การเนียตถือศีลอด
แปลและรวบรวมโดย อับดุลวาเฮด สุคนธา
แน่นอนว่า การตั้งเจตนาในเรื่องของอิบาดะฮ์นั้นเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมากในชีวิตของมุสลิมทุกๆคน เพราะนั้นคือการแสดงเจตนาอารมณ์ต่ออัลลอฮฺ หากว่าเจตนานั้นบริสุทธิใจเพื่ออัลลอฮฺ ปฏิบัติสิ่งที่ดีและละทิ้งสิ่งไม่ดี เท่ากับว่าเขานั้นได้ตอบสนองคำสั่งของพระองค์อย่างสมบูรณ์และหวังในผลตอบแทนเพื่อจะให้การปฏิบัตินั้นถูกต้องและถูกตอบรับ
{فَمَن كَانَ يَرْجُو لِقَاء رَبِّهِ فَلْيَعْمَلْ عَمَلًا صَالِحًا وَلَا يُشْرِكْ بِعِبَادَةِ رَبِّهِ أَحَدًا} (الكهف: 110).
“ดังนั้น ผู้ใดหวังที่จะพบพระผู้เป็นเจ้าของเขา ก็ให้เขาประกอบการงานที่ดี และอย่างตั้งผู้ใดเป็นภาคีในการเคารพภักดีต่อพระผู้เป็นเจ้าของเขาเลย”
แต่ถ้าหากบุคคลใดตั้งเจตนาไม่บริสุทธิ์ใจเพื่ออัลลอฮฺ การงานนั้นจะไม่ถูกตอบรับ ตั้งใจแบบไหนผลของมันจะออกมาแบบนั้น
ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า
إنَّمَا الأَعْمَالُ بِالنِّيَّاتِ، وَإِنَّمَا لِكُلِّ امْرِئٍ مَا نَوَى، فَمَنْ كَانَتْ هِجْرَتُهُ إلَى اللهِ وَرَسُولِهِ فَهِجْرَتُهُ إلَى اللهِ وَرَسُولِهِ، وَمَنْ كَانَتْ هِجْرَتُهُ لِدُنْيَا يُصِيبُهَا أَوْ امْرَأَةٍ يَنْكِحُهَا فَهِجْرَتُهُ إلَى مَا هَاجَرَ إلَيْهِ" .
““แท้จริงทุกๆการงานจะขึ้นอยู่กับการตั้งเจตนา และแท้จริงทุกๆคนจะได้รับ (การตอบแทน) ตามที่เขาได้เจตนาไว้
ดังนั้นผู้ใดที่การอพยพของเขามีเจตนาเพื่อ (แสวงหาความโปรดปรานจาก) อัลลอฮฺและรสูลของพระองค์ การอพยพของเขาก็จะกลับไปสู่ (ความโปรดปรานของ) อัลลอฮฺและรสูลของพระองค์
และผู้ใดที่การอพยพของเขามีเจตนาเพื่อ (ผลประโยชน์) ทางโลกที่เขาจะได้รับ หรือเพื่อหญิงนางหนึ่งที่เขาหวังจะแต่งงานด้วย การอพยพของเขาก็จะกลับคืนสู่สิ่งที่เขาได้อพยพไป (จะถูกพิจารณาตามที่เขาได้ตั้งเจตนาไว้)”
(”บันทึกโดย อัลบุคอรีย์, มุสลิม)
ความเห็นของปราช์ในเรื่องของการเนียตถือศีลอด
* มัสฮับฮานาฟีย์ กล่าวว่า
การเนียตนั้นถือว่าเป็นเงื่อนไขของการถือศีลอด ด้วยยืนยันจากหลักฐานของท่านนบี กล่าวว่า
"لا عمل لمن لا نية له"
“ไม่นับว่านี้คือ การปฏิบัติ สำหรับคนไม่มีการตั้งเจตนา (เนียต)”
เพราะการถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอนเป็นเรื่องอิบาดะฮ์ ฉะนั้นการกระทำจะต้องตั้งใจและบริสุทธิ์เพื่ออัลลอฮ์ หากไม่มีความบริสุทธิใจ แน่นอนว่า คนนั้นไม่ได้ตั้งใจเจตนา เช่นเดียวกัน การถือศีลอดจะต้องตั้งใจ เจตนา (เนียต)
{فَمَن شَهِدَ مِنكُمُ الشَّهْرَ فَلْيَصُمْهُ} (البقرة: 185).
