ในวันที่ได้พบอัลลอฮ์ในสวรรค์
  จำนวนคนเข้าชม  3591


ในวันที่ได้พบอัลลอฮ์ในสวรรค์

 

อาบีดีณ โยธาสมุทร

 

     อะฮฺลุ้ซซุนนะฮฺ วั้ลญะมาอะฮฺเชื่อว่า ผู้ศรัทธาจะได้มองไปที่ พระพักตร์ของอัลลอฮฺ และได้เห็นพระองค์จริงๆกับตา ในโลกอาคิเราะฮฺ

เสาที่หนึ่ง ข้อมูลบางส่วนจาก อั้ลกุ้รอ่าน

 

(1) ข้อมูลที่ใช้ข้อความว่า "มองไปที่พระเจ้า"

 

อัลลอฮฺ ตะอาลาตรัสว่า

وُجُوهٌ يَوْمَئِذٍ نَاضِرَةٌ (22) إِلَى رَبِّهَا نَاظِرَةٌ (23)

หลายใบหน้าในวันนั้นเป็นใบหน้าที่เบิกบาน เป็นใบหน้าที่มองไปที่พระเจ้าของมันจริงๆ

 

           การบวกการมอง (النظر) เข้าไว้กับใบหน้า (الوجه) และบวกต่อด้วยกับคำว่า ไปที่ (إلى) และการขยับตำแหน่งของข้อความที่โดยปกติควรจะจัดไว้ส่วนท้ายของประโยค ให้มาไว้ในส่วนหน้าของประโยคแทน พร้อมๆกับการที่ข้อความๆนี้ ปราศจากบริบทแวดล้อมอื่นๆที่ใช้เป็นหลักฐานในการผันความหมายของข้อความออกไปเพื่อให้เข้าใจไปเป็นอย่างอื่นนั้น เท่ากับเป็นการสื่อสารไว้อย่างชัดเจนให้ทราบว่า พระองค์ทรงหมายความคำว่า มอง ในประโยคนี้ว่ามันคือการมองด้วยตาที่อยู่ที่ใบหน้าของพวกเขาจริงๆ ไม่ใช่อย่างอื่น และเป็นการมองไปที่พระองค์ ตะอาลา จริงๆไม่ใช่มองไปที่สิ่งอื่น

 

มีการรายงานถึงท่านอิบนุ อั้บบ้าส ร่อดิยั้ลลอฮุอันฮุ (..68 ) ไว้เกี่ยวกับอายะฮฺนี้ว่า

ينظرُونَ إِلَى وَجه رَبهم لَا يحجبون عَنهُ (تفسير ابن عباس)

          “พวกเขาจะมองไปที่พระพักตร์ของพระเจ้าของพวกเขา โดยจะไม่ถูกปิดกั้นจากพระองค์แต่อย่างใด

ท่านอิ้กริมะฮฺ ร่อฮิมะฮุ้ลลอฮฺ (.. 105 ) กล่าวว่า

تنظر إلى ربها نظرا (تفسير الطبري)

          “ใบหน้าเหล่านั้นจะมองไปที่พระเจ้าของพวกมัน ด้วยการมองจริงๆ

ท่านอั้ลฮะซัน ร่อฮิมะฮุ้ลลอฮฺ (.. 110) กล่าวว่า

تنظر إلى الخالق وحُقّ لها أن تنضُر وهي تنظر إلى الخالق (تفسير الطبري، ابن كثير)

          “ใบหน้าเหล่านั้นจะมองไปที่พระผู้สร้าง ซึ่งมันก็เหมาะสมแล้วที่มันจะเบิกบานและอิ่มเอมตอนที่มันเองกำลังมองไปที่พระผู้สร้าง

 

ท่านอิบนุกะษีร ร่อฮิมะฮุ้ลลอฮฺ (.. 774) กล่าวไว้ในตัฟซี้รของท่านว่า 

أي: تراه عياناً ، كما رواه البخاري رحمه الله في صحيحه: (( إنكم سترون ربكم عيانا)) {البخاري 4929 ،مسلم 448}

          หมายถึง บรรดาใบหน้าเหล่านั้นจะได้เห็นพระองค์จะๆกับตา เหมือนที่ท่านอั้ลบุคอรีย์ ร่อฮิมะฮุ้ลลอฮฺ ได้รายงานไว้ใน หนังสือศ่อฮี้ฮฺของท่านว่าพวกคุณจะได้เห็นพระเจ้าของพวกคุณจะๆกับตา

