4 กุญแจ สู่ประตูแห่งความสุข
  จำนวนคนเข้าชม  6107


4 กุญแจ สู่ประตูแห่งความสุข

 

อับดุลวาเฮด สุคนธา

 

กุญแจที่หนึ่ง การละหมาด

 

          การละหมาดเป็นบทบัญญัติของศาสนา ลำดับที่สองของหลัการการปฏิบัติทั้งห้าของ การละหมาด คือ การปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับพระเจ้า ไม่มีการหยุดหรือละเว้นใดๆทั้งสิ้น ใครก็ตามที่ยึดมั่นด้วยการปฏิบัติการละหมาด ส่งเสริมต่อบุคคลรอบข้าง เช่น เครือญาติ ครอบครัว พี่น้อง เพื่อนฝูง มันคือกุญแจสู่ประตูแห่งความสุขและได้รับความดี ปัจจัยยังชีพต่างๆมากมายทั้งในโลกนี้และโลกหน้า

อัลลอฮฺ ตรัสว่า

﴿ وَأْمُرْ أَهْلَكَ بِالصَّلَاةِ وَاصْطَبِرْ عَلَيْهَا لَا نَسْأَلُكَ رِزْقًا نَحْنُ نَرْزُقُكَ وَالْعَاقِبَةُ لِلتَّقْوَى [طه: 132]

 

     “และเจ้าจงใช้ครอบครัวของเจ้า ให้ทำละหมาด และจงอดทนในการปฏิบัติ เรามิได้ขอเครื่องยังชีพจากเจ้า เราต่างหากเป็นผู้ให้เครื่องยังชีพแก่เจ้า และบั้นปลายนั้นสำหรับผู้ที่มีความยำแกรง

 

อัลลอฮฺ ตรัสว่า

﴿ إِنَّ الصَّلَاةَ تَنْهَى عَنِ الْفَحْشَاءِ وَالْمُنْكَرِ العنكبوت: 45

 

แท้จริง การละหมาดจะยับยั้งความชั่ว และสิ่งโสมมได้”

 

ดังที่ หะดีษท่านนบีกล่าวว่า

أَرَأَيْتُمْ لَوْ أَنَّ نَهَرًا بِبَابِ أَحَدِكُمْ يَغْتَسِلُ فِيهِ كُلَّ يَوْمٍ خَمْسًا مَا تَقُولُ ذَلِكَ يُبْقِي مِنْ دَرَنِهِ ؟ قَالُوا : لاَ يُبْقِي مِنْ دَرَنِهِ شَيْئًا قَالَ فَذَلِكَ مِثْلُ الصَّلَوَاتِ الْخَمْسِ يَمْحُو اللَّهُ بِهَا الْخَطَايَا.

 

     “พวกท่านไม่เห็นหรอกหรือว่า หากมีลำธารไหลผ่านหน้าบ้านของพวกท่าน และ ท่านทั้งหลาย ชำระร่างกายทุกๆวันห้าเวลา จะเป็นไปได้หรือ จะมีสิ่งสกปรกติดอยู่ 

     พวกเขากล่าวว่า ไม่มีสิ่งสกปรกติดอยู่เลย 

     เช่นเดียวกับการละหมาดห้าเวลา ที่อัลลอฮฺทรงลบล้างความผิดทั้งหมด 

(บุคอรีย์และมุสลิม)

อย่างไรอีกเล่าที่ท่านนอนหลับจนกระทั่งหมดเวลาละหมาดโดยไม่มีความจำเป็น อุปสรรค

อัลลอฮฺทรงกล่าวว่า

﴿ إِنَّ الصَّلَاةَ كَانَتْ عَلَى الْمُؤْمِنِينَ كِتَابًا مَوْقُوتًا [النساء: 103]

 

แท้จริง การละหมาดนั้นเป็นบัญญัติที่ถูกกำหนดเวลา ไว้แก่ผู้ศรัทธาทั้งหลาย

 

          ท่านจะหาข้ออ้างอะไรมาแก้ตัวสำหรับท่านในวันแห่งการสอบสวน ซึ่งจะต้องยืนต่อหน้าพระองค์ ในขณะที่ท่านนั้นไม่ตอบรับเสียงเรียกไปสู่การละหมาด กลับนั่งคุยอยู่ที่บ้าน สนุกสนานเฮฮา ทั้งๆที่มุสลิมคนอื่นเขาไปยังมัสยิดเพื่อปฏิบัติละหมาดญามาอะฮ์

