การประกาศข่าวเรื่องการเสียชีวิต ในแบบอิสลาม
รวบรวมโดย อับดุลวาเฮด สุคนธา
การประกาศหรือแจ้งข่าวการเสียชีวิต ในรูปแบบต้องห้าม
ความหมายคำว่า การแจ้งข่าวผู้ที่เสียชีวิต หากว่าการประกาศแจ้งข่าวผู้เสียชีวิตในรูปแบบของยุคญาฮีลียะที่พวกเขาเคยทำกันสมัยนั้น ถือว่าไม่เป็นที่อนุญาตให้กระทำ แน่นอนพวกเขาส่งคนหนึ่งไปเพื่อแจ้งเตือนถึงการตายของบุคคลหนึ่ง ในสถานที่ต่างๆ ที่คนพักอาศัยและท้องตลาด หรือขี่พาหนะหรือสัตว์ ใช้เสียงเรียกในหมู่คนนั้นๆ
(หนังสือ ศอเอี้ยะบุคอรีย์)
ท่าน อิบนุ อะซีร กล่าวว่า การเป่าประกาศแจ้งข่าวคนตายหรือบอกข่าวผู้เสียชีวิต เป็นตัวแทนไปแจ้ง เป็นที่รู้กันในชนเผ่าชาวอาหรับเมื่อมีผู้ตาย ที่มีเกียรติ หรือคนใหญ่คนโตเสีย ถูกฆ่าตาย มีตัวแทนขี่พาหนะไปยังชนเผ่าต่างๆเพื่อแจ้งข่าวการเสียชีวิต เช่น คนอาหรับคนนี้ คนนั้นเสียแล้ว
(หนังสือ อิบนุ อซีร ฆอรออิบ)
บางครั้งคนที่ประกาศขึ้นไปยังที่สูง เช่น ภูเขา กำแพง เพดานของบ้านพัก ใช้เสียงประกาศ ว่าคนนั้นเสีย คนนี้เสีย
(หนังสือฟิกฮฺดะวะฮฺ)
การแจ้งข่าวไปยังคนที่มีชีวิตอยู่ทราบด้วยการ ส่งเสียงว่า คนนั้น คนนี้ (หนังสือ พจนานุกรม ฟิกฮฺ) การประกาศในรูปของลักษณะนี้ ตามหลักการศาสนานั้นถือว่า ห้าม เพราะมันคือรูปแบบการกระทำของยุคสมัยญาฮีลียะ ไม่อนุญาตให้มุสลิมทำ
การแจ้งข่าวผู้ตายใน รูปแบบที่อนุญาต
อนุญาตแจ้งหรือประกาศข่าวผู้ที่เสียชีวิตโดยไม่ใช่รูปแบบของกลุ่มชนของยุคญาอีลียะฮฺทำกัน จำเป็นที่บุคคลหนึ่งจะต้องกระทำในการจัดการเรื่องต่างๆเกี่ยวกับผู้ตาย เช่น การอาบน้ำ การกะฝั่น การละหมาด จนถึงการฝัง เพราะนี้คือสิทธิ์ของผู้ตาย ที่คนเป็นมุสลิมทุกคนเพิ่งปฏิบัติต่อเขา
จากหลักฐานอนุญาตทำการแจ้ง บอกข่าวการเสียชีวิตของบุคคลหนึ่ง มีรายงานท่านอบูฮูรอยเราะ แท้จริงท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม นั้น
نَعَى النَّجَاشِيَّ فِي الْيَوْمِ الَّذِي مَاتَ فِيهِ ، وَخَرَجَ بِهِمْ إِلَى الْمُصَلَّى فَصَفَّ بِهِمْ ، وَكَبَّرَ عَلَيْهِ أَرْبَعَ تَكْبِيرَاتٍ.
