีวิตในโลกนี้

 

          บรรดาลูกๆ นั้น หมายถึง ลูกชายและลูกสาว , และความดีในบรรดาลูกสาวที่ปรากฏในบทบัญญัติแห่งอิสลามได้มีการเน้นย้ำ อันเนื่องมาจากการที่พวกญาฮีลียะฮฺนั้นรังเกียจลูกสาว

 

          บรรดาลูกๆ นั้น ถึงแม้ว่าสำหรับพวกเขาคือความดี , พวกเขาคือความโปรดปราน นิอฺมัต  เช่นเดียวกันพวกเขาคืออะมานะฮฺ ความรับผิดชอบที่จำเป็นจะต้องให้การอบรมเลี้ยงดูในแนวทางที่อัลลอฮฺทรงรัก 

 อัลลอฮฺ ตรัสว่า

 

﴿ إِنَّ اللَّهَ يَأْمُرُكُمْ أَنْ تُؤَدُّوا الْأَمَانَاتِ إِلَى أَهْلِهَا [النساء: 58]،

 

แท้จริงอัลลอฮฺทรงสั่งใช้พวกเจ้า ให้มอบคืนบรรดาของฝากแก่เจ้าของของมัน

 

         เหล่านี้ถือเป็นความรับผิดชอบที่สำคัญยิ่งเหนือผู้คนทั้งหลาย , และการบิดพลิ้วในความรับผิดชอบนี้ ถือเป็นอาชญากรรมที่ร้ายแรง

 

﴿ يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا لَا تَخُونُوا اللَّهَ وَالرَّسُولَ وَتَخُونُوا أَمَانَاتِكُمْ وَأَنْتُمْ تَعْلَمُونَ [الأنفال: 27]

 

     “บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย จงอย่าทุจริตต่ออัลลอฮฺ และร่อซู้ล และจงอย่าทุจริตต่อบรรดาของฝากของพวกเจ้า โดยที่พวกเจ้ารู้กันอยู่

 

          ขอสาบานต่ออัลลอฮฺ มันคือ อะมานะฮฺ คือความรับผิดชอบ เนื่องเพราะคำบัญชาจากผู้ทรงอำนาจ ผู้ทรงสูงส่งเหนือสิ่งอื่นใด ได้มีมาเพื่อบ่งถึงความจำเป็นที่จะต้องปกป้องบรรดาลูกๆให้พ้นจากไฟนรก  ในการที่บรรดาผู้ปกครองจะต้องทำให้พวกเขาห่างไกลจากทุกวิถีทางที่จะนำพาพวกเขาสู่นรกญะฮันนัม

 

﴿ يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا قُوا أَنْفُسَكُمْ وَأَهْلِيكُمْ نَارًا وَقُودُهَا النَّاسُ وَالْحِجَارَةُ عَلَيْهَا مَلَائِكَةٌ غِلَاظٌ شِدَادٌ لَا يَعْصُونَ اللَّهَ مَا أَمَرَهُمْ وَيَفْعَلُونَ مَا يُؤْمَرُونَ [التحريم: 6]؛

 

     “โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย จงคุ้มครองตัวของพวกเจ้าและครอบครัวของพวกเจ้าให้พ้นจากไฟนรก เพราะเชื้อเพลิงของมันคือมนุษย์ และก้อนหิน มีมลาอีกะฮฺผู้แข็งกร้าวห้าวหาญคอยเฝ้ารักษามันอยู่ พวกเขาจะไม่ฝ่าฝืนอัลลอฮฺในสิ่งที่พระองค์ทรงบัญชาแก่พวกเขา และพวกเขาจะปฏิบัติตามที่ถูกบัญชา

 

