บทเรียนในเดือนรอมฎอน
  จำนวนคนเข้าชม  7920


บทเรียนในเดือนรอมฎอน

 

เขียนโดย อะหมัด มะหมูด อบูเซด

แปลเรียบเรียง อับดุลวาเฮด สุคนธา

 

         อัลลอฮฺ ประทานความดีแก่บรรดาผู้ศรัทธาโดย กำหนดให้หนึ่งเดือนเพื่อบ่าวของพระองค์ทำความดีและใกล้ชิดต่อพระองค์ นั้นคือเดือนรอมฎอน ที่มีความดีและความประเสริฐมากมาย มากกว่าเดือนอื่นทั้งหมด เพราะแท้จริงอัลลอฮ์ ประทานอัลกรุอ่านลงมาในเดือนนี้ด้วย

อัลลอฮฺ ตรัสว่า

 

{شَهْرُ رَمَضَانَ الَّذِي أُنْزِلَ فِيهِ الْقُرْآَنُ هُدًى لِلنَّاسِ وَبَيِّنَاتٍ مِنَ الْهُدَى وَالْفُرْقَانِ} [البقرة: 185]

 

     “เดือนรอมฏอนนั้น เป็นเดือนที่อัลกรุ-อานได้ถูกประทานลงมาในฐานะเป็นข้อแนะนำสำหรับมนุษย์ และเป็นหลักฐานอันชัดเจนเกี่ยวกับข้อแนะนำนั้น และเกี่ยวกับสิ่งที่จำแนกระหว่างความจริงกับความเท็จ

 

และแน่นอนในเดือนนี้มีค่ำคืนอัล-ก็อดรฺประเสริฐกว่าหนึ่งพันเดือน

 

          หากเราลองพิจารณาการถือศีลอด เราจะพบว่า การถือศีลอดนั้นจะมีความแตกต่างไปจากการทำอิบาดะอื่นๆอย่างเห็นได้ชัด เช่นการถือศีลอด ปราศจากการโอ้อวด ซึ่งต่างจากการละหมาด การบริจาค การทำฮัจญ์ เพราะอิบาดะฮ์เหล่านี้ ล้วนแล้วใช้การกระทำที่ให้เห็นทั้งหมด ซึ่งต่างกับการถือศีลอดที่ไม่มีใครรู้นอกจากเรากับอัลลอฮฺเท่านั้น 

 

          ในความหมายการถือศีลอด นั้นคือ การระงับจากการกระทำที่ทำให้เสียศีลอด ซึ่งไม่มีใครรู้ได้เลย นอกจากตัวเราเองและอัลลอฮฺ ตะอาลาเท่านั้น นี้คือเหตุผลที่อัลลอฮฺทรงตอบแทนผลบุญด้วยตัวของพระองค์เอง โดยที่อัลลอฮฺ ตรัสว่า

 

((كلُّ عَمل ابن آدم له، إلاَّ الصَّوم، فإنَّه لي، وأنا أجزي به))؛ رواه السِّتَّة.

 

     “ทุก การงานของมนุษย์นั้นคือเขาเอง นอกจากการ ถือศีลอด เพราะแท้จริงการถือศีลอดมันคือของข้า และข้าจะตอบแทนมันเอง

 

          ฉะนั้น การถือศีลอด เปรียบได้ ดั่งโรงเรียนหลังหนึ่ง ที่ มุสลิมทุกๆคนได้รับบทเรียนอย่างมากมาย และมีประโยชน์ ที่มีอัลลอฮฺเป็นผู้กำหนดโรงเรียนหลังนี้ขึ้นมาด้วยตัวของพระองค์เอง และเรียกร้องให้บ่าวของพระองค์เข้ามาสู่โรงเรียนหลังนี้

อัลลอฮฺ ตรัสว่า

 

{يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آَمَنُوا كُتِبَ عَلَيْكُمُ الصِّيَامُ كَمَا كُتِبَ عَلَى الَّذِينَ مِنْ قَبْلِكُمْ لَعَلَّكُمْ تَتَّقُونَ} [البقرة: 183].

 

     “บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย ! การถือศีลอดนั้นได้ถูกำหนดแก่พวกเจ้าแล้ว เช่นเดียวกับที่ได้ถูกกำหนดแก่บรรดาผู้ก่อนหน้าพวกเจ้ามาแล้ว เพื่อว่าพวกเจ้าจะได้ยำเกรง

 

          แน่นอนเราจะพบการในโรงเรียนหลังนี้ มีการเรียนเป็นระยะเวลา หนึ่งเดือนเต็มในทุกๆปี หลักสูตรของโรงเรียนได้ถูกกำหนดเอาไว้อย่างครบถ้วน จากการอดอาหาร เครื่องดื่ม อารมณ์ทางเพศ ตั้งแต่แสงฟะญัร จนกระทั่งตะวันลับขอบฟ้า

อัลลอฮฺ ตรัสว่า

 

{وَكُلُوا وَاشْرَبُوا حَتَّى يَتَبَيَّنَ لَكُمُ الْخَيْطُ الْأَبْيَضُ مِنَ الْخَيْطِ الْأَسْوَدِ مِنَ الْفَجْرِ ثُمَّ أَتِمُّوا الصِّيَامَ إِلَى اللَّيْلِ} [البقرة: 187].