“ได้แจ้งข่าวการเสียชีวิตของกษัตริย์นาญาซี่ย์ในวันที่ทท่านเสียชีวิต ต่างพากันไปยังสถานที่ละหมาดกลางแจ้ง มีการจัดแถว และตักบีร สี่ครั้ง”
(บุคอรีย์ และมุสลิม)
อีกรายงานหนึ่ง แท้จริงท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม นั้น
نَعَى لَنَا رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ النَّجَاشِيَّ صَاحِبَ الْحَبَشَةِ يَوْمَ الَّذِي مَاتَ فِيهِ ، فَقَالَ : اسْتَغْفِرُوا لأَخِيكُمْ
“ได้แจ้งข่าวแก่พวกเราถึง การเสียชีวิตของ กษัตริย์ นาญาซี่ย์ เจ้าเมืองแห่งเอธิโอเปีย ในวันที่ท่านเสียชีวิต ท่านนบี กล่าวว่า พวกท่านจงขออภัยโทษให้แก่พี่น้องของพวกท่าน”
(บุคอรีย์และมุสลิม)
รายงานจากท่าน ญาบีร แท้จริงท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม นั้น
(صلَّى على النجاشي فكنت في الصف الثاني أو الثالث)
“ละหมาดให้กับกษัตริย์ นาญาซี่ย์ ฉันจัดแถวมีถึงสองและสามแถวด้วยกัน”
(บุคอรีย์ และมุสลิม)
ในอีกสำนวนหนึ่ง กล่าวว่า ท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมกล่าวในขณะกษัตริย์ นาญาซี่ย์เสียชีวิต ว่า
((مات اليوم رجل صالح فقوموا صلوا على أخيكم)).
“วันนี้มีชายที่ดีได้เสียชีวิต ดังนั้นพวกท่านจงลุกละหมาดให้แก่พี่น้องของพวกท่านด้วยเถิด”
(บุคอรีย์และมุสลิม)
ท่านอิหม่ามบุคอรีย์ ได้อธิบายในตัวบทหะดีษของท่านหญิงอาอีชะฮ์ และท่านอนัส ในสำนวนที่ว่า เรื่องคนหนึ่งไปแจ้งข่าวแก่ครอบครัวผู้ตาย
ท่านอิบนุ ฮะญัร กล่าวสิ่งที่ได้รับจากตรงนี้ว่า จริงๆการแจ้งข่าวของผู้เสียชีวิตนั้นไม่ได้เป็นที่ต้องห้ามทั้งหมด ที่ห้ามคือการแจ้งในลักษณะของคนยุคญาฮีละยะฮ์เท่านั้น ด้วยการส่งคนไปป่าวประกาศตามหมู่บ้าน ซอกซอยต่างๆ ในตลาด
ท่าน อิบนุ อันมูรอบิต กล่าวว่า การแจ้งที่อนุญาต หมายถึงการ บอกให้คนรับทราบโดยเฉพาะญาติพี่น้องที่ใกล้ชิด หากว่าการแจ้งข่าวผู้ตายนั้น แม้ว่าจะมีการเศร้าโศกเสียใจแก่ครอบครัวของผู้ตายก็ตาม แต่สิ่งที่สำคัญได้มีส่วนร่วมในการจัดการศพ เช่น ละหมาด ขอดุอา ขออภัยโทษ จัดการสิ่งที่ผู้ตายทิ้งเอาไว้ตามหลักการของศาสนา
ท่านอิบนุ อารอเบีย ได้สรุปสามสภาพในตัวบทหะดีษที่กล่าวมาข้างต้น
· การแจ้งข่าวผู้ตายแก่เครือญาติ ถือว่า เป็นซุนนะ
· การแจ้งข่าวเพื่อมาจัดงาน ไว้อาลัย ถือว่า น่ารังเกียจ
· การแจ้งเพื่อให้มีการตีโพยตีพาย ตีอกชกตัว อันนี้ถือว่า ห้าม
(หนังสือ ฟัตฮุลบารี)
รายงานจากท่านอนัส ว่า