          คือ ทำให้พวกเขามีความเข้าใจ , ให้พวกเขามีความประพฏติที่ดี  พร่ำสอนพวกเขาสู่การเชื่อฟังอัลลอฮฺ และยับยั้งพวกเขาจากเหตุแห่งการถูกลงโทษ ด้วยการให้คำแนะนำตักเตือนและให้บทเรียนแก่พวกเขา , โองการนี้ได้บ่งถึงความจำเป็นของการสั่งใช้เรื่องความดีในเรื่องศาสนาแก่ผู้ที่ใกล้ชิดตามลำดับ  

          มีผู้กล่าวว่า พวกท่านทั้งหลายจงเผยการทำอิบาดะฮฺของพวกท่าน เพื่อให้พวกเขาได้เรียนรู้จากพวกท่าน  และเพื่อให้พวกเขาคุ้นชิน (ต่อการทำอิบาดะฮฺ) เหมือนกับที่พวกท่านคุ้นชิน

 

          ได้มีการแจกแจงจากศาสนทูตแห่งองค์อภิบาลแห่งสากลโลก ว่าคนหนึ่งจะถูกถามถึงผู้ที่อยู่ภายใต้การปกครองดูแลของเขาในวันกิยามะฮฺ แล้วผู้ที่ปล่อยปะละเลยลูกๆของเขาจะตอบคำถามเหล่านั้นเช่นใด ? ผู้ที่บิดพลิ้วต่ออะมานะฮฺจะกล่าวอย่างไร

ท่านนบี กล่าวว่า

 

((كلُّكم راعٍ، وكلكم مسؤول عن رعيته...، والرجل راعٍ في أهله وهو مسؤول عن رعيَّته، والمرأة راعية في بيت زَوجها ومسؤولة عن رعيَّتها))

 

     “ทุกคนในหมู่พวกท่านเป็นผู้รับผิดชอบ และทุกคนในหมู่พวกท่านต้องถูกสอบสวนต่อความรับผิดชอบของเขา ... สามีเป็นผู้รับผิดชอบในครอบครัวของเขา และเขาต้องถูกสอบสวนในความรับผิดชอบของเขา ภรรยาเป็นผู้รับผิดชอบในครอบครัวสามีของนาง และนางต้องถูกสอบสวนในความรับผิดชอบของนาง

 

         เพราะฉะนั้น การให้การอบรมบรรดาลูกๆ และดูแลปกครองพวกเขา ถือเป็นภาระหน้าที่ การปล่อยปะละเลยไม่ปกปักษ์รักษา ย่อมเป็นสาเหตุแห่งบั้นปลายอันทุกข์ทรมานที่รอคอยผู้เป็นบิดามารดาอยู่  แท้จริงท่านนบี  กล่าวว่า 

 

((ما مِن عبد يَسترعيه الله رعيَّةً، يموت يوم يموت وهو غاشٌّ لرعيَّته، إلا حرَّم الله عليه الجنَّة))

 

     “ไม่มีบ่าวคนใดที่อัลลอฮฺทรงให้เขามีหน้าที่รับผิดชอบเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ในวันที่เขาเสียชีวิตนั้น เขาเสียชีวิตในขณะที่เขาคดโกงต่อหน้าที่รับผิดชอบของเขา เว้นแต่อัลลอฮฺจะทรงห้ามสวรรค์แก่เขา

 

          เด็กที่ถูกกำเนิดมา ได้ถูกกำเนิดโดยอยู่บนแนวทางแห่งการให้เอกภาพต่ออัลลอฮฺ ซึ่งพระองค์ทรงสร้างมนุษย์ขึ้นมา หน้าที่ของบิดามารดาเพียงรักษาความดีที่มีอยู่ในตัวของพวกเขา ปกป้องเขาให้พ้นจากความชั่วร้ายต่างๆ ที่เฝ้ารอเขาอยู่ ทว่าเคราะห์กรรมอันใหญ่หลวงคือ การที่บิดามารดาไม่เพียงบกพร่องต่อการดูแลลูกเท่านั้น ทั้งสองยังเป็นต้นเหตุแห่งการหันเหออกจากหนทางเที่ยงตรง  ต้นเหตุแห่งหนทางการหลงผิด เป็นดั่งกุญแจแห่งความชั่วร้าย และเชื้อเพลิงแห่งความพินาศ 

 

จากท่าน อบี ฮุร็อยเราะฮฺ  เล่าว่า ท่านร่อซู้ล กล่าวว่า

 

((ما مِن مولود إلَّا يولد على الفِطرة، فأبواه يهوِّدانه، أو ينصِّرانه، أو يمجِّسانه...))