 

     “และจงกิน และดื่ม จนกระทั่งเส้นขาว จะประจักษ์แก่พวกเจ้า จากเส้นดำ เนื่องจากแสงรุ่งอรุณ แล้วพวกเจ้าจงให้การถือศีลอดครบเต็มจนถึงพลบค่ำ

 

          หากเราพิจารณาองค์ประกอบต่างๆของโรงเรียนหลังนี้ที่อัลลอฮฺทรงกำหนดให้บ่าวผู้ศรัทธาทุกคน เราจะพบว่า อัลลอฮฺได้กำหนด หลักเกณฑ์สำหรับนักเรียนที่เข้าในโรงเรียนหลังนี้ ซึ่งแน่นอนว่าใครผ่านหลักเกณฑ์ดังกล่าว นับว่าเขานั้นอยู่ในภาคบังคับทันที

 

หลักเกณฑ์มีดังนี้

 

♥ เป็นมุสลิม

บรรสุนิติภาวะ

สตรีตัวสะอาด รอบเดือน เลือดหลังคลอดบุตร

มีความสามารถ ไม่ป่วย ชรา

 

          หากใครก็ตามที่ฝ่าฝืน ละทิ้งให้การกำหนดของอัลลอฮฺ พระองค์ทรงคาดโทษอย่างแน่นอน เพราะเขานั้นได้ละทิ้งหนึ่งของหลักการปฏิบัติ ทั้ง ห้า ของอิสลาม

ท่านนบี กล่าวว่า

((مَن أفطر يومًا في رمضان، من غير رُخْصَة، ولا مرض، لا يجزِهِ صوم الدهر كله، وإن صامه)).

 

     “สำหรับบุคคลที่ละทิ้งการถือศีลอดโดยไม่มีเหตุที่เป็นอุปสรรค ความเจ็บป่วยต่างๆการถือศีลอดชดใช้หนึ่งปีที่เขาขาดหนึ่งวัน นั้นไม่สามารถทดแทนกันได้

(บุคคอรีย์)

 

ประเภทของบุคคลได้รับข้อผ่อนปรน

 

♦ บุคคลห้ามถือศีลอด คนบ้า คนไม่ใช่มุสลิม

 

บุคคลจำเป็นจะต้องละศีลอด และ ชดใช้ในวันอื่น สตรีมีรอบเดือนกับ เลือดหลังคลอดบุตร ให้นมลูก ตั้งภรรค์

 

          หะดีษของท่าน อะนัส บิน มาลิก อัลกะบีย์ ได้กล่าวไว้ว่า ฉันได้ไปหาท่านเราะซูล และฉันพบว่าท่านกำลังรับประทานอาหาร

     ท่านได้กล่าว (จงเข้ามาใกล้ และจงกิน) ฉันตอบไปว่า ฉันถือศีลอด จงเข้ามาใกล้ๆ ฉันจะบอกเจ้าเกี่ยวกับการถือศีลอด

     “ แท้จริงอัลลอฮได้อนุญาตให้แก่ผู้ที่เดินทาง ในการละหมาดย่อ และสำหรับหญิงที่ตั้งครรค์ และหญิงที่ให้นมลูก เรื่องการถือศีลอด (หมายถึงอนุญาตให้ละศีลอดได้)"

 

บุคคลอนุญาตให้ละศีลอดได้ จำเป็นจะต้องชดใช้ในวันอื่น คนป่วย คนเดินทาง

 

{وَمَنْ كَانَ مَرِيضًا أَوْ عَلَى سَفَرٍ فَعِدَّةٌ مِنْ أَيَّامٍ أُخَرَ} [البقرة: 185].