 

          คำถามจากใจจริง เพราะเหตุอันใดที่ ท่านนั้น ไม่ยอมตอบรับการเสียงเรียกของพระเจ้า ดังคำในอะซานทุกวันห้าเวลา ที่ว่า

حَيَّ عَلىَ الصَّلاَةِ .. حَيَّ عَلىَ الْفَلاَحِ

จงรีบมาสู่การละหมาดเถิด .. จงรีบมาสู่ความดีเถิด

 

          หากต้องการกุญแจไขสู่ประตูแห่งความผาสุกและริสกีต่างๆ จงรีบเร่งมาสู่การละหมาดเถิด ความหายนะจะเกิดขึ้นสำหรับคนที่ละเลยไม่รักษาการละหมาด ประวิงเวลาจนกระทั่งหมดเวลา มันไม่มีสิ่งใดเลยที่ยับยั้งเขาไว้ แต่อารมณ์ใฝ่ต่ำครอบงำจิตใจเขา

 

ดังที่อัลลอฮฺ ตรัสว่า

﴿ فَخَلَفَ مِنْ بَعْدِهِمْ خَلْفٌ أَضَاعُوا الصَّلَاةَ وَاتَّبَعُوا الشَّهَوَاتِ فَسَوْفَ يَلْقَوْنَ غَيًّا [مريم: 59]

 

     “ภายหลังจากพวกเขา ชนรุ่นชั่วก็ได้สืบต่อมา พวกเขาได้ทิ้งละหมาด และปฏิบัติตามความใคร่ ต่อมาพวกเขาก็จะประสบความหายนะ

 

นี่คือบทลงโทษที่หนักหน่วง สำหรับผู้ที่ละทิ้งการละหมาด จุดจบที่เลวร้ายจากสาเหตุนี้แหละ

 

          หน้าที่จำเป็นสำหรับมุสลิมทุกคน ทั้งชายและหญิงคือ การรักษาการละหมาด ห้าเวลา พร้อมด้วยการปฏิบัติอย่างสุขุม เรียบร้อย มีสมาธิในการปฏิบัติละหมาดด้วยกับหัวใจบริสุทธิ์ แน่วแน่ 

อัลลอฮฺ ทรงกล่าวว่า

﴿قَدْ أَفْلَحَ الْمُؤْمِنُونَالَّذِينَ هُمْ فِي صَلَاتِهِمْ خَاشِعُونَ﴾

 

แน่นอนบรรดาผู้ศรัทธาได้ประสบความสำเร็จแล้ว บรรดาผู้ที่พวกเขาเป็นผู้นอบน้อมถ่อมตนในเวลาละหมาดของพวกเขา

( อัล-มุอ์มินูน 1-2)

 

          มีตัวบทหะดีษจากท่านนบีสั่งให้ทำละหมาดใหม่สำหรับบุคคลที่ ไม่มีความสงบนิ่งในละหมาด จำเป็นสำหรับบรรดาผู้ชายต้องรักษาละหมาดญะมาอะฮ์ พร้อมกับคนอื่นที่บ้านของอัลลอฮฺคือ มัสยิด ท่านนบีกล่าวว่า

«من سمع النداء فلم يأت فلا صلاة له إلا من عذر»

 

ใครก็ตามที่ได้ยินเสียงอะซาน และเขาไม่มาละหมาดยกเว้นคนที่มีอุปสรรคเท่านั้น

 (บันทึกโดย อิบนุมาญะ)

 

     มีคนถาม ท่านอิบนุ อับบาส คำว่า อุปสรรค ที่นี้ หมายถึง อะไร ?

     ท่านตอบว่า ความกลัว และคนป่วย

          มีรายงานจากท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุว่า อิบนุ อุมมุมักตูม ได้ถามท่านเราะซูล ว่ามีชายตาบอดคนหนึ่งได้มาหาท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม แล้วกล่าว

 

يَا رَسُولَ اللَّهِ إِنَّهُ لَيْسَ لِى قَائِدٌ يَقُودُنِى إِلَى الْمَسْجِدِ. فَسَأَلَ رَسُولَ اللَّهِ صلى الله عليه و سلم أَنْ يُرَخِّصَ لَهُ فَيُصَلِّىَ فِى بَيْتِهِ فَرَخَّصَ لَهُ فَلَمَّا وَلَّى دَعَاهُ فَقَال: ((هَلْ تَسْمَعُ النِّدَاءَ بِالصَّلاَةِ؟)). فَقَال: نَعَمْ. قَال: فَأَجِبْ.