“ดังนั้นผู้ใดในหมู่พวกเจ้าเข้าอยู่ในเดือนนั้นแล้ว ก็จงถือศีลอดในเดือนนั้น”
ในโองการนี้ เป็นคำสั่งใช้ให้มีการถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอนด้วยการตั้งเจตนา เพราะการเนียตนั้นคือเงื่อนไขสำคัญ เพื่อเป็นการเฉพาะเจาะจง จำแนก
* มัสฮับมาลิกีย์
การเนียตนั้นจะทำให้การถือศีลอดถูกต้อง ใช้ได้ ในการถือศีลอดทุกประเภท ทุกชนิด ทั้งวายิบ และสุนนะฮ์ และการบวชบนบาน
* มัสฮับ ชาฟีอีย์
การเนียตเป็นสิ่งวายิบในการถือศีลอด หากไม่เนียต ถือว่าการถือศีลอดใช้ไม่ได้
ท่านนบี กล่าวว่า
إنما أعمال بالنيات وإنما لكل امرء ما نوى
“แท้จริง การงานนั้น ตั้งอยู่บนการเจตนา และ ทุกกิจการงาน ขึ้นอยู่กับการเนียต”
(บันทึกโดย บุคครีย์)
ฉะนั้นการถือศีลอดจำเป็นจะต้องเนียตเช่นเดียวกับการละหมาด
* มัสฮับอิหม่าม อะหมัด
การเนียตเป็นสิ่งวายิบในการถือศีลอด หากไม่เนียต ถือว่าการใช้ไม่ได้ในการถือศีลอดทุกประเภท ชนิด ทั้ง วายิบและสุนนะฮ์ เพราะการถือศีลอดจำเป็นจะต้องเนียตเช่นเดียวกับการละหมาด
ท่านอิหม่ามอิบนุ ฮัซมิน กล่าวว่า การถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอนจะใช้ไม่ได้หากไม่มีการตั้งเนียต หรือเจตนา ใครก็ตามตั้งใจละทิ้ง ไม่เนียต การถือศีลอดของเขานั้นเสียทันที
จากบรรดาปวงปราช์ทั้งหมดมีความเห็นตรงกันว่า การตั้งเจตนา หรือ เนียตนั้นเป็นเงื่อนไขของการถือศีลอด มีการขัดแย้งกับท่านเดียว นั้นคือ ท่านอิหม่าม زفر มีความเห็นว่า การถือศีลอดนั้นไม่จำเป็นต้องตั้งเจตนา
จะตั้งเจตนา เนียตถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอน ทุกๆวัน หรือ เนียตเพียงครั้งเดียวหรือไม่
> มัสฮับฮานาฟีย์ กล่าวว่า การเนียตนั้นถือว่าเป็นเงื่อนไขของการถือศีลอด จำเป็นจะต้องเนียตทุกๆวันของเดือนเราะมะฎอน เพราะว่าจะต้องถือศีลอดทุกๆวัน การเนียตของวันนี้ไม่เกี่ยวข้องกับวันอื่นๆ หลักฐานจากคำกล่าวว่า (ของที่เสียในวันนี้ มันไม่ทำให้เสียในวันอื่น หรือของใช้ได้วันนี้ มันใช่ไม่ได้ในวันอื่น)เนียตของวันนี้ ใช้เฉพาะวันนี้ เท่านั้น เข้าใจง่าย ตั้งเจตนาทุกๆวันเพื่อถือศีลอด
> มัสฮับมาลิกีย์ หากมีการตั้งเจตนา เนียตว่าจะทำให้การถือศีลอดตลอดทั้งเดือนเราะมะฎอนตั้งแต่วันแรก ถือว่า ใช้ได้เพราะ การเนียตถือศีลอดนั้นมันจะใช้ได้ในเรื่องของเวลาที่เนียต
ท่านเชคอิบนุ อุษัยมีน มีความเห็นว่า การเนียตถือศีลอดตลอดทั้งเดือนถือว่าใช้ได้ ไม่ได้มีเงื่อนไขจะต้องตั้งเจตนาทุกๆวัน การเนียตในวันแรกของเดือนเราะมะฎอนถือว่าอนุญาต หากไม่มีอุปสรรคขัดระหว่างการถือศีลอด หากว่ามีอุปสรรคทำให้วันหนึ่งวันใดไม่สามารถถือศีลอดได้ ควรจะเริ่มเนียตใหม่ถือว่าสิ่งที่ดีกว่า
