คุณลักษณะที่ไม่ดีของมนุษย์ในอัลกรุอ่าน
  จำนวนคนเข้าชม  14542


คุณลักษณะที่ไม่ดีของมนุษย์ในอัลกรุอ่าน

 

เรียบเรียง อับดุลวาเฮด สุคนธา

 

          คุณลักษณะต่างๆของมนุษย์ในอัลกรุอ่านที่อัลลอฮฺทรงสร้างขึ้นมาตั้งแต่ท่านนบีคนแรกนั้นคือ ท่านนบีอาดัม อะลัยฮิสลาม โดยที่พระองค์ทรงเป่าวิญญาณและให้ความรักทั้งสองโดยการสร้างคู่ครองให้กับท่าน คือท่านหญิงฮาวาและให้เขาทั้งสองพำนักอยู่ในสวนสวรรค์อันรื่นรมย์ และทรงให้เขาทั้งสองออกจากสวนสวรรค์เพราะการฝ่าฝืนต่อคำสั่งของพระองค์ และพระองค์ทรงให้เขาลงมาใช้ชีวิตบนโลกดุนยานี้ตามคำบัญชาของพระองค์ และพระองค์ได้กล่าวถึงคุณลักษณะต่างๆของมนุษย์มากมายที่ปรากฏอยู่ในพระมหาคำภีร์อัลกรุอ่าน

 

 คุณลักษณะต่างๆที่ไม่ดีของมนุษย์ 

 

♣ ความอ่อนแอ

 

          อัลลอฮฺทรงสร้างมนุษย์ในสภาพที่อ่อนแอ ทั้งร่างกาย จิตใจแลสติปัญญา โดยเฉพาะอยู่ในสภาวะวัยชรา ผู้ป่วย เหนื่อยล้า

يُرِيدُ اللَّهُ أَنْ يُخَفِّفَ عَنْكُمْ وَخُلِقَ الْإِنْسَانُ ضَعِيفًا)'" [النساء:28].

อัลลอฮฺ ทรงปรารถนาที่จะผ่อนผันให้แก่พวกเจ้า และ มนุษย์นั้นถูกบังเกิดขึ้นในสภาพที่อ่อนแอ

 

♣ การหลงลืม

 

          หนึ่งในบทลงโทษของท่านนบีอาดัมกับท่านหญิงฮาวา ที่ถูกทำให้ออกจากสวนสวรรค์ มาจากสาเหตุการหลงลืมจากคำสั่งของอัลลอฮฺ ห้ามมิให้กินผลไม้ต้นหนึ่งในสวรรค์ ฮิบลิสกระชิบกระซาบ ยุแหย่ต่างๆ นานา อัลลออฺทรงกล่าเอาไว้ในซูเราะห์ ตอฮา อายะ 120 121

وَسْوَسَ إِلَيْهِ الشَّيْطَانُ قَالَ يَا آدَمُ هَلْ أَدُلُّكَ عَلَى شَجَرَةِ الْخُلْدِ وَمُلْكٍ لّا يَبْلَى

     “ต่อมาชัยฏอนมารร้ายได้กระซิบกระซาบเขา มันกล่าวว่าอาดัมเอ๋ย ฉันจะชี้แนะแก่ท่านไปยังต้นไม้ที่อยู่เป็นนิจตลอดกาลและการมีอำนาจที่ไม่สูญสลายเอาไหม?”

فَأَكَلا مِنْهَا فَبَدَتْ لَهُمَا سَوْآتُهُمَا وَطَفِقَا يَخْصِفَانِ عَلَيْهِمَا مِن وَرَقِ الْجَنَّةِ وَعَصَى آدَمُ رَبَّهُ فَغَوَى

     “ดังนั้น เขาทั้งสองจึงกินจากต้นไม้นั้น สิ่งพึงสงวนของทั้งสองจึงถูกเผยแก่เขาทั้งสอง เขาทั้งสองจึงเริ่มเอาใบไม้ของสวนนั้นมาปกปิดบนตัวของเขาทั้งสอง และอาดัมได้ฝ่าฝืนพระเจ้าของเขา เขาจึงหลงผิด

