การละหมาดของท่านนบี ตอน กล่าวตักบีร ( تَكْبِيْرَةُ الإِحْرَامِ )
อับดุลวาเฮด สุคนธา
การกล่าวตักบีร ว่า ( اَللهُ أَكْبَرُ ) เป็นการเริ่มเข้าสู่พิธีละหมาด พร้อมตั้งเจตนาละหมาดเพื่ออัลลอฮ์ การกล่าวตักบีรครั้งนี้เรียกว่า “ตักบีร่อตุ้ลอิหฺรอม” ขณะกล่าวตักบีรให้ยกมือทั้งสองข้างขึ้นเสมอไหล่หรือใบหู โดยพยายามให้ฝ่ามือหันตรงไปทิศกิบละฮ์ แล้วลดมือมือลงมากอดอก โดยวางมือขวากำลงบนหลังมือซ้าย หรือข้อมือ หรือแขนซ้ายแล้วทาบมือทั้งสองลงบนอก และบางครั้งก็ให้วางมือขวาบนแขนซ้ายโดยไม้ต้องกำ และการยกมือนั้นอนุญาตให้ยกหลังกล่าวตักบีรหรือก่อนตักบีรก็ได้เป็นบางครั้ง เนื่องจากมีรายงานที่ถูกต้อง ยืนยันไว้
ท่านค่อลีฟะฮ์อาลีและท่านอาบีสะอีดอัลคุดรีย์ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ ราย งานว่า ท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
مِفْتَاحُ الصَّلاَةِ الطُّهُورُ وَتَحْرِيمُهَا التَّكْبِيرُ وَتَحْلِيلُهَا التَّسْلِيمُ
“กุญแจสู่พิธีละหมาดคือความสะอาด (น้ำละหมาด) การเข้าสู่พิธีคือการตักบีร และการยุติพิธีคือการ กล่าวสลาม ”
(บันทึกโดยอะหมัด,อาบูดาวูด,อัดติรมิซีย์และอิบนุมาญะฮ์)
สาเหตุเรียกว่า "ตักบีร่อตุ้ลอิหฺรอม” เมื่อมีการกล่าวตักบีรนั้นหมายถึงการเริ่มเข้าสู่การละหมาดและห้ามจากผู้ละหมาดทำการสนทนา การกินการดื่มใดๆทั้งสิ้น การเริ่มต้นละหมาดด้วยกับการกล่าวตักบีร เพื่อให้เกียรติและความยิ่งใหญ่ต่อพระเจ้า จำเป็นที่ อิม่ามนั้นจะต้องเปล่งเสีย ตักบีร ดัง มีตัวบทรายงานจากท่าน ซะอีด บิน ฮาริส
(صلى بنا أبو سعيد فجهر بالتكبير حين رفع رأسه من السجود وحين سجد وحين رفع.. وقال: هكذا رأيت النبي صلى الله عليه وسلم ). متفق عليه.
"ครั้นเมื่อพวกเราได้ร่วมละหมาดกับอะบูซะอีด เขาก็ได้กล่าวตักบีรเสียงดังและในขณะเงยศรีษะจากการสูญูด ก้มลงสูญูด และ เงยอีกครั้งหนึ่ง เขากล่าวว่า ฉันเห็นท่านนบี ปฏิบัติละหมาดแบบนี้"
ท่านอะบูฮูรอยเราะ กล่าวว่า ท่านนบีกล่าววว่า
((وإذا كبر فكبروا)) متفق عليه.
