การหย่าขณะ(ภรรยา)มีรอบเดือน
แปลโดย อิสมาอีล กอเซ็ม
คำถาม
ในวันแรกของวันที่ภรรยามีรอบเดือน นางได้ลืมบอกสามีของนางว่า ขณะที่นางได้ขอให้สามีหย่านางนั้น แล้วสามีได้ทำการหย่านางเป็นการหย่าครั้งที่สาม หลังจากนั้นนางได้นึกขึ้นได้ว่านางมีรอบเดือน(ขณะที่หย่า) และนางได้บอกสามีของนาง ? ตามบทบัญญัติศาสนา จะถือว่ามีผลในการหย่าหรือไม่ ?
คำตอบ
มวลการสรรเสริญเป็นสิทธิของอัลลอฮฺ
บรรดานักวิชาการด้านนิติศาสตร์อิสลามต่างมีทัศนะที่แตกต่างกันออกไป ในเรื่องการหย่าขณะมีประจำเดือน นักวิชาการส่วนมากถือว่าการหย่านั้นมีผล และมีนักวิชาการบางท่านมีทัศนะว่าการหย่านั้นไม่มีผล โดยเฉพาะข้อชี้ขาดของนักวิชาการด้านนิติศาสตร์นักยุคปัจจุบัน เช่น ท่านเชค บินบาส รอฮิมาอุลลอฮฺ และ อิบนู อุซัยมีนรอฮิมาอุลลอฮฺ
ท่านเชค อิบนุ บาส รอฮิมาอุลลอฮฺได้กล่าวว่า การหย่าผู้หญิงที่นางมีรอบเดือน ไม่มีผลในการหย่า จากหนึ่งในสองทัศนะที่ถูกต้องที่สุดของนักวิชาการ ซึ่งมันค้านกับทัศนะของญุมฮูร(นักวิชาการส่วนมาก)
โดยที่นักวิชาการส่วนมากมีทัศนะว่า การหย่า(ขณะที่ภรรยามีรอบเดือน) ถือว่ามีผลในการหย่า แต่ว่าทัศนะที่ถูกต้องจากหนึ่งในทัศนะทั้งสองของนักวิชาการ ซึ่งมีอัตตาบีอีนบางท่านได้ชี้ขาดปัญหาประเด็นนี้ไว้ และท่านอิบนุ อุมัร ขออัลลอฮทรงพอพระทัยต่อเขาทั้งสอง ได้ชี้ขาดปัญหานี้ไว้เช่นกัน
ท่านชัยคุลอิสลาม อิบนุ ตัยมียะห์และลูกศิษย์ของท่านคือ อิบนุลก็อยยิม และนักวิชาการกลุ่มหนึ่งได้เลือกทัศนะที่ถือว่า การหย่าขณะที่ภรรยามีรอบเดือนไม่มีผลในการหย่า เนื่องจากเป็นการกระทำที่ค้านกับบทบัญญัติอิสลาม เพราะอัลลอฮฺได้มีบทบัญญัติ ให้หย่าภรรยาในสภาพที่นางสะอาดจากเลือดหลังคลอดบุตรและเลือดประจำเดือน และสามีต้องไม่ร่วมหลับนอนกับนางด้วยขณะที่นางสะอาด(จากเลือดหลังคลอดบุตรและเลือดประจำเดือน)
ดังนั้นเมื่อสามีหย่านางขณะที่นางมีรอบเดือนและมีเลือดหลังคลอดบุตร หรือหย่านางขณะที่นางสะอาดจากเลือดประจำเดือนและเลือดหลังคลอดบุตรแต่ไปร่วมหลับนอนกับนาง การหย่าประเภทนี้ถือว่าเป็นการหย่าบิดฮะ(ไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติ) ถือว่าไม่มีผลในการหย่าจากหนึ่งในสองทัศนะของนักวิชาการที่ถูกต้องที่สุด เนื่องจากคำดำรัสของอัลลอฮฺที่ว่า