 

♣ การรีบเร่ง รีบร้อน

 

อัลลอฮฺกล่าวว่า

( خُلِقَ الْإِنسَانُ مِنْ عَجَلٍ ۚ سَأُرِيكُمْ آيَاتِي فَلَا تَسْتَعْجِلُونِ) [الأنبياء:37]

มนุษย์ถูกสร้างขึ้นมาด้วยความรีบร้อน ข้าจะแสดงสัญญาณต่าง ของข้าให้พวกเจ้าเห็น ฉะนั้นพวกเจ้าอย่าได้เร่งข้าเลย

          ความผิดโดยส่วนมากของมนุษย์มักจะเกิดขึ้นจะการรีบร้อน ไม่ทันคิด ขาดความอดทนต่อเรื่องที่เกิดขึ้น ความรีบร้อนนำไปสู่ความหายนะและผลเสียมากมาย

 

          อัร-รอฆีบ ได้กล่าวว่า : ความรีบร้อน คือ การอยากได้สิ่งหนึ่งและพยายามให้ได้รับก่อนถึงเวลาของมัน ซึ่งเป็นความกดดันทางอารมณ์อย่างหนึ่ง ฉะนั้นจึงถูกจัดให้เป็นคุณลักษณะที่ไม่ดีที่มีระบุในคัมภีร์อัลกุรอาน กระทั่งได้รับการขนานนามว่าการรีบร้อนลุกลี้ลุกลนนั้นเกิดจากชัยฏอน

(ดู มุอฺญัม มุฟเราะดาต อัลฟาซ อัลกุรอ่าน)

"ความสุขุมรอบคอบมาจากพระองค์อัลลอฮฺ ส่วนความเร่งร้อน เร่งรีบ ลุกลี้ลุกลนมาจากชัยฏอน” 

(มุสนัด อบียะอฺลาอัล-อัลบานียฺหะดีษเศาะฮีหฺ)

 

♣ การโต้เถียง ตอบโต้

 

(وَلَقَدْ صَرَّفْنَا فِي هَٰذَا الْقُرْآنِ لِلنَّاسِ مِن كُلِّ مَثَلٍ ۚ وَكَانَ الْإِنسَانُ أَكْثَرَ شَيْءٍ جَدَلًا)"' [الكهف:54].

และเราได้ชี้แจงแก่มนุษย์ในอัลกรุอานนี้แต่ละตัวอย่าง แต่มนุษย์นั้นชอบโต้เถียงในเรื่องต่างๆ เป็นส่วนใหญ่

 

♣ ความโง่เขลา

 

          มนุษย์มักจะอธรรมต่อตัวเขาเองเพราะเกิดจากความไม่รู้และโง่เขลาในหลักการศาสนาอย่างมากมาย เช่นการตั้งภาคีต่ออัลลอฮฺโดยไม่เกรงกลัวการลงโทษ

{وَحَمَلَهَا الْإِنسَانُ إِنَّهُ كَانَ ظَلُومًا جَهُولًا} (72) الأحزاب

และมนุษย์ได้แบกรับมัน แท้จริงเขา (มนุษย์) เป็นผู้อธรรม งมงายยิ่ง

 

อัร-รอฆีบ ได้กล่าวว่า ความโง่นั้นมี สามชนิดด้วยกัน

♦ โง่เพราะไม่มีความรู้

♦ โง่เพราะเชื่อต่อสิ่งที่ค้านหลักการของศาสนา

♦ โง่เพราะดื้อดึง คิดว่าในสิ่งที่ตัวเองทำนั้นถูกต้อง คิดว่ามีความเชื่อที่ถูกต้อง

 

{أَتَتَّخِذُنَا هُزُواً قَالَ أَعُوذُ بِاللّهِ أَنْ أَكُونَ مِنَ الْجَاهِلِينَ} البقرة (67).

