จะสู่ขอผู้หญิงขณะที่รออิดดะห์อยู่ได้ไหม ?
  จำนวนคนเข้าชม  2929


จะสู่ขอผู้หญิงขณะที่รออิดดะห์อยู่ได้ไหม ?

 

แปลเรียบเรียงโดย อิสมาอีล กอเซ็ม 

 

คำถาม 

 

จะอนุญาตให้สู่ขอผู้หญิงที่ถูกหย่าร้างขณะที่นางรออิดดะห์อยู่ 

 

คำตอบ 

มวลการสรรเสริญเป็นสิทธิของอัลลอฮฺ 

ประการแรก

 

          การสู่ขออาจจะมาในรูปแบบที่ชัดเจน และรูปแบบที่มีนัย สำหรับการสู่ขอที่ชัดเจน จะเข้าใจอย่างอื่นไม่ได้นอกจากการนิกาหฺ เช่น เขากล่าวว่า เมื่อการรอคอยอิดดะหฺของเธอสิ้นสุดลง ฉันจะนิกาหฺกับเธอ หรือสู่ขอนางอย่างชัดเจนจากผู้ปกครองของนาง และคำพูดในทำนองเดียวกัน

 

          และการสู่ขอในรูปแบบที่มีนัย ก็คือคำพูด ซึงเข้าใจได้ว่าเป็นการสู่ขอ หรือเข้าใจอื่นจากการสู่ขอ เช่น ชายคนหนึ่งพูดว่า เยี่ยงเธอมีคนปรารถนา หรือ ฉันกำลังหาภรรยาอยู่ หรือ หวังว่าอัลลอฮฺจะให้สิ่งดีหรือปัจจัยยังชีพแก่เธอ และคำพูดในทำนองเดียวกัน

 

ประการที่สอง 

 

          ไม่อนุญาตให้ทำการสู่ขอแบบชัดเจน แก่ผู้หญิงที่ยังรออิดดะห์อยู่ ไม่ว่าหญิงที่รออิดดะห์จากการหย่าที่สามารถคืนดีได้ หรือหญิงที่ถูกหย่าที่ไม่สามารถคืนดีได้ หรือหญิงที่รออิดดะห์เนื่องจากสามีเสียชีวิต 

 

สำหรับการสู่ขอในรูปแบบที่มีนัย มีรายละเอียดดังนี้ 

 

     1. หากหญิงที่ถูกหย่าที่สามารถคืนดีได้(รอจอียฺ) ไม่อนุญาตให้ทำการสู่ขอนางแบบมีนัยยะ(ไม่ขอแบบตรงๆ) เนื่องจากการหย่าแบบคืนดีได้ ผู้ที่ถูกหย่ายังคงอยู่ในสถานะภรรยาผู้อื่นอีก อัลลอฮฺได้ตรัสไว้เกี่ยวกับหญิงที่ถูกหย่าที่สามารถ คืนดีได้

 

وَبُعُولَتُهُنَّ أَحَقُّ بِرَدِّهِنَّ فِي ذَٰلِكَ إِنْ أَرَادُوا إِصْلَاحًا ۚ 

 

     “และบรรดาสามีของพวกนางนั้นเป็นผู้มีสิทธิกว่าในการให้พวกนางกลับมาในกรณีดังกล่าว หากพวกเขาปรารถนาประนีประนอมและพวกนางนั้น

(ซูเราะหฺอัลบากอเราะหฺ อายะหฺที่ 228 )

 

         อัลลอฮฺยังเรียกสามีของหญิงที่ถูกหย่าที่สามารถคืนดีได้ ว่าสามี ดังนั้นเป็นไปได้อย่างไร ที่ชายคนหนึ่งไปสู่ขอผู้หญิงที่ยังอยู่ในการดูแลของสามีของนาง 

 

     2. หากเป็นผู้หญิงทีรอคอยอิดดะห์เนื่องจากสามีของนางเสียชีวิต หรือผู้หญิงที่ถูกหย่าเป็นครั้งที่สาม หรือหญิงที่ถูกหย่าโดยรูปแบบการยกเลิกนิกาฮฺ เนื่องจากความบกพร่องที่มีในคนหนึ่งคนใดจากสามีภรรยา หรือด้วยกับสาเหตุอื่นๆ อนุญาตให้ทำการสู่ขอนางในรูปแบบที่มีนัย ซึ่งการสู่ขอในรูปแบบที่มีนัย เป็นที่อนุญาต 

 

การสู่ขอในรูปแบบที่มีนัย มีหลักฐานบ่งชี้ในคำดำรัสของอัลลอฮฺตาอาลาที่ว่า 

 

وَلَا جُنَاحَ عَلَيْكُمْ فِيمَا عَرَّضْتُم بِهِ مِنْ خِطْبَةِ النِّسَاءِ أَوْ أَكْنَنتُمْ فِي أَنفُسِكُمْ ۚ عَلِمَ اللَّهُ أَنَّكُمْ سَتَذْكُرُونَهُنَّ وَلَٰكِن لَّا تُوَاعِدُوهُنَّ سِرًّا إِلَّا أَن تَقُولُوا قَوْلًا مَّعْرُوفًا ۚ وَلَا تَعْزِمُوا عُقْدَةَ النِّكَاحِ حَتَّىٰ يَبْلُغَ الْكِتَابُ أَجَلَهُ ۚ وَاعْلَمُوا أَنَّ اللَّهَ يَعْلَمُ مَا فِي أَنفُسِكُمْ فَاحْذَرُوهُ ۚ وَاعْلَمُوا أَنَّ اللَّهَ غَفُورٌ حَلِيمٌ ( 235 ) 