 

และผู้ใดป่วย หรืออยู่ในการเดินทาง ก็จงถือใช้ในวันอื่นแทน

 

บุคคลให้ละศีลอดและอนุญาตชดใช้ค่าปรับแทน คนชรา คนป่วยไม่มีทางรักษาหายขาด

 

ดำรัสของอัลลอฮ์ที่ว่า

:"وَعَلَى الَّذِينَ يُطِيقُونَهُ فِدْيَةٌ طَعَامُ مِسْكِينٍ"[البقرة: 184]

     “และหน้าที่ของบรรดาผู้ที่ถือศีลอดด้วยความลำบากยิ่ง โดยที่เขาได้งดเว้นการถือ) นั้น คือการชดเชยอันได้แก่การให้อาหาร(มื้อหนึ่ง)แก่คนมิสกีนคนหนึ่ง (ต่อการงดเว้นจาการถือหนึ่งวัน)”

 

บุคคลที่อนุญาต ถือศีลอด หรือสามารถละเว้นได้ เด็กยังไม่บรรลุนิติภาวะ

 

         นี้คือบุคคลที่ได้รับข้อผ่อนปรนในการถือศีลอด ใครก็ตามที่เขาอยู่ในบุคคลที่ได้รับข้อผ่อนปรน แต่ถ้าเขามีความสามารถถือศีลอด นั้นหมายถึงเป็นความดีแก่เขา

อัลลอฮฺ ตรัสว่า

{وَأَنْ تَصُومُوا خَيْرٌ لَكُمْ إِنْ كُنْتُمْ تَعْلَمُونَ} [البقرة: 184].

และการที่พวกเจ้าจะถือศีลอดนั้น ย่อมเป็นสิ่งที่ดียิ่งกว่าพวกเจ้า หากพวกเจ้ารู้

 

บทเรียนอันล้ำค่าของเดือนรอมฎอน

 

♥ อัต-ตักวา 

 

         การยำเกรงอัลลอฮ์อย่างแท้จริง นี้คือเป้าหมายอันสูงสุดของการถือศีลอด ดังที่อัลลอฮ์ ตะอาลาได้ตรัสไว้ในอัล-กุรอานว่า

 

{يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آَمَنُوا كُتِبَ عَلَيْكُمُ الصِّيَامُ كَمَا كُتِبَ عَلَى الَّذِينَ مِنْ قَبْلِكُمْ لَعَلَّكُمْ تَتَّقُونَ} [البقرة: 183].

 

     “ โอ้บรรดาผู้ที่ศรัทธาทั้งหลาย การถือศีลอดได้ถูกบัญญัติเหนือพวกเจ้าทั้งหลาย ดังที่ได้ถูกบัญญัติเหนือบรรดาประชาชาติในยุคก่อนหน้าพวกเจ้า หวังว่าพวกเจ้าจะมีความยำเกรง

(อัลบะกอเราะห์183)

 

     การถือศีลอดทำให้มีความยำเกรงต่อพระองค์ เกรงกลัว เพราะพระองค์ทรงมองเห็นการงานทุกๆการงานของบ่าว จะต้องปฏิบัติคำสั่งใช้ละทิ้งคำสั่งห้าม

 

     ท่านอิหม่ามอาลีกล่าวว่า ตักวา การเกรงกลัวอัลลอฮฺ ปฏิบัติสิ่งที่อัลลอฮฺสั่งใช้ พอเพียงต่อสิ่งที่มีแม้เพียงเล็กน้อยก็ตาม และเตรียมพร้อมเพื่อโลกหน้า

 

♥ รับรู้รสชาติของความอดทน อดกลั้น

 

         การถือศีลอด องค์ประกอบสำคัญนั้นคือ การอดทนจากความหิว ความกระหาย ต่อสู้กับความต้องการของอารมณ์ใฝ่ต่ำ นี้แหละสิ่งที่ทำให้บ่าวนั้นเข้มแข็ง สร้างความอดทนอย่างดีเยี่ยม

 

♥ ตรวจสอบจิตใจตัวเอง

 

          แน่นอนว่าการถือศีลอดนั้น คือการเรียนรู้ภายใจจิตของตัวเอง เพราะว่าการถือศีลอดนั้นไม่มีใครทราบได้นอกจากตัวเราเองและอัลลอฮฺ เท่านั้น สิ่งสำคัญนี้ทำให้เรานั้นรู้จักบริสุทธิ์ใจต่ออัลลอฮฺ อย่างจริงจัง รู้จักตัวเอง ตรวจสอบภายในจิตใจระหว่างเรากับอัลลอฮฺ

 

♥ การต่อสู้กับอารมณ์ใฝ่ต่ำ และมารร้าย (ชัยฏอน)

 

        เป็นที่ทราบกันดีว่า อารมณ์และชัยฏอนนั้นเป็นของคู่กัน บ่าวผู้ศรัทธาจะต้องอดทน กัดฟันต่อสู้เพื่อเอาชนะสิ่งเหล่านี้ให้ได้ การถือศีลอดคือการสู้ที่ดีเยี่ยม เพราะว่าความหิวมันจะทำให้อารมณ์และชัยฏอนนั้นอ่อนแรงลง