     “พวกเขากล่าวว่า ท่านจะถือเอาพวกเราเป็นที่ล้อเล่นกระนั้นหรือ

     มูซากล่าวว่า ฉันขอความคุ้มครองต่ออัลลอฮฺให้พ้นจากการที่ฉันจะเป็นพวกโง่เขลาเบาปัญญา

{فَتَبَيَّنُوا أَن تُصِيبُوا قَوْماً بِجَهَالَةٍ} الحجرات (6)

     “พวกเจ้าก็จงสอบสวนให้แน่ชัด หาไม่แล้วพวกเจ้าก็จะก่อเคราะห์กรรมแก่พวกหนึ่งโดยไม่รู้ตัว

 

♣ ความตระหนี่ขี้เหนียว

 

          การตระหนี่ ขี้เหนียว คือการรักในทรัพย์สิน ไม่ยอมใช้จ่าย บริจาคไปในหนทางของอัลลอฮฺ ทั้งๆที่สิ่งนั้นล้วนแล้วมาจากความเมตตาของอัลลอฮฺทั้งสิ้น

พระองค์อัลลอฮฺ ศุบฮานะฮูวะตะอาลา ตรัสว่า

وَالَّذِينَ إِذَا أَنفَقُوا لَمْ يُسْرِفُوا وَلَمْ يَقْتُرُوا وَكَانَ بَيْنَ ذَٰلِكَ قَوَامًا

"และบรรดาผู้ที่เมื่อพวกเขาใช้จ่าย พวกเขาก็ไม่สุรุ่ยสุร่าย และไม่ตระหนี่

และระหว่างทั้งสองสภาพนั้น พวกเขาอยู่สายกลาง

(อัลกุรอาน สูเราะฮฺอัล-ฟุรกอน 25:67)

และพระองค์ตรัสอีกว่า

وَلَا يَحْسَبَنَّ الَّذِينَ يَبْخَلُونَ بِمَا آتَاهُمُ اللَّهُ مِن فَضْلِهِ هُوَ خَيْرًا لَّهُم ۖ بَلْ هُوَ شَرٌّ لَّهُمْ ۖ سَيُطَوَّقُونَ مَا بَخِلُوا بِهِ يَوْمَ الْقِيَامَةِ وَلِلَّهِ مِيرَاثُ السَّمَاوَاتِ وَالْأَرْضِ ۗ وَاللَّهُ بِمَا تَعْمَلُونَ خَبِيرٌ

     “และบรรดาผู้ที่ตระหนี่ในสิ่งที่อัลลอฮฺได้ประทานแก่พวกเขาจากความกรุณาของพระองค์นั้น จงอย่าได้คิดเป็นอันขาดว่าเป็นการดีแก่พวกเขา หากแต่มันเป็นความชั่วแก่พวกเขา

     พวกเขาจะถูกคล้องสิ่งที่พวกเขาตระหนี่มันไว้ในวันกิยามะฮฺ และสำหรับอัลลอฮฺนั้นคือมรดกแห่งชั้นฟ้าและแผ่นดิน และอัลลอฮฺนั้นเป็นผู้ทรงรอบรู้อย่างละเอียดในสิ่งที่พวกเจ้ากระทำกัน

 ( ซูเราะฮฺ อาลิอิมรอน อายะฮฺที่ 180 )

قُل لَّوْ أَنتُمْ تَمْلِكُونَ خَزَائِنَ رَحْمَةِ رَبِّي إِذًا لَّأَمْسَكْتُمْ خَشْيَةَ الْإِنفَاقِ وَكَانَ الْإِنسَانُ قَتُورًا

     “จงกล่าวเถิดมุฮัมมัด หากพวกท่านครอบครองขุมแห่งความเมตตาของพระเจ้าของฉัน เมื่อนั้นพวกท่านก็จะหน่วงเหนี่ยวมันไว้ เพราะกลัวการบริจาค และมนุษย์นั้นเป็นคนตระหนี่

ท่านนบี ได้กล่าวว่า

«وَاتَّقُوا الشُّحَّ فَإِنَّ الشُّحَّ أَهْلَكَ مَنْ كَانَ قَبْلَكُمْ »

