คดีกรรโชกทรัพย์ การข่มขู่ผู้อื่น
  จำนวนคนเข้าชม  2646


คดีกรรโชกทรัพย์ การข่มขู่ผู้อื่น

 

ดร ฮุเซนบิน มูอัมหมัด ซูวาต , ดร อับดุลอัก อามิซ

แปลโดย  อับดุลวาเฮด สุคนธา

 

          นิยามความหมาย ผู้ที่ข่มขู่กรรโชกทรัพย์ หรือ ขโมยปล้นบ้าน ผู้ที่อธรรมต่อผู้อื่นโดยมิชอบ เช่น ข่มขู่ กรรโชกทรัพย์สิน ตามหลักบทบัญญัติศาสนาอนุญาตไม่ให้มีที่ถูกละเมิดสิทธิ์ทางทรัพย์สิน ชีวิต เกียรติ และป้องกันตัวได้เท่าที่มีความสามารถ โดยเลือกวิธีป้องกันตัวเองให้เบาที่สุดหาก ไม่เกินกำลังความสามารถในการป้องกันความปลอดภัย และผู้ที่ถูกละเมิดไม่ต้องรับผิดชอบหากมีการกระทำรุนแรงจนเกินกว่าเหตุ อาจจะถึงแก่ชีวิต

 

หลักฐานทางบทบัญญัติศาสนา

 

อัลลอฮ์ ตรัสว่า

﴿ فَمَنِ اعْتَدَى عَلَيْكُمْ فَاعْتَدُوا عَلَيْهِ بِمِثْلِ مَا اعْتَدَى عَلَيْكُمْ وَاتَّقُوا اللَّهَ وَاعْلَمُوا أَنَّ اللَّهَ مَعَ الْمُتَّقِينَ [البقرة: 194].

 

     “ดังนั้นผู้ใดละเมิดต่อพวกเจ้า ก็จงละเมิดต่อเขา เยี่ยงที่เขาละเมิดต่อพวกเข้า และพึงยำเกรงอัลลอฮ์เถิด และจงรู้ไว้ด้วยว่า แท้จริงอัลลอฮ์นั้นทรงอยู่กับบรรดาผู้ยำเกรงทั้งหลาย

 

ท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม

((مَن قُتل دون دِينه فهو شهيد، ومَن قُتل دون أهله فهو شهيد))

ใครถูกฆ่าจากการปกป้องศาสนา เขาเสียชีวิตในสภาพการตายซะฮีด 

ใครถูกฆ่าจากการปกป้องครอบครัว เขาตายในสภาพ คนตายซะฮีด

( อบูดาวูด ติรมีซีย์ อิบนุมาญะ)

 

          อนุญาตให้มีการป้องกันตัวเองจากผู้ที่ประสงค์ร้าย หรือต้องการทำร้ายให้ถึงแก่ชีวิต โดยหลักสำคัญในศาสนาจะต้องปกป้องจากผู้ที่ละเมิด จากชีวิตและทรัพย์สิน

 

มีรายงานจากอนัส อิบนิ มาลิก ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุมา เล่าว่า : ท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า :

انْصُرْ أَخَاكَ ظَالِمًا أَوْ مَظْلُومًا فَقَالَ رَجُلٌ يَا رَسُولَ اللَّهِ أَنْصُرُهُ إِذَا كَانَ مَظْلُومًا أَفَرَأَيْتَ إِذَا كَانَ ظَالِمًا كَيْفَ أَنْصُرُهُ قَالَ تَحْجُزُهُ أَوْ تَمْنَعُهُ مِنْ الظُّلْمِ فَإِنَّ ذَلِكَ نَصْرُهُ

จงช่วยเหลือพี่น้องของพวกท่านที่เป็นผู้อธรรม หรือถูกอธรรม" 

     ดังนั้นเศาะฮาบะฮฺคนหนึ่งก็กล่าวถาม ว่า โอ้ท่านร่อซูลุลลอฮฺ ฉันจะช่วยเหลือเขาหากว่าเขาเป็นผู้ถูกอธรรม ท่านจงบอกฉันเถิด ว่าฉันจะช่วย เหลือเขาอย่างไร หากว่าเขาเป็นผู้อธรรม

     ท่านร่อซูล ตอบว่า : ท่านจงยับยั้งเขา หรือห้ามเขา จากสื่งที่เขาอธรรม ดังกล่าวนั่นแหละคือการช่วยเหลือเขา ” 

(บันทึกโดยบุคอรียฺ ติรมีซียฺ)

 

 

เงื่อนไขป้องกันผู้ที่กรรโชกทรัพย์ หรือผู้ข่มขู่

 

·♦ เขาละเมิดต่อสิทธิ์ผู้อื่น ละเมิดจริงๆ ตามความเห็นของผู้รู้ ท่านอิหม่าม อบูอานาฟียะ กล่าวว่า การละเมิดถือว่าเป็นอาชญากรรมจะต้องได้รับโทษ

