10 การงานจะต้องปฏิบัติในเดือนรอมฎอน
เรียบเรียง อับดุลวาเฮด สุคนธา
เนื่องในวาระโอกาสเดือนรอมฎอนได้มาถึง ฉันขอมอบของขวัญอันเล็กๆน้อยๆ นั้นคือการ ตักเตือน ชี้แนะ แด่ผู้ศรัทธาทั้งหลาย ฉันหวังที่จะให้อัลลอฮฺทรงตอบรับการงานฉันและของพวกท่านเช่นกัน
อัลลอฮฺทรงกำหนดความประเสริฐมากมายในเดือนรอมฎอนมากกว่าเดือนอื่นทั้งสิบสองเดือน ,กลิ่นปากของผู้ที่ถือศีลอดนั้น ณ ที่ อัลลอฮฺ หอมยิ่งกว่าชะมดเชียง ,บรรดามาลาอิกะฮ์จะขออภัยโทษให้จนกระทั่งเขาจะละศีลอด ,อัลลอฮฺทรงทำให้การถือศีลอดนั้น เป็นเกราะคุ้มกันจากไฟนรก ,อัลลอฮฺ ทรงล่ามชัยตอน ,บรรดาประตูสวรรค์ถูกเปิด ประตูนรกถูกปิด ,มีค่ำคืนอัล-ก็อดรฺ ดีกว่าหนึ่งพันเดือน ,ผู้ที่ถือศีลอดในช่วงท้ายของกลางคืนเดือนรอมฎอน มีความประเสริฐมากกว่าเดือนอื่นๆ ,อัลลอฮฺทรงปลดปล่อยทาสออกจากไฟนรกในทุกค่ำคืนเดือนรอมฎอน
1. การถือศีลอด
ท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
كُلُّ عَمَلِ ابْنِ آدَمَ يُضَاعَفُ الْحَسَنَةُ عَشْرُ أَمْثَالِهَا إِلَى سَبْعمِائَة ضِعْفٍ قَالَ اللَّهُ عَزَّ وَجَلَّ إِلَّا الصَّوْمَ فَإِنَّهُ لِي وَأَنَا أَجْزِي بِهِ يَدَعُ شَهْوَتَهُ وَطَعَامَهُ مِنْ أَجْلِي لِلصَّائِمِ فَرْحَتَانِ فَرْحَةٌ عِنْدَ فِطْرِهِ وَفَرْحَةٌ عِنْدَ لِقَاءِ رَبِّهِ وَلَخُلُوفُ فِيهِ أَطْيَبُ عِنْدَ اللَّهِ مِنْ رِيحِ الْمِسْكِ
"ทุก ๆ การงานของมนุษย์นั้นคือเขาเอง เขาจะได้รับความดีหนึ่งเท่ากับ 10 เท่า ถึง 700 เท่า
โดยที่อัลลอฮฺ ทรงตรัสว่า นอกจากการ ถือศีลอด เพราะแท้จริงการถือศีลอดมันคือของข้า และข้าจะตอบแทนมันเอง
ซึ่งเขาได้ละทิ้งอารมณ์ใคร่ และอาหารต่าง ๆ เพื่อข้า
สำหรับผู้ถือศีลอดนั้นมีความดีใจ 2 ครั้ง ครั้งแรกขณะที่เขาละศีลอด และอีกครั้งขณะที่พบกับพระเจ้าของเขา
และกลิ่นปากของ ผู้ที่ถือศีลอด ณ ที่อัลลอฮฺนั้น หอมยิ่งกว่ากลิ่นชะมดเชียงอีก”
และท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮฺวะซัลลัม กล่าวว่า
مَنْ صَامَ رَمَضَانَ إيمَانًا وَاحْتِسابًا غُفِرَ لَهُ ما تَقَدَّمَ مِنْ ذَنْبِهِ
"ผู้ใดที่ถือศีลอดในเดือนรอมฎอนด้วยความศรัทธามั่นและหวังในผลบุญ เขาผู้นั้นจะได้รับการอภัยโทษบาปที่ผ่านมา"