และจงระวังความตระหนี่ เพราะแท้จริงความตระหนี่นั้นได้ทำลายประชาชาติก่อนหน้าพวกท่านมาแล้ว” 

( บันทึกโดยมุสลิม)

 

♣ สิ้นหวัง

 

          สิ่งที่เรามักจะเห็นได้บ่อยครั้งจากลักษณะของมนุษย์เมื่อเจอปัญหา นั้นคือ ความสิ้นหวังในสิ่งนั้นๆ เมื่อเขาไม่ได้ตามใจปราถนาก็มักจะหมดหวังต่อความเมตตาของพระเจ้า

(وَإِذَا أَنْعَمْنَا عَلَى الْإِنْسَانِ أَعْرَضَ وَنَأَى بِجَانِبِهِ وَإِذَا مَسَّهُ الشَّرُّ كَانَ يَئُوساً)"' [الإسراء:83].

     “และเมื่อเราให้ความโปรดปรานแก่มนุษย์เขาเหินห่างและปลีกตัวออกไปข้าง และเมื่อความชั่วประสบแก่เขา เขาก็เบื่อหน่ายหมดอาลัย

 

♣ การปฏิเสธ ดื้อดึง

 

การปฏิเสธและดื้อดึงต่ออัลลอฮฺ ไม่ยอมเชื่อฟังและศรัทธาในคำสั่งของพระองค์

وَإِنَّا إِذَا أَذَقْنَا الْإِنْسَانَ مِنَّا رَحْمَةً فَرِحَ بِهَا وَإِنْ تُصِبْهُمْ سَيِّئَةٌ بِمَا قَدَّمَتْ أَيْدِيهِمْ فَإِنَّ الْإِنْسَانَ كَفُورٌ} [الشورى: 48

     “และแท้จริง ถ้าเราจะให้มนุษย์ลิ้มรสความเมตตาจากเรา เขาก็จะยินดีปรีดาต่อความเมตตานั้น และหากเคราะห์กรรมประสบแก่พวกเขา เนื่องจากน้ำมือของพวกเขาได้ประกอบเอาไว้ ดังนั้น แน่นอนมนุษย์นั้นเป็นผู้เนรคุณเสมอ

وَمِنَ النَّاسِ مَن يَتَّخِذُ مِن دُونِ اللّهِ أَندَاداً يُحِبُّونَهُمْ كَحُبِّ اللّهِ وَالَّذِينَ آمَنُواْ أَشَدُّ حُبًّا لِّلّهِ وَلَوْ يَرَى الَّذِينَ ظَلَمُواْ إِذْ يَرَوْنَ الْعَذَابَ أَنَّ الْقُوَّةَ لِلّهِ جَمِيعاً وَأَنَّ اللّهَ شَدِيدُ الْعَذَابِ

     “และในหมู่มนุษย์นั้น มีผู้ที่ยึดถือบรรดาภาคี อื่นจากอัลลอฮ์ ซึ่งพวกเขารักภาคีเหล่านั้นเช่นเดียวกับรักอัลลอฮ์ แต่บรรดาผู้ศรัทธานั้นเป็นผู้ที่รักอัลลอฮ์มากยิ่งกว่า

     “และหากบรรดาผู้อธรรมจะได้เห็น ขณะที่พวกเขาเห็นการลงโทษอยู่นั้น (แน่นอนพวกเขาจะต้องตระหนักดีว่า) แท้จริงอัลลอฮ์นั้นเป็นผู้ทรงลงโทษที่รุนแรง

وَاتَّقُواْ يَوْماً لاَّ تَجْزِي نَفْسٌ عَن نَّفْسٍ شَيْئاً وَلاَ يُقْبَلُ مِنْهَا شَفَاعَةٌ وَلاَ يُؤْخَذُ مِنْهَا عَدْلٌ وَلاَ هُمْ يُنصَرُونَ

     “และจงกลัวเกรงวันหนึ่ง ซึ่งไม่มีชีวิตใดจะตอบแทนสิ่งใดแทนอีกชีวิตได้ และการขอให้มีความช่วยเหลือใด ๆก็จะไม่ถูกรับจากชีวิตนั้น