“เมื่อจะเริ่มการตักบีร(อิม่าม) และ พวกเขา (มะมูม)จะตักบีร เช่นกัน”
การละหมาดยังไม่สมบูรณ์สำหรับผู้ตาม คือมะมูม เว้นแต่จะต้องกล่าวตักบีร
ซุนนะฮ ในการยกมือขึ้นตักบีรในการละหมาดนั้น มีอยู่ 4 ครั้งด้วยกันคือ
ครั้งที่ 1 ในตักบีรเอี้ยะฮรอม ซึ่งเป็นตักบีรแรกในการเริ่มละหมาด
ครั้งที่ 2 ก่อนจะทำการก้มรุกกั้ว
ครั้งที่ 3 หลังจากยืนขึ้นจากการก้มรุกกั้ว และ
ครั้งที่ 4 หลังจากการยืนขึ้นจากการนั่งตะชุฮุดครั้งแรก (ยืนขึ้นเพื่อละหมาดในร็อกกออัตที่ 3)
ซึ่งมีรายงานจากท่าน บิน อุมัร ได้รายงานว่า
- เมื่อท่านนบีมุฮัมมัด ได้เริ่มต้นทำการละหมาด ท่านจะทำการกล่าว อัลลอฮุอักบัร พร้อมทั้งได้ยกมือขึ้น
- และเมื่อท่านจะทำการก้มรุกกั้ว ท่านจะยกมือขึ้น
- และเมื่อท่านได้ยืนขึ้นจากการรุกกั้ว พร้อมทั้งกล่าวว่า ซะมีอัลลอฮุ ลิมัน ฮามิดะฮ (แปลว่า พระองค์อัลลอฮ ทรงได้ยินบรรดาผู้ที่สรรเสริญพระองค์) ท่านจะยกมือขึ้น
- และเมื่อท่านยืนขึ้นหลังจากการละหมาดร็อกกะอัต ที่ 2 แล้ว ท่านก็จะทำการยกมือขึ้น
(รายงานโดยอัลบุคคอรีอะบูดาวูด)
♦ การมองไปยังที่สูญูด
มีตัวบทรายงานท่านหญิงอาอิชะฮ์ กล่าวว่า
(دخل رسول الله صلى الله عليه وسلم الكعبة وما خلف بصره موضع سجوده حتى خرج منها). رواه الحاكم
“ในขณะท่านนบีเข้าไปยังบัยตุลลอฮฺสายตาของท่านนั้นมองไปยัง ณ สถานที่สูญูด จนกระทั่งออกจากกะบะฮฺ”
ผู้ทำการละหมาดนั้นจะต้องมองไปยังที่สูญูด ยกเว้นในบางกรณี
♦ การมองไปยังนิ้วชี้ในขณะนั่งตะชะฮุด
ท่าน อับดุลลอฮฺ บิน สุเบซ กล่าวว่า
لحديث عبد الله بن الزبير قال (كان رسول الله صلى الله عليه وسلم وضع يده اليسرى على ركبته اليسرى وأشار بأصبعه لا يجاوز بصره إشارته). رواه أبو داود
“ปรากฏว่าท่านนบี วางมือขวาบนขาข้างขวาและ วางมือซ้ายบนขาข้างซ้าย และท่าน ทำการชี้นิ้ว และมองไปยังนิ้วชี้นั้น”
♦ ในสภาพหวาดกลัว
รายงานหะดีษจากท่าน ซะล บิน อันซอละฮฺ กล่าวว่า
(ثوب بالصلاة - يعني صلاة الصبح - فجعل رسول الله صلى الله عليه وسلم يصلي وهو يلتفت إلى الشعب). رواه أبو داود
“ขณะท่านนบีละหมาดศุบฮี ท่านมองไปยังประชาชน”
มีบางทัศนะกล่าวว่าอนุญาตมองไปยังกะบะในขณะละหมาดได้ เพราะนั้นคือทิศกิลบะฮฺ ทัศนะนี้ถือว่าอ่อนหลักฐาน ท่านเชคอุษัยมีน
ลักษณะของการยกมือ
ยกมือให้ปลายนิ้วมือนั้นถึงปลายไหล่ทั้งสอง ซึ่งมีรายงานจากท่าน บิน อุมัร ได้รายงานว่า
(كان رسول الله صلى الله عليه وسلم إذا قام إلى الصلاة رفع يديه) حتى تكونا حذو منكبيه
"เมื่อท่านนบีมุฮัมมัด ได้เริ่มต้นทำการละหมาด ท่านจะทำการกล่าว อัลลอฮุอักบัร พร้อมทั้งได้ยกมือขึ้นถึงบ่าไหลทั้งสองข้าง"
ยกมือให้ปลายนิ้วมือนั้นถึงปลายติ่งหูสองข้าง ซึ่งมีรายงานจากท่าน มาลิก ได้รายงานว่า
(أن رسول الله صلى الله عليه وسلم كان إذا كبر رفع يديه حتى يحاذي بهما فروع أذنيه) رواه مسلم.