(บันทึกโดยบุคอรียฺ และมุสลิม)
ไม่ต้องสงสัยเลยว่าความจริงผลบุญอันมากมาย ไม่ได้เกิดขึ้นสำหรับบุคคลที่อดข้าว อดน้ำเท่านั้น ดังคำพูดของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัย ฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า
مَنْ لَمْ يَدَعْ قَوْلَ الزُّوْرِ وَالْعَمَلَ بِهِ فَلَيْسَ للهِ حَاجَةٌ فِي أَنْ يَدَعَ طَعَامَهُ وَشَرَابَهُ
"บุคคลใดไม่ละทิ้งคำพูดที่เป็นเท็จ และการกระทำที่เป็นเท็จ อัลลอฮฺไม่ประสงค์อะไรเลยจากการที่เขาได้อดอาหารและเครื่องดื่ม ของเขา"
(บันทึกโดยบุคอรีย์)
และท่านร่อซูลุลลอฮฺศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมได้กล่าวว่า
وَالصِّيَامُ جُنَّةٌ وَإِذَا كَانَ يَوْمُ صَوْمِ أَحَدِكُمْ فَلَا يَرْفُثْ وَلاَ يَفْسُقْ وَلاَ يَجْهَلْ فَإِنْ سَابَّهُ أَحَدٌ فَلْيَقُلْ إِنِّي امْرُؤٌ صَائِمٌ
“และการถือศีลอดนั้นคือโล่ห์ เมื่อเป็นวันที่ถือศีลอดของคนใดคนหนึ่งของพวกท่าน ดังนั้นเขาอย่าได้พูดจาหยาบคาย อย่าทำสิ่งที่ฝ่าฝืน และอย่าทำในสิ่งที่โง่เขลา ถ้าหากมีคนใดคนหนึ่งมาด่าทอเขา ดังนั้นก็ให้เขากล่าวว่า ความจริงคือฉันถือศีลอด”
(บันทึกโดยบุคอรียฺ และมุสลิม)
เมื่อท่านถือศีลอด ท่านจงให้อวัยวะทุกๆส่วนของร่างกายของท่านถือศีลอดด้วย เช่น สายตา ริมฝีปาก ใบหู ลิ้นของท่าน อย่าถือศีลอดพร้อมกับการละศีลอดไปด้วยในครั้งเดียวกัน
2. การยืนละหมาด
ท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
((مَنْ قام رمضان إيمانًا واحتسابًا؛ غُفِرَ له ما تقدَّم من ذَنْبِه))
"ผู้ใดที่ยืนละหมาดในเดือนรอมฎอนด้วยความศรัทธามั่นและหวังในผลบุญ เขาผู้นั้นจะได้รับการอภัยโทษบาปที่ผ่านมา"
(บันทึกโดยบุคอรียฺ และมุสลิม)
ฉะนั้น สำหรับพี่น้องมุสลิมทั้งหลายสมควรจะทำการละหมาดตะรอเวีห์ให้ครบถ้วนสมบูรณ์ตามอิหม่ามในการละหมาดจนเสร็จสิ้น ใครก็ตามละหมาดเสร็จพร้อมอิหม่ามแน่นอนว่าเขานั้นจะถูกบันทึกในหมู่คนที่ดำรงการละหมาด
ท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
((مَنْ قام مع إمامه حتى ينصرِف؛ كُتِبَ له قيام ليلةٍ))؛ رواه أهلُ السُّنَن.
