40 ข้อผิดพลาดสำหรับผู้ที่ถือศีลอด (2)
  จำนวนคนเข้าชม  24112


40 ข้อผิดพลาดสำหรับผู้ที่ถือศีลอด (2)

 

เรียบเรียงโดย อับดุลวาเฮด สุคนธา

 

     21. สตรีมุสลิมบางคนใส่น้ำหอมมากเกินไปในขณะพวกนางออกไปละหมาดตะรอวีห์ที่มัสยิด บางครั้งไม่ได้แต่งกายปกปิดเอาเราะฮ์อย่างมิดชิด ส่งเสียงดังในมัสยิด ฉะนั้นจำเป็นแก่บรรดามุสลิมะฮ์ ต้องรักษามารยาทในมัสยิด ปกป้องตัวเองจากการสร้างความวุ่นวายจากการกระทำดังกล่าว

 

     22. บางคนล่าช้าในการละหมาด เช่นละหมาดดุฮรี อัสรี เพิกเฉยในเวลาของมัน เมื่อตื่นนอนช้า จำเป็นจะต้องรีบชดใช้ละหมาดทันทีที่นึกขึ้นได้

فويل للمصلين، الذين هم عن صلاتهم ساهون [الماعون:4-5].

ดังนั้น ความหายนะจงมีแด่บรรดาผู้ทำละหมาด ผู้ที่พวกเขาละเลยต่อการละหมาดของพวกเขา

บรรดาผู้รู้ได้อธิบายตรงโองการนี้ คือ กลุ่มที่ล่าช้าในเรื่องของเวลาละหมาด 

รายงานหะดีษท่าน อิบนุ มัสฮูด 

سَأَلْتُ النَّبِيَّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ: أَيُّ العَمَلِ أَحَبُّ إِلَى اللَّهِ؟ قَالَ: «الصَّلاَةُ عَلَى وَقْتِهَا أو في وقتها، وفي رواية: { على أول وقتها.

ฉันถามท่านนบีว่าการงานแบบใด เป็นที่รักยิ่ง ที่อัลลอฮ์

ท่านนบีตอบว่า การละหมาดในเวลาของมัน หรือละหมาดในช่วงแรกของเวลา

 

     23. บางคนชอบล่าช้าในการ แก้บวช ละศีลอด เพราะซุนนะฮ์ของท่านนบี คือ การรีบเร่งในการละศีลอดเมื่อเข้าเวลาของมัน

     มีรายงานจากซะฮฺล อิบนฺซะอีด แจ้งว่า แท้จริงท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า

( لا يَزَالُ النَّاسُ بِخَيْرٍ مَا عَجَّلُوْا الفِطْرَ )

มนุษย์ยังคงอยู่ในความดีตราบใดที่พวกเขารีบเร่งในการแก้ศีลอด” 

(บันทึกโดย : อัลบุคอรียฺ และมุสลิม)

     เพราะการรีบเร่งในการแก้ศีลอดเป็นมารยาทและพฤติกรรมของบรรดานะบี มีรายงานจากอะบิดดัรดาอฺ กล่าวว่า

( ثَلاثٌ منِ أَخْلاقِ النُّبُوَّةِ : تَعْجِيْلُ الفِطْرِ ،  وَتَأْخِيْرُ السُّحُوْرِ ، وَوَضْعُ اليَمِيْنِ عَلَى الشِّمَالِ في الصَّلاة )

     “สามประการที่เป็นมารยาทของบรรดานะบี คือ การรีบเร่งในการแก้ศีลอด การกินสะฮูรให้ล่า และการวางมือขวาบนมือซ้ายในขณะละหมาด” 

(บันทึกโดย : อัฎฎ๊อบรอนีย์ และว่าเป็นสายสืบที่ศ่อฮี้ฮฺ)

 