 

·♦ การละเมิดด้วยการกระทำชำเราต่างๆ เช่น ทุบตี ชกต่อย ตอนที่อยู่ในเหตุการณ์ ตอนนั้น ไม่ใช่จากแก๊งอุ้มเรียกค่าไถ่ 5 ขอเวลาสามสี่วัน และการโดนโทรก่อกวนและข่มขู่ทำร้ายร่างกาย

 

·♦ ไม่สามารถป้องกันจากวิธีอื่น คือ(ต้องฆ่าอย่างเดียว)

 

·♦ จะต้องป้องกันเท่าที่มีความสามารถเริ่มด้วยวิธีที่ง่ายก่อนเป็นลำดับแรกๆ (ไม่ใช่ว่า ฆ่าเลยทีเดียว)

 

 

ทัศนะของการป้องกันจากผู้ร้าย เป็นเรื่องจำเป็น หรืออนุญาต

 

          ปราช์ผู้รู้ เช่น อิหม่าม มาลิกียะ ชาฟีอียะ ฮานาฟียะ มีความเห็นว่าจำเป็นจะต้องปกป้องชีวิตจากอันตรายจากผู้ร้าย

 ดังอัลลอฮฺกล่าวว่า

﴿ وَلَا تُلْقُوا بِأَيْدِيكُمْ إِلَى التَّهْلُكَةِ [البقرة: 195]

จงอย่าโยนตัวของพวกเจ้าสู่ความพินาศ และจงทำดีเถิด แท้จริงอัลลอฮ์นั้นทรงชอบผู้กระทำดีทั้งหลาย

﴿ فَقَاتِلُوا الَّتِي تَبْغِي حَتَّى تَفِيءَ إِلَى أَمْرِ اللَّهِ [الحجرات: 9]

พวกเจ้าก็จงปรามฝ่ายที่ละเมิดจนกว่าฝ่ายนั้นจะกลับสู่พระบัญชาของอัลลอฮฺ

อัลลอฮฺ ตรัสว่า

﴿ فَمَنِ اعْتَدَى عَلَيْكُمْ فَاعْتَدُوا عَلَيْهِ بِمِثْلِ مَا اعْتَدَى عَلَيْكُمْ [البقرة: 194].

ดังนั้นผู้ใดละเมิดต่อพวกเจ้า ก็จงละเมิดต่อเขา เยี่ยงที่เขาละเมิดต่อพวกเข้า และพึงยำเกรงอัลลอฮ์เถิด

 

ในสายมัสฮับฮัมบาลี มีความเห็นว่าการป้องกันตัวและชีวิตจากผู้ร้าย ถือว่าอนุญาต ไม่ถึงขั้นจำเป็น

      จากหลักฐานหะดีษท่านอุซัยฟะ ท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมกล่าวว่า

{ كن عبد الله المقتول ، ولا تكن عبد الله القاتل }.

อับดุลลอฮฺ ท่านจงเป็นผู้ที่ถูกฆ่า อย่าเป็นผู้ฆ่า

 

มีรายงานจากท่านอุสมาน ห้ามทาสคนหนึ่งจะปกป้องตัวเขาเอง (ห้ามทำร้ายผู้ที่ละเมิด) โดยการจ่าย 400 ดิรฮัม

((مَن ألقى سلاحه فهو حر)).

ใครที่วางอาวุธ แน่นอนเขานั้น คือผู้เป็นอิสระ

 

 

หลักประกัน(ค่าปรับ) จากเหตุทำร้าย และคดีฆ่าผู้ร้าย

 

          มีมติเอกฉันท์ของผู้รู้ หากมีการละเมิดโดยการฆ่าผู้ร้าย ไม่ต้องเสียค่าปรับและการประกันแต่อย่างใด ไม่ต้องรับผิดชอบ ไม่ต้องชดใช้ด้วยชีวิต

ท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมกล่าวว่า

((مَن شهر سيفه ثم وضعه - ضرب به - فدمه مهدَر))

ใครปกป้องด้วยดาบของเขา ด้วยการฆ่าเขา หลั่งเลือด ไม่จะต้องจ่ายค่าปรับ หรือ การชดใช้ด้วยชีวิต

( นาซาอี ต็อบรอนีย์)

     เพราะว่าผู้ร้ายนั้น คือ อาชญากรรม ละเมิด จำเป็นจะต้องปกป้องตัวเองจากชีวิตและทรัพย์สินให้ปลอดภัย ด้วยการตอบโต้

 