“ใครก็ตามลุกขึ้นยืนละหมาดพร้อมกับอิหม่ามจนกระทั่งเสร็จ เขาจะถูกบันทึกให้แก่เขาเท่ากับการยืนละหมาดทั้งคืน”
3. การบริจาคทาน
เป็นเดือนที่ท่านนบี จะมีความใจบุญเป็นอย่างมาก รายงานจากท่านอิบนิ อับบาส เราะฎิยัลลอฮุอันฮุเล่าว่า
كَانَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ أَجْوَدَ النَّاسِ وَكَانَ أَجْوَدُ مَا يَكُونُ فِي رَمَضَانَ حِينَ يَلْقَاهُ جِبْرِيلُ وَكَانَ يَلْقَاهُ فِي كُلِّ لَيْلَةٍ مِنْ رَمَضَانَ فَيُدَارِسُهُ الْقُرْآنَ فَلَرَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ أَجْوَدُ بِالْخَيْرِ مِنْ الرِّيحِ الْمُرْسَلَ
“ท่านเราะซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม เป็นผู้ที่ใจบุญที่สุด และท่านจะใจบุญมากยิ่งขึ้นในเดือนเราะมะฎอน (มากกว่าเดือนอื่นๆ) ขณะที่ท่านญิบรีลได้พบกับท่าน
และท่านญิบรีลจะพบกับท่านเราะซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ทุกๆคืนในเดือนเราะมะฎอน และจะทบทวนอัลกุรอานกับท่านญิบรีล ท่านเราะซูลุลลอฮ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม เป็นผู้ที่ใจบุญในความดีงามยิ่งกว่าสายลมที่พัดผ่านเสียอีก”
( อัลหะดีษในบันทึกของอิมามอัลบุคอรีย์)
แม้ว่าการศ่อดะเกาะฮ์โดยรวมแล้วจะมีความประเสริฐ แต่การศ่อดะเกาะฮ์ในเดือนร่อมะฎอนนั้นมีความประเสริฐกว่าในเดือนอื่นๆ มีรายงานจากท่านอะนัส ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ ว่า
“ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมได้ถูกถามว่า ศ่อดะเกาะฮ์ใดที่ประเสริฐที่สุด?
ท่านตอบว่า أفضلُ الصَّدَقَة صَدَقَةٌ في رمضان))؛ )) ศ่อดะเกาะฮ์ในเดือนร่อมะฎอน”
(โดยอัตติรมีซีย์)
4. เลี้ยงอาหารละศีลอดแก่ผู้ที่ถือศีลอด
{وَيُطْعِمُونَ الطَّعَامَ عَلَى حُبِّهِ مِسْكِينًا وَيَتِيمًا وَأَسِيرًا * إِنَّمَا نُطْعِمُكُمْ لِوَجْهِ اللَّهِ لا نُرِيدُ مِنْكُمْ جَزَاءً وَلا شُكُورًا * إِنَّا نَخَافُ مِنْ رَبِّنَا يَوْمًا عَبُوسًا قَمْطَرِيرًا * فَوَقَاهُمُ اللَّهُ شَرَّ ذَلِكَ الْيَوْمِ وَلَقَّاهُمْ نَضْرَةً وَسُرُورًا * وَجَزَاهُمْ بِمَا صَبَرُوا جَنَّةً وَحَرِيرًا} [الإنسان: 8-12]
“และพวกเขาให้อาหารเนื่องด้วยความรักต่อพระองค์แก่คนยากจน เด็กกำพร้าและเชลยศึก
(พวกเขากล่าวว่า) แท้จริงเราให้อาหารแก่พวกท่าน โดยหวังความโปรดปรานของอัลลอฮฺ เรามิได้หวังการตอบแทนและการขอบคุณจากพวกท่านแต่ประการใด
แท้จริงเรากลัวต่อพระเจ้าของเราซึ่งเป็นวันแห่งหน้านิ่วคิ้วขมวดและแสนสาหัส
ดังนั้น อัลลอฮฺจะทรงปกป้องพวกเขาให้พ้นจากความชั่วร้ายของวันนั้น และจะทรงให้พวกเขาพบกับความสดชื่นและความปิติ
และพระองค์จะทรงตอบแทนแก่พวกเขาด้วยสวนสวรรค์ และอาภรณ์ไหมแพรเนื่องเพราะพวกเขาอดทน”
แน่นอนบรรดาชาวสลัฟซอแหละฮฺส่งเสริมให้อาหารแก่ผู้ที่ละศีลอด ให้กับบรรดาผู้ที่ทำอิบาดะอย่างมากมาย เพื่อทำให้คนหิวอิ่มท้องมอบให้พี่น้องที่ดี โดยไม่มีเงื่อนไขว่าจะต้องให้คนยากจนอย่างเดียว ท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
((أيُّما مؤمنٍ أطعم مؤمنًا على جوعٍ؛ أطعمه الله من ثمار الجنَّة، ومن سقى مؤمنًا على ظمأ؛ سقاه الله من الرَّحيق المختوم))؛ رواه التِّرْمِذِيُّ بسندٍ حَسَنٍ.