مات إنسان كان رسول الله - صلى الله عليه وسلم - يعوده، فمات بالليل فدفنوه ليلاً، فلما أصبح أخبروه فقال: ((ما منعكم أن تعلموني؟)) قالوا: كان الليل فكرهنا – وكانت ظلمة – أن نشق عليك، فأتى قبره فصلى عليه
ครั้งหนึ่งมี ชายคนหนึ่งเสียชีวิต ปรากฏว่า ท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมไปเยี่ยมเขาคนนั้น
แต่เขาตายในยามค่ำคืนและถูกฝังในคืนนั้นด้วย ต่อมารุ่งเช้า ท่านนบีทราบข่าว
ท่านนบีถาม ว่า มีสิ่งใดห้ามพวกท่านไม่ให้บอกแก่ฉันรับทราบ
พวกเขาตอบว่า เวลามันดึกแล้ว พวกเราเกรงใจท่าน กลัวสร้างความลำบากแก่ท่านอีกด้วย
ต่อมาท่านนบีไปยังหลุมฝังศพและทำการละหมาด
(บุคอรีย์และมุสลิม)
ท่านอิหม่ามบุคอรีย์ อธิบายในหัวข้อว่าด้วยเรื่อง การอนุญาตบอกข่าวผู้ตาย
ท่านอิบนุ ฮาญัร กล่าวว่าในความหมายตรงนี้ว่า ส่งเสริมแจ้งข่าวของผู้ที่เสียชีวิต เมื่อเขาตาย เพื่อทำการละหมาดให้แก่เขา
รายงานจากท่าน อบูฮูรอยเราะ มีหญิงผิวดำคนหนึ่ง คนรับใช้ดูแลมัสยิด หายตัวไป (ไม่เห็นหน้า)
أَفَلا كُنْتُمْ آذَنْتُمُونِي بِهِ ؟! دُلُّونِي عَلَى قَبْرِهِ أَوْ قَالَ قَبْرِهَا ، فَأَتَى قَبْرَهَا فَصَلَّى عَلَيْهَا، ثم قال: ((إن هذه القبور مملوءة ظلمة على أهلها وإن الله - عز وجل - ينورها بصلاتي عليهم))
ท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ถามไถ่ถึงหญิงคนนี้
พวกเขาตอบ ว่า นางได้เสียชีวิตแล้ว
ท่านนบีกล่าวว่า ทำไม ไม่บอกให้ฉันรับทราบข่าว
พวกเขาตอบว่า มันเป็นเรื่องเล็กน้อย
ท่านนบี กล่าวว่า บอกฉันมาว่าหลุมฝังศพนางอยู่ตรงใหน แล้วท่านนบีก็ละหมาด
ท่านกล่าวว่า แท้จริงหลุมฝังศพมืดมิดแก่ชาวกุโบร์ แท้จริงอัลลอฮฺทรงทำให้มันมีแสงสว่างด้วยการละหมาดของฉันในหลุมฝังศพของนาง
(ฟัตฮุลบารี)
จากตัวบทดังกล่าว ส่งเสริมมีผู้แจ้งข่าวสำหรับบุคคลทั่วไปรับทราบ เพื่อจะได้มาขอดุอา อภัยโทษแก่ผู้ที่เสียชีวิต
รายงานจากท่าน อบูกอตาดะฮฺ เล่าฟัง การแจ้งข่าวกับ ท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม การเสียชีวิตของศ่อฮาบะ ว่า ท่าน เซด บิน ฮารีซะ ท่าน อับดุลลอฮฺ บิน รอวาฮะ ในเรื่องมีอยู่ว่า
ألا أخبركم عن جيشكم هذا الغازي؟ إنهم انطلقوا فلقوا العدوَّ فأصيب زيدٌ شهيداً، فاستغفروا له، فاستغفر له الناس، ثم أخذ اللواء جعفر بن أبي طالب فشدَّ على القوم حتى قُتِلَ شهيداً أشهد له بالشهادة، فاستغفروا له، ثم أخذ اللواء عبد الله بن رواحة فأثبت قدميه حتى قتل شهيداً، فاستغفروا له، ثم أخذ اللواء خالد بن الوليد
เอาไหม ฉันจะบอกพวกท่านข่าวจากทหารของพวกท่านในสงคราม
