40 ข้อผิดพลาดสำหรับผู้ที่ถือศีลอด (1)
เรียบเรียงโดย อับดุลวาเฮด สุคนธา
1. เมื่อเดือนเราะมะฎอนใกล้มาถึง มุสลิมส่วนมากมักจะยุ่งอยู่กับตระเตรียมเรื่องอาหารและเครื่องดื่มต่างๆมากมาย จนลืมที่จะเตรียมตัวเตรียมใจและร่างกายให้พร้อมเพื่อนการทำอิบาดะฮ์ต่ออัลลอฮฺตะอาลา
2. บางคนรีบที่จะรับประทานอาหารสะฮูรก่อนเวลาอันควร (บางครั้งกินก่อนเข้านอน) เพราะซุนนะฮ์ของท่านนบี คือการรับประทานอาหารสะฮูรให้ล่าช้าออกไปจนใกล้เวลาศุบฮี มีตัวหะดีษ กล่าวว่า ระยะเวลา การทานอาหารสะฮูร แค่เพียงการอ่านกรุอ่าน ห้าสิบอายะ เพราะนี่คือการปฏิบัติตามซุนนะของท่านนบี
ระยะเวลาประมาณได้เท่ากับการอ่านอัลกุรอาน 50 อายะฮฺมีรายงานจากอะนัส จากเซดอิบนฺซาบิต กล่าวว่า
أن نبي الله صلى الله عليه وسلم وزيد بن ثابت رضي الله عنه تسحرا فلما فرغا من سحورهما قام نبي الله صلى الله عليه وسلم إلى الصلاة فصلى فقلنا لأنس كم كان بين فراغهما من سحورهما ودخولهما في الصلاة قال كقدر ما يقرأ الرجل خمسين آية
”เราได้กินสะฮูรพร้อมกับท่านนะบี แล้วท่านได้ลุกขึ้นไปละหมาด
ฉันได้ถามท่านว่าระยะเวลาระหว่างการอะซานและการกินสะฮูรยาวนานเท่าใด ?
ท่านตอบว่าประมาณ 50 อายะฮฺ”
(บันทึกโดย : อัลบุคอรียฺ และมุสลิม)
3. บางคนนอนหลับโดยไม่ได้ตั้งเนียตสำหรับการถือศีลอดในวันพรุ่งนี้ แท้จริงสำหรับผู้ที่ถือศีลอดจะต้องตั้งเจตนาทุกคนว่าจะถือศีลอดในวันพรุ่งนี้ เพราะท่านนบีกล่าววว่า
{ من لم يبيت الصيام من الليل فلا صيام له } [رواه النسائي.
“ใครก็ตามไม่ต้องเจตนาจะถือศีลอดในค่ำคืนนั้น สำหรับเขานั้น ไม่นับว่าเขาได้ถือศีลอด”
{ من لم يبيت الصيام قبل طلوع الفجر، فلا صيام له } [رواه الدارقطني والبيهقي وصححه الألباني].