 

     “และไม่มีบาปใดๆ แก่พวกเจ้า ในสิ่งที่พวกเจ้ากล่าวเป็นนัยในการขอหญิง และสิ่งที่พวกเจ้าเก็บงำไว้ในใจของพวกเจ้า อัลลอฮ์ทรงรู้ว่าพวกเจ้าจะบอกกล่าวแก่นางให้ทราบ แต่ทว่าพวกเจ้าอย่าได้สัญญาแก่นางเป็นการลับ นอกจากพวกเจ้าจะกล่าวถ้อยคำอันดีเท่านั้น 

     และจงอย่าปลงใจซึ่งการทำพิธีแต่งงาน จนกว่าเวลาที่ถูกกำหนดไว้จะบรรลุถึงความสิ้นสุดของมัน และพึงรู้เถิดว่าแท้จริงอัลลอฮ์ทรงรู้สิ่งที่อยู่ในจิตใจของพวกเจ้า พวกเจ้าจงสังวรณ์พระองค์ไว้เถิด และพึงรู้ไว้เถิดว่า อัลลอฮ์นั้นเป็นผู้ทรงอภัยโทษผู้ทรงหนักแน่น

(ซูเราะห์อัลบากอเราะหฺ อายะห์ที่ 235)

 

     ท่านเชค อัซซะหฺดียฺได้กล่าวไว้ในหนังสือ ตัฟซีรของท่าน หน้าที่ 106 นี่คือบทบัญญัติที่เกี่ยวกับหญิงที่รออิดดะห์เนื่องจากสามีเสียชีวิต หรือหญิงที่สามีหย่าที่ไม่สามารถคืนดีได้(หย่าครั้งที่สาม) ในการใช้ชีวิตร่วมกัน ไม่อนุญาตให้คนอื่นจากสามีของนาง ที่มาสู่ขอนางโดยเป็นการสู่ขอที่ชัดเจน

 

จุดประสงค์ของคำดำรัสของพระองค์ที่ว่า

", وهو المراد بقوله : ( وَلَكِنْ لَا تُوَاعِدُوهُنَّ سِرًّا ).

 

ทว่าพวกเจ้าอย่าได้สัญญาแก่นางเป็นการลับ

 

          สำหรับการสู่ขอในรูปแบบที่มีนัย แท้จริงอัลลอฮฺตาอาลา ได้ให้ไม่เป็นที่ต้องห้าม และความแตกต่างระหว่างทั้งสอง แท้จริงการกล่าวออกมาแบบชัดเจน จะเข้าใจอย่างอื่นไม่ได้นอกจากการนิกาฮฺ ด้วยเหตุนี้จึงห้ามเกรงว่าหญิงที่รออิดดะหฺจะโกหกในวันสิ้นสุดอิดดะห์ของนาง เนื่องจากนางต้องการจะทำการนิกาฮฺ และเป็นการให้สิทธิแก่สามีคนแรกของนาง โดยนางไม่ไปสัญญากับใคร ในช่วงการรออิดดะหฺของนาง

 

          สำหรับการสู่ขอในรูปแบบที่มีนัย ก็อาจจะเข้าใจได้ว่าเป็นการนิกาฮฺ และอาจจะเข้าใจอื่นจากการนิกาฮฺ การสู่ขอรูปแบบที่มีนัย อนุญาตสำหรับหญิงที่รออิดดะห์ ที่ไม่สามารถคืนดีกับสามีได้ (การหย่าครั้งที่สาม) เช่น มีคนกล่าวว่า แท้จริงฉันต้องการแต่งงาน แท้จริงอยากให้เธอให้คำปรึกษาแก่ฉัน เมื่อเธอสิ้นสุดการรอคอยอิดดะหฺ และคำกล่าวที่มีทำนองดังกล่าว การสู่ขอแบบนี้เป็นที่อนุญาต เนื่องจากผู้ที่สู่ขอไม่ได้ชัดเจนในเรื่องนี้ และในจิตใจของเขามีความปราถนา เช่น คนหนึ่งซ่อนความต้องการไว้ในจิตใจ ว่าเขาจะแต่งงานกับผู้หญิงที่นางรอคอยอิดดะห์อยู่ เมื่อนางสิ้นสุดจากการรอคอยอิดดะหฺ (แบบนี้ก็อนุญาตเช่นกัน) ด้วยเหตุนี้อัลลอฮฺตรัสว่า

 

: ( أَوْ أَكْنَنْتُمْ فِي أَنْفُسِكُمْ عَلِمَ اللَّهُ أَنَّكُمْ سَتَذْكُرُونَهُنَّ )

 

และสิ่งที่พวกเจ้าเก็บงำไว้ในใจของพวกเจ้า อัลลอฮ์ทรงรู้ว่าพวกเจ้าจะบอกกล่าวแก่นาง

 

     นี่คือรายละเอียดทั้งหมด ในการเสนอการนิกาฮฺ หรือทำการนิกาฮฺ จะไม่เป็นที่อนุญาต 

 

( حَتَّى يَبْلُغَ الْكِتَابُ أَجَلَهُ )

 

จนกว่าเวลาที่ถูกกำหนดไว้จะบรรลุถึงความสิ้นสุดของมัน

 

     หมายถึงสิ้นสุดการรอคอยอิดดะห์ (ให้ไปดู หนังสืออัลมุฆนีย์ 7/112 อัลเมาซูอะ อัลฟิกฮียะหฺ 19/191 )

 

 

วัลลอฮุอะลัม