 

     “ว่า โอ้ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม แท้จริง ฉันไม่มีผู้ช่วยประคองฉันเวลาฉันจะไปไปมัสญิด หลังจากนั้น เขาจึงขอท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม อนุโลมให้เขาละหมาดที่บ้าน แล้วท่านก็อนุโลมให้ แต่พอชายคนนั้นหันหลังไปเพื่อจะกลับบ้าน ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ก็เรียกเขามาอีกครั้งแล้วถามว่าท่านได้ยินเสียงอะซานเรียกมาละหมาดหรือไม่?”

     ชายคนนั้นตอบว่า ใช่ ได้ยิน 

     ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ก็กล่าวว่าถ้าเช่นนั้นท่านจำเป็นต้องตอบรับเสียงอะซาน "

(บันทึกโดยมุสลิม)

 

وَلَقَدْ هَمَمْتُ أَنْ آمُرَ بِالصَّلاَةِ فَتُقَامَ ثُمَّ آمُرَ رَجُلاً فَيُصَلِّىَ بِالنَّاسِ ثُمَّ أَنْطَلِقَ مَعِى بِرِجَالٍ مَعَهُمْ حُزَمٌ مِنْ حَطَبٍ إِلَى قَوْمٍ لاَ يَشْهَدُونَ الصَّلاَةَ فَأُحَرِّقَ عَلَيْهِمْ بُيُوتَهُمْ بِالنَّارِ.

 

     “แน่แท้ฉันปราถนาที่จะให้มีการละหมาดญะมาอะฮ์ โดยถูกจัดขึ้น ต่อมาฉันจะใช้ให้ชายคนหนึ่งให้นำผู้คนละหมาด หลังจากนั้นฉันจะพาบรรดาชายหนุ่มออกไปกับฉัน พวกเขามีฟืนเป็นกำๆ โดยไปยังพวกที่ไม่ไปละหมาด และฉันจะเผาบ้านของพวกเขา

[บันทึกโดยอัล-บุคอรียฺและมุสลิม)

 

          จงระวัง จงระวัง จากการปล่อยปะละเลยและละทิ้ง ต่อการละหมาด เพราะการละหมาดคืออิบาดะฮ์เดียวที่ท่านนบีได้สั่งเสียออกมาจากปากของท่าน ก่อนที่ท่านนบีนั้นจะลิ้นลมวิญญาณออกจากร่าง

((الصلاة الصلاة))   ละหมาด ละหมาด

     ความสำเร็จขึ้นอยู่กับการละหมาดของท่านมัน คือสิ่งสำคัญรองลงมาจากหลักอัตเตาฮีด

 

กุญแจที่สอง การทำดีต่อพ่อแม่

 

          บิดามารดาคือความโปรดปรานจากพระเจ้าอันยิ่งใหญ่ ไม่มีใครทราบความโปรดปรานอันนี้ได้ เว้นแต่บุคคลที่ถูกทดสอบด้วยการจากไปของบิดามารดาเท่านั้น ถึงจะรับรู้ความยิ่งใหญ่อันนี้ที่อัลลอฮฺประทานให้ เพราะบิดามารดาคือสวนสวรรค์บนโลกใบนี้

พระองค์ได้ตรัสไว้ว่า

وَاعْبُدُواْ اللهَ وَلاَ تُشْرِكُواْ بِهِ شَيْئاً وَبِالْوَالِدَيْنِ إِحْسَاناً سورة النساء36

 

สูเจ้าทั้งหลายจงเคารพภักดีอัลลอฮฺและอย่าได้ตั้งภาคีใดๆ ต่อพระองค์

และกับบิดามารดานั้นสูเจ้าจงทำดีกับทั้งสอง

 (สูเราะฮฺ อัน-นิสาอฺ: 36)

 

          และมีโองการอัลกุรอานจำนวนไม่น้อยที่อัลลอฮฺทรงรวบรวม ระหว่างการเคารพภักดีต่อพระองค์ กับการกระทำดีต่อพ่อแม่ ดังพระดำรัสของพระองค์ที่ว่า