“ใครก็ตามไม่ตั้งเจตนาจะถือศีลอดก่อนแสงฟะญัรขึ้น สำหรับเขานั้น ไม่นับว่าเขาได้ถือศีลอด”
4. ส่วนบางคนเข้าใจผิดว่า การเนียต (ตั้งเจตนา)ถือศีลอด จะต้องเปล่งเสียงออกมาเป็นคำพูด (เช่น ฉันถือศิลอดเพื่ออัลลออฺ) การตั้งเจตนาในใจ นึกว่าเรานั้นถือศีลอดเพื่ออัลลอฮฺ ถือว่าเป็นการเพียงพอแล้ว
ท่านเชคอิสลาม อิบนุตัยมียะ กล่าวว่า การเนียตด้วยการเปล่งเสียงไม่ถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมุสลิมทั้งหมด ฉะนั้นการเนียตในใจถือว่าการถือศีลอดนั้นใช้ได้
5. มุสลิมบางคนตั้งใจดื่มในขณะกำลังอะซานละหมาศุบฮี นี้คือการกระทำที่ทำให้เสียศีลอดโดยเฉพาะผู้ทำการอะซานละหมาดศุบฮี ไม่ใช่การอะซานครั้งแรก
ท่านเชคอุษัยมีนกล่าวว่า การอะซานเพื่อจะทำการละหมาดศุบฮีนั้นหมายถึงแสงฟะญัรได้ขึ้นแล้วหรือยังไม่ขึ้น หมายถึงมีการอะซานสองครั้ง
หากว่ามีแสงฟะญัรขึ้นแล้วจำเป็นจะต้องอดละเว้นการกินและการดื่มทั้งหมด
ฮะดิษที่กล่าวเรื่องการอะซานของท่านบิล้าล ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุ ดังกล่าวนั้น ท่านอัลบุคอรีย์ได้รายงานด้วยสายรายงานของท่านถึงท่านอิบนุอุมัร จากท่านอุมัร ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า แท้จริงท่าน ร่อซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า
إِنَّ بِلَالًا يُؤَذِّنُ بِلَيْلٍ فَكُلُوا وَاشْرَبُوا حَتَّى يُنَادِيَ ابْنُ أُمِّ مَكْتُومٍ ثُمَّ قَالَ وَكَانَ رَجُلًا أَعْمَى لَا يُنَادِي حَتَّى يُقَالَ لَهُ أَصْبَحْتَ أَصْبَحْتَ
"แท้จริงบิล้าลได้ทำการอะซานในช่วงกลางคืนอยู่ ดังนั้นพวกท่านทั้งหลายจงกินและจงดื่มเถิด จนกระทั่งอิบนุอุมมุมักตูมได้ทำการอะซาน
หลังจากท่านได้กล่าวว่า อิบนุอุมมุมักตูมเป็นชายตาบอด ซึ่งจะทำการอะซานจนกว่าจะถูกบอกให้แก่เขาว่า ท่านอยู่ในเวลาซุบฮ์แล้ว ท่านอยู่ในเวลาซุบฮ์แล้ว"
(รายงานโดยบุคอรีย์)
เมื่อท่านรู้ว่าผู้ที่ทำหน้าที่อะซานเพื่อละหมาดศุบฮี แน่นอนว่าเขาจะไม่ทำการอะซานเว้นแต่ว่ามันจะเข้าเวลาฟะญัร ฉะนั้นท่านจงอดละเว้นการกินและดื่นทุกชนิด
6. มุสลิมบางคนเข้าใจว่าไม่ถือศีลอดในเวลาที่เหลือของวันนั้น เมื่อรับทราบการเข้าสู่เดือนเราะมะฎอน คนที่อยู่ในการเดินทาง หรือ นอนหลับโดยไม่ทราบข่าวเข้าสู่เดือนเราะมะฎอน สมควรจะต้องอดอาหารหลังจากรับทราบข่าวทันทีเพื่อการให้เกียรติเดือนนี้ แม้ว่าเขาจะไม่ได้ถือศีลอดก็ตาม
ท่านนบีเคยส่งผู้ชายคนหนึ่งไปประกาศให้คนอื่นรับทราบการถือศีลอดในวันอาชูรอ โดยประกาศว่า
"إن من أكل فليتم أو فليصم ومن لم يأكل فلا يأكل" } [رواه البخاري، ومسلم].