 

(2) ข้อมูลที่ใช้ข้อความว่า "พบกับพระเจ้า"

 

อัลลอฮฺตะอาลา ตรัสว่า 

وَاتَّقُوا اللَّهَ وَاعْلَمُوا أَنَّكُمْ مُلَاقُوهُ (البقرة 223)

และพวกเจ้าจงเกรงกลัวอัลลอฮฺ และจงรู้กันไว้ว่า พวกเจ้านั้น เป็นพวกที่จะต้องพบกับพระองค์

อัลลอฮฺตะอาลา ตรัสว่า

فَمَنْ كَانَ يَرْجُو لِقَاءَ رَبِّهِ فَلْيَعْمَلْ عَمَلًا صَالِحًا وَلَا يُشْرِكْ بِعِبَادَةِ رَبِّهِ أَحَدًا (الكهف 110)

ดังนั้นใครก็ตามที่มาดหวังจะพบกับพระเจ้าของเขา เขาก็จงทำการกระทำที่ดีๆ

อัลลอฮฺตะอาลา ตรัสว่า

...وَكَانَ بِالْمُؤْمِنِينَ رَحِيماً . تَحِيَّتُهُمْ يَوْمَ يَلْقَوْنَهُ سَلَامٌ وَأَعَدَّ لَهُمْ أَجْرًا كَرِيمًا (الأحزاب 44)

     “และกับบรรดาผู้ศรัทธาแล้ว พระองค์ทรงเป็นพระผู้ทรงเมตตา คำกล่าวทักทายพวกเขาในวันที่พวกเขาจะพบกับพระองค์ คือคำว่า สลาม และพระองค์ได้ทรงตระเตรียมผลตอบแทนอันมีเกียรติไว้ให้พวกเขาเรียบร้อยแล้ว

 

ท่านอิบนุ้ล กอยยิม ร่อฮิมะฮุ้ลลอฮฺ (..751) กล่าวว่า

وأجمع أهل اللسان على أن اللقاء متى نسب إلى الحي السليم من العمى والمانع اقتضى المعاينة والرؤية (حادي الأرواح 288)

           “บรรดาผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาอาหรับต่างมีมติกันไว้ว่า คำว่า พบ (اللقاء) นั้น เมื่อไหร่ที่ถูกนำมาใช้กับ สิ่งมีชีวิต ที่ปลอดจากอาการตาบอด และปราศจากอุปสรรคที่เข้ามาขัดขวาง คำๆนี้จะบ่งบอกถึงการมองจะๆด้วยตาและบ่งบอกถึงการเห็น

 

ท่านยังกล่าวไว้ในหนังสือเล่มเดียวกัน หน้า 340 อีกว่า

قال أبو عبد الله بن بطة سمعت أبا عمر محمد بن عبد الواحد صاحب اللغة يقول سمعت أبا العباس احمد بن يحيى ثعلب يقول في قوله تعالى: {وَكَانَ بِالْمُؤْمِنِينَ رَحِيماً تَحِيَّتُهُمْ يَوْمَ يَلْقَوْنَهُ سَلام} اجمع أهل اللغة على أن اللقاء هاهنا لا يكون إلا معاينة ونظرا بالأبصار

          “ท่านอบูอับดุลลอฮฺ บิน บั้ตเต้าะฮฺ ได้กล่าวไว้ว่า ผมได้ยินท่าน อบูอุมัร มุฮัมหมัด บิน อับดุลวาเฮ็ด ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาอาหรับ ตอนที่ท่านพูดว่า ผมได้ยินท่าน อบู้ลอั้บบ้าส อะฮฺหมัด บิน ยะฮฺยา ซะอฺหลับ (อิหม่ามด้านภาษาอาหรับของชาวกูฟะฮฺ ..291 )

          ตอนที่ท่านพูดเกี่ยวกับคำพูดของพระองค์ ตะอาลา ที่ว่า“..และกับบรรดาผู้ศรัทธาแล้ว พระองค์ทรงเป็นพระผู้ทรงเมตตา  คำกล่าวทักทายพวกเขาในวันที่พวกเขาจะพบกับพระองค์ คือคำว่า สลาม..” ว่า : บรรดาผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาต่างมีมติกันไว้ว่า คำว่า พบ ในข้อความนี้ จะหมายความเป็นอื่นไปไม่ได้ มันจะต้องหมายถึง การเห็นด้วยตา และการมองด้วยสายตาเท่านั้น

