การความดีในเขตอัลหะรอมมักกะฮฺ มาดีนะจะได้รับภาคผลเทียบเท่าการละหมาดหรือไม่ ?
แปลเรียบเรียง อับดุลวาเฮด สุคนธา
มีบรรดาปราช์ผู้รู้มีความเห็นที่ไม่ตรงกัน แบ่งออก สองทัศนะด้วยกัน
ทัศนะที่หนึ่ง
ปราชญ์ส่วนมากกล่าวว่า ภาคผลบุญจะได้รับในการละหมาดอย่างเดียวเท่านั้น เพราะมีตัวบทหลักฐานชัดเจนท่านนบีพูดถึงการละหมาดส่วน การปฏิบัติความดีอื่นๆต้องการตัวบทหลักฐานมายืนยัน
ทัศนะที่สอง
ภาคผลบุญจะได้รับในการละหมาดและตลอดจนความดีอื่นด้วย เช่น การบริจาค การถือศีลอด การซิรกรุลลอฮฺ
ท่านอิหม่าม ฮะซัน บัสรีกล่าวว่า ใครถือศิลอดหนึ่งวันในเขตอัลหะรอม เขาจะถูกบันทึกให้เขาถือศีลอด หนึ่งแสนวันเช่นกัน
“ใครบริจาคทานหนึ่ง ดิรฮัมเขาจะถูกบันทึกให้บุญถึงการบริจาคหนึ่งแสนดิรฮัม”
มีรายงานในบันทึกของท่านอิบนุมาญะ จากท่านอิบนุอับบาส กล่าว่าท่านนบีกล่าวว่า
من أدرك رمضان بمكة فصام وقام منه ما تيسر له كتب الله له مئة ألف شهر رمضان فيما سواه
“ใครทันถือศีลอดในนครมักกะฮฺ ด้วยการถือศิลอดและละหมาดด้วยความง่ายดายอัลลอฮฺทรงบันทึกให้แก่เขาหนึ่งแสนเดือน”
ตัวนี้ผู้รายงานตกหล่น เชคอัล บานีย์ กล่าวว่า ตัวบทตออีฟ หะดีษถูกกุขึ้นมา
สรุปในทัศนะนี้ไม่มีปรากฏหลักฐานใดๆทั้งสิ้นบอกการเพิ่มพูนผลบุญในเรื่องการทำอิบาดะอื่นๆนอกจากการละหมาดเพียงอย่างเดียว
แน่นอนการประกอบคุณงามความดีในเขตอัลหะรอมถือว่าเป็นสิ่งที่ประเสริฐที่สุด
ท่านเชคอับดุอาซีร บิน บาซ กล่าวว่า แน่นอนว่าการปฏิบัติคุณงามความดีอื่นในเขตอัลหะรอมนั้นถือว่าเขานั้นจะได้รับการเพิ่มพูนความดีด้วยเช่นกัน แต่ทว่าไม่มีตัวบทเฉพาะเจาะจงจำนวนที่ตายตัว เพราะตัวอัลหะดีษพูดถึงการละหมาดอย่างเดียวส่วนการงานอื่นๆ เช่น การถือศีลอด การอ่านอัซกัร อ่านกรุอ่าน บริจาคทาน วัลลอฮุอะลัม
มีปราช์ผู้รู้บางส่วนมีความเห็นว่าการทำความดีในดินแดนอัลหะรอมนั้น ถือว่าจะได้รับการทวีคูณเช่นเดียวกับการละหมาดด้วย ไม่ได้เฉพาะเจาะจงในเรื่องของการละหมาดแต่เพียงอย่างเดียว
ท่านอิบนุฮะญัร ฮัยตามีย์ อัชชาฟีอี กล่าวว่า แน่นอนการความดีในเขตอัลหะรอมนั้นบุญของมันจะเพิ่มพูนความดีเช่นเดียวกัน และความดีทุกๆอย่างดังในตัวบทกล่าวว่า
«حَسَنَةَ الْحَرَمِ بِمِائَةِ أَلْفِ حَسَنَةٍ»
“ความดีในเขตอัลหะรอมนั้นจะถูกทวีคูณหนึ่งแสนเท่าของความดี”