“ใครกินดื่ม จงกินได้ หรือใครต้องการถือศิลอดก็ถือได้ ส่วนใครที่ไม่ได้รับประทานอาหารไม่ควรทาน (ท่านนบีส่งเสริมถือศิลอด)”
7. มุสลิมบางส่วนไม่ได้ไห้ความสำคัญกับเดือนเราะมะฎอน บางครั้งเห็นเดือนเราะมะฎอนเป็นเรื่องปกติทั่วไปเหมือนเดือนทั่วๆไป ไม่ได้แสดงความปิติยินดี ฉะนั้นมุสลิมสมควรแสดงถึงความยินดีที่เดือนอันมีเกียรติกำลังมาถึงเพื่อส่งเสริมเรื่องการทำอิบาดะฮ์มากๆ
อัลเลาะฮ์ตะอาลาได้ประทานความพิเศษให้แก่เดือนร่อมะฎอนด้วยการประทานอัลกุรอานในเดือนนี้ พระองค์ได้ทรงตรัสว่า
شَهْرُ رَمَضَانَ الَّذِي أُنْزِلَ فِيهِ الْقُرْآنُ هُدًى لِلنَّاسِ وَبَيِّنَاتٍ مِنَ الْهُدَى وَالْفُرْقَانِ...
“เดือนร่อมะฎอนนั้น เป็นเดือนที่อัลกุรอานได้ถูกประทานลงมาเป็นทางนำสำหรับมนุษย์ และเป็นหลักฐานอันชัดแจ้งเกี่ยวกับทางนำนั้น และเกี่ยวกับสิ่งที่จำแนกระหว่างความจริงกับความเท็จ ..”
[อัลบะก่อเราะฮ์: 185]
ในเดือนร่อมะฎอนนี้บรรดาประตูแห่งความดีงามทั้งหลายจะถูกเปิด และบรรดาประตูแห่งความชั่วร้ายจะถูกปิด ดังกล่าวนี้ได้ถูกอธิบายโดยท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม
إِذَا جَاءَ رَمَضَانُ فُتِّحَتْ أَبْوَابُ الْجَنَّةِ وَغُلِّقَتْ أَبْوَابُ النَّارِ وَصُفِّدَتْ الشَّيَاطِينُ
“เมื่อร่อมะฎอนมาถึง บรรดาประตูของสวรรค์จะถูกเปิด และบรรดาประตูของนรกจะถูกปิดและชัยฏอนถูกล่าม”
(รายงานโดยมุสลิม)
8. มุสลิมบางส่วนเมื่อรู้ข่าวการเข้าสู่เดือนเราะมะฎอน และคืนแรกของเดือนเราะมะฎอน ไม่มีการละหมาดตะรอเวีห์ เพราะไม่เห็นจันทร์เสี้ยว แต่เมื่อรับทราบข่าวการยืนยันชัดเจนการเข้าสู่เดือนเราะมะฎอน จึงสมควรจะมีการละหมาดตะรอวีห์ร่วมกับญามาอะที่มัสยิดในค่ำคืนนั้น
การละหมาดตะรอวีห์ถือเป็นซุนนะฮ์ของท่านนะบี ในพื้นฐานเดิมของมัน และเป็นซุนนะฮ์ (แนวทางของค่อลิฟะฮ์ผู้ทรงธรรม) ของท่านอุมัรในรูปแบบวิธีการปฏิบัติ ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า
“ผู้ใดก็ตามที่ละหมาดตอนกลางคืนของเดือนร่อมะฎอนด้วยความศรัทธา (เชื่อในภาคผลที่ได้ระบุรายงานมา) และมุ่งหวัง (บริสุทธิ์ใจต่ออัลเลาะฮ์) บาปที่เขาได้เคยกระทำมาจะถูกอภัยโทษให้แก่เขา”