     และค่าไถ่ถอนใด ก็จะไม่ถูกรับเอาจากชีวิตนั้นด้วย และทั้งพวกเขาก็จะไม่ได้รับความช่วยเหลือ

أَمْ نَجْعَلُ الَّذِينَ آمَنُوا وَعَمِلُوا الصَّالِحَاتِ كَالْمُفْسِدِينَ فِي الأَرْضِ أَمْ نَجْعَلُ الْمُتَّقِينَ كَالْفُجَّارِ [ص: 28].

     “จะให้เราปฏิบัติต่อบรรดาผู้ศรัทธาและกระทำความดีทั้งหลาย เช่นบรรดาผู้บ่อนทำลายในแผ่นดินกระนั้นหรือ ?

     หรือว่า จะให้เราปฏิบัติต่อบรรดาผู้ยำเกรง เช่น บรรดาคนชั่วกระนั้นหรือ ?”

أُوْلَئِكَ هُمُ الْكَفَرَةُ الْفَجَرَةُ [عبس: 42].

ชนเหล่านั้นคือพวกปฏิเสธศรัทธา พวกประพฤติชั่ว

إِنَّ الأَبْرَارَ لَفِي نَعِيمٍ وَإِنَّ الْفُجَّارَ لَفِي جَحِيمٍ [الانفطار: 13-14

แท้จริงบรรดาผู้ทรงคุณธรรมนั้นจะอยู่ในความโปรดปราน และแท้จริงบรรดาคนชั่วจะอยู่ในนรกที่ลุกโซน

 

♣ การอธรรม

 

وَآَتَاكُمْ مِنْ كُلِّ مَا سَأَلْتُمُوهُ وَإِنْ تَعُدُّوا نِعْمَةَ اللَّهِ لَا تُحْصُوهَا إِنَّ الْإِنْسَانَ لَظَلُومٌ كَفَّارٌ} إبراهيم: 34

     “และพระองค์ประทานแก่พวกเจ้าทุกสิ่งที่พวกเจ้าขอต่อพระองค์ และหากพวกเจ้าจะนับความโปรดปรานของอัลลลอฮแล้ว พวกเจ้าก็ไม่อาจจะคำนวณมันได้ แท้จริงมนุษย์นั้นอธรรมยิ่ง เนรคุณยิ่ง

 

♣ ความอิจฉา

 

พระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงสูงส่งทรงตรัสไว้ในโองการที่ 54 ของบทอันนิซาอ์ว่า

أَمْ يَحْسُدُونَ النَّاسَ عَلَىٰ مَا آتَاهُمُ اللَّهُ مِن فَضْلِهِ فَقَدْ آتَيْنَا آلَ إِبْرَاهِيمَ الْكِتَابَ وَالْحِكْمَةَ وَآتَيْنَاهُم مُّلْكًا عَظِيمًا

     “หรือว่าพวกเขาอิจฉามนุษย์ (มุฮัมมัดและวงศ์วานของเขา) ในสิ่งที่อัลลอฮ์ ประทานให้แก่พวกเขา จากความกรุณาของพระองค์

     แน่นอนเราก็ได้ประทานคัมภีร์และวิทยญาณให้แก่วงศ์วานของอิบรอฮีม (ซึ่งชาวยิวก็เป็นส่วนหนึ่งจากวงศ์วานของเขา)

     และมอบอำนาจปกครองอันยิ่งใหญ่แก่พวกเขา (ปวงศาสดาแห่งบนีอิสรออีล) มาแล้วเช่นกัน

ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า

لَا تَبَاغَضُوا وَلَا تَحَاسَدُوا وَلَا تَدَابَرُوا وَكُونُوا عِبَادَ اللَّهِ إِخْوَانًا

     "พวกท่านอย่าอิจฉาริษยาซึ่งกันและกัน อย่าโกรธกันและกัน อย่าผินหลังให้กันและกัน และพวกท่านจงเป็นบ่าวของอัลลอฮ์ ที่เป็นพี่น้องกัน