 

(3) ข้อมูลที่พูดถึง "การเพิ่มเติมที่เตรียมไว้ให้ชาวสวรรค์"

 

อัลลอฮฺ ตะอาลาตรัสว่า

لِلَّذِينَ أَحْسَنُوا الْحُسْنَى وَزِيَادَةٌ (يونس 26)

สำหรับคนที่กระทำดีนั้น เขาจะได้รับสิ่งที่ดีเลิศและได้รับการเพิ่มเติมให้

และตรัสว่า

لَهُمْ مَا يَشَاءُونَ فِيهَا وَلَدَيْنَا مَزِيدٌ (ق 35)

พวกเขาจะได้รับสิ่งที่พวกเขาต้องการในนั้น และที่เราเองนี้ ก็มีการเพิ่มเติมเอาไว้ให้ด้วย

 

          ท่านอิบนุญะรีร ร่อฮิมะฮุ้ลลอฮฺ (..310) ไอ้อ้างข้อมูลด้วยสายรายงานของท่านถึงท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะซั้ลลัมว่า ท่านพูดไว้ว่าสิ่งที่ดีเลิศตรงนี้ ก็คือ สวรรค์ ส่วนการเพิ่มเติมให้นั้น หมายถึง การมองไปที่พระพักตร์ของอัลลอฮฺ อั้ซซะวะญัล นั้นเอง (เล่ม11หน้า107)

 

عَنْ صُهَيْبٍ، عَنِ النَّبِيِّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَالَ: " إِذَا دَخَلَ أَهْلُ الْجَنَّةِ الْجَنَّةَ، قَالَ: يَقُولُ اللهُ تَبَارَكَ وَتَعَالَى: تُرِيدُونَ شَيْئًا أَزِيدُكُمْ؟ فَيَقُولُونَ: أَلَمْ تُبَيِّضْ وُجُوهَنَا؟ أَلَمْ تُدْخِلْنَا الْجَنَّةَ، وَتُنَجِّنَا مِنَ النَّارِ؟ قَالَ: فَيَكْشِفُ الْحِجَابَ، فَمَا أُعْطُوا شَيْئًا أَحَبَّ إِلَيْهِمْ مِنَ النَّظَرِ إِلَى رَبِّهِمْ عَزَّ وَجَلَّ "، ثم تلا هذه الآية ((لِلَّذِينَ أَحْسَنُوا الْحُسْنَى وَزِيَادَةٌ )) (مسلم 181)

 

          มีรายงานจากท่านศุฮั้ยบฺ โดยท่านได้รายงานจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะซั้ลลัม มาว่า ท่านกล่าวว่า 

 

     “เมื่อชาวสวรรค์เข้าสวรรค์กันแล้ว อัลลอฮฺ ตะบาร่อกะวะตะอาลา จะตรัสว่าพวกเจ้าต้องการให้ข้าเพิ่มเติมอะไรให้พวกเจ้าหรือไม่?”

     พวกเขาก็จะตอบกันว่า พระองค์ไม่ได้ทำให้ใบหน้าของพวกเราขาวผ่องแล้วมิใช่หรือครับ ไม่ได้ทรงทำให้พวกเราได้เขาสวรรค์กันแล้วมิใช่หรือครับ และไม่ได้ทรงทำให้พวกเรารอดพ้นจากนรกกันแล้วมิใช่หรือครับ?”

     ท่านกล่าวว่าแล้วพระองค์ก็ทรงเปิดสิ่งปิดกั้นออก ซึ่งนั่นทำให้พวกเขารู้สึกว่า ไม่มีอะไรสักอย่างเลยที่พวกเขาเคยได้รับมา ที่จะมาเป็นที่รักยิ่งสำหรับพวกเขามากไปกว่าการได้มองไปที่พระเจ้าของพวกเขา อั้ซซะวะญัล” 

แล้วท่านก็อ่าน อายะฮฺๆนี้สำหรับคนที่กระทำดีนั้น เขาจะได้รับสิ่งที่ดีเลิศและได้รับการเพิ่มเติมให้

 

وصلى الله على محمد وآله وصحبه أجمعين