“ผู้ศรัทธาคนใดให้อาหารแก่ผู้ศรัทธาอีกคนที่เขาหิว แน่นอนอัลลอฮฺ ประทานอาหารซึ่งเป็นผลไม้ชนิดหนึ่งในสวนสรรค์ ใครได้น้ำดื่มแก่ผู้ศรัทธาที่กำลังกระหายน้ำนั้น แน่นอนอัลลอฮฺทรงประทาน ร้อฮิกกิล มักตูม คือ น้ำเหล้าชั้นเลิศ ให้แก่เขาจากสวนสรรค์”
ท่านอิบนุมัสฮูด ท่านมูญาฮิด อิบนุอับบาส กล่าวว่า الرَّحيق المختوم คือชื่อชนิดหนึ่งของเหล้าในสวนสวรรค์
ปรากฏว่าชาวสลัฟนั้นชอบจะให้อาหารพี่น้องของเขา นั่งร่วมวงกับเขาบริการ เสริฟให้แก่เขา เช่นฮาซัน อิบนุ มูบาร็อก
ท่านอบู ซาวาร อัลอาดาวีย์ กล่าวว่า บรรดาผู้ชายชาวเผ่า อาดี้ย์ ละหมาดกันที่มัสยิด พวกเขาจะไม่ละศีลอดเพียงลำพังเว้นแต่มีคนนั่งร่วมกับพวกเขาด้วย คือพวกเขาชอบนำอาหารไปยังมัสยิดเพื่อให้คนอื่นได้ละศีลอดด้วย และรับประทานอาหารพร้อมกับพวกเขา
การให้อาหารนั้นทำให้เกิดการทำอิบาดะฮ์หลายอย่างในครั้งเดียวกัน เช่น เกิดความรักระหว่างพี่น้อง ช่วยเหลือผู้อื่น ดังกล่าวนี้แหละสาเหตุของการเข้าสวนสวรรค์ของอัลลอฮฺ
ท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
((لا تدخلوا الجنَّة حتى تؤمنوا، ولا تؤمنوا حتى تحابُّوا))؛ رواه مُسْلِمٌ.