/ لقول الله جل وعلا : يَا أَيُّهَا النَّبِيُّ إِذَا طَلَّقْتُمُ النِّسَاءَ فَطَلِّقُوهُنَّ لِعِدَّتِهِنَّ ) الطلاق
“โอ้นะบีเอ๋ย เมื่อพวกเจ้าอย่าภริยาก็จงหย่าพวกนางตามกำหนด (อิดดะฮฺ) ของพวกนางและจงนับกำหนดอิดดะฮฺให้ครบ”
ความหมาย ก็คือ นางอยู่ในสภาพที่สะอาด(จากประจำเดือนและเลือดหลังคลอดบุตร) และต้องไม่มีการร่วมหลับนอนกับนางด้วย นี่คือสิ่งที่นักวิชาการได้กล่าวไว้ในการหย่าพวกนางเพื่ออิดดะห์ ก็คือพวกนางสะอาด (โดยไม่มีการร่วมหลับนอนกับนางและนางต้องไม่ตั้งครรภ์ นี่คือรูปแบบการหย่าในอิดดะห์ ) จากฟาตาวา เกี่ยวกับการหย่าร้าง (หน้าที่ 44)
มีปรากฎใน ฟาตาวา อัลลิจนะห์ อัดดาอิมะฮฺ 20/58
การหย่าร้างที่เป็นบิดอะฮ์(ไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติ) มีหลายชนิดด้วยกัน ตัวอย่างเช่น การที่สามีหย่าภรรยาของเขาในขณะที่นางมีเลือดประจำเดือนและมีเลือดหลังคออดบุตร หรือหย่าขณะที่นางสะอาดจากเลือดประจำเดือนและเลือดหลังคอลดบุตรแต่ไปร่วมหลับนอนกับนาง การหย่าในลักษณะดังกล่าว ไม่มีผลในการหย่า
การหย่าที่เกิดขึ้นขณะที่ผู้หญิงมีประจำเดือน ถือว่าการหย่าไม่มีผล และไม่นับว่าเป็นการหย่า และผู้หญิงนั้นยังถือว่าเป็นผู้ที่อยู่ภายใต้การรับผิดชอบของสามีของนางอยู่อีก (ยังเป็นภรรยาของเขา)
ท่านเชค อิบนูอุซัยมีน ขออัลลอฮโปรดเมตาต่อท่าน ท่านได้ถูกถามเกี่ยวกับ กรณีที่ชายคนหนึ่งได้หย่าภรรยาของเขา โดยที่นางมีรอบเดือน โดยที่สามีไม่รู้ว่าภรรยามีรอบเดือน จะมีผลในการหย่าหรือไม่?
คำตอบ
การหย่าผู้หญิงขณะที่นางมีรอบเดือน บรรดานักวิชาการได้มีทัศนะที่แตกต่างกันออกไป และมีการโต้แย้งกันมาอย่างยาวนาน การหย่าลักษณะนั้นจะนับว่าเป็นการหย่าหรือไม่มีผลในการหย่า ? บรรดานักวิชาการส่วนมากถือว่า การหย่านั้นมีผล และนับว่าผู้ชายได้ทำการหย่าแล้ว แต่เขาถูกใช้ให้คืนดีกับนาง หรือละทิ้งนางเมื่อนางสะอาดจากประจำเดือน หลังจากนั้นนางได้มีรอบเดือนครั้งที่สองและก็หมดรอบเดือน หลังจากนั้นหากประสงค์ที่จะอยู่ต่อกับนาง หรือหลังจากนั้นประสงค์จะหย่านาง (ก็สามารถเลือกกระทำได้) นี่คือทัศนะของนักวิชาการส่วนมาก จากอิหม่ามทั้งสี่ อะหมัด อัชชาฟีอี มาลิก และอบูหานีฟะฮฺ