(รายงานโดยอัลบุคอรีย์ และมุสลิม)
9. บางคนไม่ยอมละทิ้งจากการกินและดื่มเนื่องจากการหลงลืมในขณะที่เขาถือศีลอด เมื่อนึกขึ้นได้ว่าตัวเองถือศิลอดอยู่ แต่ก็กินจนกระทั่งเสร็จ
ท่านเชค บินบาซกล่าวว่า ใครก็ตามที่พบเห็นพี่น้องมุสลิม กินและดื่มในตอนกลางวันของเดือนเราะมะฎอน หรือให้อาหาร จำเป็นที่จะต้องห้ามปราม เพราะว่าการกินและดื่มในเดือนเราะมะฎอน เป็นเรื่องที่น่ารังเกียจแม้ว่าเขาจะได้รับข้อยกเว้นมิให้ถือศีลอดก็ตาม เพื่อป้องกันมิให้ผู้อื่นเข้าใจผิดในการกระทำที่ฝ่าฝืนคำสั่งของอัลลอฮ์ แม้จะอ้างว่าหลงลืมก็ตาม
10. พ่อแม่บางคนห้ามปรามมิให้ลูกๆถือศีลอด โดยอ้างว่า ลูกยังเล็กอยู่ ทั้งๆที่บรรดาลูกๆ บรรลุนิติภาวะตามหลักเกณฑ์ของศาสนาจะต้องปฏิบัติในการถือศีลอดได้แล้ว (การบรรลุนิติภาวะ คือ ผู้ชายฝันเปียก ผู้หญิงมีรอบเดือน)
เชค อิบนุ ญิบรีล กล่าวว่า บรรดาเด็กสตรีมุสลิมส่วนมากจะมีรอบเดือนในช่วงวัย สิบขวบหรือ สิบเอ็ดขวบ แต่ครอบครัวมักจะเพิกเฉยโดยคิดว่าลูกๆนั้นยังเล็กอยู่ไม่จำเป็นจะต้องถือศีลอด เมื่อใดก็ตามที่บรรดาลูกๆ บรรลุตามหลักเกณฑ์ที่ศาสนากำหนดเอาไว้ หลักปฏิบัติของศาสนาจะถูกบังคับใช้ทันที
11. บางคนที่ลืมโดยการกินและดื่มในขณะเขานั้นถือศีลอดมักจะสงสัยว่า บวชของเขานั้นใช้ไม่ได้
ท่านนะบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
( إِذَا نَسِيَ فَأَكَلَ أَوْ شَرِبَ فَلْيُتِمَّ صَوْمَهُ ، فَإِنَّمَا أَطْعَمَهُ اللهُ وَسَقَاهُ )
“เมื่อเขาลืมแล้วเขาได้กินและดื่มก็จงให้การถือศีลอดของเขาดำเนินต่อไป เพราะแน่แท้อัลลอฮฺได้ให้อาหารแก่เขาและให้น้ำดื่มแก่เขา”
(บันทึกโดย : อัลบุคอรียฺ และมุสลิม)
และท่านนะบีได้กล่าวอีกว่า
( إِنَّ اللهَ وَضَعَ عَنْ أُمَّتِيْ الْخَطَأَ وَالنِّسْيَانَ وَمَا اسْتُكْرِهُوْا عَلَيْهِ )
“แท้จริงอัลลอฮฺจะไม่เอาโทษจากประชาชาติของฉันในความผิดพลาด การหลงลืมและการถูกบังคับ”
(บันทึกโดย : อัฎฎ่อฮาวีย์ อัลฮากิม และอัดดารุกุฎนีย์และเป็นสายสืบที่ศ่อฮี้ฮฺ)
12. สตรีบางคนคิดว่า การทาตาขีดตาด้วยฮิลนะในขณะถือศีลอดจะสงสัยว่าบวชของเขานั้นใช้ได้หรือไม่ ?