«أَنِ اشْكُرْ لِي وَلِوَالِدَيْكَ» [لقمان/14]

 

 “เจ้าจงขอบคุณข้า(อัลลอฮฺ)และบิดามารดาของเจ้า

 

          ท่าน อิหม่าม กุรตุบีย์กล่าวว่า จำเป็นมนุษย์จะต้องขอบคุณอัลลอฮฺผู้ทรงสร้างและความโปรดปรานที่ประทานให้ ตลอดจนผู้เป็นบิดามารดาผู้ที่อบรมเลี้ยงเจ้าจากความเหน็ดเหนื่อยมากมาย

และพระดำรัสของพระองค์อีกบทหนึ่งที่ว่า

«وَقَضٰى رَبُّكَ أَلَّا تَعْبُدُوا إِلَّا إِيَّاهُ وَبِالْوَالِدَيْنِ إِحْسَانًا» [الإسراء/23]

 

     “และพระผู้อภิบาลของเจ้าได้บัญชาว่า สูเจ้าทั้งหลายอย่าได้เคารพภักดีผู้ใดนอกจากอัลลอฮฺเพียงผู้เดียว และจงทำดีต่อบิดามารดา

 

          และความหมายของคำว่า " وَقَضٰى رَبُّكَ" คือ บัญชาและสั่งเสีย ด้วยเหตุนี้อัลลอฮฺผู้ทรงยิ่งใหญ่และสูงส่ง ได้ทรงรวบรวมเอาการทำดีต่อพ่อแม่เข้ากับการเคารพภักดีต่อพระองค์ และได้ตรัสว่า

«وَبِالْوَالِدَيْنِ إِحْسَانًا» [النساء/36]

และจงทำดีกับบิดามารดาทั้งสอง

 

     การทำความดีกับพ่อแม่ถือว่ามีความประเสริฐมากมาย ดั่งที่ปรากฏในหะดีษของท่าน นบี ที่ว่า 

فقد سئل النبي صلى الله عليه وسلم: أي العمل أحب إلى الله؟ قال: (الصلاة على وقتها). قال: ثم أي؟ قال: (ثم بر الوالدين). قال: ثم أي؟ قال: (الجهاد في سبيل الله)

 

ท่านนบี ได้ถูกถามว่า การงานอะไรที่เป็นที่รักยิ่ง ที่อัลลอฮฺ ?

ท่านนบี ได้ตอบว่า "การละหมาดตามเวลาของมัน"

แล้วได้ถามท่านต่อไปว่า หลังนั้นมีอะไรอีก

ท่านได้ตอบว่า "หลังจากนั้นก็คือ การทำความดีกับพ่อแม่ "

แล้วได้ถามไปอีกว่า มีอะไรอีก

ท่านได้ตอบว่า "การเสียสละ(ต่อสู้กับศรัตรู) ในหนทางของอัลลอฮ์"

(บันทึกโดย บุคอรีย์ และมุสลิม)

มีรายงานจากอบีฮุร็อยเราะฮฺ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า

جَاءَ رَجُلٌ إِلَى رَسُولِ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ فَقَالَ: يَا رَسُولَ اللهِ مَنْ أَحَقُّ النَّاسِ بِحُسْنِ صَحَابَتِي؟ قَالَ: «أُمُّكَ» قَالَ: ثُمَّ مَنْ؟ قَالَ: «ثُمَّ أُمُّكَ» قَالَ: ثُمَّ مَنْ؟ قَالَ: «ثُمَّ أُمُّكَ» قَالَ: ثُمَّ مَنْ؟ قَالَ: «ثُمَّ أَبُوكَ»

 

       “ชายคนหนึ่งได้มาหาท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม และกล่าวว่า : โอ้ท่านร่อซูลุลลอฮฺ บุคคลใดที่มีสิทธิ์ต่อมนุษย์ที่จะต้องทำความดีมากที่สุด

ท่านร่อซูลตอบว่า : ((แม่ของท่าน)) 

ชายคนนั้นถามต่อว่า : ต่อมาคือใคร

ท่านร่อซูลตอบว่า : ((แม่ของท่าน)) 

ชายคนนั้นถามต่อว่า : ต่อมาคือใคร

ท่านร่อซูลตอบว่า : ((แม่ของท่าน)) 

ชายคนนั้นถามต่อว่า : ต่อมาคือใคร ?