     ท่านอิหม่ามฮานาฟียะฮฺ มีความเห็นว่า ควรจะยกเว้นจากผู้ร้าย อายุน้อย เด็ก หรือคนบ้า สติไม่ดี สัตว์ หากว่าปกป้องด้วยการฆ่า ไม่จำเป็นต้องชดใช้ด้วยชีวิต ควรจะจ่ายค่าปรับให้แก่ผู้ตาย จากเด็ก คนบ้า หรือค่าปรับกับสัตว์ที่ถูกฆ่า แก่เขาของมัน

 

     ท่านอิหม่ามฮัมบาลี มีความเห็นว่า ใครปกป้องตัวเอง ลูก สตรี ผู้เป็นมะรอมด้วยการฆ่าผู้ร้าย โจร ไม่ต้องเสียค่าปรับ หากว่าฆ่าผู้อื่นที่ไม่ใช่ผู้ร้าย ต้องมีการเสียค่าปรับ

 

 

การจับผู้ร้าย

 

          ปวงปราช์ผู้รู้ กล่าวว่า ใครจับผู้ร้าย หรือปลดอาวุธออกจากมือของเขา ทำให้ผู้ร้ายรับบาดเจ็บ เช่น ฟันหัก ไม่ต้องเสียค่าประกันให้ผู้ที่ถูกจับมัด ถูกปลดอาวุธ

 

          มีหลักฐาน ท่านอิมรอน บิน ฮุซัยย์ แท้จริง มีชายคนหนึ่งจับมัดมือชายอีกคนและปลอดอาวุธออกจากมือของเขา ทำให้ฟันด้านหน้าของเขาหลุด เขาร้องทุกข์ต่อท่านนบี และ ท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมกล่าวว่า

((يَعَضُّ أحدُكم يدَ أخيه كما يَعَضُّ الفحل؟! لا دِيةَ لك))

ใครจับมัดมือพี่น้องของพวกท่าน คือ (ผู้ร้าย) เหมือนการจับมัดไข่ของฮูฐ ไม่ต้องเสียค่าปรับ

( บุคอรีย์ มุสลิม)

 

ท่านอิหม่าม มาลีกียะ มีความเห็นว่า จำเป็นเสียค่าปรับ ดังตัวบทหะดีษ

((في السِّنِّ خمسٌ من الإبل))

จ่ายค่าปรับ เท่าอายุของอูฐ ห้าปี

( อะหมัด)

 

การปกป้องในขณะ เผชิญหน้า การตอบโต้

 

          หากผู้ร้ายละเมิดอานาจารสตรี เกียรติและศักดิ์ศรีของนาง จำเป็นจะต้องปกป้องรอดพ้นจากตัวของนาง ตามมติเอกฉันท์ของผู้รู้ หากไม่มีความสามารถปกป้องได้นอกจากการฆ่าผู้ร้าย หากว่าผู้ร้ายเสียชีวิต สำหรับนางนั้น ไม่ต้องเสียค่าปรับ

 

ท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมกล่าวว่า

((مَن قُتِل دون عِرْضه فهو شهيد))

ใครถูกฆ่าตาย อันเนื่องมาจากการปกป้องเกียรติ ถือว่าเขานั้นเสียชีวิตในหนทางของอัลลอฮฺ

( อบูดาวูด ติรมีซีย์ อิบนุมาญะ)

 

          จำเป็นทุกคนจะต้องช่วยเหลือสตรี ผู้ที่ถูกทำร้ายจากคนที่ไม่หวังดี ด้วยวิธีใดก็ตาม แม้จะด้วยการฆ่าก็ตามหากไม่มีวิธีอื่นแล้ว นอกจากนี้ เพราะการละเมิดเกียรติของมนุษย์ถือว่าเป็นเรื่องที่อัลลอฮฺทรงห้ามบนหน้าพื้นแผ่นดินนี้ ไม่เป็นที่อนุญาตตามหลักศาสนาบัญญัติ เช่นเดียวกับการละเมิดเกียรติและศักดิ์ศรีระหว่างผู้ชายด้วยกันหรือคนอื่น

 

 

การฆ่าคนที่ทำการกระทำชำเราและการข่มขื่น อานาจารสตรี

 

         ใครพบมีชายกระทำชำเราและการข่มขื่น อานาจารสตรี ได้ทำการฆ่าผู้ชายคนนั้น เท่ากับเขานั้น ไม่ต้องชดใช้ด้วยชีวิต ตามมติของผู้รู้ทั้งหมด แต่จำเป็นต้องชี้แจงอธิบายมูลเหตุที่เกิดขึ้นในเรื่องดังกล่าว ตามการตัดสินของท่านอุมัร ให้มีพยานสี่ปาก หรือสองปาก เพราะการแจ้งหลักฐานถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ สำหรับตัวของสตรี แท้จริง พยานสองปากถือเพียงพอในการยืนยันหลักฐาน

 

 

การเข้าบ้านผู้อื่นโดยไม่ขออนุญาต

 

