ประโยชน์ของซุนนะฮ์
แปลเรียบเรียง อ.อาบีดีน พัสดุ
สำหรับอิบาดะฮฺที่เป็นซุนนะฮฺต่างๆ ล้วนแล้วแต่มีคุณประโยชน์มากมาย , อาทิเช่น การเข้าใกล้ชิดยังอัลลอฮฺ เสริมให้ฟัรฎูครบถ้วนสมบูรณ์ และการเพิ่มพูนความดี , จากท่าน อบีฮุร็อยเราะฮฺ เล่าว่า ฉันได้ยินท่านร่อซู้ล กล่าวว่า
"أَوَّلُ مَا يُحَاسَبُ بِهِ الْعَبْدُ مِنْ عَمَلِهِ يُحَاسَبُ بِصَلَاتِهِ؛ فَإِنْ صَلَحَتْ فَقَدْ أَفْلَحَ وَأَنْجَحَ، وَإِنْ فَسَدَتْ فَقَدْ خَابَ وَخَسِرَ، وَإِنِ انْتَقَصَ مِنَ الْفَرِيضَةِ شَيْئًا قَالَ: انْظُرُوا هَلْ لِعَبْدِي مِنْ تَطَوُّعٍ، فَيُكَمَّلُ بِهِ مَا انْتَقَصَ مِنَ الْفَرِيضَةِ، ثُمَّ يَكُونُ سَائِرُ عَمَلِهِ عَلَى نَحْوِ ذَلِكَ"(رَوَاهُ أَحْمَدُ وَصَحَّحَهُ الْأَلْبَانِيّ).
“สิ่งแรกที่บ่าวจะถูกสอบสวนในวันกิยามะฮ์จากอะมัลของเขา คือการละหมาด ดังนั้นถ้าหากละหมาดของเขาดี แน่นอนเขาย่อมได้รับชัยชนะและประสบความสำเร็จ และถ้าหากละหมาดของเขาบกพร่อง แน่นอนเขาย่อมสิ้นหวังและขาดทุน ฉะนั้นถ้าหากละหมาดฟัรฎูของเขามีบางสิ่งที่บกพร่อง (กระทำไม่สมบูรณ์) อัลเลาะฮ์ ผู้ทรงยิ่งใหญ่และทรงเกียรติจึงตรัส (แก่มะลาอิกะฮ์) ว่า พวกเจ้าจงดูว่า บ่าวของข้ามีอะมัลสุนัต (คือละหมาดสุนัตก่อนและหลังฟัรฎู) หรือไม่? แล้วทำการเสริมสิ่งบกพร่องจากละหมาดฟัรฎูด้วยอะมัลสุนัต หลังจากนั้นบรรดาอะมัลอื่นๆ ของเขาก็อยู่บนหลักการดังกล่าว”
บรรดามุมินทั้งหลาย และจากสิ่งที่ส่งเสริมให้กระทำ คือการบริจาคทรัพย์ , ไม่ว่าจะเป็นสิ่งของ เช่น อาหาร น้ำ เสื้อผ้า , หรือ เป็นเงินทอง , ยิ่งผู้ที่ยากจนมีความใกล้ชิดกับท่านมากเท่าใด การบริจาคทานของท่านก็จะยิ่งได้รับภาคผลบุญมากขึ้นเท่านั้น
และจากสิ่งที่ส่งเสริมให้กระทำ คือการถือศีลอดสุนัต , ท่านจงรักษาการถือศีลอดสามวันในแต่ละเดือน เพราะมันคือการถือศีลอดตลอดทั้งปี , และหากท่านมีความสามารถ ก็จงถือศีลอดวันจันทร์และวันพฤหัสบดี , ถือศีลอดหกวันในเดือนเชาวาล , วันที่เก้าของเดือนซุ้ลฮิจยะฮฺ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันอารอฟะฮฺ , และจงถือศีลอดในเดือนของอัลลอฮฺ เดือนมุฮัรรอม และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในวันที่เก้าและวันที่สิบ
จากท่านอบีฮุร็อยเราะฮฺ กล่าวว่า
"أَوْصَانِي خَلِيلِي بِثَلَاثٍ: صِيَامِ ثَلَاثَةِ أَيَّام من كل شهر وركعتي الضُّحَى وَأَن أوتر قبل أَن أَنَام"(مُتَّفَقٌ عَلَيْهِ).