“พวกท่านยังไม่เข้าสวรรค์ จนกว่าจะศรัทธา และพวกท่านจะยังไม่ศรัทธาจนกว่า พวกท่านนั้นจะรักกัน”
ท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
. : " مَنْ فَطَّرَ صَائِمًا كَانَ لَهُ مِثْلُ أَجْرِهِ غَيْرَ أَنَّهُ لا يَنْقُصُ مِنْ أَجْرِ الصَّائِمِ شَيْئًا رواه الترمذي
“ผู้ใดก็ตามที่ให้อาหารละศีลอดแก่ผู้ถือศีลอดคนหนึ่ง เขาก็จะได้รับผลบุญเช่นเดียวกับที่ผู้ถือศีลอดได้รับ โดยที่ผลบุญของผู้ถือศีลอดนั้นไม่มีการลดหย่อนแม้แต่น้อย”
5. การอ่านกรุอ่านให้มากๆ
ส่งเสริมแก่พี่น้องมุสลิมทั้งหลาย จะต้องอ่านอัลกรุอ่านให้มาก พิจารณาถึงความหมาย อ่านอย่างมีสมาธิ สงบนิ่ง แน่นอนบรรดาชาวสลัฟนั้นพวกใคร่ครวญอัลกรุอ่านอย่างมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเดือนอันประเสริฐนี้
อัลเลาะฮ์ได้ประทานอัลกุรอานให้แก่ท่านนะบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม และทำให้มันมีความพิเศษกว่าคืนอื่นๆ ทั่วไป พระองค์ได้ทรงตรัส ชัดเจนถึงเรื่องนี้ในอัลกุรอาน และอธิบายลักษณะของมันว่ามีความบะร่อกะฮ์ และดีกว่าคืนอื่นๆ ถึง หนึ่งพัน เดือน
อัลเลาะฮ์ ตรัสว่า
إِنَّا أَنْزَلْنَاهُ فِي لَيْلَةٍ مُبَارَكَةٍ إِنَّا كُنَّا مُنْذِرِينَ
“แท้จริง เราได้ประทานอัลกุรอานลงมาในคืนอันจำเริญ แท้จริงเราเป็นผู้ตักเตือน”
[อัดดุคอน: 3]
และพระองค์ตรัสเช่นกันว่า
إِنَّا أَنْزَلْنَاهُ فِي لَيْلَةِ الْقَدْر
“แท้จริงเราได้ประทานอัลกุรอานลงมาในคืน อัลก็อดร์ ”
[อัลก็อดร์: 1]
ส่วนหนึ่งจากแบบอย่างอันดีงามของชาวสะลัฟ ( ริฎวานุลลอฮิอะลัยฮิม) ก็คือการพยายามที่จะค่อตัมอัลกุรอานในเดือนร่อมะฎอน เพื่อเป็นการระลึกถึงท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ ศ็อลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม มีรายงานจากท่านอิบนุอับบาส ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุมา ว่า
“แท้จริงท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม นั้นอัลกุรอานจะถูกนำเสนอแก่ท่านหนึ่งครั้งในทุกร่อมะฎอน นอกจากปีที่ท่านเสียชีวิต โดยในปีนั้นอัลกุรอานถูกนำเสนอ(ทบทวน)ให้แก่ท่านสองครั้ง”
(รายงานโดยอัลบุคอรีย์)
มีรายงานจานท่าน อบีฮูรอยเราะ กล่าวใน ขณะที่โองการนี้ลงมา
{أَفَمِنْ هَذَا الْحَدِيثِ تَعْجَبُونَ * وَتَضْحَكُونَ وَلا تَبْكُونَ} [النجم: 59]
“ พวกเจ้ายังคงแปลกใจต่อคำกล่าวนี้อีกหรือ? และพวกเจ้ายังคงหัวเราะ และยังไม่ร้องไห้ !”
ครั้นเมื่อได้ยินโองการนี้ ทำให้ชาวอะลุลซุฟฟะ(คนยากจนไม่มีที่พักอาศัย มาอาศัยนอนในมัสยิดนบี) ถึงกับร้องไห้จนน้ำตาอาบแก้มทั้งสอง เมื่อท่านนร่อซูล ได้ยินเสียงการร้องไห้ของพวกเขาท่านนบีจึงร้องไห้เช่นกัน เราได้ร้องไห้จากการร้องไห้ของพวกเขา
ท่านนบีกล่าวว่า
((لا يَلِجُ النَّار مَنْ بكى من خشية الله))؛ رواه التِّرْمِذِيُّ والنَّسائيُّ.