 

♥ การถือศีลอดนั้นคือโล่ห์ เกราะคุ้มกัน

 

         การถือศีลอดช่วยปกป้องและยับยั้งจากสิ่งที่ไม่ดีต่างๆมากมายเพราะท่านจะต้องอวัยวะทุกๆส่วนของร่างกายของท่านถือศีลอดด้วย เช่น สายตา ริมฝีปาก ใบหู ลิ้นของท่าน

     ท่านร่อซูลุลลอฮฺศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมได้กล่าวว่า

 

وَالصِّيَامُ جُنَّةٌ وَإِذَا كَانَ يَوْمُ صَوْمِ أَحَدِكُمْ فَلَا يَرْفُثْ وَلاَ يَفْسُقْ وَلاَ يَجْهَلْ فَإِنْ سَابَّهُ أَحَدٌ فَلْيَقُلْ إِنِّي امْرُؤٌ صَائِمٌ

 

     “และการถือศีลอดนั้นคือโล่ห์ เมื่อเป็นวันที่ถือศีลอดของคนใดคนหนึ่งของพวกท่าน ดังนั้นเขาอย่าได้พูดจาหยาบคาย อย่าทำสิ่ง ที่ฝ่าฝืน และอย่าทำในสิ่งที่โง่เขลา ถ้าหากมีคนใดคนหนึ่งมาด่าทอเขา ดังนั้นก็ให้เขากล่าวว่า ความจริงคือฉันถือศีลอด

(บันทึกโดยบุคอรียฺ และมุสลิม)

     นี้คือบทเรียนในภาคปฏิบัติที่เห็นอย่างชัดเจนสำหรับการถือศีลอด ขัดเกลาจิตใจ สร้างคุณธรรมและมารยาทที่ดีในการใช้ชีวิตของผู้ศรัทธา

 

♥ ลด ละเลิก ระงับ จากสิ่งที่ไม่ดี

 

          การถือศีลอดทำให้เราระวังตัวตลอดเวลาจากสิ่งที่ทำให้เสียศีลอด โดยเฉพาะการสูบบุหรี่ จากเดิมที่เราเคยสูบเป็นประจำทุกๆวัน พอเราถือศีลอด เราละเว้นมันได้ นี้คือโอกาสที่ดี่สำหรับผู้ต้องการละเลิกการสูบบุหรี่ จงใช้การถือศีลอดตลอด สามสิบวัน เลิกบุหรี่เสีย ?

 

♥ รู้จักความเมตตา คนยากจน

 

          การถือศีลอดมันทำให้จิตใจรับรู้ความยากจน ความหิวของพวกเขาเหล่านั้น โดยเฉพาะคนรวยจะรู้สึกว่าคนจนมีความลำบากมากน้อยแค่ไหนในการดำรงชีวิต การถือศีลอดทำให้จิตใจคนรู้จักความเมตตากรุณาต่อคนที่ไม่มีอันจะกิน

 

     ปรากฏว่าท่านนบี ยูซูฟ อะลัยฮิสลาม ท่านชอบที่จะถือศีลอดอย่างมาก 

     มีชายคนหนึ่งกล่าวถามว่า ทำไมท่านชอบถือศีลอด ชอบทำให้ตัวเองหิวละ? ทั้งที่ท่านนั้นคือผู้ว่าการคลังของประเทศ

     ท่านตอบว่า ฉันกลัวจะอิ่มท้อง และ ลืม คนจน คนหิวโหย

 

     การถือศีลอด ทำให้รู้จักความหิวโหย เพื่อจะได้นอบน้อมถ้อมถ่อมตนต่ออัลลอฮฺ รู้จักความอดทน เพราะนี้คือการขัดเกลาจิตใจที่ดียิ่ง

 

♥ การถือศีลอด คือการรักษาสุขภาพ

 

          การอดอาหารเท่ากับการรักษาสุขภาพไปโดยอัตโนมัติตามการวินิจัยของแพทย์มากมาย แน่นอนว่าการกินมากเกินเป็นบ่อเกิดโรคภัยต่างๆ

     มีรายงานหะดีษจากท่านอัล-มิกดาม บิน มะอฺดีย์ กะริบ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ เล่าว่า ฉันได้ยินท่านเราะสูล กล่าวว่า:

 

((وما ملأ ابن آدم وعاءً شرًّا من بطنِه))،

 

"ไม่มีภาชนะใด ที่มนุษย์จะเติมเต็มสิ่งไม่ดีลงไปได้ มากไปกว่าท้องของเขา

(บันทึกโดย อัต-ติรมิซีย์)

การลดอาหารในกระเพาะเท่ากับการลดโรคนั่นเอง