          หากใครขึ้นบ้านโดยไม่ได้รับการขออนุญาตเจ้าของบ้าน หากมีการทำร้ายด้วยการขว้างสิ่งของจนทำให้คนที่ขึ้นบ้านนั้นได้รับบาดเจ็บ หรือ ตาบอดเจ้าของบ้านไม่ต้องรับผิดชอบแต่ประการใดทั้งสิ้น ตามมัสฮับ ซาฟีอียะและ ฮัมบาลี

 

ท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมกล่าวว่า

((لو أن رجلاً اطَّلع عليك بغير إذنٍ فقذَفْتَه بحصاةٍ ففقأت عينه ما كان عليك جناح)

      “หากมีใครเข้ามาในบ้านโดยที่ไม่ได้รับอนุญาต หากโดนขว้างด้วยก้อนหินจนทำให้ตาเขาบอด ถือว่าสำหรับเขานั้นไม่ต้องจ่ายใดทั้งสิ้น

( บุคครีและมุสลิม)

     ความเข้าใจตรงนี้ หมายถึงการขว้างสิ่งของ ก้อนหินเล็กน้อย ไม่ถึงแก่การเสียชีวิต หากว่าทำให้ถึงแก่ชีวิต จำเป็นจะต้องชดใช้เช่นกัน

 

     ท่าน ฮานาฟียะ และ มาลิกียะ มีความเห็นว่า จำเป็นจะต้องชดใช้ด้วยชีวิตหรือ เสียค่าปรับแทน เพราะท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมกล่าวว่า

في العين نصف الدِّية     “สำหรับดวงตานั้น เสียครึ่งของค่าปรับ” 

(อะหมัด นาซะอีย์)

          ตามมติเอกฉัทน์ทั้งสี่มัสฮับ มีความเห็นพ้องกันว่า หากมีใครโผล่ศรีษะเขามาภายในบ้าน เจ้าของบ้านเอาสิ่งของขว้าง จนทำให้ตาบอด ไม่ต้องเสียค่าปรับ หรือประกันใดๆทั้งสิ้น

 

การปกป้องทรัพย์สิน

 

           ตามมติเอกฉัทน์ของผู้รู้ การปกป้องทรัพย์สินเป็นเรื่องที่อนุญาต ไม่ถึงขั้นจำเป็น (วายิบ) ไม่ว่าทรัพย์สินมากหรือน้อยก็ตาม ไม่มีการชดใช้ใด หากมีการปกป้องจากผู้ละเมิดทรัพย์สิน ควรใช้วิธีการปกป้องตอบโต้อย่างง่ายก่อน

 

     มีรายงานหะดีษจากท่านอบูฮูรอยเราะฮ์ มีชายคนหนึ่ง มาหาท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ถามว่า

جاء رجل فقال: يا رسول الله، أرأيتَ إن جاء رجل يريد أخذ مالي؟ فقال: ((لا تعطه مالك))، قال: أرأيت إن قاتلني؟ قال: ((قاتِلْه))، قال: أرأيتَ إن قتلني؟ قال: ((فأنت شهيد))، قال: أرأيتَ إن قتلتُه؟ قال: ((هو في النار))

โอ้ท่านร่อซูล หากมีชายคนหนึ่งมาเอาทรัพย์สินของฉันควรทำอย่างไร ?

ท่านนบีตอบ อย่าให้ทรัพย์สินของท่านแก่เขา

หากว่าเขาจะฆ่าฉันละควรทำอย่างไร ?

ตอบว่า ท่านจงฆ่าเขาเสีย

หากว่าฉันถูกฆ่า 

ท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมตอบว่า 

ท่านนั้นเสียชีวิตในสภาพการตายซะฮีด (ตายในหนทางอัลลอฮฺ) หากว่าท่านฆ่าเขาตาย เขานั้นคือชาวนรก

(บันทึกโดย มุสลิม)

 

     ท่านอิหม่ามมาลีกียะ แยกระหว่างคนที่มีทรัพย์สินมากและมีทรัพย์สินน้อย หากว่าบุคคลที่มีทรัพย์สินน้อย ไม่ควรปกป้องจนทำให้เกิดการสูญเสียชีวิต

 

     ส่วนทัศนะของอิหม่ามซาฟีอีย์ กล่าวว่า จำเป็นจะต้องปกป้องกับสิ่งมีชีวิต ส่วนสิ่งที่ไม่มีชีวิตไม่ควรปกป้องเพราะจะนำมาซึ่งการสูญเสีย

 

     ตรงนี้บรรดาผู้รู้ ไม่กล่าวถึงความจำเป็นต้องปกป้องทรัพย์สิน แต่ว่าอนุญาต ซึ่งมันแตกต่างกับการปกป้องชีวิต เกียรติและศักดิ์ศรี ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นมากกว่า