แต่ว่าที่ถูกต้องตามทัศนะของเรา ตามทัศนะที่ชัยคุลอิสลาม อิบนู ตัยมียะห์ รออิมาอุลลอฮฺได้มีทัศนะไว้ “แท้จริงการหย่าร้างในขณะที่ผู้หญิงมีรอบเดือนนั้น ถือว่าไม่มีผลในการหย่า และไม่นับว่าเป็นการหย่า เนื่องจากการหย่าลักษณะนั้น มันค้านกับคำสั่งของอัลลอฮฺและรอซูลของพระองค์ “
وقد قال النبي صلى الله عليه وسلم : ( مَنْ عَمِلَ عَمَلا لَيْسَ عَلَيْهِ أَمْرُنَا فَهُوَ رَدٌّ
โดยที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮูอะลัยอิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า “ใครได้กระทำการงานหนึ่ง โดยที่การงานนั้นไม่มีในกิจการงานของเรา ดังนั้นมันก็ถูกปฏิเสธ”
หลักฐานในเรื่องดังกล่าวเป็นประเด็นเฉพาะ หะดีษ ของอับดุลลอฮฺ อิบนุ อุมัร เขาได้หย่าภรรยาของนาง ในขณะที่นางมีประจำเดือน โดยที่มีคนได้บอกเรื่องดังกล่าวแก่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮูอะลัยอิวะสัลลัม ท่านรอซูลุลลอฮฺ ไม่พอใจในการกระทำดังกล่าว
และท่านได้กล่าวว่า จงไปใช้เขา แล้วให้เขาจงคืนดีกับภรรยาของเขา หลังจากนั้นปล่อยให้นางหมดรอบเดือน หลังจากนั้นให้นางมีรอบเดือนอีกครั้งและให้หากหมดรอบเดือน หลังจากนั้นหากต้องการจะอยู่ต่อกับนางก็อยู่หรือต้องการจะหย่า(ก็หย่านางได้)
หลังจากนั้นท่านนบี ศ็อลลัลลอฮูอะลัยอิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า “นั่นคือช่วงอิดดะหฺ(การรอคอย) ซึงอัลลอฮ์ได้ใช้ในผู้หญิง”
ดังนั้นอิดดะห์ซึ่งอัลลอฮฺ ได้ใช้สำหรับการหย่าภรรยา ก็คือการที่ผู้คนจะหย่าภรรยานั้น นางต้องอยู่ในสภาพปราศจากประจำเดือนและเขาต้องไม่ไปร่วมหลับนอนกับนาง ดังนั้นการที่เขาไปหย่านางขณะที่นางมีประจำเดือน ถือว่าเขาหย่าในลักษณะที่ไม่ได้ปฏิบัติตามคำสั่งของอัลลอฮฺ และถือว่าใช้ไม่ได้
สำหรับการหย่าในลักษณะดังกล่าวที่เกิดขึ้นกับผู้หญิง เราเห็นว่ามันเป็นการหย่าที่ไม่มีผลใดๆ และผู้หญิงยังคงอยู่ภายใต้การดูแลของสามีของนาง(ยังคงเป็นภรรยาของเขา) ไม่ได้ถือว่าผู้ชายจะรู้ว่าในการที่เขาหย่าภรรยา นางจะอยู่ในสภาพที่ไม่มีรอบเดือน หรือนางมีรอบเดือน ครับ ไม่ได้ถือว่าเขาจะรู้ แต่หากว่าเขารู้(ว่าภรรยามีรอบเดือน) ถือว่าเขามีบาปจากการหย่านั้น และไม่นับว่าการหย่าเกิดขึ้น และหากว่าเขาไม่รู้ ก็ไม่มีผลในการหย่า และสามีไม่มีบาปใดๆ
จากหนังสือ ฟัตวา อิสลามียะหฺ 3/268
https://islamqa.info/ar/answers/72417/الطلاق-في-الحيض