 

     “ไม่มีเด็กคนใดที่ถูกกำเนิดมา นอกเสียจากว่าจะถูกให้กำเนิดมาบนธรรมชาติ (แห่งการศรัทธาและรู้ถึงเอกภาพของผู้ทรงสร้าง) ดังนั้น พ่อแม่ของเขา ที่จะทำให้เขาเป็นยิว หรือเป็นคริสเตียน หรือเป็นผู้บูชาไฟ

 

หลังจากนั้น ท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺได้อ่าน

﴿ فِطْرَةَ اللَّهِ الَّتِي فَطَرَ النَّاسَ عَلَيْهَا لَا تَبْدِيلَ لِخَلْقِ اللَّهِ ذَلِكَ الدِّينُ الْقَيِّمُ وَلَكِنَّ أَكْثَرَ النَّاسِ لَا يَعْلَمُونَ  

[الروم: 30][5].

 

     “ธรรมชาติของอัลลอฮฺซึ่งพระองค์ทรงสร้างมนุษย์ขึ้นมา ไม่มีการเปลี่ยนแปลงในการสร้างของอัลลอฮฺ นั่นคือศาสนาอันเที่ยงตรง แต่ส่วนมากของมนุษย์ไม่รู้

 

         เพราะฉะนั้น บทบาทของบิดามารดาในการกำหนดแนวทางการดำเนินชีวิตของบรรดาลูกๆ ถือเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมาก ดังที่ทั้งสองคือสาเหตุให้ลูกเติบโตเป็นคนดี เช่นเดียวกัน ทั้งสองคือสาเหตุหลักในการทำให้ลูกเป็นคนที่ไม่ดี 

 

          อิบนุ้ลก็อยยิม ร่อฮิมะฮุ้ลลอฮฺ กล่าวว่ากี่มากน้อยมาแล้ว ผู้ที่ปล่อยปะละเลย ทำให้ลูกของเขาตกอยู่ในความยากลำบากทั้งในดุนยาและอาคีเราะฮฺ , ละทิ้งการอบรมบ่มนิสัย , สนับสนุนลูกตามความต้องการของเขาที่ไม่ถูกต้อง , กล่าวอ้างว่าทำให้ลูกสูงส่ง แต่ที่จริงแล้วกำลังทำให้ตกต่ำ , อ้างว่าเมตตาลูกแต่ที่จริงแล้วอธรรมและปิดกั้นลูกจากสิ่งที่ดี  ผลประโยชน์ในตัวลูกของเขาจึงสูญสิ้นไป ส่วนได้ของเขาทั้งในดุนยาและอาคีเราะฮฺหมดสิ้น , เมื่อท่านได้พิจารณาถึงความเสื่อมเสียที่เกิดขึ้นกับเด็ก ท่านจะพบว่าในภาพรวมนั้น เป็นผลมาจากบรรดาผู้ปกครอง

 

          ท่านอิหม่ามอิบนุ้ลก็อยยิม ร่อฮิมะฮุ้ลลอฮฺ ได้พูดถึงข้อเท็จจริง และเหล่านี้คือสิ่งที่เกิดขึ้นและเป็นที่ประจักษ์ในยุคสมัยของพวกเรา และมันจะยังคงเกิดขึ้นในทุกยุคทุกสมัย

 

 

คุตบะห์วันศุกร์