การหันหน้าไปทางทิศกิบละฮฺ
  จำนวนคนเข้าชม  20149


การละหมาดของท่านนบี ตอน การหันหน้าไปทางทิศกิบละฮฺ

 

อับดุลวาเฮด สุคนธา

 

เงื่อนไขของการละหมาด จะต้องหันหน้าไปทางกิบละฮฺ

 

          วาญิบสำหรับมุสลิมให้ละหมาดโดยหันหน้าไปทางกิบละฮฺที่ตั้งของ (บัยตุลลอฮฺ มักกะฮฺ) แต่หากเขาไม่รู้ว่ากิบละฮฺอยู่ทางไหนและไม่มีคนที่จะให้ถามเขาจะต้องใช้วิจารณญานตัดสินใจเองว่าทางไหน แล้วละหมาดหันไปทางที่เขามั่นใจว่าเป็นกิบละฮฺโดยที่เขาไม่จำเป็นต้องละหมาดใหม่หากรู้ทีหลังว่าทางที่เขาหันไปนั้นไม่ใช่กิบละฮฺ

 

หลักฐานเกี่ยวกับการหันหน้าไปทางทิศกิบละฮฺ

 

อัลลอฮฺทรงกล่าวว่า

 

(وَمِنْ حَيْثُ خَرَجْتَ فَوَلِّ وَجْهَكَ شَطْرَ الْمَسْجِدِ الْحَرَامِ وَحَيْثُ مَا كُنْتُمْ فَوَلُّوا وُجُوهَكُمْ شَطْرَهُ ) .البقرة 150)

 

     “และจากที่ใดก็ตามที่เจ้าออกไป ก็จงผินหน้าของเจ้าไปทางอัล-มัสยิดิลฮะรอม และที่ใดก็ตามที่พวกเจ้าปรากฏอยู่ ก็จงผินหน้าของพวกเจ้าไปทางนั้น

 

ท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) ได้กล่าวว่า

 

( إذا قمت إلى الصلاة فأسبغ الوضوء ثم استقبل القبلة فكبر ) . متفق عليه

 

     "เมื่อท่านลุกขึ้นเพื่อที่จะละหมาด จงอาบน้ำละหมาดอย่างดี และจงผินหน้าไปทางทิศกิบละฮฺ เริ่มด้วยการกล่าวตักบีร อัลลอฮุอักบัร"

 

          จากบรรดาปวงปราช์มีความเห็นตรงกันว่า การหันหน้าไปทางทิศกิบละฮฺนั้น ถือว่าเป็นเงื่อนไขของการละหมาด โดยเป็นมติเอกฉันท์ อิบนุ อับดุลบัร อิหม่าม กุรตุบีย์

 

         เหตุผลในการหันหน้าไปทางทิศกิบละฮฺ เพื่อต้องการให้สัดส่วนของมนุษย์ทั้งหมดนั้นหันหน้าสู่อัลลอฮฺไปยังบ้านของพระองค์ เฉกเช่นหัวใจที่มุ่งสู่พระเจ้าบนฝากฟ้า

 

          อัลอักซอฮฺคือกิบละฮฺแรก ต่อมีการยกเลิกทิศ โดยการให้ กะบะฮฺเป็นทิศของมุสลิมซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงในปีที่ สองของเดือนชะบาน

 

ผู้ที่ไม่จำเป็นจะต้องหันหน้าไปทางทิศกิบละฮฺในละหมาด

 

   ♦ คนป่วย ไม่สามารถหันไปยังทิศกิบละฮฺ ตรงนี้เองผู้ป่วยสามารถละหมาดโดยการหันหน้าไปทางทิศตัวเองที่ ตามความสามารถ

 

   ♦ ไม่รู้ว่าทิศใหนเป็นกิบละฮฺ ให้ละหมาดตามที่ตัวเองมั่นใจ

 

(فَاتَّقُوا اللَّهَ مَا اسْتَطَعْتُمْ )  “พวกท่านทั้งหลายจงยำเกรง เท่าที่พวกท่านมีความสามรถ

 

(لا يُكَلِّفُ اللَّهُ نَفْساً إِلَّا وُسْعَهَا )  “อัลลอฮฺมิได้บังคับชีวิตหนึ่งชีวิตใด เว้นแต่ความสามารถของเขาเท่านั้น

 

( إذا أمرتكم بأمر فأتوا منه ما استطعتم ) 

ครั้งเมื่อพวกท่าน สั่งใช้ในคำสั่งใด จงปฏิบัติตามความสามารถของพวกท่าน

 