มีในบันทึก ฮากีม บัยฮากีม อิบนุศุซัยมะ กล่าวว่า ใครมาทำฮัจญ์เดินเท้ามาจนกระทั่งเดินทางกลับ แน่นอนอัลลอฮฺทรงบันทึกทุกๆก้าวย่าง เจ็ดร้อยความดี และทุกความดีนั้นทวีคูณเท่าความดีในเขตอัลหะรอม
มีคนกล่าวว่า ความดีในเขตอัลหะรอมคืออะไร ตอบว่า ทุกๆหนึ่งความดีจะได้เท่ากับหนึ่งแสนความดี
มีบรรดาปราช์ผู้รู้มีการขัดแย้งกันในด้านของผู้รายงานในหะดีษตัวบทนี้
♦ ท่านฮากีมตัวบทนี้ซอเฮี้ยะ
♦ อิหม่ามซาฮาบีย์ตัวบทนี้นั้นไม่ถูกต้อง ฉันเกรงว่ามันจะเป็นตัวบทถูกโกหกขี้นมา
♦ ท่านอบูฮาติม ตัวบทนี้ มุกัร
♦ ท่านอิบนุเญาซี่ย์ อิหม่ามอัลบานีย์ ตัวบทนี้อ่อนหลักฐาน
มีบรรดาปราช์ท่านอื่นมีความเห็นว่า การทวีคูณของความดีนั้นเฉพาะเรื่องละหมาดเท่านั้น
♦ ท่านเชค อิบนุอุษัยมีน กล่าวว่า
การเพิ่มพูนความดีในจำนวนที่เฉพาะเจาะจงนั้นจะต้องมีหลักฐานมายืนยันแบบเฉพาะเจาะจง ไม่อนุญาตทำการเปรียบเทียบ หากว่ามีหลักฐานชัดเจนสามารถือปฏิบัติได้ แต่ทว่าไม่ต้องสงสัยเลยในสถานที่และช่วงเวลาที่มีความประเสริฐอยู่แล้วนั้นมันจะได้รับการทวีคูณความดีนั้นโดยอัตโนมัต คำกล่าวของปราช์ผู้รู้ที่ว่า ความดีจะทวีคูณตามสถานที่และเวลาที่ประเสริฐ แต่การทวีคูณแบบจำนวนตัวเลขตายตัวจะต้องมีหลักฐานชัดเจน
♦ เชคซอแหละ ซินดีย์ กล่าวว่า แน่นอนความดีจะทวีคูณในเขตอัลหะรอมนั้นมีอย่างแน่นอนไม่ได้เฉพาะเจาะจงเรื่องการละหมาดอย่างเดียวเท่านั้น
♦ ท่านอับดุลลอฮฺอิบนุ อุมรฺ อาส กล่าวว่า การงานในอัลหะรอมถือประเสริฐที่สุด และความชั่วในเขตอัลหะรอม บาปหนักที่สุด
♦ ท่านมูญาฮิดกล่าวว่า ทำความชั่วในเขตหะรอมจะทวีคูณเช่นเดียวกับความดี
♦ ท่านอิบนุ เญาซี่ย์ กล่าวว่า ฉันทราบว่า ความประเสริฐนครมักกะฮฺการเพิ่มพูนความดี แน่นอนความชั่วจะถูกทวีคูณเช่นเดียวกัน
♦ ท่านอิหม่าม ซัรกาญี่ย์ การเพิ่มพูนความดีในเขตหะรอมนั้นไม่ได้เฉพาะเจาะเรื่องการละหมาดเพียงอย่างเดียว แต่มันหมายถึงความดีทั้งหมดโดยการเทียบจากการละหมาด
♦ เชคอับดุลมุซิล อัลอับาด กล่าวว่า ตามถูกระบุในรายงานพูดถึงการละหมาดอย่างเดียว อื่นการงานอื่นนั้นเราไม่ทราบเลยว่ามีการกล่าวเอาไว้ในจำนวนนั้นๆ แต่ไม่ต้องสงสัยเลยว่า การทำความดีในดินแดนที่ประเสริฐ และช่วงเวลาที่ดี มันก็ย่อมได้รับความประเสริฐมากยิ่งขึ้นตามไปด้วย
♦ เชคซอแหละ ซินดีย์ มีความเห็นว่า จากคำกล่าวของอิบนุอัมรฺมีน้ำหนักที่แข็งแรง และบรรดาชาวสลัฟท่านอื่น การกระทำความดีในนครมักกะฮฺได้ภาคผลมากมายในแง่ความประเสริฐ แต่ไม่ได้กำหนดจำนวนที่ตายตัว
วัลลอฮุอะลัม