“ไฟนรกนั้นจะไม่ลิ้มรสบุคคลที่ร้องไห้อันเนื่องมาจากการเกรงกลัวอัลลอฮฺ”
6. นั่งในมัสยิดจนกระทั่งตะวันขึ้น
จากท่านญาบิร บุตร สะมุเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่
كَانَ النَّبِيُّ صَلى اللهُ عليهِ وَسَلَّم إِذَا صَلَّى الفَجْرَ جَلَسَ في مُصَّلاَهُ حَتىَّ تَطْلُعَ الشَّمْسُ
”เมื่อท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เสร็จสิ้นจากการละหมาดศุบห์(ญะมาอะฮฺที่มัสยิดของท่าน) ท่านจะนั่งอยู่กับที่ที่ท่านได้ทำการละหมาดกระทั่งมีแสงตะวันขึ้นชัดเจน”
(บันทึกโดยมุสลิม)
จากอะนัส เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า
مَنْ صَلَّى اْلفَجْرَ فِيْ جَمَاعَةٍ ثُمَّ قَعَدَ يَذْكُرُ اللهُ تَعالى حَتَّى تَطْلُعَ الشَّمْسُ، ثُمَّ صَلَّى رَكْعَتَيْنِ كَانَتْ كَأَجْرِ حَجَّةٍ وَعُمْرَةٍ تَامَّةً تَامَّةً تَامَّةً
“ผู้ใดที่ละหมาดศุบห์พร้อมญะมาอะฮ จากนั้นเขาได้นั่งซิกรุลลอฮฺ (รำลึกถึงอัลลอฮฺ) กระทั่งตะวันขึ้น หลังจากนั้นเขาได้ทำการละหมาดสองร็อกอะฮฺเป็นสุนัต(ฎุหา) เขาจะได้รับผลบุญเหมือนไปประกอบพิธีหัจญ์และอุมเราะฮฺที่สมบูรณ์ สมบูรณ์ และสมบูรณ์”
(หะดีษ หะสัน บันทึกโดย อัต-ติรมิซีย์ ท่านกล่าวว่า เป็นหะดีษหะสัน เฆาะรีบ และดูใน อัต-ตัรฆีบ วะ อัต-ตัรฮีบ)
ภาคผลที่เขาจะได้รับ หากเป็นเดือนรอมฎอนจะมากขนาดไหน !
7. การเอียะติกาฟ
และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสิบวันสุดท้ายของร่อมะฎอน เพราะการเอียะติกาฟในช่วงเวลาดังกล่าวนั้นเป็นซุนนะฮ์มุอักกะดะฮ์(มุ่งเน้นให้กระทำ) ที่ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้เคยปฏิบัติไว้
كان النبيُّ –صلَّى الله عليه وسلَّم - يعتكِف في كلِّ رمضان عشرة أيَّام، فلمَّا كان العام الذي قُبِضَ فيه؛ اعتكف عشرين يومًا))؛.
“แท้จริงท่านนะบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้ทำเอียะติกาฟสิบวันสุดท้ายของร่อมะฎอน ในช่วงปีสุดท้ายก่อนเสียชีวิตท่านทำ เอียะติกาฟ ยี่สิบวัน “
(อัลบุคอรีย์และมุสลิม)
أن النبي صلى الله عليه وسلم كان يعتكف العشر الأواخر من رمضان حتى توفاه الله ثم اعتكف أزواجه من بعده
“แท้จริงท่านนะบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้ทำเอียะติกาฟสิบวันสุดท้ายของร่อมะฎอนจนกระทั่งอัลเลาะฮ์ได้เอาชีวิตของท่านไป หลังจากนั้นบรรดาภรรยาของท่านก็ได้เจริญรอยตามท่าน”
(รายงานโดยอัลบุคอรีย์ มุสลิม)
8. การทำอุมเราะฮฺในเดือนเราะมะฎอน
ดังที่ท่านนบี ศ็อลลัลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า
«فَإِنَّ عُمْرَةً فِي رَمَضَانَ تَقْضِي حَجَّةً أَوْ حَجَّةً مَعِي»
"แท้จริง การทำอุมเราะฮฺในเดือนรอมฎอนเท่ากับการหัจญ์หรือการทำหัจญ์พร้อมกับฉัน"
(บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ และมุสลิม)
((عُمْرَةٌ في رمضان تَعْدِلُ حجَّة).