     24. ผู้ที่ถือศีลอดบางคนคิดว่าจะต้องละศีลอดหลังจากการอะซานเสร็จสิ้นแล้ว ดังกล่าวนี้ถือว่าเป็นการเข้าใจผิด ครั้งเมื่อได้ยินเสียงอะซานจำเป็นแก่ผู้ที่ถือศิลอดจะต้องเร่งรีบละศีลอดทันที และใครที่ล่าช้าในการละศีลอดเท่ากับว่าเป็นการกระทำละเลยต่อซุนนะฮ์ของท่านนบี เพราะซุนนะฮ์ของท่านนบี คือ รีบละศีลอด และล่าช้าในการทานข้าวสะฮูร

 

     25. ส่วนมากผู้ที่ถือศีลอดละเลยต่อการขอดุอาในขณะละศีลอด เพราะแท้จริงแล้วการกล่าวดุอาในขณะนั้นจะเป็นที่ตอบรับจากอัลลอฮฺ ตะอาลา

     มีรายงานจากอับดุลลอฮฺ อิบนฺอุมัร อิบนิลอ๊าศ แจ้งว่า ท่านนะบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า

( إِنَّ لِلصَّائِمِ عِنْدَ فِطْرِهِ لَدَعْوَةٌ مَاتُرَدُّ )

     “แท้จริงสำหรับผู้ถือศีลอดขณะแก้ศีลอดของเขานั้น การวิงวอนขอดุอาอฺจะได้รับการตอบรับอย่างแน่นอน” 

(บันทึกโดย : อิบนฺมาญะฮฺ และอัลฮากิม)

     จากท่าน อบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ เล่าจากท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ท่านได้กล่าวว่า

«ثَلاَثُ دَعْوَاتٍ لاَ تُرَدُّ : دَعْوَةُ الْوَاْلِدِ، وَدَعْوَةُ الصَّائِمِ، وَدَعْوَةُ الْمُسَافِرِ».

     “ดุอาอ์สามประเภทที่จะไม่ถูกผลักไส คือดุอาอ์ของบุพการี(บิดามารดา) ดุอาอ์ของผู้ถือศีลอด และดุอาอ์ของผู้เดินทาง

(รายงานโดย อัล-บัยฮะกีย์ ใน สุนัน อัล-กุบรอ เศาะฮีหฺ อัล-ญามิอฺ เป็นหะดีษหะสัน)

     และดุอาอฺที่ดียิ่งคือ ดุอาอฺที่สืบต่อเนื่องจากท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ซึ่งท่านได้กล่าวขณะแก้ศีลอดว่า

( ذَهَبَ الظَّمَأُ وَابْتَلَّتِ العُرُوْقُ وَثَبَتَ الأَجْرُ إِنْ شَاءَ الله )

 “ความกระหายน้ำได้สูญสิ้นไป เส้นโลหิตได้ชุ่มชื่นและได้รับการตอบแทนอย่างแน่นอน อินชาอัลลอฮฺ” 

(บันทึกโดย : อะบูดาวู๊ด อัลบัยฮะกีย์ และอัลฮากิม และอัดดารุกุฎนีย์ว่า เป็นสายสืบที่หะซัน)

 

     26. มุสลิมบางส่วนเมื่อเข้าในช่วงสิบคืนสุดท้ายของเดือนเราะมะฎอน มักจะยุ่งอยู่กับการซื้อเสื้อผ้า เตรียมอาหารในวันออกอีด จนลืมเวลาอันสำคัญและค่ำคืนแห่งความประเสริฐนั้นคือค่ำคืนลัยล่าตุ้ลก็อดรฺ

إِنَّا أَنْزَلْناهُ فِي لَيْلَةِ الْقَدْرِ

แท้จริงเราได้ประทาน อัลกุรอานลงมาในคืนแห่งเกียรติยศ

وَمَا أَدْرَاكَ مَا لَيْلَةُ الْقَدْرِ

และโอ้มุฮัมมัด อะไรหรือที่ทำให้เจ้ารู้ว่า อะไรคือคืนแห่งเกียรติยศนั้น อะไรเป็นค่ำคืนลัยล่าตุ้ลก็อดรฺ

