วิธีการสอนลูกในเดือนรอมฎอน
เขียนโดย อับดุลวาเฮด สุคนธา
เด็กที่มีอายุ 4-6 ปี
·♦ ผลวิจัยว่าเด็กช่วงวัยนี้มักจะเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติให้เห็นมากกว่ามานั่งมอง
·♦ เด็กจะเลียนแบบพฤติกรรมจากพ่อแม่โดยส่วนมาก
·♦ การถือศีลอดและการละหมาดควรจะปฏิบัติเป็นแบบอย่างแก่เด็กๆ เพื่อเสริมสร้างสติปัญญาการรับรู้ที่จะทำตาม
·♦ อย่าให้เด็กๆดูการตูนมากกว่าหนึ่งชั่วโมงต่อวัน ละทิ้งได้เป็นสิ่งที่ดีมาก
·♦ การดูการ์ตูนส่งผลการเลียนแบบของเด็กๆ ได้อย่างง่ายดาย
·♦ หากเด็กไม่รับทราบหลักการถือศีลอดในวัยเด็กจะส่งผลต่อเด็กในช่วงวัยที่โตแล้ว
เริ่มต้นเดือนรอมฎอนคือโอกาสดี จะฝึกฝนลูกๆของท่านให้เรียนรู้หลักการและบทบัญญัติของอิสลาม เช่น การละหมาด การถือศิลอด การอ่านกรุอ่าน
♣ ต้องฝึกลูกให้เรียนรู้เรื่องการละหมาด และการถือศิลอดในช่วงเดือนรอมฎอน และตลอดจนหลักการอื่นๆ ของศาสนา
♣ คนเป็นพ่อแม่ต้องวางแผนโปรแกรมให้กับลูกๆ โดยพยายามสรรหาการละเล่นที่แตกต่างโดยไม่ทำให้เด็กๆ นั้นรู้สึกเบื่อหน่าย
♣ สมควรมีของรางวัลสำหรับคนที่ทำงานได้สำเร็จ เช่น ใครถือศีลอดหนึ่งวันจะได้รางวัลชิ้นนี้ ใครที่ถือศิลอดหลายวันจะได้รางวัลแบบนี้ อย่างนี้ เพื่อกระตุ้นและฝึกเด็กๆได้อย่างดี ใครอ่านกรุอ่าน หนึ่งซูเราะห์ หรือ ท่องจำ กุลอุวัลลอฮฺอะหัดได้ ได้เงินหนึ่งร้อยบาท เป็นต้น
♣ กำหนดตารางกิจวัตร วางแผนหรือโปรแกรมประจำวันให้แก่ลูกๆ ระบุกิจวัตรประจำวันและกฎระเบียบให้ชัดเจน เช่น ทำตารางทั้งเดือนของการถือศิลอด สามสิบวัน หรือนับเป็นชั่วโมงในการฝึกให้ถือศิลอด เช่น วันนี้ ถือศิลอดได้ สามชั่วโมง ขีดไว้ในตาราง วันต่อมา ถือบวชได้ ห้าชั่วโมง จนเด็กสามารถฝึกถือบวชจนครบวันเต็มได้ อินชาอัลลอฮฺ หรือการงานอื่น การอ่านกรุอ่าน บริจาคทาน เป็นต้น
เด็กเรียนรู้จากการมองหรือการปฏิบัติให้เห็นมากกว่ากัน
เด็กที่มีอายุ 4-6 ปีส่วนเด็กในช่วงวัยนี้ จะเรียนรู้ด้วยวิธีการปฏิบัติให้เห็นมากกว่าการมอง เปรียบเทียบการดูคลิปวิดีโอเด็กคนหนึ่งดูคลิปวิดีโอเรียนรู้แต่ไม่รับการปฏิบัติให้เห็น แต่เด็กอีกคนเรียนรู้จากคลิปด้วยการปฏิบัติ ฝึกทำเพื่อเรียนรู้เลย ฉะนั้นฝึกฝนด้วยการปฏิบัติมีผลมากกว่าการมองดูอย่างเดียว