ท่านเชคอุษัยมีนกล่าวว่า การทาตาขีดตาด้วยฮิลนะในขณะที่นางถือศีลอด บวชของนางนั้นใช้ได้ ไม่มีผลเสียอันใดต่อการถือศีลอดของนาง เช่น ยาทาตา ขีดคิ้ว หยุดน้ำลงในรูหู หรือในตาไม่ส่งผลต่อการถือศิลอดแต่ประการใดทั้งสิ้น
13. สตรีบางคนคิดว่า การชิมรสชาติอาหารในขณะถือศีลอดบวชของเขานั้นใช้ไม่ได้ทำให้เสียศีลอด
ท่านเชค อิบนุ ญิบรีลกล่าวว่า การชิมรสชาติอาหารในขณะถือศีลอด คือการชิมรสแค่ปลายลิ้น เพื่อรับรู้ถึงรสชาติของอาหารนั้นๆ ไม่ใช่การกลืนเข้าไป ไม่ทำให้เสียศีลอด
14. บางคนคิดว่า การแปรงฟัน (ถูฟันด้วยไม้ข่อย)ตอนกลางวัน นั้นทำให้เสียศีลอด
ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า :
لَوْ لاَ أَنْ أَشُقَّ عَلىَ أُمَّتِيْ لَأَمَرْتُهُمْ بِالسِّوَاكِ عِنْدَ كُلِّ صَلاَةٍ
“หากไม่เป็นการยากลำบากกับประชาชาติของฉันแล้วละก็ ฉันจะใช้พวกเขาให้แปรงฟันหรือถูฟันทุก ครั้งที่จะละหมาด”
(บันทึกโดยบุคอรียฺ มุสลิม)
ท่านอิหม่ามบุคครีย์กล่าวว่า ท่านนบีมิ ได้เจาะจงว่า คนนั้นจะถือศีลอดหรือไม่ถือ
ท่านเชคอุษัยมีนกล่าวว่า การ (ถูฟันด้วยไม้ข่อย)ไม่ทำให้เสียศีลอด เพราะคือซุนนะฮ์ ของท่านนบีทุกๆช่วงเวลาทั้งกลางวันและกลางคืน
15. มูฮัซซิน จะไม่ทำการอะซานจนกว่ามีแสงมืดมิดปกคลุม แม้ว่าดวอาทิตย์ตกแล้วก็ตาม โดยการกล่าวอ้างว่า ปกป้องการผิดพลาดในการอะซาน ดังกล่าวนี้ค้านกับซุนนะของท่านนบี เพราะซุนนะของท่านนบี คือการอะซานเมื่อดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าแน่นอน ห้ามใช้หลักอื่นแทนคำสอนของท่านนบีเด็ดขาด
ท่านเชคอิสลาม อิบนุ ตัยมียะกล่าวว่า เมื่อตะวันลับขอบฟ้า จะต้องทำการละศีลอดไม่ต้องมองหรือสนใจว่ายังมีแสงสีแดงยังหลงเหลือตรงขอบฟ้าไหม
16. ผู้ที่ละศีลอดมักจะหลงลืมการกล่าว ดุอาอฺให้แก่ผู้เลี้ยงอาหารละศีลอด เพราะท่านนะบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม เคยปฏิบัติเช่นนั้น ซึ่งคำวิงวอนขอดุอาอฺมีอยู่หลายชนิดเช่น
( أَكَلَ طَعَامَكُمُ الأَبْرَارُ وَصَلَّتْ عَلَيْكُمُ المَلائِكَةُ وَأَفْطَرَ عِنْدَ كُمُ الصَّائِمُوْنَ )
“ขอให้คนดี ๆ มาร่วมรับประทานอาหารของพวกท่าน และขอให้บรรดามะลาอิกะฮฺขอพรให้แก่พวกท่าน และขอให้บรรดาผู้ถือศีลอดมาร่วมแก้ศีลอดกับพวกท่าน“
(บันทึกโดย : อิบนฺอะบีซัยบะฮฺ อะหมัด และอันนะซาอียะฮฺ และว่าเป็นสายสืบที่ศ่อฮี้ฮฺ ในหนังสือ “อะมะลุลเยามวัลลัยละฮฺ”)