ท่านร่อซูลตอบว่า : ((พ่อของท่าน)) ”

(บันทึกโดยบุคอรียฺ)

     จงระวัง จงระวัง ต่อการทรยศบิดามารดาจากคำพูด กริยา ท่าทาง อัลลอฮฺ ทรงกล่าวว่า

﴿ فَلَا تَقُلْ لَهُمَا أُفٍّ وَلَا تَنْهَرْهُمَا وَقُلْ لَهُمَا قَوْلًا كَرِيمًا [الإسراء: 23

 

เจ้าอย่าบ่น อย่าตำหนิท่านทั้งสอง และจงพูดกับท่านด้วยถ้อยคำที่ไพเราะ จงนอบน้อมถ่อมตนต่อท่านทั้งสอง

 

    การทรยศต่อผู้เป็นบุพการี ท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า

((أَلاَ أُنَبِّئُكُمْ بِأَكْبَرِ الكَبَائِرِ؟)) ثَلاَثًا، قَالُوا: بَلَى، يَا رَسُولَ اللَّهِ، قَالَ: ((الإِشْرَاكُ بِاللَّهِ، وَعُقُوقُ الوَالِدَيْنِ )) رواه البخاري ومسلم

 

เอาไหมล่ะ ฉันบอกให้พวกท่านรับทราบ บาปใหญ่ สามประการ

พวกเขากล่าวว่า "ครับ โอ้ ผู้เป็นศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ

ท่านกล่าวความว่า "การตั้งภาคีต่ออัลลอฮฺ และการทรยศต่อบุพการี"

(รายงานโดย บุคอรีย์ มุสลิม)

           จงกลับตัว จงกลับตัว จงทำดี จงทำดี กับบิดามารดาทั้งที่ท่านทั้งสองยังมีชีวิตและจากไป

 

กุญแจที่ สาม การรำลึกถึงอัลลอฮฺ

 

          การซิกิรหรือการกล่าวรำลึกถึงอัลลอฮฺ การซิกิรนั้นคือ สวนสวรรค์ในทรวงอก มันจะสร้างความโปรดปรานต่อองค์อัลลอฮฺผู้ทรงเมตตา  สามารถขับไล่ชัยฏอน ทำให้สิ่งที่ยากกลายเป็นง่ายดาย ลบความชั่วร้าย ขจัดความทุกข์โศกและความกังวลจากหัวใจ สร้างความเข้มแข็งแก่หัวใจและร่างกาย ให้รัศมีแก่หัวใจและใบหน้า เป็นเหตุแห่งการประทานริซกี ทำให้ความกลัวหมดไป และมันจะยังเป็นต้นไม้ที่ขึ้นในสวรรค์ซึ่งเป็นผลตอบแทนที่อัลลอฮฺประทานให้แก่ผู้กล่าวซิกิร

อัลลอฮฺได้ตรัสว่า

﴿ الَّذِينَ آمَنُوا وَتَطْمَئِنُّ قُلُوبُهُمْ بِذِكْرِ اللَّهِ أَلَا بِذِكْرِ اللَّهِ تَطْمَئِنُّ الْقُلُوبُ [الرعد: 28]

 

"บรรดาผู้ศรัทธา และจิตใจของพวกเขาสงบด้วยการรำลึกถึงอัลลอฮฺ

พึงทราบเถิด! ด้วยการรำลึกถึงอัลลอฮฺนั้นทำให้จิตใจสงบ

(อัร-เราะอฺดฺ : 28)

 

          การรำลึกถึงอัลลอฮฺทำให้ท่านนั้นมีชีวิตชีวาอย่างแท้จริง มันไม่ใช่การเดิน การนั่ง การกิน การวิ่งเล่น พักผ่อนแต่มันคือชีวิตที่มีสุขที่ถูกบรรจุในใจของท่าน

     จากอบู มูซา เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุ จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม ท่านได้กล่าวว่า

«مَثَلُ الَّذِي يَذْكُرُ رَبَّهُ وَالَّذِي لا يَذْكُرُ رَبَّهُ مَثَلُ الحَيِّ وَالمَيِّتِ»

 

 "เปรียบผู้ที่กล่าวรำลึกถึงอัลลอฮฺและผู้ที่ไม่กล่าวรำลึกถึงอัลลอฮฺ เสมือนคนเป็นและคนตาย

(บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์)

 

          การรำลึกถึงอัลลอฮฺเปรียบเทียบดังกับสภาพของปลาที่อยู่ในน้ำ หากปลาตัวหนึ่งขาดน้ำแน่นอนมันก็จะสิ้นลมทันที ฉะนั้นการรำลึกถึงอัลลอฮฺเฉกเช่นเดียวกัน ท่านใช้ชีวิตอยู่ได้อย่างไร หากไม่รำลึกถึงผู้สร้างท่านมา หนึ่งจากสาเหตุที่มาของความทุกข์โศกและความกังวลจากหัวใจ นั้นคือการลืม รำลึกถึงอัลลอฮฺ

 

           ท่าน อิบนุก็อยยิม กล่าวว่า สาเหตุหลักที่มาของความทุกข์โศกและความกังวลจากหัวใจ นั้นคือการออกห่างจากพระองค์ เพราะหัวใจผูกมัดกับสิ่งอื่นลืมและละทิ้งต่อการรำลึกถึงอัลลอฮฺจากความรัก

 

           ท่านอิบนุ อัลเญาซี่ย์ กล่าวว่า ฉันมองเห็น สาเหตุหลักที่มาของความทุกข์โศกและความกังวลจากหัวใจ นั้นคือการออกห่างจากพระองค์ เพราะหัวใจผูกมัดกับโลกนี้

 

           จงระวัง จงระวัง การหลงลืม การออกห่างจากข้อเตือนใจต่างๆและการรำลึกถึงอัลลอฮฺจากอัลกรุอ่านและซุนนะของท่านนบี

 

           จากตัวบทหะดีษ อะบี วากิด อัลลัยซี่ย์ แท้จริงท่านร่อซูลนั่งร่วมวงในมัสยิดพร้อมกับสหายบรรดาศ่อฮาบะ ทันใดนั้นมีชายสามคนเดินเข้ามา สองคนเข้ามาหาท่านร่อซู,และอีกหนึ่งคนก็เดินกลับไป เมื่อสองคนมายืนตรงท่านนบี ปรากฏว่าอีกคนหนึ่งเห็นช่องว่างให้นั่ง เขาเลยไปเลยตรงนั้น และชายอีกคนก็นั่งข้างหลังผู้ชายคนนั้น ส่วนคนที่สาม เดินหันหลังหลับไป หลังจากนั้น ท่านนบีกล่าวว่า

«أَلاَ أُخْبِرُكُمْ عَنِ النَّفَرِ الثَّلاَثَةِ؟ أَمَّا أَحَدُهُمْ فَأَوَى إِلَى اللَّهِ فَآوَاهُ اللَّهُ، وَأَمَّا الآخَرُ فَاسْتَحْيَا فَاسْتَحْيَا اللَّهُ مِنْهُ، وَأَمَّا الآخَرُ فَأَعْرَضَ فَأَعْرَضَ اللَّهُ عَنْهُ متفق عليه

 

     “เอาไหม ฉันจะบอกให้พวกท่านรับทราบลักษณะของชายสามคนนี้ คนหนึ่งที่เขานั้นมาหาอัลลอฮฺ แน่นอนพระองค์ก็จะไปหาเขา คนหนึ่งที่เขาละอายต่อพระองค์ แน่นอนพระองค์ก็จะละอายกับเขา ส่วนอีกคนหนึ่ง เขานั้นออกห่างจากพระองค์ แน่นอน พระองค์ก็จะออกห่างกับเขาเช่นกัน

 

กุญแจที่สี่ คบเพื่อนที่ดี

 

          จากขุนทรัพย์อันล้ำค่าไม่มีวันตีราคาได้ และมันจะอยู่ในความปิติยินดีในใจของท่านตลอดกาลนั้นคือการได้เพื่อนสหายที่ดี

ท่านนบี เคยเปรียบเทียบการคบคนดีและไม่ดีไว้ว่า

 

((إِنَّمَا مَثَلُ الجليس الصالحُ والجليسُ السوءِ كحامِلِ المسك، ونافخِ الكِيْرِ، فحاملُ المسك: إِما أن يحذيكَ، وإِما أن تبتاع منه، وإِمَّا أن تجِدَ منه ريحا طيِّبة، ونافخُ الكير؛ إِما أن يَحرقَ ثِيَابَكَ، وإِما أن تجد منه ريحًا خبيثَة))؛ رواه البخاري، ومسلم.