พวกเขาออกไปยังสมรภูมิรบ เผชิญหน้ากับศัตรู ท่านเซด ได้เสียชีวิต พวกท่านจงขออภัยโทษให้แก่เขา ผู้คนต่างพากันขออภัยโทษให้พวกเขา
ต่อมาท่านยะฟัร อะบี ตอเล็บ เป็นผู้ถือธงรบต่อ ถูกฆ่าเสียชีวิตฉันขอยืนยันว่า เขานั้นตายในหนทางของอัลลอฮฺพวกท่านจงขออภัยโทษให้แก่เขา
ต่อมาท่าน อับดุลลอฮฺ บิน รอวาฮะ ตอเล็บ เป็นผู้ถือธงรบต่อ ถูกฆ่าเสียชีวิต ฉันของยืนยันว่า เขานั้น ตายในหนทางของอัลลอฮฺ พวกท่านจงขออภัยโทษให้แก่เขา ต่อมาท่าน คอลิด บิน วาลิด เป็นผู้ถือธงรบต่อหลังจากนั้น
( อะหมัด)
ท่านอิหม่าม อิบนุ มูลักคิน กล่าวว่า การแจ้งข่าวผู้ที่เสียชีวิต มีสองรูปแบบ
♦· อนุญาต การแจ้งเพื่อมีคนมาละหมาดมากๆมาขอดุอาให้แก่ผู้ตาย เพื่อให้เขารับการช่วยเหลือจากสำนวนหะดีษบอกว่า หากมีคนมาละหมาดญานาซะสี่สิบคน เขาจะได้รับการช่วยเหลือจากพระองค์ มีการยืนยันหะดีษผู้หญิงผิวดำ ถึงการแจ้งข่าว ท่านนบีกล่าวว่า ทำไมไม่บอกข่าวแก่ฉัน และการแจ้งข่าวการเสียชีวิตของบรรดาศ่อฮาบะฮ์ในสงครามมุตะ
♦· ห้าม การแจ้งในรูปแบบของชาวญาฮีละยะฮ์ การไว้อาลัย การตีโพยตีพาย แสดงความเจ็บปวด เศร้าหมอง รู้สึกปวดร้าวมากมาย
(จากหนังสือ ฮุ่กุ่มเรือง ศพ ชัยคุ ชะอีด อันเกาะตอนีอฺ)
ความเห็นของผู้รู้
ทัศนะบรรดาปวงปราช์และอิหม่าม อบูอานีฟียะ มาลีกียะ ซาฟีอียะฮฺ อัมบาลี มีความเห็นว่า อนุญาต มีการประกาศหรือ แจ้ง ข่าวของคนที่เสียชีวิต เพื่อจะได้มาละหมาดให้แก่ผู้ตาย
ท่าน อิหม่าม นะวะวีย์ กล่าวในหนังสือ อธิบาย ศ่อเฮี้ยมุสลิมว่า ส่งเสริมมีการประกาศหรือแจ้งข่าวผู้ตายแต่ไม่ใช่ในรูปแบบลักษณะของยุคญาฮีลียะฮฺ ประกาศเพื่อให้มีคนมาละหมาดและไปส่งศพ จัดการในเรื่องของศพต่างๆ ส่วนการประกาศที่ต้องห้าม การแจ้งในลักษณะ ยกเสียงสูง ประกาศแบบ ไว้อาลัย เศร้าใจ
สภาฟัตวาของประเทศซาอุ กล่าวว่า อนุญาต บอกข่าวแก่เครือญาติ และเพื่อนเมื่อมีคนใดเสียชีวิตจากนี้เพื่อให้เขาได้มาละหมาดและขอดุอา ติดตามศพ ช่วยเหลือในการฝัง เพราะท่านนบีเคยแจ้งข่าวการเสียชีวิตของ ท่าน นะญาซี่ย์ และสั่งให้มีการละหมาดด้วย
ส่วนการประกาศแบบรู้สึกเศร้าเสียใจ ยกเสียงสูง ไว้อาลัยต่างๆ แสดงความเสียใจ เป็นลักษณะการประกาศที่ต้องห้ามตามคำสั่งท่านนบี
มีรายงาน จาก อุซัยฟะฮฺ บิน ยามาน เมื่อฉันเสียชีวิต พวกท่านอย่าได้ประกาศแก่ฉัน เพราะฉันกลัวในเรื่องการแจ้งข่าว เพราะฉันได้ยินท่านนบี กล่าวว่า
يَنْهَى عَنْ النَّعْيِ “ห้ามการแจ้งข่าวผู้ตาย (แบบญาฮีลียะ) “
(ติรมีซีย์)
ท่านอิบนุ กุดามะ กล่าวว่า เรื่องน่ารังเกียจ ส่งคนหนึ่งไปป่าวประกาศถึงผู้ตาย แต่หากมีการตายควรแจ้งให้รับทราบเพื่อจะได้มาละหมาดศพผู้ตาย ส่วนมากปราช์ผู้รู้ ถือว่าอนุญาต เพื่อให้ญาติพี่น้อง เพื่อน คนรู้จักรับทราบ