(รายงานโดย บุคอรีย์และมุสลิม)

ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวเช่นกันว่า

إِيَّاكُمْ وَالْحَسَدَ فَإِنَّ الْحَسَدَ يَأْكُلُ الْحَسَنَاتِ كَمَا تَأْكُلُ النَّارُ الْحَطَبَ

     "พวกท่านจงระวังความอิจฉาริษยา เพราะแท้จริงความอิจฉาริษยานั้นจะกัดกินบรรดาความดีงาม เหมือนกับที่ไฟกินฟืน

(รายงานโดย อบูดาวูด)

          ดังนั้น ความอิจฉาริษยาทำให้จิตใจหม่นหมอง อิสลามต่างส่งเสริมให้มุสลิมมีจิตใจที่บริสุทธิ์ต่อพี่น้องมุสลิมด้วยกัน ไม่ว่าทั้งภายนอกหรือภายใน และผู้ที่ไม่มีหัวใจบริสุทธิ์ปลอดภัยจากโรคร้ายต่าง ของหัวใจนั้น เขาจะไม่ได้รับความสำเร็จในโลกหน้า

 

♣ การโกหก

 

          การโกหกเป็นลักษณะนิสัยหนึ่งที่น่าตำหนิซึ่งอัลลอฮฺ ตะอาลาและเราะสูลของพระองค์ทรงสั่งห้ามอย่างเด็ดขาด โดยผู้ที่มีนิสัยดังกล่าวจะได้รับโทษอันแสนเจ็บปวดในอาคิเราะฮฺ อัลลอฮฺตรัสว่า:

وَيَجْعَلُونَ لِلَّهِ مَا يَكْرَهُونَ وَتَصِفُ أَلْسِنَتُهُمُ الْكَذِبَ أَنَّ لَهُمُ الْحُسْنَىٰ لَا جَرَمَ أَنَّ لَهُمُ النَّارَ وَأَنَّهُم مُّفْرَطُونَ

     "และพวกเขาตั้งสิ่งที่พวกเขาชิงชังให้อัลลอฮฺ และลิ้นของพวกเขากล่าวเท็จขึ้นว่า สำหรับพวกเขานั้นคือสิ่งที่ดีเยี่ยม

     โดยแน่นอนสำหรับพวกเขานั้นคือไฟนรก และพวกเขาจะถูกส่งล่วงหน้าไปก่อน

(อัน-นะหลฺ: 62)

إِنَّ اللَّهَ لَا يَهْدِي مَنْ هُوَ كَاذِبٌ كَفَّارٌ

แท้จริงอัลลอฮ์ไม่ทรงชี้นำแก่ผู้ที่มุสา อีกทั้งไร้ศรัทธา

(ซุมัร๓)

และตรัสอีกว่า:

فَمَنْ أَظْلَمُ مِمَّنِ افْتَرَىٰ عَلَى اللَّهِ كَذِبًا أَوْ كَذَّبَ بِآيَاتِهِ إِنَّهُ لَا يُفْلِحُ الْمُجْرِمُونَ

     "ดังนั้น ผู้ใดเล่าจะอธรรมยิ่งกว่าผู้กล่าวเท็จต่ออัลลอฮฺ หรือผู้ปฏิเสธบรรดาโองการของพระองค์ แท้จริงบรรดาผู้ทำผิดนั้นย่อมไม่บรรลุความสำเร็จ"

(ยูนุส: 17)

ท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ เล่าว่า ท่านนบี กล่าว

آية المنافق ثلاث: إذا حدث كذب وإذا وعد أخلف وإذا اؤتمن خان

"สัญลักษณ์ของผู้กลับกลอก (มุนาฟิก) มีสามประการ คือ

เมื่อเขาพูดเขาจะโกหก เมื่อเขาสัญญาเขาจะบิดพลิ้ว และเมื่อเขาได้รับอะมานะฮฺในสิ่งใดเขาก็จะคดโกง"

(บันทึกโดย อัล-บุคอรียและมุสลิม)