> มัสฮับ ชาฟีอีย์ การเนียตนั้นถือว่าสิ่งที่ จำเป็นจะต้องเนียตทุกๆวันของเดือนเราะมะฎอน เพราะว่าทุกๆวันนั้นคือการทำอิบาดะฮ์ที่เฉพาะเจาะจงของวันนั้น เริ่มตั้งแต่แสงฟะญัรขึ้นจนกระทั่งดวงอาทิตย์ตกดิน
> มัสฮับอิหม่าม อะหมัด สิ่งที่ถูกยอมรับคือการเนียตทุกๆวันของเดือนเราะมะฎอน หากจะต้องเจตนาถือศีลอดทั้งเดือนเลย สามารถทำให้ ถือว่าใช้ได้
ดร. อับดุลเราะมาน บิน ฮะซัน อัลนาฟีซะ กล่าวว่า หวังว่านี้คือคำตอบ หากอัลลอฮฺทรงประสงค์ ควรจะต้องเจตนา เนียตทุกๆวันของการถือศีลอด
เวลาของการตั้ง เจตนาในการถือศีลอด
มัสฮับฮานาฟีย์ กล่าวว่า เวลาของการเนียต เริ่มตั้งแต่เวลาก่อนแสงฟะญัรหากมีความสามารถ หรือตอนกลางคืนของวันนั้น
หากเนียตหลังจากแสงฟะญัรขึ้นนั้นถือว่า ไม่อนุญาตสำหรับการถือศีลอดชดใช้
หากเนียตถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอน หรือบวชสุนนะฮ์ การสามารถเนียตหลังจากแสงฟะญัรขึ้น ถือว่าใช้ได้
มัสฮับมาลิกีย์ หากเนียตหลังจากแสงฟะญัรขึ้นแล้ว ถือว่าใช้ไม่ได้ ไม่ว่าจะถือศีลอดอะไรก็ตาม ทั้งวายิบและสุนนะ
ท่านนบี กล่าววอีกว่า
مَنْ لَمْ يُجْمِعْ الصِّيَامَ قَبْلَ الْفَجْرِ فَلا صِيَامَ لَهُ} أخرجه النسائي
“สำหรับคนที่ไม่ได้ตั้งเจตนาในเวลาก่อนฟะญัรไม่ใช่การถือศีลอด”
ทัศนะที่มีน้ำหนัก นั้นคือ มัสอับของอิหม่ามชาฟีฮีย์
เวลาเนียตตั้งแต่กลางคืนของวันนั้นๆ
{ مَنْ لَمْ يُبَيِّتْ الصِّيَامَ مِنْ اللَّيْلِ فَلا صِيَامَ لَهُ} [رواه الدارقطني والبيهقي وصححه الألباني].
“ใครก็ตามไม่เจตนาจะถือศีลอดก่อนแสงฟะญัรขึ้น สำหรับเขานั้น ไม่นับว่าเขานั้นได้ถือศีลอด”
เชค อับดุลอาซีร บิน บาซ กล่าวว่า การตั้งเจตนาในช่วงกลางคืนของวันนั้น หรือใกล้เวลาฟะญัร จะตั้งเจตนา ช่วงใด ก็ของคืนนั้นเพื่อถือศีลอดในวันพรุ่งนี้
ท่านอิหม่ามอะหมัด กล่าวว่า ผู้ที่จะถือศีลอดจะต้องตั้งเจตนาในคืนนั้นของบวชในวันพรุ่งนี้
ดร. อับดุลเราะมาน บิน ฮะซัน อัลนาฟีซะ กล่าวว่า หวังว่านี้คือคำตอบ หากอัลลอฮฺทรงประสงค์ ในสามมัสฮับมีความเห็นตรงกัน ซึ่งขัดแย้งกับทัศนะของอิหม่ามอานีฟะฮ์ อนุญาตให้ตั้งเจตนาหลังจากแสงฟะญัรขึ้น
แท้จริงแล้วการตั้งเจตนานั้น เริ่มกลางคืนของวันนั้นจากหลักฐานของท่านหญิง ฮัฟเซาะฮ์
"مَنْ لَمْ يُبَيِّتْ الصِّيَامَ مِنْ اللَّيْلِ فَلا صِيَامَ لَهُ رواه الخمسة، ومال الترمذي والنسائ
“ใครไม่ได้ตั้งเจตนาถือศีลอดก่อนฟะญัร เท่ากับว่าเขานั้นไม่ได้ถือศีลอด”
เพราะการตั้งเจตนาในช่วงเวลากลางคืนนั้นเป็นการบ่งบอกความตั้งใจสำหรับผู้ที่ถือศีลอดในวันถัดมา มุ่งมั่นแสวงหาความโปรดปรานจาก อัลลอฮฺ ตะอาลา การถือศีลอดนั้นเริ่มต้นตั้งแต่ แสงตะวันขึ้นของเวลาฟะญัร
อัลลอฮ์ ตรัสว่า
{...وَكُلُواْ وَاشْرَبُواْ حَتَّى يَتَبَيَّنَ لَكُمُ الْخَيْطُ الأَبْيَضُ مِنَ الْخَيْطِ الأَسْوَدِ مِنَ الْفَجْرِ...} (البقرة: 187).