لَيْلَةُ الْقَدْرِ خَيْرٌ مِنْ أَلْفِ شَهْرٍ القدر: 1-3

อันคืนแห่งเกียรติยศนั้น ประเสริฐกว่า 1000 เดือน

     ในโองการนี้หมายความว่า ค่ำคืนลัยล่าตุ้ลก็อดรฺนี้ มีความประเสริฐมากกว่า 1000 เดือน ซึ่งในการทำความดีต่างๆ ในคืนนั้น มีภาคผลเหนือกว่าการกระทำในวาระอื่นๆ ถึง 1000 เดือน

 

     27. มุสลิมทุกๆคนสมควรจะต้องยุ่งอยู่กับการทำอิบาดะให้มาก การยืนละหมาดในยามค่ำคืน ละทิ้งการไปเดินตลาด การชื้อของต่างๆนานา นี่คือสภาพสังคมมุสลิมที่เกิดขึ้นในทุกวันนี้ จะต้องตระหนักในแบบฉบับของท่านนบีในช่วงของสิบคืนสุดท้ายเดือนเราะมะฎอน

     ท่านพี่น้องที่เคารพ ท่านร่อซู้ล ไม่ได้ทอดทิ้งเรา ท่านได้ปฏิบัตตัวเป็นแบบฉบับ และได้ทรงแนะนำให้กับประชาชาติของท่านได้ปฏิบัติ เพื่อขวนขวาย แสวงหา ค่ำคืนลัยล่าตุ้ลก็อดรฺ ซึ่งท่านร่อซู้ล ได้กล่าวว่า

تَحَرَّوْا لَيْلَةَ الْقَدْرِفِى الْعَشْرِاْلأَوَاخِرِ مِنْ رَمَضَانَ

พวกท่านทั้งหลาย จงแสวงหาค่ำคืนลัยล่าตุ้ลก็อดรฺในช่วง 10 คืนสุดท้ายของเดือนรอมาฎอน

     จากท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮา เล่าว่า ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม 

كَانَ النَّبِيُّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ إِذَا دَخَلَ الْعَشْرُ شَدَّ مِئْزَرَهُ، وَأَحْيَا لَيْلَهُ، وَأَيْقَظَ أَهْلَهُ.

     “เมื่อถึงช่วงสิบวันสุดท้ายของเราะมะฎอน ท่านจะรัดผ้านุ่งไว้ให้แน่น(หมายถึงไม่ร่วมหลับนอนกับภรรยา ท่านจะให้ชีวิตแก่ค่ำคืน(หมายถึงประกอบอิบาดะฮฺในยามค่ำคืน) และท่านจะปลุกบรรดาภริยาของท่าน(ให้ลุกขึ้นมาประกอบอิบาดะฮฺ) “

(อัล-บุคอรีย์ และมุสลิม)

 

     28. บางคนเข้าใจผิดว่า คนป่วยสามารถถือศีลอดได้ทั้งที่ตัวเอง ได้รับข้อยกเว้นสามารถไปบวชชดใช้ในวันอื่นแทน ดังดำรัสของอัลเลาะห์ ที่ว่า :

أَيَّامًا مَّعْدُودَاتٍ فَمَن كَانَ مِنكُم مَّرِيضًا أَوْ عَلَىٰ سَفَرٍ فَعِدَّةٌ مِّنْ أَيَّامٍ أُخَرَ

     “(คือถูกกำหนดให้ถือศีลอดในเดือนรอมฎอน) ในบรรดาวันที่ถูกนับไว้ แล้วผู้ใดในหมู่พวกเจ้าป่วย หรืออยู่ในการเดินทางก็ให้ถือใช้ในวันอื่น” 

(อัลบะเกาะเราะห์ 2 : 184)

 

     29. ผู้ละศีลอดบางครั้งละเลยการตอบรับการอะซาน กินจนเพลิน ฉะนั้นชุนนะฮ์ของท่านนบี ละศีลอดและต่อด้วยการกล่าวตอบรับการอะซาน

ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า

« إِذَا سَمِعْتُمُ الْمُؤَذِّنَ، فَقُولُوا مِثْلَ مَا يَقُولُ »

เมื่อได้ยินเสียงมุอัซซินอะซาน พวกท่านก็จงกล่าวตอบเหมือนที่เขากล่าวอะซาน” 

[บันทึกโดยมุสลิม]

     เป็นการดียิ่งเราละศีลอดและรับคำอะซานไปด้วย เพราะท่านนบีมิได้ห้ามจากการละศีลอดและตอบรับการอะซานไปด้วยพร้อมๆกัน

 

     30. ผู้ปกครองบางคนไม่ส่งเสริมให้ลูกๆถือศีลอด เพราะเห็นว่าลูกยังเล็กอยู่ ฉะนั้นอิสลามส่งเสริมให้พ่อแม่ฝึกลูกๆถือศีลอดก่อนบรรลุนิติภาวะ

     จากท่านร่อเบียะบินตุ มูเอาวิซ กล่าวว่า ปรากฏว่าพวกเรานั้นกำชับให้ลูกๆถือศีลอด พวกเขาจะเล่นกับเด็กทั่วไป ครั้งเมื่อพวกเขาร้องไห้จากการหิว เราจะมอบอาหารโดยจะให้จนกว่าถึงเวลาของมัน คือเวลาละศีลอด 

(บันทึก บุคครีย์ มุสลิม)

 

     31. บางคนเข้าใจว่าคนเดินทางทุกๆคนจะต้องละศีลอด แท้จริงแล้วการเดินทางนั้นมีทั้งการอนุญาตละศีลอดและไม่ละศีลอด ตามสภาพของคนๆนั้น ซึ่งมีสามสภาพด้วยกัน

 1. หากว่าการเดินทางนั้นไม่มีความยากลำบากใดๆ สมควรจะถือศีลอดย่อมเป็นสิ่งที่ดีกว่า

{ وأن تصوموا خير لكم إن كنتم تعلمون } [البقرة:184].

และการที่พวกเจ้าจะถือศีลอดนั้น ย่อมเป็นสิ่งที่ดียิ่งกว่าพวกเจ้า หากพวกเจ้ารู้


  2. หากว่าการเดินทางนั้นมี ความยากลำบากใดๆ สมควรละศีลอดย่อมเป็นสิ่งที่ดีกว่า

{ لا يكلف الله نفساً إلا وسعها } [البقرة:286].

อัลลอฮ์จะไม่ทรงบังคับชีวิตหนึ่งชีวิตใดนอกจากตามความสามารถของชีวิตนั้นเท่านั้น

     ในหะดีษหลายบทเปิดโอกาสให้ผู้เดินทางเลือกระหว่างการถือศีลอดและไม่ถือศีลอด แต่เราต้องไม่ลืมว่าความเมตตาแห่งพระเจ้า ได้กล่าวไว้ในซูเราะฮฺอัลบะกอเราะฮฺ อายะฮฺที่ 185 ว่า

وَمَن كَانَ مَرِيضاً أَوْ عَلَى سَفَرٍ فَعِدَّةٌ مِّنْ أَيَّامٍ أُخَرَ يُرِيدُ اللّهُ بِكُمُ الْيُسْرَ وَلاَ يُرِيدُ بِكُمُ الْعُسْرَ

     “และผู้ใดป่วยหรืออยู่ในระหว่างเดินทาง ก็ให้เขาถือศีลอดใช้ในวันอื่น อัลลอฮฺทรงประสงค์ความสะดวกแก่พวกเจ้า และพระองค์ไม่ประสงค์ความลำบากแก่พวกเจ้า” 

(2/185)

     บรรดาหะดีษเหล่านี้เป็นการแสดงถึงทางเลือก มิได้หมายความว่าเป็นการกระทำที่ดีกว่า แต่ทว่าอาจจะเป็นการชี้แนะให้การละศีลอดมากกว่าการถือศีลอด ดังหะดีษทั่วไปดังเช่นคำกล่าวของท่านนะบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ที่ว่า