"แท้จริง การทำอุมเราะฮฺในเดือนรอมฎอนเท่ากับการหัจญ์ “
(บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ และมุสลิม)
9. แสวงหาค่ำคืนอัล-ก็อดรฺ
คืนอัล-ก็อดรฺประเสริฐกว่าหนึ่งพันเดือน ซึ่งเท่ากับแปดสิบสามปีกับอีกสี่เดือน ดังนั้นจึงส่งเสริมให้ลุกขึ้นในค่ำคืนนั้นเพื่อประกอบอิบาดะฮฺและหมั่นขอดุอาอ์ให้มาก
อัลลอฮฺได้ตรัสว่า
«إِنَّا أَنْزَلْنَاهُ فِي لَيْلَةِ الْقَدْرِ، وَمَا أَدْرَاكَ مَا لَيْلَةُ الْقَدْرِ، لَيْلَةُ الْقَدْرِ خَيْرٌ مِنْ أَلْفِ شَهْرٍ، تَنَزَّلُ الْمَلائِكَةُ وَالرُّوحُ فِيهَا بِإِذْنِ رَبِّهِمْ مِنْ كُلِّ أَمْرٍ، سَلامٌ هِيَ حَتَّى مَطْلَعِ الْفَجْرِ»
"แท้จริงเราได้ประทานอัลกุรอานลงมาในคืนอัล-ก็อดรฺ และอะไรเล่าจะทำให้เจ้ารู้ได้ว่าคืนอัล-ก็อดรฺนั้นคืออะไร คืนอัล-ก็อดรฺนั้นดียิ่งกว่าหนึ่งพันเดือน บรรดามลาอิกะฮฺและอัร-รูหฺ (ญิบรีล) จะลงมาในคืนนั้น โดยอนุมัติแห่งพระเจ้าของพวกเขาด้วยกิจการทุกประการ คืนนั้นมีความศานติจนกระทั่งรุ่งอรุณ"
(อัล-ก็อดรฺ : 1-5)
จากท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุ อันฮุ จากท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า
«مَنْ قَامَ لَيْلَةَ الْقَدْرِ إِيمَانًا وَاحْتِسَابًا غُفِرَ لَهُ مَا تَقَدَّمَ مِنْ ذَنْبِهِ»
"ใครก็ตามที่ยืนละหมาดในคืนอัลก็อดรฺด้วยใจที่ศรัทธาและหวังผลตอบแทนจากอัลลอฮฺ เขาจะถูกอภัยโทษในความผิดที่ผ่านมา"
(บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ และมุสลิม)
ปรากฏว่าท่านนบี ส่งเสริมแสวงหาค่ำคืนอัล-ก็อดรฺ กำชับให้บรรดาศ่อฮาบะและปลุกลูกและครอบครัว หวังจะได้รับความดีในค่ำคืนนี้ ซึ่งมันจะอยู่ในช่วงสิบคืนสุดท้ายของเดือนรอมฏอน ค่ำคืนเลขคี่
จากท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุ อันฮา ได้กล่าวว่า ฉันได้กล่าวว่า โอ้ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ท่านมีความคิดอย่างไรเมื่อฉันรู้สึกว่าเป็นคืนไหนเป็นคืนอัลก็อดรฺ ฉันจะกล่าวว่าอะไรดี ?