“ผู้เป็นที่รักของฉัน(นบีมูฮัมหมัด) ได้สั่งเสียให้ฉันถือศีลอด 3 วัน ในทุกๆเดือนละหมาดฎุฮา 2 ร๊อกอะฮ์ และให้ฉันละหมาดวิตร์ก่อนที่ฉันจะนอน”
และจากสิ่งที่ส่งเสริมให้กระทำ คือการทำฮัจย์และอุมเราะฮฺซุนนะฮฺเมื่อมีความสามารถที่จะทำได้ , จากท่านอิบนิมัสอู๊ด เล่าว่า ท่านร่อซู้ล กล่าวว่า
"تَابِعُوا بَيْنَ الْحَجِّ وَالْعُمْرَةِ فَإِنَّهُمَا يَنْفِيَانِ الْفَقْرَ وَالذُّنُوبَ كَمَا يَنْفِي الْكِيرُ خَبَثَ الْحَدِيدِ وَالذَّهَبِ وَالْفِضَّةِ وَلَيْسَ لِلْحَجَّةِ الْمَبْرُورَةِ ثَوَابٌ إِلَّا الْجَنَّةَ"(رَوَاهُ التِّرْمِذِيُّ وَصَحَّحَهُ الْأَلْبَانِيّ).
“จงปฏิบัติฮัจญ์และอุมเราะฮฺอย่างสม่ำเสมอ แท้จริงสองสิ่งนี้จะลบล้างความขัดสนและความผิดเช่นเครื่องหล่อ ที่ลบล้างเอาสิ่งสกปรกออกจากเหล็ก ทองคำและเงิน และฮัจญ์มับรูรผลตอบแทนคือสวนสวรรค์”
บรรดามุอฺมินทั้งหลาย และจากสิ่งสำคัญที่ส่งเสริมให้กระทำ และไม่ควรละเลยเป็นอย่างยิ่ง นั่นคือการอ่านอัลกุรอ่านอย่างสม่ำเสมอ , ซึ่งเป็นประตูแห่งการแสวงหาคุณความดีที่ยิ่งใหญ่ และยังเป็นเหตุอันสำคัญที่จะทำให้จิตใจเบิกบาน และความจรัสแจ้งแห่งหัวใจ โดยให้มีตารางการอ่านอัลกุรอ่านในทุกๆวันอย่างสม่ำเสมอไม่ว่าจะอยู่ในขณะเดินทางหรือไม่เดินทางก็ตาม , ไม่ว่าจะสบายดีหรือเจ็บป่วย
หลังจากนั้น หากว่าการอ่านอัลกุรอ่านตามที่ได้กำหนดไว้ตกหล่นหรือไม่ครบถ้วนอันเนื่องจากมีสาเหตุหรือไม่ก็ตาม ก็ให้มีการชดเชยในวันต่อมา , และควรให้ตารางการอ่านอัลกุรอ่านเป็นไปตามจำนวนของวันในแต่ละเดือนเพื่อให้เกิดการเป็นระบบระเบียบ , ซึ่งอัลกุรอ่านมีจำนวน ๓๐ ยุซ เช่นเดียวกับเดือนแต่ละเดือนซึ่งส่วนใหญ่ก็จะมี ๓๐ วัน , เพราะฉะนั้นควรอ่านวันละหนึ่งยุซ และหากในเดือนนั้นมี ๒๙ วัน ในวันสุดท้ายของเดือนก็อ่านสองยุซ , ด้วยการอนุมัติของอัลลอฮฺ ท่านสามารถที่จะกระทำได้ ท่านจะได้รับประโยชน์ และจะได้เห็นผลดีของการกระทำเหล่านี้ในการดำเนินชีวิตของท่าน ในระยะเวลาอันใกล้
คุตบะห์วันศุกร์