 

     “อุปมาเพื่อนที่ดีและเพื่อนที่ไม่ดี เปรียบได้ดั่งคนถือชะมดเชียง และคนที่ถือเตาไฟ โดยคนถือชะมดเชียงนั้น จะทำให้ท่านปลอดภัย ซื้อชะมดเชียงจากเขาก็ได้ และกลิ่นมันก็หอม ส่วนผู้ถือเตาไฟ มีแต่จะทำให้เสื้อผ้าท่านถูกไฟไหม้ และกลิ่นเหม็นน่ารังเกียจ” 

(บันทึกโดยบุคอรีย์และมุสลิม)

 

          ฉะนั้นผู้ศรัทธาที่ดี จะไม่ทิ้งเพื่อนสหายของเขาเอาไว้ข้างหลังอย่างเด็ดขาด แน่นอนว่าเขานั้นต้องการท่าน ด้วยการจูงมือเขาไปสู่หนทางของอัลลอฮฺ เพื่อนแท้ เขาจะช่วยเตือนท่านเมื่อลืม ช่วยห้ามเมื่อทำผิด ผู้ศรัทธาคือเงากระจกซึ่งกันละกัน เพื่อนที่ดีเขาจะพยามช่วยกันในสิ่งที่ดี เชื่อฟังอัลลออฺและเป็นแบบอย่างที่ดีซึ่งกันละกัน

อัลลอฮฺกล่าวว่า

﴿ وَاصْبِرْ نَفْسَكَ مَعَ الَّذِينَ يَدْعُونَ رَبَّهُمْ بِالْغَدَاةِ وَالْعَشِيِّ يُرِيدُونَ وَجْهَهُ وَلَا تَعْدُ عَيْنَاكَ عَنْهُمْ تُرِيدُ زِينَةَ الْحَيَاةِ الدُّنْيَا [الكهف: 28]

 

     “และจงอดทนต่อตัวของเจ้า ร่วมกับบรรดาผู้วิงวอนต่อพระผู้เป็นเจ้าของพวกเขา ทั้งยามเช้าและยามเย็น โดยปราถนาความโปรดปรานของพระองค์ และอย่าให้สายตาของเจ้าหันเหออกไปจากพวกเขา ขณะที่เจ้าประสงค์ความสวยงามแห่งชีวิตของโลกนี้

 

          ท่าน อิบนุ ก็อยยิม กล่าวว่า เพื่อนมนุษย์ที่ดี คือคนที่ช่วยเหลือท่านในสิ่งที่ดีงาม

          เพื่อนที่เลวคือ คนที่ พยามยุแหย่ส่งเสริมให้ท่านนั้นทำในสิ่งที่ผิดหลักศาสนา

 

เตือนสติ

          โอ้เพื่อน พี่น้องทุกๆคน ใครก็ตามที่พยามส่งเสริมเพื่อนฝูงกระทำในสิ่งที่ผิดหลักการศาสนา ซึ่งคือการฝ่าฝืนต่อพระองค์ แน่นอนในวันกียามะฮ์ เขานั้นจะกลายมาเป็นศัตรู เว้นแต่ เพื่อนที่ซอแหละฮฺเท่านั้น อัลลอฮฺ ทรงกล่าวว่า

﴿ الْأَخِلَّاءُ يَوْمَئِذٍ بَعْضُهُمْ لِبَعْضٍ عَدُوٌّ إِلَّا الْمُتَّقِينَ [الزخرف: 67]،

 

     “ในวันกิยามะฮ์นั้น บรรดาผู้ที่เคยเป็นเพื่อนกัน ต่างก็จะกลายเป็นศัตรูกัน นอกจากบรรดาผู้ที่มีความยำเกรงต่ออัลลอฮ์เท่านั้น” 

(ซูเราะฮ์ อัซ ซุครุฟ: 67)

 

          จงพิจารณาอย่างรอบคอบอยู่ตลอดเวลาให้เลือกคบเพื่อนที่ดีของท่านทั้งในโลกนี้และโลกหน้า หากเพื่อนที่ส่งเสริมสู่สิ่งที่ไม่ดีจงออกห่างเพราะนั้นคือ ศัตรูของท่านในวันกิยามะฮ์อย่างแน่นอน