เช่นเดียวกัน หากว่าพ่อแม่ ฝึกฝนลูกๆในเรื่อง การละหมาด การถือศิลอด ควรจะทำให้ลูกเห็นเป็นแบบอย่างอยู่บ่อยครั้ง เช่น วิธีการอาบน้ำละหมาด วิธีการละหมาด หากว่าลูกทำผิดควรชี้แนะทันทีไม่ควรปล่อยเอาไว้ เพราะหากว่าไม่เตือนครั้งแรก เด็กๆอาจคิดว่า การทำที่ผ่านมานั้นถูกต้อง พยามทำซ้ำๆกันบ่อยครั้ง เพื่อให้ลูกนั้นติดและสามารถทำด้วยตัวเองได้
♣ ควรให้ลูกๆเด็กๆมีส่วนร่วมในการทำอิบาดะในเดือนรอมฎอน เพื่อเป็นสื่อการเรียนรู้ของเด็กๆ เช่น การเรียนรู้ในบ้าน มัสยิด เพื่อกวดขัน ฝึกฝนให้ปฏิบัติอิบาดะมากๆ เพราะมีผลต่อเด็กได้อย่างดีเยี่ยม เช่น การบริจาคอาหารละศิลอด การจ่ายซะกาต
จะต้องมีมาตราการบทลงโทษสำหรับเด็กในวัยนี้หรือไม่
สำหรับการลงโทษบังคับให้ถือบวชของเด็กในวัยนี้ถือว่าเป็นเรื่องยากที่จะให้เด็กนั้นถือบวชครบ ระหว่างอายุ สี่ปี แทนการลงโทษให้เด็กมองความสำคัญของการถือบวช และหากใครทิ้งบวชพระเจ้าไม่พอใจ หากใครถือบวชครบถ้วน พระเจ้าทรงตอบแทนมากกว่านี้หลายเท่า มากกว่ารางวัลที่พ่อแม่ให้เสียอีก นี้คือวิธีสอนสำหรับเด็กวัยนี้
พ่อแม่จะต้องเป็นตัวอย่างให้กับลูกๆจะได้เลียนแบบสิ่งเกี่ยวข้องการถือศีลอด
พ่อแม่คือหลักสำคัญจะต้องเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่ลูกๆ เพราะส่งผลอย่างมากต่อลูกๆ การประพฤติชองพ่อแม่ หากว่ามีแบบอย่างที่ดีมาจากพ่อแม่ ลูกๆจะดีไปด้วย หากว่ามีประพฤติที่ไม่ดีของพ่อแม่ ลูกจะมีประพฤติที่ไม่ดีตามไปด้วยเช่นกัน ส่วนมากเด็กจะมีความประพฤติกริยามารยาทตาม พ่อแม่ และพี่น้องคนอื่น พวกเขาเหล่านี้มีผลต่อสภาพแวดล้อมเป็นอย่างมากในการสอนและฝึกเด็กๆ เช่น ถามว่าวันนี้บวชได้กี่ชั่วโมงแล้ว ? พี่ชายถามว่า ถือศิลอดเพื่อใคร ? ลุงถามว่า หนูบวชเกินครึ่งวันจะให้ขนมกินนะ เป็นต้น
พ่อแม่และคนรอบข้างจะต้องให้เด็กๆ เข้าใจ ความหมายการถือศีลอดว่าอย่างไร ทำไมต้องอดข้าวอดน้ำ ถือบวชไปแล้วใครตอบแทนผลบุญ ส่วนมากคำตอบจากเด็ก มักมาจากคำตอบของผู้ที่สอนให้แก่เขา หากว่าพ่อแม่ไม่สอน ลูกๆตอบออกมาว่า ถือบวช ตามพ่อแม่ ละหมาดตามพ่อแม่ ซึ่งตรงนี้คนเป็นพ่อแม่ต้องสร้างความเข้าใจให้กับลูกๆในหลักการของศาสนา พร้อมกับการปฏิบัติที่ดี ลูกมีแบบอย่างและประพฤติที่ดีหรือไม่ดีส่วนมากมาจากพ่อแม่นี้คือหลักสำคัญการสอนลูกเลยทีเดียว