ท่านตอบว่า เธอจงกล่าวว่า
«اَللهُّمَّ إِنَّكَ عَفُوٌّ كَرِيْمٌ تُحِبُّ العَفْوَ فَاعْفُ عَنِّي»
"โอ้อัลลอฮฺ แท้จริงพระองค์นั้นทรงเป็นผู้ที่อภัยโทษ ทรงเป็นผู้ที่กรุณาเผื่อแผ่ พระองค์ทรงโปรดการอภัยโทษ ดังนั้นจงอภัยโทษให้แก่ข้าด้วยเถิด"
(เศาะฮีหฺ บันทึกโดยอัต-ติรมิซีย์)
10. การรำลึกถึงอัลลอฮฺ ขอดุอา ขออภัยโทษ
พี่น้องมุสลิมทั้งชายและหญิง จงใช้โอการในเดือนอันประเสริฐ เวลาอันมีเกียรติ ด้วยการรำลึกถึงอัลลอฮฺ ขออภัยโทษให้มากมายโดยเฉพาะช่วงเวลาที่อัลลอฮฺทรงตอบรับดุอาและการขออภัยโทษ
การขอดุอาในขณะละศีลอด
إنَّ للصائمِ عند فِطْرِهِ دَعْوَةً ما تُرَدُّ "
“แท้จริงสำหรับผู้ที่ละศีลอดนั้น ดุอาของเขาจะถูกตอบรับ”
( บัยฮากีม)
การขอดุอาในยามดึกช่วงสุดท้ายในค่ำคืน
มีหะดีษจำนวนมากจากท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ที่ยืนยันในเรื่องของการลงมาของอัลลอฮฺ คือ คำกล่าวของท่านบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ที่ว่า :
«ينزل ربنا إلى سماء الدنيا كل ليلة حين يبقى ثلث الليل الآخر فيقول من يدعوني فأستجيب له من يسألني فأعطيه من يستغفرني فأغفر له»
"พระผู้อภิบาลของเราจะลงมายังฟากฟ้าของดุนยาในทุกๆ คืนในช่วงหนึ่งส่วนสามสุดท้ายของกลางคืน และจะมีดำรัสว่า ผู้ใดที่วิงวอนข้า ข้าจะตอบรับเขา ผู้ใดที่ขอข้า ข้าจะให้เขา ผู้ใดที่ขออภัยโทษต่อข้า ข้าจะอภัยให้เขา"
(บุคครีย์ มุสลิม)
การขออภัยโทษในยามรุ่งสาง
อัลลอฮฺ ตรัสว่า
وَبِالْأَسْحَارِ هُمْ يَسْتَغْفِرُونَ [الذاريات: 18].
“และในยามรุ่งสางพวกเขาขออภัยโทษ(ต่อพระองค์)”
การขอดุอาในช่วงเย็นของวันศุกร์
ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม ได้พูดถึงวันศุกร์ แล้วท่านก็กล่าวว่า
«فِيهِ سَاعَةٌ لاَ يُوَافِقُهَا عَبْدٌ مُسْلِمٌ وَهُوَ قَائِمٌ يُصَلِّي يَسْأَلُ اللَّهَ تَعَالَى شَيْئًا إِلاَّ أَعْطَاهُ إِيَّاهُ»
“ในวันนั้นมีช่วงเวลาหนึ่ง ซึ่งไม่มีบ่าวมุสลิมคนใดที่กำลังยืนละหมาดและขอดุอาอ์ให้อัลลอฮฺ ประทานสิ่งหนึ่งสิ่งใดในช่วงที่ตรงกับเวลานั้น นอกจากอัลลอฮฺจะทรงประทานสิ่งนั้นให้แก่เขา”
และท่านนบี ให้สัญญานด้วยมือของท่านว่ามันเป็นช่วงเวลาอันน้อยนิด
(รายงานโดยอัล-บุคอรีย์ และมุสลิม)
มีรายงานจากมาลิก เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า : ท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า :
الْتَمِسُوا السَّاعَةَ الَّتِي تُرْجَى فِي يَوْمِ الْجُمُعَةِ بَعْدَ الْعَصْرِ إِلَى غَيْبُوبَةِ الشَّمْسِ
“พวกท่านทั้งหลายจงแสวงหาช่วงเวลา (ที่ดุอาอฺจะถูกตอบรับ) ซึ่งที่หวังจะพบในวันศุกร์ หลังละหมาด อัศริจนถึงเวลาที่ดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า (เข้าเวลามัฆริบ) ”
(บันทึกโดยติรมิซียฺ)
ขอให้เราเป็นผู้หนึ่งที่อัลลอฮฺทรงตอบรับการงาน อามีน