ท่าน อิบรอฮีม อัล นักฮีย์ กล่าวว่า ถือว่าอนุญาต เมื่อมีคนใดตาย ประกาศให้เพื่อน ญาติๆ แต่สิ่งที่น่ารังเกียจ คือ การเดินไปทั่วทุกที่แล้วเป่าประกาศ ว่า คนนั้น คนนี้ เสียแล้ว การกระทำรูปแบบนี้ เหมือนทำในสมัยญาฮีลียะ
สายมัสฮับ อิหม่ามฮานาฟียะ มีความเห็นว่า ไม่ใช่เรื่องที่น่ารังเกียจ สำหรับการประกาศตามท้องตลาดเพื่อมีคนมาละหมาดและขออภัยโทษกับผู้ตายมากๆ โดยมีเงื่อนไขว่า ต้องไม่ยกเสียงในทำนองเสียใจ เศร้า ทุกข์ และบอกชื่อเสียงคนตาย
การประกาศว่ามีผู้เสียชีวิต โดยใช้ลำโพง ตามมัสยิดต่างๆ
อิหม่าม ศ็อนอานีย์กล่าวว่า สำหรับฉัน การประกาศในลักษณะนี้ถือว่า เข้าข่ายการประกาศในรูปแบบของยุคญาฮีลียะ
เชคอัลบานีย์ กล่าวเช่นกันว่า การประกาศโดยใช้ลำโพง เสาอะซาน ว่าห้าม จากหลักฐานท่าน ฮุซัยฟะ ก่อนหน้านี้ที่กล่าวมาแล้ว
หากว่ามีการแจ้งหรือประกาศแบบธรรมดา ไม่ยกเสียงสูง ดัง เช่น การกล่าวแจ้งกันภายในมัสยิด ถือว่าอนุญาต ไม่ใช้เสียงลำโพง ดังมากๆดังที่ท่านนบีแจ้งแก่บรรดาศ่ออาบะ การเสียชีวิตของ ท่าน นะญาซี่ย์
ชัยคุ ซอแหละฮฺ อาละเชค กล่าวว่า การแจ้งข่าวผู้ตายตามหนังสือพิมพ์เข้าข่ายการแจ้งในรูปแบบญาฮีลียะ ถือว่าเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจอย่างมาก ผู้รู้บ้างท่าน ถือว่า ห้าม หากว่าประกาศในลักษณะ การกล่าวชมเชยผู้ตาย กล่าวยกเกียรติต่างๆนาน ก่อนฝังและหลังฝัง
หากว่ามีการประกาศเพื่อให้รับทราบการละหมาดอันนี้ถือว่าอนุญาตดังที่ท่านนบีแจ้งแก่บรรดาศ่ออาบะ การเสียชีวิตของ ท่าน นะญาซี่ย์
หากว่าประกาศเพื่อให้ผู้คนมารวมตัวเพื่อไว้อาลัย เศร้าเสียใจอันนี้ ไม่อนุญาตเด็ดขาด
ได้ยินจากท่านอิบนุ กอเซม ถามท่านมาลิก การแจ้งข่าวของคนตาย ยืนตรงประตูของมัสยิดแล้วประกาศ แบบเสียงดัง
ท่านตอบ ว่า มักรูฮฺ น่ารังเกียจ การยกเสียงสูงในการแจ้งข่าวคนตายในมัสยิด ไม่ใช่สิ่งที่ดี
ฉันเห็นว่า ท่านเดินไปแจ้งในวงที่มีคนอยู่ นั่งกันอยู่ สิ่งที่ดีกว่า อย่ายกเสียงสูง كتابه التاج والإكليل لمختصر خليل
ส่วนการประกาศตามสื่อออลไลน์ต่างๆ เช่น เฟสบุก อินเตอร์เนต วิทยุ โทรศัพท์ อีเมล์ อนุญาต หากว่าการประกาศแจ้งเพื่อรับทราบรู้เวลาการละหมาดของผู้ตาย
ท่านเชค อิบนุ อุษัยมีน กล่าวว่า การประกาศข่าวคนตายนั้นถือว่าเป็นสิ่งที่ดีและมีประโยชน์อย่างมาก เรื่องเปิดกว้างเพื่อที่จะให้บุคคลอื่นรับทราบและชดใช้สิ่งที่เป็นสิทธิของเขาด้วย
والله أعلم