إن الله يحب أن تؤتى رخصه كما يكره أن تؤتى معصيتة

     “แท้จริงอัลลอฮฺทรงชอบที่จะให้สิ่งที่เป็นที่อนุมัติถือปฏิบัติกัน เสมือนกับที่พระองค์ทรงเกลียดที่จะให้สิ่งที่เป็นการฝ่าฝืนเป็นที่ปฏิบัติกัน” 

(บันทึกโดย : อะหมัดและอิบนฺฮิบบาน)

     อีกรายงานหนึ่งกล่าวว่า 

     “แท้จริงอัลลอฮฺทรงชอบที่จะให้สิ่งที่เป็นที่อนุมัติถือปฏิบัติกัน เสมือนกับที่พระองค์ทรงชอบที่จะให้ความตั้งใจมั่นเป็นที่ปฏิบัติกัน” 

(บันทึกโดย : อิบนฺฮิบบานและอัลบัซซาร)

     แต่มีรายงานจากอะบีสะอี๊ด อัลคุดรีย์ แจ้งว่าบรรดาศ่อฮาบะฮฺมีความเห็นว่า ผู้ใดพบว่าเขามีความแข็งแรงแล้วถือศีลอดก็เป็นการดี และผู้ใดพบว่าเขามีความอ่อนแอแล้วการละศีลอดก็เป็นการดี” 

(บันทึกโดย : อัตติรมีซีย์และอัลบ่ะฆอวีย์)

     พึงทราบเถิดว่าการถือศีลอดขณะเดินทางนั้น ถ้าหากเป็นการลำบากแก่เขาแล้วก็ไม่เป็นความดีเลย หากแต่ว่าการละศีลอดเป็นการดีกว่า และเป็นที่ชอบแก่อัลลอฮฺ หลักฐานในเรื่องนี้มีรายงานจากศ่อฮาบะฮฺหลายคน แจ้งว่าท่านนะบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า

(لَيْسَ مِنَ البِّرِّ الصِّيَامُ فِيْ السَّفَرَ )

ไม่เป็นความดีเลยที่จะถือศีลอดในขณะเดินทาง

(บันทึกโดย : อัลบุคอรียฺและมุสลิม รายงานจากญาบิร)


  3. หากว่าไม่รู้ว่าการเดินทางข้างหน้ามีความลำบากหรือไม่ ไม่มีความมั่นใจ เราสามารถเลือกที่จะถือศีลอดหรือไม่ถือก็ได้

     ฮัมซะฮฺ อิบนฺอัมร อัลอัสละมีย์ ได้ถามท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ว่า ฉันจะถือศีลอดในขณะเดินทางหรือไม่ ? เพราะเขาเป็นคนชอบถือศีลอดมาก 

"إن شئت فصم، وإن شئت فافطر" } [رواه البخاري].

     ท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้ตอบแก่เขาว่าจงถือศีลอดหากท่านประสงค์ และจงละศีลอดหากท่านประสงค์

( บันทึกโดย : อันบุคอรียฺและมุสลิม)

عن أنس قال : كنا نسافر مع النبي صلى الله عليه وسلم فلم يعب الصائم على المفطر وا المفطر على الصائم .

     มีรายงานจากอะนัสอิบนมาลิก แจ้งว่าฉันได้เดินทางพร้อมกับท่านร่อซูลุลลอฮฺในเดือนรอมฎอน ผู้ถือศีลอดมิได้ตำหนิผู้ละศีลอด และผู้ละศีลอดมิได้ตำหนิผู้ถือศีลอด” 

(บันทึกโดย : อัลบุคอรียฺและมุสลิม)

 

     32. บางคนที่ถือศีลอด ชอบพูดจาหยาบคาย ลามก ฉะนั้นจำเป็นผู้ที่ถือศีลอดต้องระมัดระวัง

      จากท่าน อบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุ อันฮุ เล่าจากท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ท่านได้กล่าวว่า

«الصِّيَامُ جُنَّةٌ، فَلاَ يَرْفُثْ وَلاَ يَجْهَلْ، وَإِنِ امْرُؤٌ قَاتَلَهُ أَوْ شَاتَمَهُ فَلْيَقُلْ إِنِّي صَائِمٌ ـ مَرَّتَيْنِ».)