ผลกระทบต่อการเพิกเฉยกับลูกในการสอนให้ถือศิลอด
แน่นอนว่า การปล่อยปละละเลยกับลูกๆ ไม่สนใจที่จะฝึกพวกเขาให้รู้จัก หลักการอิสลาม เช่น การละหมาด การถือบวช บางครั้งการไม่ฝึกลูกๆส่งผลต่อวัยโตอย่างเห็นได้ชัดเจน บางครั้งถูกปลูกฝังมาในสมองของเด็กๆเลย ว่า ตอนนั้นทำไม ไม่สอน ไม่เรียนรู้ เพิ่งมาบอก ความทรงจำเหล่านี้คือผลเสียที่ยากต่อการฝึกลูกๆ
บางครั้งเด็กๆตั้งคำถาม บวชไปทำไม เพื่ออะไร นี้คือผลของการเพิกเฉยต่อการฝึกลูกๆ มันทำให้ความรู้สึกของเด็กนั้นคล้ายเป็นเรื่องปกติ ไม่ใช่เรื่องที่จะต้องให้ความสำคัญ บวชก็ได้ ไม่บวชก็ได้ เด็กส่วนมากมักเก็บความทรงจำได้ดีและมันจะพัฒนาการเป็นผลต่อต้านได้
บางครั้งเรามักเห็นบ่อยครั้ง หากตั้งคำถามพวกเขาว่า ถือบวชทำไม พวกตอบ ว่า เห็นเขาถือบวชกัน เลยถือด้วยกัน จึงจำเป็นที่พ่อแม่จะต้องฝึกฝนกับลูกๆ ให้เรียนรู้ในช่วงเดือนรอมฎอน มีเวลานั่งกับลูก บอก และอธิบายความดีของการถือบวช ความประเสริฐของเดือนรอมฎอน เพราะเหตุใด การถือบวชจำเป็นแก่มุสลิมทุกคน ?
พ่อจะเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับลูกได้อย่างไร
พ่อจะต้องระวังจากความประพฤติที่ไม่ดีต่อหน้าลูกๆ เพราะบางครั้งอาจจะลืมตัว หรือไม่ทันตั้งตัว เพราะเด็กจะทำต่อเมื่อผู้ใหญ่ทำ จากสิ่งที่ดีและไม่ดี คนเป็นพ่อจะต้องมีส่วนรับผิดชอบด้วยเช่นกัน
เด็กอายุเท่าไรถึงจะฝึกและส่งเสริมให้ถือศิลอดได้
เด็กมีอายุตั้งแต่ สี่ หรือ ห้า ปีขึ้นไป ควรฝึกฝนและส่งเสริมให้ถือบวชได้แล้ว ช่วงแรกๆ ฝึกให้อดอหาร สอง สามชั่วโมง ต่อวัน ฝึกจนกว่าเด็กๆจะสามารถถือบวชครบได้ด้วยตัวเอง
โอวาทแด่ หัวหน้าครอบครัว
♥ จะต้องเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ลูกๆ
♥ อยู่ร่วมกับลูกๆ บ่อยครั้ง มีส่วนร่วมในการฝึกฝนให้มากๆ
♥ อย่าปล่อยปละละเลยแม้จะเป็นเรื่องเล็กน้อย
♥ พยายามและส่งเสริมให้ลูกๆมีส่วนร่วมในเรื่องเกียวกับศาสนา เช่น การละหมาด การถือบวช การบริจาค การช่วยเหลือคนอื่นๆ