"เมื่อท่านนบีมุฮัมมัด ได้เริ่มต้นทำการละหมาด ท่านจะทำการกล่าว อัลลอฮุอักบัร พร้อมทั้งได้ยกมือขึ้นถึงติ่งหูทั้งสองข้าง"
รูปแบบการยกมือ
วิธีที่ดีที่สุดในการยกมือในขณะละหมาด การกระทำหลายรูปแบบตามที่ท่านนบีปฏิบัติเอาไว้
รูปแบบที่หนึ่ง กล่าวตักบีรพร้อมกับการยกมือทั้งสองข้าง รายงานจากท่าน อิบนุ อุมัร กล่าวว่า
(فرفع يديه حين التكبير) رواه البخاري .
"ท่านนบีจะยกมือพร้อมกับการกล่าวตักบีร"
รูปแบบที่สอง ยกมือแล้ว กล่าว ตักบีร รายงานจากท่าน อิบนุ อุมัร กล่าวว่า
(إذا قام إلى الصلاة رفع يديه ثم كبر). رواه مسلم
"ท่านนบีลุกขึ้นละหมาดจะยกมือ และการกล่าวตักบีร"
รูปแบบที่สาม กล่าวตักบรี และค่อยยกมือ รายงานจากท่าน มาลิก บิน อุวัยริส
(كان رسول الله صلى الله عليه وسلم إذا صلى كبر ثم رفع يديه). رواه مسلم
"ปรากฏว่าท่านนบีนั้น เมื่อจะละหมาด กล่าวตักบีร และยกมือ วางมือขวาบนมือซ้าย ทั้งสองข้างวางบนหน้าอก"
รายงานจากท่าน วาอิล อิบนุ ฮะญัร กล่าวว่า
(صليت مع النبي صلى الله عليه وسلم فوضع يده اليمنى على يدية اليسرى على صدره) رواه ابن خزيمة .
"ฉันได้ละหมาดพร้อมกับท่านนบี และท่านก็วางมือขวาบนมือซ้าย ซึ่งทั้งสองข้างวางบนหน้าอก"
ท่านอิหม่าม เชากานีย์กล่าวว่า ตัวบทนี้มีการยืนยันอย่างถูกต้อง
ท่าน อิบนุฮะญัรกล่าวว่า ลักษณะการวางมือบนหน้าอก บ่งถึงความนอบน้อม ถ่อมตัว เพื่อมีความสงบนิ่ง มีสมาธิต่อพระองค์
บางผู้รู้กล่าวว่า ซุนนะคือการวางมือทั้งสอง ใต้สะดือ แต่คำกล่าวนี้ อ่อนหลักฐาน
ท่านอาลีกล่าวว่า จากสุนนะในละหมาด คือ เอามือทั้งสองข้างวางบนแขนตรงใต้สะดือ
(บันทึกโดย อะบูดาวูด สถานะตัวบทนั้น อ่อน ด่ออีฟ)
การยกมือทั้งสองข้างด้วย ชิด และแผ่ฝ่ามือตรง
(كان رسول الله صلى الله عليه وسلم يرفع يديه مداً). رواه أبو داود
"ปรากฏว่าท่านนบี ยกมือขึ้นยืดตรง"
เหตุผลของการยกมือขณะเริ่มต้นละหมาด
♥ การนอบน้อมต่ออัลลอฮฺด้วยการละทิ้งสิ่งต่างๆในโลกนี้ด้วยการทำอิบาดะเพื่ออัลลอฮฺ
♥ การยอมจำนนตัวต่อพระองค์ด้วยการปฏิบัติเริ่มต้นด้วย อัลลอฮุอักบัร อัลลอฮฺผู้ทรงยิ่งใหญ่