     “การถือศีลอดนั้นเป็นโล่ป้องกัน (คือป้องกันไม่ให้ผู้ถือศีลอดประพฤติสิ่งที่ไม่ดี หรือป้องกันเขาจากการต้องเข้านรก) ดังนั้น(เมื่อผู้ใดถือศีลอด)แล้ว เขาอย่าได้พูดจาหยาบโลนและอย่าได้ประพฤติเยี่ยงผู้ที่ไร้จริยธรรม และหากแม้นมีผู้ใดต้องการทะเลาะเบาะแว้งหรือกล่าวด่าว่าร้ายเขา ก็ให้เขากล่าวแก่คนผู้นั้นว่าแท้จริงฉันเป็นผู้ถือศีลอด แท้จริงฉันเป็นผู้ถือศีลอด’ (คือให้กล่าวเพียงเท่านี้ โดยไม่ต้องตอบโต้ด้วยคำพูดอื่นที่อาจจะทำให้การถือศีลอดบกพร่อง)”

 (รายงานโดย อัล-บุคอรีย์)

    มีรายงานจากอบูฮุรอยเราะฮฺ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า

مَنْ لَمْ يَدَعْ قَوْلَ الزُّوْرِ وَالْعَمَلَ بِهِ فَلَيْسَ للهِ حَاجَةٌ فِي أَنْ يَدَعَ طَعَامَهُ وَشَرَابَهُ

     "บุคคลใดไม่ละทิ้งคำพูดที่เป็นเท็จ และการกระทำที่เป็นเท็จ อัลลอฮฺไม่ประสงค์อะไรเลยจากการที่เขา ได้อดอาหารและเครื่องดื่มของเขา"

(บันทึกโดยบุคอรี)

     ฉะนั้นการถือศีลอดนั้นไม่ใช่เฉพาะการอดข้าวอดน้ำเพียงอย่างเดียว แต่สิ่งที่สำคัญนั้นคือการละเว้นอารมณ์ คำพูด ท่าทางที่ไม่เหมาะสมต่างๆ

 

     33. บางคนปล่อยปะละเลยในช่วงเวลาที่ประเสริฐในขณะที่เขานั้นถือศีลอดเช่น นั่งดูทีวี ฟังเพลง ละคร เกมโชว์ ดูการแข่งขันต่างๆนานา นี้คือสิ่งที่จะทำลายอีหม่านของเรา มันจะบั่นทอนผลบุญของเราที่ควรจะได้รับในเดือนนี้

     ฉะนั้นมุสลิมทุกๆคนจะต้องใช้เวลาอันมีค่าตรงนี้ ไปกับการใกล้ชิดอัลลอฮฺให้มากที่สุด เช่น การอ่านกรุอ่าน ละหมาด บริจาค ขอดุอา ใช้เวลาส่วนมากอยู่กับมัสยิด

 

     34. บางคนชอบอ่านกรุอ่านให้ได้จำนวนมากๆเช่น อ่านแบบเร็วๆ รีบๆ โดยไม่ได้อ่านและเข้าใจความหมายของกรุอ่านเลย บางครั้งแข่งขันกันอ่านว่าใครให้มากที่สุด นี้คือสิ่งที่อันตรายอย่างมาก

{ ورتل القران ترتيلا } [المزمل:4].