“และจงกิน และดื่ม จนกระทั่งเส้นขาว จะประจักษ์แก่พวกเจ้า จากเส้นดำ เนื่องจากแสงรุ่งอรุณ แล้วพวกเจ้าจงให้การถือศีลอดครบเต็มจนถึงพลบค่ำ”
จากตรงนี้รับรู้ว่า การตั้งเจตนานั้นจะต้องมีขึ้นก่อนการปฏิบัติ ไม่ใช่ใช่มีหลังจากการงานเริ่มไปแล้ว
♦ หากมีคนกล่าวว่า “พรุ่งนี้ ฉันจะถือศีลอด หากอัลลอฮฺทรงประสงค์ อินชาอัลลอฮฺ” การกล่าวในรูปแบบนี้ด้วยการใช้คำว่า หากอัลลอฮฺทรงประสงค์ เพื่อการเน้นย้ำความต้องการนั้นๆ การถือศีลอดของเขานั้นใช้ได้ เพราะการตั้งคำว่า อินชาอัลลอฮฺ สาเหตุการกำหนดเป๋าหมายอย่างแน่นอน แต่หากว่า ลังเล ไม่รู้ว่าจะถือศีลอดหรือไม่ถือศีลอด ในรูปแบบนี้ การถือศีลอดของเขานั้นใช้ไม่ได้ เพราะลังเล ไม่แน่ใจ ฉะนั้น การตั้งเจตนา จะต้องแน่นอน มั่นใจ หากใครที่นอนหลับไปตื่นขึ้นมาในสภาพดังกล่าว การถือศีลอดของเขาใช้ไม่ได้ เว้นแต่จะตื่นขึ้นก่อนฟะญัรเท่านั้น แล้วก็ตั้งเจตนา
♦ การนอนหลับด้วยการตั้งเจตนาไว้ หากว่าพรุ่งนี้วันแรกของเดือนเราะมะฎอนเขานอนหลับไป ถือว่าการศีลอดของเขาใช้ได้หรือไม่ ซึ่งมีการขัดแย้งใน สองทัศนะด้วยกัน จากรายงานของอิหม่ามอะหมัด เลือกความเห็นของ ท่านเชคอิสลามอิบนุ ตัยมียะ กล่าวว่า
การถือศีลอดของเขานั้นถูกต้อง ถ้าชายคนหนึ่งตั้งใจถือศีลอด คิดว่าในวันพรุ่งนี้คือวันแรกของเดือนเราะมะฎอน เพราะนี้คือการสงสัยว่าวันพรุ่งนี้คือวันแรกของเดือนเราะมะฎอนหรือไม่ ไม่ได้สงสัยในเรื่องการเนียต แต่อย่างใดทั้งสิ้น คือ มั่นใจแน่หากว่าพรุ่งนี้คือวันแรกของการถือศีลอด
สรุป การตั้งเจตนานั้นคือ เงื่อนไขการถือศีลอดที่ทำให้การงานนั้นถูกต้อง ไม่ว่าการถือศีลอดวายิบและสุนนะ เช่นเดียวกับการละหมาดและอิบาดะฮ์อื่นๆ ใครตั้งใจละทิ้งการเนียตแน่นอนการถือศีลอดของเขานั้นใช้ไม่ได้ จำเป็นจะต้องเนียตทุกๆวันของการถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอน ส่วนเวลาของการตั้งเจตนา คือ ช่วงเวลากลางคืนของวันนั้น