( الَّلهُمَّ أَطْعِمْ مَنْ أَطْعَمَنِيْ وَاسْقِ مَنْ سَقَانِيْ )
“โอ้พระผู้เป็นเจ้าของข้าพระองค์ ขอพระองค์ประทานอาหารแก่ผู้ที่เขาได้ให้อาหารแก่ข้าพระองค์ และประทานน้ำดื่มให้แก่ผู้ที่เขาได้ให้น้ำดื่มแก่ข้าพระองค์”
(บันทึกโดย : มุสลิม จากรายงานของอัลมิกด๊าด)
( الَّلهُمَّ اغْفِرْ لَهُمْ وَارْحَمْهُمْ وَبَارِكْ لَهُمْ فِيْمَا رَزَقْتَهُمْ )
“โอ้พระผู้เป็นเจ้าของข้าพระองค์ ขอพระองค์ทรงอภัยโทษให้แก่พวกเขา และทรงเมตตาแก่พวกเขา และประทานความศิริมงคลในสิ่งที่พระองค์ได้ให้ปัจจัยยังชีพแก่พวกเขา”
(บันทึกโดย : มุสลิม)
17. บางคนเข้าใจผิดว่าในเดือนเราะมะฎอน ห้ามมีเพศสัมพันธ์กับภรรยา ที่จริงแล้ว คือการห้ามในตอนกลางวันเท่านั้น ส่วนกลางคืนนั้นเป็นที่อนุมัติแก่นางและสามี อัลลอฮฺทรงกล่าวว่า
{أحل لكم ليلة الصيام الرفث إلى نسائكم هن لباس لكم وأنتم لباس لهن } [البقرة:187].
"ได้เป็นที่อนุมัติแก่พวกเจ้าแล้ว ซึ่งการสมสู่กับบรรดาภรรยาของพวกเจ้าในค่ำคืนของการถือศีลอด นางทั้งหลายนั้นคือเครื่องนุ่งห่มของพวกเจ้า และพวกเจ้าก็คือเครื่องนุ่งห่มของพวกนาง"
18. สตรีมุสลิมะฮฺบางคนเข้าใจผิดว่า ห้ามศิลอดช่วงเวลาที่ตัวนางหมดรอบเดือนในเวลาก่อนศุบฮี เพราะไม่สามารถจะอาบน้ำชำระร่างกายได้ทันเวลานั้น คือ ก่อนแสงฟะญัรขึ้น เพราะที่นางคิดว่าห้ามถือศิลอด เวลาละหมาดศุบฮีนั้นเข้าแล้ว
ท่านเชค อิบนุ ญิบรีลกล่าวว่า หากตัวนางหมดรอบเดือน คือ ตัวนางสะอาดก่อนแสงฟะญัรขึ้นเพียงเล็กน้อย สมควรแก่นางจะต้องถือศิลอดแม้ว่านางนั้นจะยังไม่ได้อาบน้ำชำระร่างกายก็ตาม สามารถอาบน้ำหลังจากอะซานแล้วก็ถือว่าใช้ได้
19. การร้องไห้ในขณะอ่านกรุอ่านนั้นถือว่าเป็นสิ่งที่ส่งเสริมให้ปฏิบัติ แต่บางคนละหมาดร้องให้เสียงดังจนมากเกินไปจนสร้างความรำราคญแก่ผู้ละหมาดรอบข้าง
20. บางคนคิดว่าห้ามถือศีลอดในสภาพที่ตัวยังเปื้อนอสุจิ คือยังไม่ได้อาบน้ำชำระร่างกาย จะต้องชดใช้ในวันต่อไป ถือว่าเป็นการเข้าใจผิด หากว่าตัวยังเปื้อนอสุจิสามารถถือศีลอดได้ปกติไม่จำเป็นต้องชดใช้ในวันอื่น เพราะว่าท่านนบีเคยตัวเปื้อนในตอนเข้าเวลาฟะญัร ต่อมาท่านนบีก็อาบน้ำและถือศีลอด
เชค บินบาซกล่าวว่า การฝันเปียกนั้นไม่ทำให้เสียศีลอด จำเป็นแก่เขาจะต้องอาบน้ำเมื่อเห็นน้ำอสุจิ