และจงอ่านอัลกุรอานช้า เป็นจังหวะ (ชัดถ้อยชัดคำ)”

     จำเป็นเรานั้นจะต้องอ่าน ช้าๆ เน้นๆ และใคร่ครวญความหมาย

 

     35. บางคนไม่ยอมทำ อัลเอียะติกาฟช่วงสิบคืนสุดท้ายทั้งที่มีความสามารถทำได้ เช่นลางานได้ หยุดพักได้แต่ไม่ทำอัลเอียะติกาฟ

     อัลเอียะติกาฟคือการดำรงอยู่บนสิ่งหนึ่ง หรือผู้ที่อยู่ในมัสยิดโดยมีเจตนาเพื่อทำการภักดีต่ออัลลอฮ

     สำหรับการเอียะติกาฟ นั้นถือว่าเป็นสิ่งที่ส่งเสริมให้กระทำ โดยเฉพาะในเดือนรอมาฏอน แต่ไม่ถึงขั้นเป็นวาญิบ ( จำเป็นที่จะต้องกระทำละทิ้งแล้วมีความผิด ) ดังหะดีษต่อไปนี้

หะดีษที่รายงานโดยท่านอาบูฮุรอยเราะห์ ท่านได้กล่าวว่า

(( كان رسول الله صلى الله عليه وسلم يعتكف في كل رمضان عشرة أيا م فلما كان العام الذي قبض منه اعتكف عشرين يوما

     “ ท่านรอซูลลุลลอฮ เคยเอียะติกาฟในทุกๆ เดือนรอมาฏอน สิบวัน แต่ว่าในปีที่ท่านได้เสียชีวิตท่านได้ เอียะติกาฟ 20 วัน

 (บันทึกโดย อัลบุคอรีย์)

 

     36. บางคนเข้าใจผิดว่า ผู้ที่ถือศีลอดนั้น ห้าม ตัดเล็บ ตัดผม ถอนขนรักแร้ โกนผมใต้ร่มผ้า ในช่วงกลางวันของเดือนรอมาฏอนทำให้เสียศีลอด แต่ที่ถูกต้อง สามารถทำได้ทุกประการ เพราะนี้คือซุนนะฮ์ของท่านนบีส่งเสริมให้กระทำ

 

     37. บางคนเข้าใจผิดว่า ผู้ที่ถือศีลอดนั้น ห้ามกลืนน้ำลายตัวเองในช่วงกลางวันของเดือนรอมาฏอนทำให้เสียศีลอด ที่ถูกต้อง สามารถกลืนน้ำลายได้ไม่ทำให้เสียศีลอด

 

     38. บางคนเข้าใจผิดว่า ผู้ที่ถือศีลอดนั้น ห้ามสูดน้ำเข้าจมูก เอาน้ำบ้วนปาก เอาน้ำรดหัวเพราะอากาศร้อนจัด ในช่วงกลางวันของเดือนรอมาฏอนทำให้เสียศีลอด

     ท่านเชค อิบนุ อุษัยมีนกล่าวว่า จงอาบน้ำละหมาดให้สมบูรณ์ ถูระหว่างนิ้ว ให้สูดน้ำเข้าจมูกเว้นแต่ผู้ที่ถือศีลอดเท่านั้น

     หลักฐานนี้เข้าใจว่า ผู้ที่ถือศีลอดนั้นไม่ควรกระทำเพราะเกรงว่าน้ำนั้นจะเข้าลงไปในลำคอลงสู่กระเพาะได้และจะทำให้เสียศีลอด

 

     39. บางคนเข้าใจผิดว่า การใช้ยาพ่นสำหรับโรคหอบนั้นทำให้เสียศีลอด

     ท่านเชค อิบนุ อุษัยมีนกล่าวว่า การใช้ยาพ่นขณะถือศีลอดสำหรับผู้ป่วยเป็นโรคหอบนั้น ถือว่า อนุญาต ไม่ทำให้เสียศีลอด เพราะมันไม่ได้ลงสู่กระเพาะ

 

     40. บางคนถือศีลอด เพราะเห็นเขาถือศีลอด โดยไม่ศึกษาเรียนรู้ในเรื่องต่างๆเกี่ยวกับการถือศีลอดเลย

 

 

     สุดท้าย เราพยามรวบรวมข้อผิดพลาดเพื่อป้องกันมิได้ผู้ที่ถือศีลอดนั้นผิดพลาดใดๆ และหวังที่จะให้อัลลอฮฺทรงตอบรับความดีนั้น