   ♦ ผู้ที่เดินทาง สามารถหันหน้าไปทางทิศใดก็ตามตามที่ตัวเองมั่นใจหากไม่รู้ว่าทิศใดคือกิบละฮฺ อนุญาตผู้ที่เดินทางทำการละหมาดสุนนะฮฺบนพาหนะโดยไม่ต้องหันไปทางทิศกิบละฮฺได้ แต่ไม่อนุญาตให้ผู้เดินทางทำการละหมาดสุนนะกับพื้นโดยที่ไม่หันหน้าไปทางทิศกิบละฮฺ

หลักฐานของท่านนบีกล่าวว่า จากท่าน อิมรอน

 

( أن رسول الله صلى الله عليه وسلم كان يسبح على ظهر راحلته حيث كان وجهه ، يومئ برأسه ) . متفق عليه

 

แท้จริงท่านนบี ทำการละหมาดบนพาหนะโดยหันไปทางทิศนั้น (ไม่ใช่กิบละฮฺ) ท่านทำลักษะการก้มศีรษะลง

 

มีตัวบทจากท่าน ญาบีร กล่าวว่า

 

( أن النبي صلى الله عليه وسلم كان يصلي التطوع وهو راكب في غير القبلة ) . رواه البخاري .

 

แท้จริง ท่านนบีละหมาดสุนนะในสภาพท่านนั้นขี่พาหนะโดยที่ไม่ได้หันไปทางทิศกิบละฮฺ

 

จากท่านอามีร บิน ร่อบีอะฮฺ กล่าวว่า

 

( رأيت رسول الله صلى الله عليه وسلم يصلي على راحلته حيث توجهت به ) . متفق عليه

 

ฉันเห็นท่านนบีทำการละหมาดบนพาหนะโดยไม่ได้หันไปทางกิบละฮฺ

 

         มีเพิ่มเติมในหนังสือของอิหม่ามบุคอรีย์ กล่าวว่า ท่านนบีทำเครื่องหมายการสูญูดโดยการก้มศีรษะลงมา และท่านนบีจะละหมาดสุนนะเท่านั้น

 

        ท่านอิม่ามนะวะบีย์กล่าวว่า อนุญาตสำหรับการละหมาดสุนนะบนพาหนะโดยไม่ต้องหันหน้าไปทางกิบละฮฺตามมติเอกฉันท์ของปราช์ทั้งหมด

 

         ท่านอิหม่ามอะญัร กล่าวว่า การละหมาดสุนนะ วิธีการละหมาดบนพาหนะ เวลาจะก้มรูกั่วะและสูญูดให้ทำลักษณะขยับศรีษะลงมาเพื่อให้รู้ว่านี้คือการก้มรูกั่วและสูญูดโดยทำการสูญูดให้ต่ำกว่าการทำรูกั่ว

 

         ท่านอิหม่าม เชากานีย์ กล่าวว่า การละหมาดบนพาหนะโดยการสูญูดนั้นจะต้องก้มให้ต่ำกว่าการก้มของรูกั่ว ไม่จำเป็นจะต้องสูญูดเพื่อให้ศรีษะแตะบนพาหนะ

 

บางส่วนผู้รู้ จำเป็นจะต้องหันหน้าไปทางกิบละฮฺ ในขณะตักบีรร่อตุลเฮี้ยะรอมฮฺ

 

ท่านอะนัส กล่าวว่า

 

( أن رسول الله صلى الله عليه وسلم كان إذا سافر ، فأراد أن يتطوع استقبل بناقته القبلة فكبر ثم صلى حيث وجهه ) . رواه أبو داود

 

     “แท้จริงท่านนบีนั้น เดินทาง ต้องการจะละหมาดสุนนะ ท่านจะผินหน้าไปทางกิบละฮฺ ขณะอยู่บนหลังอูฐ กล่าวตักบีร หลังจากนั้นท่านจะหันไปทางอื่น

 

ทัศนะที่ถูกต้อง การหันหน้าไปทางทิศอื่นในขณะละหมาดสุนนะ ส่งเสริม

 

          ตัวบทนี้บอกให้มีการส่งเสริมละหมาดสุนนะทั้งหมด จากคำกล่าวที่ถูกต้อง สำหรับผู้ที่เดินทาง ยกเว้นการละหมาดซุนนะ มุอักกะดา เช่น สุนนะ หลังมักริบ หลังอีชา แน่นอนท่านนบีได้ละหมาดวิเตรเป็นประจำในการเดินทาง

 

         ได้มีการยืนยันว่าท่านนบีละหมาดสุนนะดุฮาในปีแห่งการพิชิต และมีการยืนท่านนบี ไม่เคยละทิ้งการละหมาดสุนนะศุบฮี แม้จะท่านนั้นอยู่ในระหว่างเดินทางก็ตาม